Archives 2021

ม.นเรศวร จัดอบรมเชิงบรรยาย หัวข้อ “กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจำหน่าย และการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร”

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน และรองศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม กล่าวรายงาน การจัดอบรมเชิงบรรยาย หัวข้อ “กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจำหน่าย และการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร” โดยได้รับเกียรติจาก คุณนฤมล ฉัตรสง่า (รักษาการ) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของอาหารและการบริโภคอาหาร กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นวิทยากร

การจัดกิจกรรมดังกล่าวฯ เป็นความร่วมมือภาคีเครือข่ายด้านการวิจัยและนวัตกรรม ระหว่าง เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยกองการวิจัยและนวัตกรรม และอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ให้กับอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรที่สนับสนุนด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนบุคลากรในเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือตอนล่าง ผู้ประกอบการภาคเอกชนในพื้นที่ ให้มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวฯเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นแนวทางในการวิจัยและพัฒนา กำกับดูแลผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ความรู้ที่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ให้ถูกต้องตามกฏหมาย

โดยจัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 25-26 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุมมหาราช ชั้น 2 อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม ม.นเรศวร

ประชุมเพื่อหารือแนวทางการคัดกรองนิสิตด้วยชุดตรวจ ATK ของนิสิตหอพัก ม.นเรศวร

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 เวลา 16.00 น ณ ห้องประชุมนเรศวร 2 สนง.อธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร ศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดี เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย ศาสตราจารย์.ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.พีรธร บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดี นพ.สุรัตน์ วรรณเลิศสกุล ผู้แทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และ นางศิริวรรณ กมลพัฒนะ ผอ.กองกิจการนิสิต ประชุมเพื่อหารือแนวทางการคัดกรองนิสิตด้วยชุดตรวจ ATK ของนิสิตหอพักมหาวิทยาลัยนเรศวร จากการประชุมดังกล่าว มหาวิทยาลัยได้พิจารณาสนับสนุนการตรวจคัดกรองสำหรับนิสิตหอพักทุกคนที่เดินทางกลับมาจากภูมิลำเนา โดยนิสิตที่ทำการตรวจครั้งแรก มหาวิทยาลัยจะสนับสนุนชุดตรวจ ATK ให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ให้จัดทำเป็นประกาศมหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป รวมทั้งได้กำชับให้คณะต่างๆ ช่วย ปชส.และสอดส่องพฤติกรรมของนิสิตทุกชั้นปี ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันฯ อย่างเคร่งครัดอีกด้วย

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์กองกิจการนิสิต

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมรักษ์ต้นไม้ ประจำปี 2564

เมื่อเวลา 9.00 น วันที่ 13 ตุลาคม 2564 นายรุ่งรัตน์ พระนาค ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่พร้อมด้วยบุคลากรร่วมกันจัดโครงการ “รักษ์ต้นไม้ ประจำปี 2564” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และส่งเสริมให้บุคลากรเกิดความตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเป็นการจัดกิจกรรมบำรุงรักษาต้นไม้ ณ บริเวณพื้นที่ทางเข้าโรงผลิตน้ำประปา มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สวนผัก ผลไม้ เพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดี มน. เป็นประธาน พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ รองอธิการบดี ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต หัวหน้างาน บุคลากร และนิสิตจิตอาสา ร่วมใจปลูกพืชผัก ผลไม้ในโครงการสวนผัก ผลไม้ เพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งนี้เพื่อเป็นการน้อมรำลึก ในหลวงรัชกาลที่ 9 ณ แปลงผักบริเวณ หอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ติดตามภาพกิจกรรมทั้งหมดได้ที่ www.sa.nu.ac.th/photo64/10-13-64

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร

SGtech ม.นเรศวร จัดอบรม เรื่อง เทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์เซลล์สุริยะแบบเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า

บุคลากรจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ได้เข้าฝึกอบรมที่ SGtech เรื่อง เทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์เซลล์สุริยะแบบเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า และร่วมประกอบ ทดสอบ และตรวจรับอินเวอร์เตอร์

ภายใต้โครงการวิจัย“การพัฒนาอินเวอร์เตอร์หนึ่งเฟสแบบเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าพิกัดกำลัง 5 kW สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาภาคประชาชนที่ใช้อุปกรณ์ IGBTs และ SiC MOSFETs” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ศักดา สมกุล เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ระหว่างวันที่ 4-29 ตุลาคม 2564 ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

