Archives September 2021

มหาวิทยาลัยนเรศวรลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ภาคเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ศาสตารจารย์ ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมผู้บริหาร ร่วมให้การต้อนรับภาคีเครือข่าย จำนวน 12 หน่วยงาน ในพิธีลงนามบันทึกบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ภาคเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก  โดยมี นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ณ ห้องประชุมพระพุทธชินราช ชั้น 7 ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก (หลังใหม่)
สำหรับการดำเนินงานดังกล่าว ดร.กิตติ สัจจา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)ได้กล่าวว่า โครงการนี้ ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐกว่า 12 หน่วยงาน ที่จะร่วมผลักดันให้เกิดกระบวนการและกลไกของหน่วยงานนำไปสู่การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจนในพื้นที่จังหวัดพิษรูโลกอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ โดยการใช้ประโยชน์จากระบบฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนร่วมกันของทุกภาคส่วน นับเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะก่อให้เกิดการบูรณาการช่วยเหลือคนจนอย่างตรงจุด
สำหรับจังหวัดพิษณุโลกคณะผู้วิจัยได้ค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจน จำนวน 24,000 ข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่ 9 อำเภอ จากนั้น ดำเนินการสร้างนวัตกรรมแก้จนที่เหมาะสมกับบริบทและคนจนเป้าหมาย โดยทุนศักยภาพ 5 มิติ ประกอบด้วย ทุนสังคม ทุนมนุษย์ ทุนทางกายภาพ ทุนทางการเงิน และทุนธรรมชาติ นำมาสู่การวิเคราะห์เชิงคุณภาพเชื่อมโยงบริบท เพื่อการสร้างนวัตกรรมแก้จนที่สอดคล้องกับบริบทและคนจนเป้าหมาย โดยมีเป้าหมายคนจนในพื้นที่ 2 อำเภอ ๆ ได้แก่ ตำบลชุมแสงสงคราม ตำบลวังอิทก  อำเภอบางระกำ  และตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง รวมเป็น 2,000 คน ทั้งนี้คนจนได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทกลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 10%
ด้วยกระบวนการสร้างนักจัดการข้อมูลชุมชน และภาคีเครือข่ายในชุมชน สามารถติดตามสถานะคนจนให้เป็นปัจจุบัน จัดทำข้อมูลให้มีชีวิต ส่งต่อและประสานความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดระบบความช่วยเหลือครัวเรือนยากจนเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการสานพลังขับเคลื่อนจากวัด ทหาร หน่วยงาน และชุมชน  หนุนเสริมทักษะอาชีพ ทักษะการใช้ชีวิตของครัวเรือนยากจน การบูรณาการสร้างระบบสาธารณสุขที่เหมาะสม ทั้งนี้การพัฒนาภาคีเครือข่ายด้วยนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในจังหวัดพิษณุโลกแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ จะเป็นการสานพลังที่จะนำไปสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาให้คนพิษณุโลกหลุดพ้นจากความยากจน  สามารถเข้าถึงทรัพยากร  การศึกษา  สวัสดิการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้อย่างเท่าเทียมและยั่งยืน

ที่มา: ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ต้อนรับคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ในการเข้าศึกษาดูงาน Smart City

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดี ร่วมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการ SGtech ร่วมให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ในการเข้าศึกษาดูงาน Smart City ณ SGtech ในวันที่ 22 กันยายน 2564

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

กองถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยี (กถผ.)กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เข้าศึกษาดูงานด้าน Smart Grid และ Smart City ม.นเรศวร

ผู้อำนวยการ SGtech ให้การต้อนรับ กองถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยี (กถผ.)กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เข้าศึกษาดูงานด้าน Smart Grid และ Smart City และได้เยี่ยมชมสถานีผลิตไฟฟ้าที่ทาง พพ.สนับสนุนงบประมาณให้กับวิทยาลัยพลังงานทดแทนฯในโครงการสถานีผลิตไฟฟ้าในหน่วยงานภาครัฐ (Campus Power) ประจำปีงบประมาณ 2557 อีกด้วย

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

เสวนา “ตรวจไวรัสในน้ำเสีย” ระบบเตือนภัย ประเมินประสิทธิภาพวัคซีน และมาตรการเชิงรุกรับมือโควิดในชุมชน

ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสถานความเป็นเลิศเพื่อความยั่งยืนด้านสุขภาวะ สิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และภาคีเครือข่าย ขอเชิญผู้สื่อข่าวและผู้ที่สนใจเข้าร่วมเสวนาออนไลน์ “ตรวจไวรัสในน้ำเสีย” ระบบเตือนภัย ประเมินประสิทธิภาพวัคซีน และมาตรการเชิงรุกรับมือโควิดในชุมชน วันเสาร์ที่ 4 กันยายน 2564 เวลา 10.00 – 13.00 น.

10.00 – 10.45 น. ทฤษฎีและตัวอย่างการใช้งานการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในน้ำเสียโสโครกเพื่อการเฝ้าระวังเชิงรุกการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในชุมชนในต่างประเทศ โดย ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์

10.45-11.15 น. การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในน้ำเสียโสโครกด้วย RT-qPCR
โดย รศ.ดร.อภินันท์ ลิ้มมงคล และ ดร.พญ.อัญพัชญ์ อติพิมลพัชญ์

11.15-11.45 น. การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยโดยวิธี Loop Mediated Isothermal Amplification (LAMP) Assays และ ศักยภาพการใช้กับน้ำเสียโสโครก โดย ดร.วรรณสิกา เกียรติปฐมชัย

11.45-12.15 น. มาตรการความปลอดภัยในการเก็บตัวอย่างน้ำเสียและการทำงานในห้องปฏิบัติการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในน้ำเสียโสโครกด้วย RT-qPCR โดย ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ และ
ดร.ศิริวรรณ วิชัย

12.15-12.30 น. แนวคิดการใช้งานการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในน้ำเสียโสโครกเพื่อการเฝ้าระวังเชิงรุก, การสืบสวนเพื่อเตือนภัยล่วงหน้า, และการประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนและมาตรการตอบโต้การแพร่เชื้อ SARS-CoV-2 ในชุมชนสำหรับประเทศไทย โดย ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์

12.30-12.50 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น / ถาม-ตอบ

12.50-13.00 น. กล่าวปิดการเสวนา โดย ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์

ดำเนินรายการ

โดย พนม ทะโน กรรมการบริหารชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม / IMN เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง

จัดโดย

  • สถานความเป็นเลิศเพื่อความยั่งยืนด้านสุขภาวะ สิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ห้องปฏิบัติการระบาดวิทยาน้ำเสียเพื่อการเตือนภัยล่วงหน้า มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม (GreenNews)
  • ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม

คลิกอีเวนต์เพื่อแจ้งเตือนจาก Facebook Live (https://fb.me/e/10GiiZNN0) รับชม Live บนเพจ

https://www.facebook.com/WBEEarlyWarningLab
https://www.facebook.com/SHEI.COE.NU
https://www.facebook.com/greennewsagency
https://www.facebook.com/thaisej


เสวนาออนไลน์ประเด็นจัดการสิ่งแวดล้อมฯ มีเวทีทั้งหมด 2 ครั้ง เวทีดังกล่าวนับเป็น(รอบสอง) ติดตามเวที“จัดการสิ่งแวดล้อมใน-นอกที่พักอย่างไร ไม่เสี่ยงติดโควิด” (รอบแรก) หรือรับชมไลฟ์ย้อนหลังได้ที่ https://greennews.agency/?p=25267

ที่มา: greennews

ม.นเรศวร จัดการและกำจัดของเสียอันตราย

เมื่อวันที่ 13-14 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา บุคลากรกองอาคารสถานที่ร่วมกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการขนย้ายของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของคณะและหน่วยงานต่างๆ จำนวน 26 จุด ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีงบประมาณ 2564 นำไปกำจัดและทำลายอย่างถูกวิธีโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคลากรที่ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

เสวนา “จัดการสิ่งแวดล้อมใน-นอกที่พักอย่างไรไม่เสี่ยงติดโควิด”

ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสถานความเป็นเลิศเพื่อความยั่งยืนด้านสุขภาวะ สิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และภาคีเครือข่าย ขอเชิญผู้สื่อข่าวและผู้ที่สนใจเข้าร่วมเสวนาออนไลน์ “จัดการสิ่งแวดล้อมใน-นอกที่พักอย่างไร ไม่เสี่ยงติดโควิด” วันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 9.00 – 13.00 น. 

09.00-10.00 น. SARS-Cov-2 สายพันธุ์ต่างๆ การติดเชื้อผ่านละอองฝอยในอากาศ และการจัดการน้ำทิ้งและระบบถ่ายเทอากาศสำหรับครัวเรือนและโรงพยาบาลสนาม โดย ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ และ พญ.ดร.อัญพัชญ์ อติพิมลพัชญ์

10.00-10.45 น. SARS-CoV-2 บนพื้นผิว : รับกล่องพัสดุ การทำความสะอาดเสื้อผ้า และพื้นผิวอาคารบ้านเรือนอย่างไรให้ไกลโควิด-19 โดย ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ และ ดร.ศิริวรรณ วิชัย

10.45-11.30 น. ประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยแต่ละชนิด การล้างมือที่ถูกวิธี และการใช้ชุดตรวจ Antigen test kit (ATK) โดย พญ.ดร.อัญพัชญ์ อติพิมลพัชญ์ และ รศ.ดร.อภินันท์ ลิ้มมงคล

11.30-12.00 น. การจัดการขยะครัวเรือนให้ห่างไกลการแพร่เชื้อ SARS-Cov-2 โดย ดร.สุภาวรรณ ศรีรัตนา

12.00-12.15 น. การเสวนาหัวข้อ แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมในและนอกที่พักอาศัยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ SARS-CoV-2 โดย ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์, ดร.สุภาวรรณ ศรีรัตนา, พญ.ดร.อัญพัชญ์ อติพิมลพัชญ์, ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์, รศ.ดร.อภินันท์ ลิ้มมงคล และ ดร.ศิริวรรณ วิชัย

12.15-12.35 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น / ถาม-ตอบ

12.35-12.45 น. กล่าวปิดการประชุม  โดย ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์

ดำเนินรายการ

โดย อุดมเดช เกตุแก้ว เลขานุการชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม / หนังสือพิมพ์เพชรภูมิ

จัดโดย

  • สถานความเป็นเลิศเพื่อความยั่งยืนด้านสุขภาวะ สิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ห้องปฏิบัติการระบาดวิทยาน้ำเสียเพื่อการเตือนภัยล่วงหน้า มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม (GreenNews)
  • ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม 

คลิกรับแจ้งเตือนจาก Facebook Live เพื่อไม่พลาดเวทีเสวนาออนไลน์ ที่ (https://fb.me/e/4iazlwAE1) หรือรับชม Live บนเพจ

https://www.facebook.com/thaisej
https://www.facebook.com/greennewsagency
https://www.facebook.com/WBEEarlyWarningLab
https://www.facebook.com/SHEI.COE.NU

เสวนาออนไลน์ประเด็นจัดการสิ่งแวดล้อมฯ มีเวทีทั้งหมด 2 ครั้ง โดยจะจัดอีกครั้ง วันเสาร์ที่ 4 กันยายน 2564 เวลา 10.00 – 13.00 น. “ตรวจไวรัสในน้ำเสีย” ระบบเตือนภัย ประเมินประสิทธิภาพวัคซีน และมาตรการเชิงรุกรับมือโควิดในชุมชน ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://greennews.agency/?p=25309

ที่มา: greennews

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin