วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เดือนที่ถูกเลือกให้เป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองเพื่อความเท่าเทียมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถูกเรียกกันว่า “Pride Month” ทำให้ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ที่ จ.พิษณุโลก จัดกิจกรรมทาสีทางม้าลายสายรุ้ง (Rainbow Crossing) จะอยู่บริเวณหน้าอาคารขวัญเมือง ซึ่งเป็นหอพักนิสิต
รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร
รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เผยว่า ปัจจุบันนี้โลกยอมรับความแตกต่างและให้ความเท่าเทียม ไม่ว่าเราจะเป็นคนในกลุ่มไหน ถ้ามาอยู่ใน มน. เราเท่าเทียมกันทุกอย่างไม่ว่า คณาจารย์ หรือนิสิต จะเป็นคนในกลุ่มไหนก็ตาม จะไม่ได้มีความแตกต่างกันแต่อย่างใดในรั้วของมหาวิทยาลัยนเรศวร
ทางม้าลายสายรุ้ง มหาวิทยาลัยนเรศวร
สำหรับมุมมองที่มีต่อ LGBTQ ไม่ได้คิดว่ามันต่าง ทุกคนเหมือนกัน ไม่ได้เห็นว่าเป็นเรื่องผิดปกติ หรือเป็นเรื่องแตกต่าง หรือถูกกีดกัน จะให้ความเคารพในสิทธิของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มหาวิทยาลัยนเรศวรเรายอมรับความแตกต่างของคนในทุกเพศ ยอมรับความต้องการของบุคคลทุกคน ถือว่าเท่าเทียมกันหมด
ในส่วนของการทำทางม้าลายสายรุ้งนี้จะเป็นเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า มน. มีจุดยืนชัดเจนในเรื่องของการยอมรับความเท่าเทียม โดยหลังจากนี้จะจัดกิจกรรมเปิดโอกาสให้นิสิต LGBTQ ได้มีเวทีในการแสดงออกต่อไปในช่วงเปิดเทอม การสร้างความเป็นพลโลก หรือ Global Citizenship ถือเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ
ทางม้าลายสายรุ้ง กิจกรรม Pride Month สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ
เพราะปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกเรานี้มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และส่งผลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ ในฐานะรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่า และศิลปวัฒนธรรม ก็พยายามผลักดันผ่านกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร ซึ่งเราให้ความสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDG)
โดยพยายามผลักดันหรือสอดแทรกเข้าไปกับการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ให้การเคารพและเห็นคุณค่าของความหลากหลายและความแตกต่าง ซึ่งความหลากหลายนี้เรามองในหลาย ๆ มิติ ความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ก็เป็นหนึ่งในมิติที่ทางมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญ
ที่มา: springnews