มอบหมอนหลอดรักษ์โลก จำนวน 100 ใบ ส่งมอบให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต.ท่าทอง

ตามที่ กลุ่มนิสิตจิตอาสามีความสนใจและรวมตัวกันในการกำจัดหลอดดูดน้ำพลาสติกเพื่อลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมโดยนำเอาหลอดดูดน้ำพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วมาทำความสะอาด แล้วนำไปทำเป็นหมอนหลอดสำหรับหนุนนอนเพื่อสุขภาพ และเอื้อให้กับผู้ป่วยต่างๆ ทั้งที่อาศัยอยู่ที่บ้านและโรงพยาบาล รวมทั้งยังเป็นการปลูกจิตสำนึกที่ดีในกลุ่มนิสิตที่สนใจในการร่วมกิจกรรมจิตอาสา โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 นางสาวธัญญารัตน์ อินทร์เมือง หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนานิสิต บุคลากรกองกิจการนิสิต และแกนนำนิสิตจิตอาสามหาวิทยาลัยนเรศวร  ได้นำหมอนหลอดรักษ์โลก จำนวน 100 ใบ ส่งมอบให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง เป็นผู้รับมอบหมอนหลอดรักษ์โลก เวลา 10.30 น. ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวรลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ภาคเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ศาสตารจารย์ ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมผู้บริหาร ร่วมให้การต้อนรับภาคีเครือข่าย จำนวน 12 หน่วยงาน ในพิธีลงนามบันทึกบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ภาคเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก  โดยมี นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ณ ห้องประชุมพระพุทธชินราช ชั้น 7 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก (หลังใหม่)
สำหรับการดำเนินงานดังกล่าว ดร.กิตติ สัจจา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)ได้กล่าวว่า โครงการนี้ ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐกว่า 12 หน่วยงาน ที่จะร่วมผลักดันให้เกิดกระบวนการและกลไกของหน่วยงานนำไปสู่การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจนในพื้นที่จังหวัดพิษรูโลกอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ โดยการใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนร่วมกันของทุกภาคส่วน นับเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะก่อให้เกิดการบูรณาการช่วยเหลือคนจนอย่างตรงจุด
สำหรับจังหวัดพิษณุโลกคณะผู้วิจัยได้ค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจน จำนวน 24,000 ข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่ 9 อำเภอ จากนั้น ดำเนินการสร้างนวัตกรรมแก้จนที่เหมาะสมกับบริบทและคนจนเป้าหมาย โดยทุนศักยภาพ 5 มิติ ประกอบด้วย ทุนสังคม ทุนมนุษย์ ทุนทางกายภาพ ทุนทางการเงิน และทุนธรรมชาติ นำมาสู่การวิเคราะห์เชิงคุณภาพเชื่อมโยงบริบท เพื่อการสร้างนวัตกรรมแก้จนที่สอดคล้องกับบริบทและคนจนเป้าหมาย โดยมีเป้าหมายคนจนในพื้นที่ 2 อำเภอ ๆ ได้แก่ ตำบลชุมแสงสงคราม ตำบลวังอิทก  อำเภอบางระกำ  และตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง รวมเป็น 2,000 คน ทั้งนี้คนจนได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทกลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 10%
ด้วยกระบวนการสร้างนักจัดการข้อมูลชุมชน และภาคีเครือข่ายในชุมชน สามารถติดตามสถานะคนจนให้เป็นปัจจุบัน จัดทำข้อมูลให้มีชีวิต ส่งต่อและประสานความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดระบบความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการสานพลังขับเคลื่อนจากวัด ทหาร หน่วยงาน และชุมชน  หนุนเสริมทักษะอาชีพ ทักษะการใช้ชีวิตของครัวเรือนยากจน การบูรณาการสร้างระบบสาธารณสุขที่เหมาะสม ทั้งนี้การพัฒนาภาคีเครือข่ายด้วยนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดพิษณุโลกแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ จะเป็นการสานพลังที่จะนำไปสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาให้คนพิษณุโลกหลุดพ้นจากความยากจน  สามารถเข้าถึงทรัพยากร  การศึกษา  สวัสดิการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้อย่างเท่าเทียมและยั่งยืน

ที่มา: ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ต้อนรับคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ในการเข้าศึกษาดูงาน Smart City

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดี ร่วมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการ SGtech ร่วมให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ในการเข้าศึกษาดูงาน Smart City ณ SGtech ในวันที่ 22 กันยายน 2564

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

กองถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยี (กถผ.)กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เข้าศึกษาดูงานด้าน Smart Grid และ Smart City ม.นเรศวร

ผู้อำนวยการ SGtech ให้การต้อนรับ กองถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยี (กถผ.)กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เข้าศึกษาดูงานด้าน Smart Grid และ Smart City และได้เยี่ยมชมสถานีผลิตไฟฟ้าที่ทาง พพ.สนับสนุนงบประมาณให้กับวิทยาลัยพลังงานทดแทนฯในโครงการสถานีผลิตไฟฟ้าในหน่วยงานภาครัฐ (Campus Power) ประจำปีงบประมาณ 2557 อีกด้วย

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

เสวนา “ตรวจไวรัสในน้ำเสีย” ระบบเตือนภัย ประเมินประสิทธิภาพวัคซีน และมาตรการเชิงรุกรับมือโควิดในชุมชน

ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสถานความเป็นเลิศเพื่อความยั่งยืนด้านสุขภาวะ สิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และภาคีเครือข่าย ขอเชิญผู้สื่อข่าวและผู้ที่สนใจเข้าร่วมเสวนาออนไลน์ “ตรวจไวรัสในน้ำเสีย” ระบบเตือนภัย ประเมินประสิทธิภาพวัคซีน และมาตรการเชิงรุกรับมือโควิดในชุมชน วันเสาร์ที่ 4 กันยายน 2564 เวลา 10.00 – 13.00 น.

10.00 – 10.45 น. ทฤษฎีและตัวอย่างการใช้งานการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในน้ำเสียโสโครกเพื่อการเฝ้าระวังเชิงรุกการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในชุมชนในต่างประเทศ โดย ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์

10.45-11.15 น. การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในน้ำเสียโสโครกด้วย RT-qPCR
โดย รศ.ดร.อภินันท์ ลิ้มมงคล และ ดร.พญ.อัญพัชญ์ อติพิมลพัชญ์

11.15-11.45 น. การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยโดยวิธี Loop Mediated Isothermal Amplification (LAMP) Assays และ ศักยภาพการใช้กับน้ำเสียโสโครก โดย ดร.วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย

11.45-12.15 น. มาตรการความปลอดภัยในการเก็บตัวอย่างน้ำเสียและการทำงานในห้องปฏิบัติการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในน้ำเสียโสโครกด้วย RT-qPCR โดย ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ และ
ดร.ศิริวรรณ วิชัย

12.15-12.30 น. แนวคิดการใช้งานการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในน้ำเสียโสโครกเพื่อการเฝ้าระวังเชิงรุก, การสืบสวนเพื่อเตือนภัยล่วงหน้า, และการประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนและมาตรการตอบโต้การแพร่เชื้อ SARS-CoV-2 ในชุมชนสำหรับประเทศไทย โดย ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์

12.30-12.50 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น / ถาม-ตอบ

12.50-13.00 น. กล่าวปิดการเสวนา โดย ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์

ดำเนินรายการ

โดย พนม ทะโน กรรมการบริหารชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม / IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง

จัดโดย

  • สถานความเป็นเลิศเพื่อความยั่งยืนด้านสุขภาวะ สิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ห้องปฏิบัติการระบาดวิทยาน้ำเสียเพื่อการเตือนภัยล่วงหน้า มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม (GreenNews)
  • ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม

คลิกอีเวนต์เพื่อแจ้งเตือนจาก Facebook Live (https://fb.me/e/10GiiZNN0) รับชม Live บนเพจ

https://www.facebook.com/WBEEarlyWarningLab
https://www.facebook.com/SHEI.COE.NU
https://www.facebook.com/greennewsagency
https://www.facebook.com/thaisej


เสวนาออนไลน์ประเด็นจัดการสิ่งแวดล้อมฯ มีเวทีทั้งหมด 2 ครั้ง เวทีดังกล่าวนับเป็น(รอบสอง) ติดตามเวที“จัดการสิ่งแวดล้อมใน-นอกที่พักอย่างไร ไม่เสี่ยงติดโควิด” (รอบแรก) หรือรับชมไลฟ์ย้อนหลังได้ที่ https://greennews.agency/?p=25267

ที่มา: greennews

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin