Archives August 2022

ม.นเรศวร ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานด้านณรงค์ป้องกันยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 มหาวิทยาลัยนเรศวร (สถาบันแม่ข่าย) ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานด้านณรงค์ป้องกันยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง เป็นครั้งที่3 โดยได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนกับ 1.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ในประเด็นการลงพื้นที่เป้าหมายรณรงค์และให้ความรู้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและรู้เท่าทันสถานการณ์ยาเสพติดในปัจจุบัน 2.มหาวิทยาลัยภาคกลาง ในประเด็นผนวกการให้ความรู้เรื่องยาเสพติดเข้ากับวิชาเรียน และ 3.มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ให้ความรู้การทำคลิปเพื่อเผยแพร่ความรู้การรณรงค์ป้องกันยาเสพติด โดยทั้ง3สถาบัน จะได้นำสิ่งที่ได้จากการดำเนินงานร่วมแลกเปลี่ยนกับสถาบันอุดมศึกษา เครือข่ายภาคเหนือตอนล่างต่อไป

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

รายการ รักไม่รู้โรย เรื่อง ปัญหาเรื่องเต้านมคุณแม่หลังคลอด

รายการ รักไม่รู้โรย เรื่อง ปัญหาเรื่องเต้านมคุณแม่หลังคลอด
>>วิทยากรโดย อาจารย์กนกอร มังกรประดิษฐ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพยาบาลมารดรและทารก

ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร NUradio Naresuan

https://www.youtube.com/watch?v=VOpAWtuAzWU&t=54s

กยศ. มอบรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. เพื่อเป็นต้นแบบที่ดี (Role Model) จิตอาสาเต้านมเทียม

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มอบรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นต้นแบบที่ดี (Role Model) ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่า กยศ. และสถานศึกษา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นต้นแบบที่ดี

วันนี้ (26 สิงหาคม 2565) ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 ชั้น 4 กระทรวงการคลัง ได้มีพิธีมอบรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมี นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลและร่วมแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับรางวัล

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เปิดเผยว่า “ในโอกาสที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้จัดงานมอบรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่า กยศ. และสถานศึกษา ซึ่งทุกท่านถือเป็นผู้ที่มีคุณงามความดี และเป็นต้นแบบที่ดีให้กับรุ่นน้องได้เห็นคุณค่าของเงินกู้ยืมมีทัศนคติที่ดีและถูกต้องต่อการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา และมีคุณธรรมจริยธรรมจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงมีความรับผิดชอบในการชำระเงินคืนกองทุน ซึ่งสมควรที่จะได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบที่ดีของสังคมต่อไป ทั้งนี้ กองทุนมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมต่อไป กองทุนได้ดำเนินการคัดเลือกรางวัลกิจกรรมเชิดชูคนดี กยศ. โดยร่วมกับสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกองทุนทั่วประเทศ เพื่อสรรหาผู้ที่เป็นต้นแบบที่ดี (Role Model) ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่า กยศ. และสถานศึกษา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นต้นแบบที่ดีในการประพฤติปฏิบัติตน มีจิตสาธารณะ มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงสร้างเครือข่ายผู้เป็นต้นแบบที่ดีของกองทุนที่จะได้เป็นส่วนสำคัญในการร่วมสร้างประโยชน์แก่สังคม และร่วมกันดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่เกี่ยวกับกองทุนในโอกาสต่างๆ ทั้งนี้ กองทุนได้ประกาศผลการคัดเลือกต้นแบบที่ดี จำนวน 36 รางวัล ประกอบด้วย

นักเรียน นักศึกษา กยศ. ต้นแบบ จำนวน 12 รางวัล (แบ่งเป็นประเภทเดี่ยว จำนวน 9 รางวัล ประเภทกลุ่ม 3 รางวัล) โดยจะได้รับรางวัลทุนการศึกษา พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และเข็มคนดี กยศ.

ศิษย์เก่า กยศ. ต้นแบบ จำนวน 12 รางวัล โดยจะได้รับรางวัลทุนการศึกษา พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และเข็มคนดี กยศ.

สถานศึกษาต้นแบบ 12 รางวัล โดยจะได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ในฐานะที่เป็นต้นแบบ    การบริหารจัดการงานกองทุนที่ดี มีการสร้างเครือข่ายจิตสาธารณะ เพื่อปลูกฝังให้นักเรียน นักศึกษา ร่วมทำประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวมอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ กองทุนเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอาชีวศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา ผ่านสถานศึกษามากกว่า 4,000 แห่ง โดยมีผู้กู้ยืมที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาทั่วประเทศกว่า 6.2 ล้านราย ซึ่งทุกคนล้วนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป” ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด

   ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับการคัดเลือกต้นแบบที่ดีและได้รับรางวัล  ดังนี้
1. นักเรียน นักศึกษา กยศ. ต้นแบบ
              1. นางสาวเบญจรัตน์ ดีเรือง มหาวิทยาลัยนเรศวร

2. ประเภทกลุ่ม “จิตอาสาเต้านมเทียม”
            1. นางสาวเอมมิกา ใจกลม มหาวิทยาลัยนเรศวร
              2. นางสาวกัญญ์วรา ขันวิเศษ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              3. นางสาวรวิสรา สมบูรณ์มา มหาวิทยาลัยนเรศวร
              4. นางสาวธนภรณ์ ชัยสิทธิ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              5. นางสาวมานิตา สุนทรพจน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

3. ​ประเภทกลุ่ม
              1. นายเกรียงศักดิ์ ลีลาศักดิ์สิริ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              2. นางสาวมูนา กียะ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              3. นางสาวณัฐติกรณ์ โยธาสิงห์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
              4. นางสาววชิราภรณ์ รุ่งอินทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

4. สถานศึกษาต้นแบบ
              มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

ม.นเรศวรจัดกิจกรรม “NU Art & Craft Fun Fair 2022”  สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space) เพื่อพัฒนานิสิตให้มีความเป็นพลโลก (Global Citizenship)

       วันที่ 20 สิงหาคม 2565 มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดกิจกรรม “NU Art & Craft Fun Fair 2022” ระหว่างวันที่ 19  – 20  สิงหาคม 2565  ณ ลานกิจกรรม กองกิจการนิสิต พิพิธภัณฑ์ผ้า และหอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อสร้างกิจกรรมให้เกิดการกระตุ้นให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space) ทั้งในเชิงกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ย้ำจุดยืนของความเท่าเทียม ความเสมอภาค และความหลากหลายในทุกมิติ โดยเป็นการจัดงานร่วมกันของกองกิจการนิสิตและกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

       รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์  แทนธานี  รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรมีนโยบาย “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ (University for Entrepreneurial Society)”  ซึ่งจากโยบายดังกล่าวต้องอาศัยทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยตลอดจนองค์ความรู้และนวัตกรรมในการสร้างความร่วมมือกันทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดการสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยมีกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญคือ การสร้าง “The Entrepreneur Mindset” ให้แก่บุคลากรและนิสิต เพราะแนวคิดนี้จะทำให้เราพัฒนาตัวเองให้กล้าเผชิญกับความท้าทาย พร้อมรับมือกับปัญหาที่จะเข้ามา รู้จักเป็นผู้บุกเบิกในการเริ่มต้น หรือนำความคิดสร้างสรรค์มาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดเป็นนวัตกรรมหรือ Innovation จากการคิดแบบนี้จะทำให้สามารถนำไปปรับใช้หรือต่อยอดการทำงานและธุรกิจ เพื่อให้เกิดรายได้มากขึ้นอีก   ดังนั้นเพื่อให้เกิดการกระตุ้นนิสิตจึงได้จัดกิจกรรมดังกล่าวนี้ขึ้นให้เพื่อเกิดพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space) ทั้งในเชิงกายภาพเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เป็นพื้นที่ในการฝึกปฏิบัติจริง

       ด้าน ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่า และศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า  กิจกรรม “NU Art & Craft Fun Fair 2022” เป็นการทำงานแบบ Cross-Functional ระหว่างกองกิจการนิสิต และกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ หน่วยงานในมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน เพื่อเป็นกิจกรรมในการพัฒนานิสิตให้สามารถมีมุมมองสอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัยและมีความเป็นพลโลก (Global Citizenship) ซึ่งมหาวิทยาลัยจะสร้างนิสิตให้เป็นผู้มีศักยภาพในการที่จะสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและโลกที่สามารถทำงานที่ใด ๆ ในโลกนี้ได้  โดยให้นิสิตมีประสบการณ์ในวัฒนธรรมที่หลากหลาย นอกจากนั้น เรายังให้ความสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติด้วย

       หัวใจสำคัญในการจัดงานในครั้งนี้ คือ

       – การเคารพและเห็นคุณค่าของความหลากหลายและความแตกต่าง ซึ่งความหลากหลายนี้เรามองในหลายๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural Diversity) รวมไปถึงความเท่าเทียม/ความเสมอภาค ของกลุ่มเปราะบางด้วย

       – การแต่งกายชุดนิสิตตามเพศสภาพคือการแสดงออกถึงเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เราควรเคารพ

       – พัฒนานิสิตให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับคนต่างภาษาและวัฒนธรรมได้

       – นิสิตมองเห็นคุณค่า ในการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม ในหลากหลายมิติ

       กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกคือ Art & Craft ซึ่งประกอบไปด้วย Art Exhibition (นิทรรศการผ้าแห่งขุนเขา, Art Therapy, Doll House และ Art Collections), Art & Craft Workshop, Art & Craft Market (มีสินค้าจากโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลหรือที่เรียกว่า U2T และร้านค้าอื่น ๆ) , Art Innovation (ผลงานของนิสิตและคณาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ) และ Art Talk (การสร้างสรรค์งานศิลปะ Speed Art โดยศิลปินพื้นบ้านเมืองบางขลัง คุณอุเทน ลำไย และการสร้างสรรค์งานศิลปะ Speed Painter โดย คุณบัลลังค์ เชยบาล) และ ส่วนที่สองจะเป็น Fun Fair ซึ่งจะมีกิจกรรมหลักคือ NU Pride, Equity and Diversity Parade นอกจากนั้นยังมีการประกวดชุดประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้/ ใช้ซ้ำ (ชุด Recycle) ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้นิสิตมีความคิดสร้างสรรค์แบบรักษ์โลกและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังมี Performing Arts, มีการแสดงดนตรีและ Talent Show ในพื้นที่งานจะมีการฉายหนังกลางแปลง Food Truck, Food Kiosk และ Outdoor Café’  ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นนี้น่าจะทำให้นิสิตมีความสนุกสนาน และได้การเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน

       มหาวิทยาลัยวิทยาลัยนเรศวร ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม ความเสมอภาคและความหลากหลาย พัฒนานิสิตให้เป็น Global Citizen เพื่อตอกย้ำวิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ (University for Entrepreneurial Society)”

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

โครงการผักปลอดภัย เสริมอนามัยสู่ชุมชน

เมื่อวันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565 รศ.ดร.ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ และ คุณธวัช สิงหเดช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ ให้เกียรติเป็นประธานการกล่าวเปิดงาน “โครงการผักปลอดภัย เสริมอนามัยสู่ชุมชน” หัวหน้าโครงการ: ดร.กนกทิพย์ จักษุซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านการบริการวิชาการจาก อบต.ท่าโพธิ์ ร่วมกับ “โครงการบริการวิชาการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม” หัวหน้าโครงการ: ผศ.ดร.สรัญญา ถี่ป้อม จัดขึ้นโดยสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ประกอบการแผงผัก จำนวน 20 ร้านค้า และ อสม. จำนวน 50 ท่าน คณาจารย์และนิสิตสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมชั้นปีที่ 4 ณ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตตำบลท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

โดยนิสิตสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมจัดกิจกรรมให้ความรู้ เวียนฐานการเรียนรู้ อธิบายและสาธิต จำนวน 7 ฐาน
1. การล้างผัก เพื่อการบริโภคผักอย่างปลอดภัย
2. การตรวจวัดหาการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผัก
3. การตรวจสารฟอกขาวในอาหาร
4. การตรวจสารกันรา
5. การตรวจน้ำส้มสายชูปลอม
6. การตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ
7. การตรวจโคลิฟอร์มในน้ำ

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมขอขอบคุณคณาจารย์และนิสิตผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังที่ทำให้โครงการในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ที่มา: สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มน.

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เดินขบวนพาเหรด LGBTQIA+

วันที่ 20 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีการจัดกิจกรรมการสร้างความเป็นพลโลก/ พลเมืองโลก หรือ Global Citizenship ถือเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ เพราะปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกเรานี้มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และส่งผลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ การเป็นพลโลกไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นคนชาติใด อาศัยอยู่ที่ไหน ประเทศไหน แต่คือการสร้างเครือข่ายและความเชื่อมโยง สร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ทุกการกระทำของเราย่อมส่งผลกระทบต่อคนอื่น ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ปัญหาสำคัญคือทุกคนไม่ได้เกิดมาอย่างเท่าเทียมกัน (ทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม)
โดยทางมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์  แทนธานี  รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดเวทีความเท่าเทียมเสมอภาคขึ้น สอดแทรกเข้าไปกับการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยนเรศวรแห่งนี้ ก็มีหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น การเคารพและเห็นคุณค่าของความหลากหลายและความแตกต่าง ซึ่งความหลากหลายนี้เรามองในหลายๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural Diversity) ขจัดความเหลื่อมล้ำของผู้ด้อยโอกาส เรามองไปถึงความเท่าเทียม/ความเสมอภาคของคนพิการซึ่งถือเป็นกลุ่มเปราะบางด้วย พัฒนานิสิตให้มีความสามารถในการสื่อสารและปรับตัวข้ามวัฒนธรรมโดยใช้ภาษาเป็นสื่อกลางในการสื่อสารพัฒนานิสิตให้มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับคนต่างภาษาและวัฒนธรรมได้
ซึ่งในกิจกรรมมีการเดินขบวนพาเหรด ของการเท่าเทียมกันหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ซึ่งให้นิสิต ได้แต่งกายมาร่วมขบวน แสดงออกทางด้านความคิดได้อย่างเต็มที ทั้งการแต่งกาย การแสดงต่างๆ  การผลักดันให้มีการจดทะเบียนสมรส เป็นต้น ซึ่งแต่ละชุดการแสดงความสวยงามและสื่อความหมายแตกต่างกัน เรียกความสนใจแก่ผู้ร่วมงานกันจำนวน นอกจทากนี้ ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ยังได้ร่วมจัดงาน NU Art & Craft FunFair 2022 (19-20 สิงหาคม 2565)  เพื่อสร้างกิจกรรมให้เกิดการกระตุ้นให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative space) ทั้งในเชิงกายภาพและเชิงของกิจกรรม และการสร้างคุณค่าของทุกคนให้มีความเท่าเทียม ความเสมอภาค และเข้าใจความหลากหลายในทุกมิติต่าง ๆ โดยเป็นการจัดงานร่วมกันของกองกิจการนิสิตและกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  รวมทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอีกด้วย

ที่มา: phitsanulokhotnews

ม.นเรศวร กับบริบทความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคอาเซียน

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 นางสาวนารีรัตน์ พันธุ์มณี ผู้อำนวยการกองประสาน การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมเผยแพร่ข้อเสนอแนะบทบาทและแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยในบริบทความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคอาเซียน โดยมีคณะที่ปรึกษาโครงการ ประกอบด้วย รศ.ดร. ประพิธาริ์ ธนารักษ์ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร และนายณัฐกิตติ์ กริตโยธิน นักวิจัย บริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จํากัด

นำเสนอผลการศึกษาและข้อเสนอแนะของโครงการเพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับทราบและแลกเปลี่ยนมุมมองสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาของอาเซียนต่อไป นอกจากนี้ ดร. สุริยัน วิจิตรเลขการ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง และ นางสาวนารีรัตน์ ธนะเกษม ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาศักยภาพและเผยแพร่ความรู้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาเรื่อง “Climate Change Cooperation: Building a Low Carbon and Resilient Pathway Across ASEAN Region” เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินความร่วมมือกับภูมิภาคอาเซียน โอกาส และความท้าทาย

ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการพัฒนาการปล่อยคาร์บอนต่ำและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป โดยการประชุมเผยแพร่ดังกล่าวมีผู้แทนหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคมเข้าร่วมประมาณ 150 คน ณ ห้องบอลรูม ชั้น 7 โรงแรมเดอะแลนด์มาร์ค กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบออนไลน์ Zoom

SGtech ขอขอบคุณสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และทุกภาคส่วนที่กรุณาเข้าร่วมงานและร่วมแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดกิจกรรม “NU Art & Craft Fun Fair 2022”  สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space) เพื่อพัฒนานิสิตให้มีความเป็นพลโลก (Global Citizenship)

       มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดกิจกรรม “NU Art & Craft Fun Fair 2022” ระหว่างวันที่ 19  – 20  สิงหาคม 2565  ณ ลานกิจกรรม กองกิจการนิสิต พิพิธภัณฑ์ผ้า และหอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อสร้างกิจกรรมให้เกิดการกระตุ้นให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space) ทั้งในเชิงกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ย้ำจุดยืนของความเท่าเทียม ความเสมอภาค และความหลากหลายในทุกมิติ โดยเป็นการจัดงานร่วมกันของกองกิจการนิสิตและกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

       รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์  แทนธานี  รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรมีนโยบาย “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ (University for Entrepreneurial Society)”  ซึ่งจากโยบายดังกล่าวต้องอาศัยทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยตลอดจนองค์ความรู้และนวัตกรรมในการสร้างความร่วมมือกันทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดการสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยมีกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญคือ การสร้าง “The Entrepreneur Mindset” ให้แก่บุคลากรและนิสิต เพราะแนวคิดนี้จะทำให้เราพัฒนาตัวเองให้กล้าเผชิญกับความท้าทาย พร้อมรับมือกับปัญหาที่จะเข้ามา รู้จักเป็นผู้บุกเบิกในการเริ่มต้น หรือนำความคิดสร้างสรรค์มาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดเป็นนวัตกรรมหรือ Innovation จากการคิดแบบนี้จะทำให้สามารถนำไปปรับใช้หรือต่อยอดการทำงานและธุรกิจ เพื่อให้เกิดรายได้มากขึ้นอีก   ดังนั้นเพื่อให้เกิดการกระตุ้นนิสิตจึงได้จัดกิจกรรมดังกล่าวนี้ขึ้นให้เพื่อเกิดพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space) ทั้งในเชิงกายภาพเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เป็นพื้นที่ในการฝึกปฏิบัติจริง

       ด้าน ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่า และศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า  กิจกรรม “NU Art & Craft Fun Fair 2022” เป็นการทำงานแบบ Cross-Functional ระหว่างกองกิจการนิสิต และกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ หน่วยงานในมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน เพื่อเป็นกิจกรรมในการพัฒนานิสิตให้สามารถมีมุมมองสอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัยและมีความเป็นพลโลก (Global Citizenship) ซึ่งมหาวิทยาลัยจะสร้างนิสิตให้เป็นผู้มีศักยภาพในการที่จะสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและโลกที่สามารถทำงานที่ใด ๆ ในโลกนี้ได้  โดยให้นิสิตมีประสบการณ์ในวัฒนธรรมที่หลากหลาย นอกจากนั้น เรายังให้ความสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติด้วย

       หัวใจสำคัญในการจัดงานในครั้งนี้ คือ

       – การเคารพและเห็นคุณค่าของความหลากหลายและความแตกต่าง ซึ่งความหลากหลายนี้เรามองในหลายๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural Diversity) รวมไปถึงความเท่าเทียม/ความเสมอภาค ของกลุ่มเปราะบางด้วย

       – การแต่งกายชุดนิสิตตามเพศสภาพคือการแสดงออกถึงเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เราควรเคารพ

       – พัฒนานิสิตให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับคนต่างภาษาและวัฒนธรรมได้

       – นิสิตมองเห็นคุณค่า ในการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม ในหลากหลายมิติ

       กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกคือ Art & Craft ซึ่งประกอบไปด้วย Art Exhibition (นิทรรศการผ้าแห่งขุนเขา, Art Therapy, Doll House และ Art Collections), Art & Craft Workshop, Art & Craft Market (มีสินค้าจากโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลหรือที่เรียกว่า U2T และร้านค้าอื่น ๆ) , Art Innovation (ผลงานของนิสิตและคณาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ) และ Art Talk (การสร้างสรรค์งานศิลปะ Speed Art โดยศิลปินพื้นบ้านเมืองบางขลัง คุณอุเทน ลำไย และการสร้างสรรค์งานศิลปะ Speed Painter โดย คุณบัลลังค์ เชยบาล) และ ส่วนที่สองจะเป็น Fun Fair ซึ่งจะมีกิจกรรมหลักคือ NU Pride, Equity and Diversity Parade นอกจากนั้นยังมีการประกวดชุดประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้/ ใช้ซ้ำ (ชุด Recycle) ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้นิสิตมีความคิดสร้างสรรค์แบบรักษ์โลกและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังมี Performing Arts, มีการแสดงดนตรีและ Talent Show ในพื้นที่งานจะมีการฉายหนังกลางแปลง Food Truck, Food Kiosk และ Outdoor Café’  ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นนี้น่าจะทำให้นิสิตมีความสนุกสนาน และได้การเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน

       มหาวิทยาลัยวิทยาลัยนเรศวร ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม ความเสมอภาคและความหลากหลาย พัฒนานิสิตให้เป็น Global Citizen เพื่อตอกย้ำวิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ (University for Entrepreneurial Society)”

ที่มา: ภาพ>กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร, ข่าว> งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ขนย้ายและกำจัดของเสียอันตราย ประจำปี 2565

เมื่อวันที่ 29-30 สิงหาคม 2565 บุคลากรกองอาคารสถานที่ร่วมกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการขนย้ายของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของคณะและหน่วยงานต่างๆ จำนวน 23 จุด ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งจะถูกนำไปกำจัดและทำลายอย่างถูกวิธีโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคลากรที่ปฏิบัติการทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดโครงการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับนักกีฬา

กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร ได้จัดให้มีโครงการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับนักกีฬา ในวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2565 ณ อาคารอเนกประสงค์ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้จัดการทีม ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน และนักกีฬา มหาวิทยาลัยเข้าร่วมการอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับนักกีฬาที่ถูกต้อง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในกรณีเกิดการบาดเจ็บระหว่างฝึกซ้อม หรือนำไปใช้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตหรือลดความรุนแรงในการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมหรือการแข่งขันกีฬา โดยได้รับความร่วมมือจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยยงค์ จรเกตุ รองคณบดีฝ่ายบริหารและพัฒนาทรัพยากร คณะสหเวชศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากร และได้รับความร่วมมือจาก AEKKAMON AMBULANCE ประกอบไปด้วย คุณเกียรติศักดิ์ รุ่งเรือง คุณพิมใจ รุ่งเรือง คุณวาสนา แสนทนันชัย และคุณปรีชา เชื้อสายมาก ให้ความรู้และสาธิตวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆ ที่อาจพบเจอได้จากการเล่นหรือฝึกซ้อมกีฬา รวมถึงเหตุฉุกเฉินที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin