Archives 2023

NU Going Green คัดแยกก่อนทิ้ง = ลดขยะ+เพิ่มพื้นที่สีเขียว

บุคลากรกองอาคารสถานที่นำรถโมบายเคลื่อนที่เร็ว ออกรับและจัดเก็บขวดพลาสติกตามจุดทิ้งขยะรีไซเคิลต่างๆ เช่น จุดคัดแยกขยะหอพักนิสิต จุดคัดแยกขยะหอพัก มน.นิเวศและจุดคัดแยกขยะสถานีรถไฟฟ้า เพื่อนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ทดแทนถุงเพาะชำต้นไม้ ดอกไม้ โดยตั้งเป้าไว้ 20,000 ใบและขอขอบคุณประชาคมมหาวิทยาลัยนเรศวรทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะ

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

“ECO WOOD” วัสดุทดแทนธรรมชาติ เพื่อทดแทนการใช้ไม้จริง ที่ช่วยลดปริมาณการตัดไม้ ลดปริมาณขยะพลาสติก”

วันที่ 20 เมษายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ หัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยผู้ช่วยวิจัย ได้จัดแถลงข่าวกับสื่อมวลชน ในผลงาน “ECO WOOD” วัสดุทดแทนธรรมชาติ เพื่อทดแทนการใช้ไม้จริง ที่ช่วยลดปริมาณการตัดไม้ ลดปริมาณขยะพลาสติก และลดพลังงานในการผลิต ซึ่งเป็นการสนับสนุนแนวคิด “Circular Economy” เป็นวัสดุที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล ผสมกากกาแฟและเปลือกไข่ซึ่งเป็นการเอาวัถตุดิบใช้แล้ว หมุนเวียนเอากลับมาทำให้มีมูลค่า โดยจะใช้เทคโนโลยีการผสมด้วยเครื่องหลอมอัดรีดเกลียว หนอนคู่เพื่อเตรียมเป็นคอมพาวด์ จากนั้นใช้กระบวนขึ้นรูปด้วยเทคนิคการอัดเข้าแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะสามารถขยายขนาดการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้

ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น

ศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร (อพ.สธ. – มน.) ได้จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรการบริหารและการจัดการงานที่ 1 งานที่ 2 และงานที่ 3 ครั้งที่ 1/2566 ระหว่างวันที่ 5-6 เมษายน พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมมหามนตรี ศูนย์แสดงนิทรรศการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้กับสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดยมีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ จำนวน 18 หน่วยงาน 40 คน

ที่มา: กองส่งเสริมการบริการวิชาการ ม.นเรศวร

ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบการดูแล ช่วยเหลือเด็กเยาวชนด้อยโอกาส เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและสังคม

ผศ.ดร. ธนะธร พ่อค้า (ผู้ช่วยคณบดีด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์) ดร.ณัฐพล คุ้มใหญ่โต ,ผศ.ดร.วินัย วงษ์ไทย และทีมนักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบการดูแล ช่วยเหลือเด็กเยาวชนด้อยโอกาส เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและสังคม โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีระบบย่อยคือ ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม Emergency Social Services หรือ ESS Help Me ที่จะเปิดใช้งานทั่วประเทศ ในวันที่ 5 เมษายน 2566

โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เตรียมจัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาระบบแจ้งเหตุ ESS ร่วมกับ
– สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
– สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
– กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
– กองทุนเสมอภาคทางการศึกษา

โดยในวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2566 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ได้นำเสนอระบบดังกล่าวต่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ระบบแจ้งเหตุ ESS จะเริ่มเปิดใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป และเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 เมษายน 2566 ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ กทม. ภายในงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันแห่งครอบครัว ประจำปี 2566

ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

การบริหารจัดการเสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในงานกิจการนิสิต

กองกิจการนิสิต จัดกิจกรรมสัมมนาคณะกรรมการกิจการนิสิต ภายใต้โครงการบริหารความสัมพันธ์องค์กร

“การบริหารจัดการเสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในงานกิจการนิสิต (Stakeholder’s voices Management in Student Affairs)”

ทั้งนี้ ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่า และศิลปวัฒนธรรม เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปี (26 มีนาคม 2565 – 25 มีนาคม 2566) และรับฟังเสียงสะท้อนจากคณะ /วิทยาลัย เพื่อแก้ปัญหาให้แก่นิสิตและศิษย์เก่า พร้อมด้วย ดร.จารุวรรณ แดงบุบผา ผู้ช่วยอธิการบดี เป็นวิทยากรกิจกรรมกระบวนการระดมสมอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Brain Storm) เมื่อวันที่ 1-3 เมษายน 2566 ณ โรงแรมสุโขทัยเทรเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสุโขทัย

3S: Space–>System–>Support , 3H: Healthy–>Happy–>Harmony
ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ศึกษาดูงานบริเวณชุมชนประแส โครงการศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์การประมง

ศึกษาดูงานบริเวณชุมชนประแส
-ฟาร์มเลี้ยงกุ้งเอกชน
-พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาพืชและสัตว์ทะเล ระยอง
-เยี่ยมชมวิถีชุมชนปากน้ำประแส
-ศึกษาดูงานระบบนิเวศป่าชายเลนทุ่งโปรงทอง

ขอขอบคุณทุกสถานที่ ที่ให้ทางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง เข้าไปศึกษาดูงาน และดูแลเป็นอย่างดี (ชาวบ้านที่นี่น่ารัก อัธยาศัยดี) โครงการศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์การประมง วันที่ 5-7 เมษายน 2566

ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ศึกษาดูงานสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยองศึกษาดูงาน

วันที่ 5-7 เมษายน 2566 หลักสูตรวิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์การประมง ณ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำระยอง เพื่อให้นิสิตเกิดความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และมีความรู้ความสามารถด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งสัตว์น้ำจืด สัตว์น้ำเค็ม สัตว์น้ำเศรษฐกิจต่างๆ

ที่มา: วิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร

งานเกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023

เตรียมพบกับ..มหกรรมงานเกษตรภาคเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 18 “งานเกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023” ระหว่างวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

เตรียมความพร้อมการจัด “งานเกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023” มหกรรมงานเกษตรภาคเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 18

วันที่ 7 เมษายน 2566 นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานการประชุมหารือเตรียมความพร้อมการจัด “งานเกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023” มหกรรมงานเกษตรภาคเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 18 ซึ่งกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและจัดการประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

ในการนี้ โดยมี ผศ.ดร.วรสิทธิ์ โทจำปา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ฯ รศ.ดร.ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ ดร.เจษฎา วิชาพร รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและสื่อสารองค์กร ดร.อนุพงศ์ วงค์ตามี รองคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศ คุณอ้อย ประยูรคำ หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ของจังหวัดพิษณุโลก เข้าร่วมประชุมหารือดังกล่าว ณ ห้องประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร

5 เครือข่าย UBI ภาคเหนือตอนล่าง ร่วมกลั่นกรองผู้ประกอบการเพื่อเข้าร่วมโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา

เริ่มแล้ว NU SciPark พร้อม 5 เครือข่าย UBI ภาคเหนือตอนล่าง ร่วมกลั่นกรองผู้ประกอบการเพื่อเข้าร่วมโครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubation) TOR ปี 2566 – 2567 🎉

ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร นำทีม NU SciPark และ 5 มหาวิทยาลัยเครือข่าย ร่วมคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะธุรกิจ ภายใต้โครงการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubation) ในระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 1 เมษายน 2566 ณ ห้องมหามนตรี อาคารศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวร

ได้รับเกียรติจาก นางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.), ศ.ดร.อัจฉรา จันทร์ฉาย ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย รศ.ดร.ภก.เนติ วระนุช ประธานคณะทำงานเครือข่ายเชิงประเด็น C-UBI เครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง ร่วมเป็นคณะกรรมการในการคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ ในระดับ Start-up, Spin-off และ Pre-Incubation

โดยมีผู้ประกอบการร่วมกลั่นกรองกว่า 28 ธุรกิจ จาก 6 มหาวิทยาลัยเครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ขอแสดงยินดีกับ 3 ผู้ประกอบการภายใต้การบ่มเพาะของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ผ่านการประเมินในระดับ Start-up ได้แก่
1) ผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์ โดย บริษัท เพียวพลัสไบโอ อโกรเทค จำกัด
2) ผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนสูงจากไข่ขาว โดย บริษัท นิวทรี อินโนฟู๊ด
3) ผลิตภัณฑ์ขนมไทยมงคล โดย นางสาวเมษา บุญธรรม

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin