“ม.นเรศวร-Change ” ร่วมปกป้องนักวิจัย ปมยกเลิกใช้สารเคมีพาราควอต

ม.นเรศวร พร้อมพูดคุยกับสมาพันธ์เกษตร ปมร้าว ขอปลดนักวิจัย กรณีงานศึกษาผลกระทบสารเคมีพาราควอต -คลอร์ไพริฟอส ที่มีความเห็นไม่ตรงกับสมาพันธ์เกษตร จนยื่น 3 หมื่นชื่อให้ทบทวนข้อเสนอยกเลิกใช้ภายในมี.ค.นี้

วันนี้ (28 ม.ค. 2561) ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร หรือ มน. กล่าวถึงกรณีสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย ได้นำรายชื่อจำนวน 30,000 รายชื่อ ยื่นต่อผู้แทน รองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2561 เพื่อคัดค้านข้อเสนอให้เลิกใช้สารพาราควอต และและคลอร์ไพริฟอสและมีข้อเรียกร้องให้ รศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิยาลัยนเรศวรลาออกนั้น

ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร จะเชิญสมาพันธ์เกษตรปลอดภัยแห่งชาติ และทุกๆภาคส่วน ประกอบด้วย ผู้ให้ทุนการวิจัย ผู้วิจัย ทางบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ นักวิชาการที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านการเกษตรและสุขภาพ มาร่วมกันเสวนาวิชาการ เกี่ยวกับผลงานวิจัยที่ รศ.ดร.พวงรัตน์ ได้ศึกษาวิจัยมา ให้สมาพันธ์ ได้เข้าใจวัตถุประสงค์เจตนาที่ดีของนักวิชาการ ที่ต้องการ มุ่งเน้นช่วยเหลือดูแลคุณภาพชีวิตของ ประชาชนและเกษตรกร ไม่ได้มีเจตนาทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนแต่อย่างใด

และหากผลกระทบในเรื่องใด มหาวิทยาลัยนเรศวรก็จะเป็นผู้ประสานงาน ซึ่งคาดว่า หากได้รับการตอบรับ จากทางสมาพันธ์เกษตรฯ ก็จะสามารถหารือ พูดคุยทำความเข้าใจได้ทันที 

รักษาราชการแทนอธิการบดี ม.นเรศวรยืนยันว่า บทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยนเรศวร คือ มีหน้าที่ทำงานเพื่อรับใช้ประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิต และให้ชีวิตของประชาชนปลอดภัยมากที่สุด โดยไม่ได้มีเจตนาอย่างอื่น เป็นเรื่องของวิชาการโดยเฉพาะแต่หากเกิดความเข้าใจผิดหรือเกี่ยว ข้องกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเป็นสื่อกลางประ สานทำความเข้าใจ

ส่วนกรณีที่สมาพันธ์เกษตรฯเรียกร้องให้ รศ.ดร.พวงรัตน์ แสดงความรับผิดชอบต่อ ผลงานวิจัยดังกล่าว ต้องขอดูข้อมูลทางวิชาการจากทางสมาพันธ์เกษตรฯ และอาจารย์ผู้ที่ทำวิจัยก่อน เพราะเจตนารมณ์ของงานวิจัยเพื่อช่วยเหลือประชาชน

ก่อนหน้านี้เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือThai-PAN ได้เผยแพร่เรื่องความปลอดภัยสารเคมีปนเปื้อนในผักและผลไม้ ทำให้กลุ่มสมาพันธ์เกษตรฯ กังวลความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อพืชผัก และนำมาสู่การยื่นรายชื่อเพื่อให้ยกเลิกข้อเสนอที่ให้ยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชพาราควอต ไกลโพเซตและคอร์ไพริฟอส ของเกษตรกร ภายในเดือน มี.ค.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ เครือข่ายด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 9 องค์กร ยังร่วมรณรงค์ผ่าน Change.org ภายใต้หัวข้อร่วมปกป้อง รศ.ดร. พวงรัตน์ – “เสรีภาพทางวิชาการ” ต้องได้รับความคุ้มครองจากการคุกคาม 

ที่มา: thaipbs

ทช.ร่วม ม.นเรศวร เผยแพร่ผลศึกษาโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

วันที่ 22 ธันวาคม 2558 กรม ทช. โดย สำนักงานบริหาร ทช. ที่ 6 (ภูเก็ต) และศูนย์สารสนเทศ ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร จัดประชุมวิชาการเผยแพร่ผลการศึกษาตามโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่อุทยานฯสิรินาถ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต โดยผลการศึกษาเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์บางจุดและการเปลี่ยนแปลงฉับพลันจากสึนามิ แนวทางการแก้ไขคือเน้นการเติมทรายในพื้นที่ มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ผู้เข้าร่วมงาน 150 คน

ที่มา: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ม.นเรศวร ถ่ายทอดความรู้ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 SGtech ยินดีต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากกองวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่เข้าเยี่ยมชมระบบไมโครกริดภายใน SGtech และรับฟังการบรรยายด้านไมโครกริด

• Microgrid Service Solution with Zero Net Energy concept.

• P2P Energy Trading Platform with Blockchain Technology

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin