Archives February 2019

ร่วมจัดงานแถลงข่าว “วิจัยปลดล็อคส่งออกมะม่วงไปอเมริกา” ความภูมิใจของนักวิจัยไทยกับการต่อสู้อย่างยาวนานกว่า 12 ปี

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ,สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) BEDO ,มหาวิทยาลัยนเรศวร และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ร่วมจัดงานแถลงข่าว “วิจัยปลดล็อคส่งออกมะม่วงไปอเมริกา” ความภูมิใจของนักวิจัยไทยกับการต่อสู้อย่างยาวนานกว่า 12 ปี ในการแก้ปัญหาเพื่อปลดล็อคการส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองสดสู่ตลาดสหรัฐอเมริกา ในวันพุธที่ 11 กันยายน 2562 ณ ห้องวิภาวดี C โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 สหรัฐอเมริกาได้อนุญาตให้นำเข้าผลไม้สด (Fresh Fruit) ของไทย 6 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ลำไย มังคุด ลิ้นจี่ เงาะ และสับปะรด
โดยจะต้องได้รับการฉายรังสีก่อนส่งออกไปยังสหรัฐฯ นับเป็นการเปิดตลาดผลไม้ไทยที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประเทศชาติ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองแม้เป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทยสามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศ โดยมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นสายพันธุ์ที่มีความต้องการของตลาดสูง เนื่องจากมีลักษณะเด่น คือ เมื่อผลสุก ผิวของเปลือกมีสีเหลืองนวลถึงเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองมีกลิ่นหอม จึงเป็นที่ต้องการของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
แต่ปรากฏว่านับตั้งแต่เริ่มส่งออกในปี พ.ศ. 2551 การส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง หลังฉายรังสีและส่งออกไปถึงปลายทางที่สหรัฐอเมริกา ได้ประสบปัญหาด้านคุณภาพ และพบปัญหาการเกิดเส้นดำบริเวณผิวเปลือก และเกิดเนื้อสีน้ำตาล ส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณส่วนแก้มของผล ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถส่งออกผลมะม่วงสดไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาได้จนถึงปัจจุบัน

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ,สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) BEDO ,มหาวิทยาลัยนเรศวร และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ

จากปัญหาดังกล่าว จึงเกิดเป็นโจทย์วิจัยที่ท้าทายและรอคำตอบจากนักวิจัยไทยเป็นอย่างยิ่ง จึงได้เกิดเป็นโครงการ “การศึกษาวิจัยมะม่วงให้ได้คุณภาพ มาตรฐานส่งออก” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพหลังการฉายรังสีแกมมา และการลดความเสียหายของมะม่วงฉายรีงสีแกมมา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ,สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) BEDO ,มหาวิทยาลัยนเรศวร และ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ และงานวิจัยประสบผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2562 การส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองสามารถส่งออกสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาได้อย่างเต็มภาคภูมิ และ ได้รับการรับรองจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา

การแถลงข่าว“วิจัยปลดล็อคส่งออกมะม่วงไปสหรัฐอเมริกา” ที่เกิดขึ้นนี้ จึงเป็นการสร้างความเข้าใจ และ องค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและเพื่อต่อยอดให้กับกลุ่มธุรกิจและผู้ประกอบการที่ต้องการขยายตลาดการค้าผลไม้สดของไทยสู่สหรัฐอเมริกา และ ตลาดต่างประเทศอื่นๆ ต่อไป

ที่มา: posttoday

มหาวิทยาลัยนเรศวร วิจัยลูกประคบสมุนไพร สำหรับเซลลูไลท์สำเร็จ

รศ. ดร.กรกนก อิงคนินันท์  หัวหน้าโครงการ คณะวิจัยจากสถานวิจัยเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้กล่าวถึงความสำเร็จในการ พัฒนาสูตรตำรับลูกประคบสำหรับลดเซลลูไลท์ โดยคัดสรรสมุนไพรที่มีศักยภาพในการลดเซลลูไลท์ เช่น สมุนไพรที่มีฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนโลหิต มีฤทธิ์ยับยั้งการผลิตไขมัน หรือกระตุ้นการสลายไขมัน และสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอักเสบ มาเป็นส่วนประกอบของลูกประคบ รวมถึงพัฒนาวิธีการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ และประเมินประสิทธิภาพในการใช้ลดเซลลูไลท์ของลูกประคบที่พัฒนาขึ้นในอาสาสมัครเชิงคลินิกเพศหญิงจำนวน 21 คน
ผลจากการศึกษาพบว่าลูกประกบที่พัฒนาขึ้นช่วยลดความรุนแรงของเซลลูไลท์ และมีความปลอดภัยสูง โดยได้เปรียบเทียบระหว่างลูกประคบที่พัฒนาจากงานวิจัยที่ขาด้านหนึ่ง กับลูกประคบหลอกที่ไม่มีตัวยาสมุนไพรที่ต้นขาของอาสาสมัครที่ขาอีกด้านหนึ่ง โดยใช้เวลา 30 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลานาน 2 เดือน ซึ่งได้มีการประเมินประสิทธิภาพใน 3 ด้าน คือ วัดเส้นรอบวงต้นขา วัดความหนาแน่นของชั้นไขมัน และวัดระดับความรุนแรงของเซลลูไลท์ โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าต้นขาที่ใช้ลูกประคบสมุนไพรที่พัฒนาขึ้นมีเส้นรอบวงความหนาของชั้นไขมัน และระดับความรุนแรงของเซลลูไลท์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
เมื่อเทียบกับต้นขาอีกข้างที่ได้รับลูกประคบหลอก ในขณะที่ผลการศึกษาประเมินความปลอดภัย พบว่าลูกประคบจากงานวิจัยไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองใดๆ ที่เป็นอันตรายต่ออาสาสมัคร จุดเด่นของงานวิจัยนี้ คือ การเพิ่มมูลค่าให้กับลูกประคบดั้งเดิมจากภูมิปัญญาไทย ซึ่งมักใช้ในการลดอาการปวดเมื่อย โดยคณะวิจัยได้พัฒนาสูตรใหม่จากการศึกษารายงานวิจัยต่าง ๆ ที่มีอยู่เกี่ยวกับสมุนไพรที่เกี่ยวข้อง และนำมาสมุนไพรอีกส่วนเข้ามาเพิ่มเติม โดยผลิตภัณฑ์ลูกประคบนี้จะนำไปใช้ในสปาเป็นหลัก แต่หากใครสนใจซื้อไปใช้เองที่บ้านก็ได้ และจะช่วยสร้างความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวที่ผลัดกันนวดประคบด้วย
ทั้งนี้ คณะนักวิจัยได้รับทุนให้ทำวิจัยต่อยอดจาก คปก. และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) เพื่อทดสอบเชิงลึกในการหากลไกการยับยั้งการสร้างไขมันหรือกระตุ้นการสลายไขมันจากองค์ประกอบของลูกประคบ และพัฒนาตำรับสูตรเจลลดเซลลูไลท์ที่มีสารสกัดจากลูกประคบ รวมถึงการทดสอบประสิทธิภาพตำรับที่พัฒนาได้ในอาสาสมัครด้วย ด้าน น.ส.งามรยุ งามดอกไม้ หนึ่งในคณะวิจัย กล่าวว่า ลูกประคบดังกล่าวได้รับการจดอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว โดยสมุนไพรหลักที่เป็นสมุนไพรไทยรสร้อน เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต กระตุ้นการสลายไขมัน นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรที่มี ซึ่งมีคาเฟอีนที่เป็นตัวออกฤทธิ์ สลายไขมันอีกด้วย

ที่มา: phitsanulokhotnews

มหาวิทยาลัยนเรศวร วิจัยโดรนลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร  พร้อมทีม ได้สาธิตเกี่ยวกับเครื่องมือลดต้นทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร (โดรนทางการเกษตร) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหลักสูตรเกษตรแม่นยำ รวมถึงการสาธิตการใช้โดรนเพื่อส่งเอกสารระหว่างอาคาร ซึ่งแสดงถึงนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้  และเตรียมเปิดหลักสูตรการเรียนการสอน “หลักสูตรแม่นยำ” ในปี การศึกษา2563
ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ทางคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร  ได้ร่วมกับทีมวิจัย ได้วิจัยการนำโดรนมาใช้ทางการเกษตร เพื่อลดต้นทุน และสามารถลดค่าจ้างแรงงานคนที่พบว่า การจ้างตกวัน ละ 500-600 บาทต่อวัน  โดยปัจจุบันการนำโดรนมาฉีดพ่นยา เพียงไร่ละ 60 บาทเท่านั้น สามารถฉีดพ่นได้ถึง 100 ไร่ต่อวัน
นอกจากนี้ยังได้ทำวิจัย ด้านของการเพิ่มความหวานของอ้อยก่อนที่จะเข้าโรงงานอีก ทำงานวิจัยที่ทำร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ในการที่จะเพิ่มความหวาน ccs ของอ้อย ถึง 3-4 ccs  ซึ่งเกษตรกรจะได้เปรียบคือ ทุก ccs ที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรจะได้ ccs ละ  50 บาท
ทั้งนี้ การใช้โดรนทางการเกษตร การฉีดพ่นปุ๋ยและฮอร์โมนพืช ตลอดจนการควบคุมศัตรูพืชด้วยโดรนทางการเกษตร ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมละไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดรนทางการเกษตรสามารถทำงานได้และทำให้ช่วยประหยัดได้หลายอย่าง เช่น ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน ประหยัดน้ำ หลังจากที่ได้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้เครื่องบินเล็กในการฉีดพ่นสารแทนคนแล้ว ก็มีจุดประสงค์อยากให้คนอื่นๆ ได้เห็นถึงประโยชน์ด้วย หลังจากนั้นก็นำเครื่องไปสาธิตทำแปลงทดลองให้เพื่อนๆ ชาวไร่และหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมโรงงานน้ำอ้อย เป็นต้น

ที่มา: phitsanulokhotnews

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin