Archives April 2022

ม.นเรศวร ปรับภูมิทัศน์สระสองกษัตริย์ สร้างต้นแบบความยั่งยืนด้านน้ำและสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2565 บุคลากรกองอาคารสถานที่ได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสระสองกษัตริย์ หนึ่งในพื้นที่สำคัญของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นความสะอาดและความสวยงามของสภาพแวดล้อม รวมถึงการกำจัดวัชพืชที่สะสมอยู่ในสระน้ำ กิจกรรมดังกล่าวไม่เพียงช่วยเพิ่มความน่าอยู่และความน่ามองของพื้นที่ แต่ยังมีเป้าหมายที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าในการสนับสนุนความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

การสนับสนุน SDG 6: การจัดการน้ำที่ยั่งยืน การกำจัดวัชพืชในสระสองกษัตริย์ช่วยปรับปรุงคุณภาพของแหล่งน้ำ โดยลดการสะสมของอินทรียวัตถุที่อาจทำให้เกิดการเน่าเสีย นอกจากนี้ การบำรุงรักษาแหล่งน้ำยังช่วยเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศในพื้นที่ รวมถึงการรักษาความสมดุลของทรัพยากรน้ำในชุมชนมหาวิทยาลัย

การสนับสนุน SDG 11: เมืองและชุมชนยั่งยืน มหาวิทยาลัยได้จัดการกับวัชพืชที่เก็บรวบรวมจากสระน้ำโดยนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก เพื่อลดการใช้สารเคมีและเสริมสร้างดินที่ใช้ปลูกต้นไม้ ดอกไม้ และไม้ประดับในพื้นที่ การดำเนินงานนี้เป็นตัวอย่างของการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ลดปริมาณขยะ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างพื้นที่สีเขียวและสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อการอยู่อาศัย ทั้งสำหรับบุคลากรและนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย

การดำเนินการในครั้งนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยนเรศวรในการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในด้านการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาพื้นที่ให้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมในอนาคตอย่างยั่งยืน

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จับมือ 2 องค์กรมุ่งพัฒนานวัตกรรมห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจค้าสัตว์น้ำ และนวัตกรรมสังคม

ที่มา: คณะสังคมศาสตร์

หน่วยรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจก SGtech เข้าร่วมรับมอบประกาศนียบัตรการรับรองระบบงานและการขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอก

วันที่ 20 เมษายน 2565 หน่วยรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจก SGtech เข้าร่วมรับมอบประกาศนียบัตรการรับรองระบบงานและการขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอก ในงานแถลงความสำเร็จการรับรองระบบงาน (Accreditation) หน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก และการขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอก จากเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

โครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานตามแนวทางยุติธรรมชุมชนของอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก และคณะกรรมการอาสมัครคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก ดำเนินโครงการ “อบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานตามแนวทางยุติธรรมชุมชนของอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก” ภายใต้โครงการวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานตามแนวทางยุติธรรมชุมชนของอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก (ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร) โดยมี ดร.กมเลศ โพธิกนิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหัวหน้าโครงการ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2565 ณ ห้อง Main conference ชั้น 1 อาคารกองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโครงการอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และนำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครคุมประพฤติจังหวัดพิษณุโลก ตามแนวคิดยุติธรรมชุมชน และยังถือเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ผ่านการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ รวมถึงยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการสนับสนุนการดำเนินงานตามแนวนโยบายยุติธรรมชุมชนของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

ม.นเรศวร เผยผลวิจัย โรงเรียนจัดกิจกรรมรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ลดการทดลองสูบบุหรี่ของ นร.ได้เกือบ 2 เท่า

