มหาวิทยาลัยนเรศวร และ กรมชลประทานพร้อมเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้น้ำคลองยม-น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ โดย รศ ดร เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ คณะเกษตรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร นำเสนอผลงาน “การบริหารจัดการน้ำชุมชนภายใต้กระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม คลองยม-น่าน “ได้รับรางวัลนวัตกรรมประชาธิปไตย ของรัฐสภา ระดับดีมาก ในกิจกรรมการประกวดรางวัลนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ประจำปี 2565 ณ อาคารรัฐสภา
วันที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 11.30 น. นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้เป็นประธานมอบรางวัลนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประชาธิไตยประจำปี 2565 ระดับดีมาก ให้กับผลงาน “การบริหารจัดการน้ำภายใต้กระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม” โดยกรมชลประทานร่วมกับเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้น้ำคลองยม-น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร ส่งเข้าประกวด ซึ่งรางวัลดังกล่าวนี้ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้มอบให้กับชุมชน องค์การ ที่ได้ร่วมกันหาทางออกจากปัญหาภายใต้หลักการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
ที่มา: คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร
อขอบพระคุณคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี พ.ศ.2564 ที่ได้มอบทุนการศึกษา สมทบกองทุนการศึกษาเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นจำนวนเงิน 21,062 บาท ทั้งนี้ ท่านผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี นายประจินต์ เมฆสุธีพิทักษ์ เป็นผู้แทนในการส่งมอบ ขอขอบพระคุณทุกท่าน ไว้ ณ โอกาสนี้
ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดพื้นที่ให้บริการอย่างเท่าเทียมแก่ผู้พิการทางสายตาเปิดร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด อาทิ กระเป๋าเงิน พวงกุญแจ ตุ๊กตา เป็นต้น เพื่อเป็นการเลี้ยงชีพ ในระหว่างวันที่ 19-23 กันยายน 2565 ณ ศูนย์อาหาร NU Square
ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มีภารกิจในด้านการเรียนการสอนและให้บริการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ ตั้งแต่ระยะก่อนคลอด ระยะคลอดและหลังคลอด โดยเห็นว่าคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ “อาศรมเสลา” คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีบริการรักษาโรคฟื้นฟูสุขภาพด้วยทีมแพทย์แผนไทย นวดแผนไทย (แบบราชสำนัก) อบไอน้ำ ประคบสมุนไพร โดยเฉพาะการนวดและประคบหม้อเกลือในสตรีหลังคลอดบุตร ซึ่งมีความสอดคล้องด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับ การจัดการเรียนการสอน รายวิชาสุขภาพและโรคของสตรี 1-2 สำหรับนิสิตแพทย์ชั้นปี 4 จึงได้จัดกิจกรรมให้นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 เข้าศึกษาดูงาน ณ คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ “อาศรมเสลา” คณะสาธารณสุขศาสตร์ เมื่อวันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565
ที่มา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ตึกอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แถลงข่าวการจัดตั้ง “คลินิกกฎหมายนเรศวรเพื่อสิทธิมนุษยชน” มุ่งแก้ปัญหาคนไร้สัญชาติทั่วประเทศ เพื่อให้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำเป็นหลายประการ เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิในการศึกษา สิทธิในการเดินทาง รวมถึงสวัสดิการต่างๆ จากรัฐ นำไปสู่การขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตน การถูกเลือกปฏิบัติและการถูกกีดกันจากการมีส่วนร่วมในสังคม ดังนั้น เด็กไร้สัญชาติจึงถือเป็นประชากรกลุ่มเปราะบางซึ่งต้องการความคุ้มครองทางสังคม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิติวรญา รัตนมณี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เปิดเผยว่า สถานะคนไร้รัฐสัญชาติที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนในประเทศเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีความพยายามร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยมีแนวนโยบายและกฎหมายที่ครอบคลุม แต่ปัญหาในทางปฏิบัติยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ยังไม่สามารถยุติวงจรไร้สัญชาติได้อย่างเด็ดขาด ส่งผลให้ยังมีเด็กที่อยู่ในสถานะไร้รัฐ ไร้สัญชาติอยู่นับแสนๆ คน ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย จากข้อมูลจำนวนราษฎรทั้งหมด 66,171,439 คน คิดเป็นร้อยละ 1.47 ซึ่งภาวะไร้สัญชาติ ทำให้เด็กเข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำเป็นหลายประการ เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิในการศึกษา สิทธิในการเดินทาง รวมถึงสวัสดิการต่างๆ จากรัฐ นำไปสู่การขาดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตน การถูกเลือกปฏิบัติและการถูกกีดกันจากการมีส่วนร่วมในสังคม ดังนั้น เด็กไร้สัญชาติ จึงถือเป็นประชากรกลุ่มเปราะบาง ซึ่งต้องการความคุ้มครองทางสังคม
ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553-ปัจจุบัน คลินิกกฎหมายนเรศวรเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ให้ความช่วยเหลือในการให้คำปรึกษาแก่นิสิตไร้สัญชาติในมหาวิทยาลัยนเรศวรทั้งสิ้นประมาณ 27 คน จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ คละพยาบาลศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ นิสิตจบการศึกษาแล้ว 17 คน (มีสัญชาติไทย 13 คน ไร้สัญชาติ 4 คน) และกำลังศึกษาอยู่ 10 คน (ไร้สัญชาติ 10 คน) ช่วยเหลือบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติในพิษณุโลกและจังหวัดอื่นๆ กว่า 200 คน และช่วยให้บุคคลไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 322 คน ไร้รับการถ่ายบัตรประจำตัว ได้รับการตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล
ด้านนางสาวอลิษา นิสิตไร้สัญชาติ ปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เปิดเผยถึงความลำบากและปัญหาในการไม่มีสัญชาติไทยว่า การขอทุนการศึกษา เพื่อศึกษาในระดับปริญญาโท ไม่สามารถทำได้ และการเดินทางมาเรียน คนที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทยจะต้องขอใบอนุญาตออกนอกพื้นที่ ซึ่งในการไปขอแต่ละครั้งมีความยุ่งยากมาก ซึ่งสัญญาเพียง 1 ปี เมื่อครบสัญญาก็ต้องไปต่อใหม่ และที่สำคัญมากคือเรื่องโอกาสในการสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู ปัญหาตรงนี้ทำให้ไม่มีโอกาสแม้กระทั่งสมัครสอบ ก.พ. เนื่องจากไม่มีสัญชาติไทย
มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ความสำคัญการเป็นพลโลก/พลเมืองโลก หรือ Global Citizenship เพราะปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกเรานี้มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์การเป็นพลโลกไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นคนชาติใด อาศัยอยู่ที่ไหน ประเทศไหน ปัญหาสำคัญคือทุกคนไม่ได้เกิดมาอย่างเท่าเทียมกัน จึงเป็นความท้าทายของเราในฐานะสถาบันการศึกษาในการจัดเตรียมผู้คนให้มีประสิทธิภาพ และสามารถมีโอกาสที่จะทำงานหรือใช้ชีวิตร่วมกันบนโลกใบนี้ได้ เราจะผลิตบัณฑิตเพื่อประเทศใดประเทศหนึ่งไม่ได้อีกต่อไป แต่ต้องผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นพลโลก เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันหรือทำงานร่วมกันได้ ซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับผู้ที่สนใจ หรือมีปัญหาสถานะไร้รัฐ ไร้สัญชาติสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เพจ Facebook : คลินิกกฎหมายนเรศวรเพื่อสิทธิมนุษยชน Naresuan Legal Clinic คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เบอร์โทร. 0-5596-1739 ในวันและเวลาราชการ
ที่มา: dailynews
รศ.ดร.พิสิษฏ์ มณีโชติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนางาน NU SMART CITY SGtech และ ผศ.ดร.ปรีชา ศรีประภาคาร ศิษย์เก่ารหัส 59 สาขาพลังงานทดแทน SGtech เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองประเด็น “อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนของ SMEs สู่ธุรกิจชุมชนไทย” ในงาน ASEAN Sustainable Energy Week (ASEW) นิทรรศการนานาชาติด้านพลังงานทดแทน เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ฯ ในวันที่ 16 กันยายน 2565
– รศ.ดร.พิสิษฏ์ มณีโชติ บรรยายหัวข้อ “แนวโน้มการศึกษาและวิจัยเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับการใช้งานในภาคชุมชน”
– ผศ.ดร.ปรีชา ศรีประภาคาร บรรยายหัวข้อ “การปรับตัวและแสวงหาแนวทางเพิ่มศักยภาพคนในพื้นที่ชุมชนตนเอง”
ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร
กองกิจการนิสิต และกองอาคารสถานที่ ประชุมหารือเรื่องการให้บริการสนามกีฬาและสถานที่ออกกำลังกายภายในมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุมกองกิจการนิสิต
ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
เมื่อวันที่ 26 – 27 กันยายน 2565 กองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เข้ามาดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ขยายสัญญาณ Wi-Fi ห้อง Common Room เพิ่มเติม ในหอพักอาคาร 1 – 15 จำนวนอาคารละ 2 จุด ทั้งนี้เพื่อขยายพื้นที่การใช้งาน Wi-Fi ให้มีขอบเขตที่กว้างขึ้น เสถียรขึ้น รวดเร็วขึ้น และครอบคลุมขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังช่วยจัดการกับปัญหาของมุมอับสัญญาณต่าง ๆ ภายในอาคารสถานที่ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย โดยการดำเนินการดังกล่าวเป็นการให้บริการ สนับสนุน และพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และปฏิบัติงานด้านต่างๆ ของนิสิตหอพัก ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 กองกิจการนิสิตร่วมกับกองอาคารสถานที่และชมรมอดีตผู้นำนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการปลูกรักปลูกเสลา(Your Home Always) ขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวและพื้นที่แห่งความสุขของทุกคน (NU Happy All) ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร บริเวณสระสุริโยทัย โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมทั้งคณะผู้บริหารมหวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่า ร่วมบริจาคสมทบทุนในการจัดซื้อและร่วมปลูกต้นเสลา ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
Sustainability