วันที่ 1 เมษายน 2565 รศ.ดร.จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยผลการวิจัยเรื่องผลการสำรวจโอกาสเสี่ยงในการสูบบุหรี่ของนักเรียนในภูมิภาคของประเทศไทย (Susceptibility to smoking and determinants among never-smoking high school students : A representative nationwide study in Thailand) สนับสนุนโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ว่า การสำรวจนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 จาก 12 จังหวัดทุกภูมิภาคของไทย จำนวน 3,156 คน พบว่า มีนักเรียน 72.4% ระบุว่าเรียนอยู่ในโรงเรียนที่จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่สูบบุหรี่แบบเป็นประจำ ในขณะที่เหลืออีก 27.6% ระบุว่าเรียนอยู่ในโรงเรียนที่จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่สูบบุหรี่แบบนานๆ ครั้ง โดยพบว่า โรงเรียนที่จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่สูบบุหรี่แบบเป็นประจำ มีนักเรียนที่อยากทดลองสูบบุหรี่ 13.6% ในขณะที่โรงเรียนที่จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่สูบบุหรี่แบบนานๆ ครั้งมีนักเรียนที่อยากทดลองสูบบุหรี่ 23.9% “สรุปได้ว่า โรงเรียนที่จัดกิจกรรมรณรงค์ไม่สูบบุหรี่แบบเป็นประจำมีนักเรียนที่อยากทดลองสูบบุหรี่น้อยกว่าโรงเรียนที่จัดกิจกรรมแบบนาน ๆ ครั้ง เกือบ 2 เท่า เช่นเดียวกับการได้รับข้อความรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ทางโทรทัศน์หรืออินเทอร์เน็ตที่พบว่า นักเรียนในกลุ่มที่พบเห็นข้อความรณรงค์ไม่สูบบุหรี่แบบเป็นประจำมีสัดส่วนของคนที่อยากทดลองสูบบุหรี่น้อยกว่านักเรียนในกลุ่มที่พบเห็นข้อความรณรงค์ไม่สูบบุหรี่แบบนานๆ ครั้ง เกือบ 2 เท่า” รศ.ดร.จักรพันธ์ กล่าว

นายวุฒิชัย ลาภไธสง โรงเรียนหล่มเก่าวิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์ ประธานแกนนำนักเรียนชมรม Gen Zกล่าวว่า ได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมป้องกันนักสูบหน้าใหม่ Gen Z Gen Strong กับมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับอันตราย พิษภัยของการสูบบุหรี่มาพัฒนาในโรงเรียน สร้างเครือข่าย Gen Z โรงเรียน สร้างกิจกรรม ต่อยอดกับ บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นสถานศึกษาปลอดบุหรี่ จนทำให้โรงเรียนหล่มเก่าวิทยาคม เป็นโรงเรียนต้นแบบระดับเพชร สำหรับปัจจัยความสำเร็จคือ การเน้นผู้เรียนหรือนักเรียนแกนนำให้สามารถต่อยอด โดยมีคุณครูเป็นที่ปรึกษาให้นักเรียนได้จัดกิจกรรม คิดเอง รวมตัวกันเอง สามารถส่งต่อกิจกรรมจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้เด็กมีความรู้ความสามารถ พึ่งพาตนเองได้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่
ด้านนางสุวิมล จันทร์เปรมปรุง หัวหน้าคณะทำงานเครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ กล่าวว่า การสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในโรงเรียน เป็นหนึ่งใน 7 มาตรการ การดำเนินงานเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ ซึ่งเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อให้โรงเรียนปลอดบุหรี่อย่างเป็นระบบ และมีความสอดคล้องกับประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานศึกษา (ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560) รวมถึงการดำเนินงานโรงเรียนปลอดบุหรี่ตาม 7 มาตรการนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขของกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบัน มีครูจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ สนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกว่า 4,485 คน โดยได้นำแนวทางการดำเนินงาน 7 มาตรการเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ ไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของแต่ละโรงเรียน เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีทัศนคติที่ยืนยันไม่สูบบุหรี่ไปตลอดชีวิต และปกป้องตนเองให้พ้นจากภัยของยาสูบทุกประเภท ซึ่งเครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ยังเดินหน้าสร้างโรงเรียนปลอดบุหรี่ และปลูกฝังค่านิยมการไม่สูบบุหรี่ในสังคมต่อไป โรงเรียนที่สนใจร่วมรณรงค์สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin