Archives 2023

มอบทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตคณะเกษตรศาสตร์ฯ ทั้งสิ้น จำนวน 39 ทุน

วันที่ 8 มีนาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย ชูสำโรง รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศและกิจการนิสิต เป็นประธานพิธีมอบทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตคณะเกษตรศาสตร์ฯ ทั้งสิ้น จำนวน 39 ทุน

ที่มา: คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การผลิตน้ำประปา การจัดหาน้ำสะอาดและการจัดการคุณภาพน้ำของมหาวิทยาลัยนเรศวร

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม 2566 เวลา 14.00 น. บุคลากรกองอาคารสถานที่ ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 67 คน อาจารย์ ณัฐพงศ์ โปรยสุรินทร์ พร้อมด้วยคณาจารย์ เพื่อเข้ามาศึกษาดูงานการผลิตน้ำประปา การจัดหาน้ำสะอาดและการจัดการคุณภาพน้ำของมหาวิทยาลัยนเรศวร บรรยากาศเป็นไปด้วยน่ารักและความอบอุ่น ณ โรงผลิตน้ำประปา มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

นวัตกรรมพลาสติกเพื่อการเกษตรที่ผลิตจากวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

จะดีแค่ไหน ถ้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เราใช้กันทุกวัน จะไม่ไปจบที่หลุมฝังกลบ หรือลอยอยู่ในทะเล แต่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด และสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืนได้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มอบรางวัลนักคิดสิ่งประดิษฐ์รุ่นใหม่ ประจำปี 2562 แก่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ “NU Bio Bags นวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม” แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ และคณะ แห่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อให้ผลงานจากนักวิจัยเป็นที่รู้จัก และได้รับการต่อยอดในภาคธุรกิจ และนำไปสู่การปรับใช้ในวงกว้างเพื่อแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในประเทศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร พัฒนานวัตกรรม “NU Bio Bags พลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม” ถูกพัฒนาขึ้นโดยการผลิตจากไบโอคอมโพสิตฟิล์มของพอลิแลคติกแอซิดหรือพีแอลเอผสมกากกาแฟ และใช้วัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติปราศจากการใช้สารเคมี เป็นพลาสติกเพื่อการเกษตรที่สามารถย่อยสลายได้ 100% และไม่มีสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อม และสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้

มีองค์ประกอบหลัก คือเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิน และมีส่วนประกอบของน้ำมันกาแฟ ที่มีคุณสมบัติเป็นพลาสติกไซเซอร์ที่นำมาแทนพวกสารเคมีพาทาเลท อีกทั้งที่เลือกกากกาแฟ เนื่องจากมีธาตุอาหาร ไนโตรเจน โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ที่พืชต้องการสำหรับการเจริญเติบโตของพืช มีความสามารถในการป้องกันรังสียูวี ทำให้รากพืชสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่โดยที่ไม่โดนแสงแดดทำลายในขั้นตอนเพราะชำกล้า และกากกาแฟสามารถช่วยไล่ศัตรูพืชได้ เช่น มด รวมถึงสัตว์ที่มีผิวหนังเป็นเมือก เช่น หอยทาก ไส้เดือน และแมลงบางชนิด มักไม่ชอบความเป็นกรดที่อยู่ในกากกาแฟ คุณสมบัติเด่นของ NU Bio Bags จากไบโอคอมโพสิตฟิล์มพีแอลเอผสมกากกาแฟ สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100% ย่อยสลายแล้วไม่มีสารเคมีตกค้าง เนื่องจากในกาแฟนั้นมีน้ำมันกาแฟเป็นองค์ประกอบอยู่จึงเสมือนเป็นตัวช่วยในการผสมแบบธรรมชาติ ในการเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่พีเอลเอ

กระบวนการผลิตถุงปลูกพืชเริ่มจากผสมด้วยเครื่องหลอมอัดรีดแบบสกรูคู่ มาใช้ในกระบวนการเป่าฟิล์มด้วยเครื่องอัดรีดแบบเป่า โดยนำกากกาแฟมาใส่เป็นสารตัวเติม และมีการพัฒนาต่อยอดจากถุงปลูกพืช NU Bio Bags เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้ำตามโรงแรม อาทิ สบู่ก้อน รวมถึงต่อยอดไปสู่การทำถุงบรรจุภัณฑ์ข้าวกล้อง และถุงบรรจุช้อน-ส้อม จนปัจจุบันผลิตภัณฑ์จากไบโอคอมโพสิตฟิล์มพีแอลเอผสมกากกาแฟ ได้ถูกนำเข้าไปใช้จริงในบริษัท กาแฟพันธุ์ไทย เพื่อประชาสัมพันธ์ในเชิงการสร้างเรื่องราวความเป็นมาและการใช้ประโยชน์จากกาแฟที่เป็นของเหลือทิ้ง อีกด้วย

ที่มา: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ม.นเรศวร จัดกิจกรรม Clean Cook ภายใต้โครงการ เสริมสร้างสมรรถนะเครือข่าย ประจำปี 2566

งานบริการสวัสดิการนิสิต กองกิจการนิสิต ได้จัดกิจกรรม Clean Cook ภายใต้โครงการ เสริมสร้างสมรรถนะเครือข่าย ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2566 ในระหว่างวันที่ 19 – 20 มกราคม 2566 ณ กองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยได้รับเกียรติจาก นางพรธิดา บุญยะโรจน์ หัวหน้างานบริการสวัสดิการนิสิต เป็นประธานเปิดการอบรมและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมฯ

ในครั้งนี้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการได้พัฒนาศักยภาพด้านการประกอบการร้านค้าและการให้บริการ ประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 โดยสาระสำคัญเน้นสถานที่จำหน่ายอาหาร ผู้ประกอบกิจการอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ปฏิบัติไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมี และโลหะหนัก รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ กิจกรรมฯ

นอกจากนี้ควรเพิ่มอาหารทางเลือกที่หลากหลายให้ผู้บริโภค เช่น อาหารสุขภาพ ฮาลาน มังสวิรัติ เป็นต้น ไว้เป็นตัวเลือกในการบริโภค โดยกิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 268 คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการร้านค้า จำนวน 131 คน และผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 137 คน และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก และขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

นิสิตทุกชั้นปี ม.นเรศวร ร่วมโครงการมหกรรมการศึกษามนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 23

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้อง QS4401 ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการมหกรรมการศึกษา มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 23 “ร่วมประกอบการสร้างธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ANTHROPOCENE LEARNING CELEBRATION รายวิชา 001271 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (Anthropocene) 2/2565

ที่มา: กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

การอบรมฟรี!! “การผลิตมะปรางเชิงการค้า ครั้งที่ 18″การอบรมฟรี!!

สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

การอบรมฟรี การผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับไม้ผลเขตภาคเหนือตอนล่าง เรื่อง “การผลิตมะปรางเชิงการค้า ครั้งที่ 18”

ลงทะเบียนด่วน!! รับจำนวนจำกัด
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 5596 3014
ที่มา: คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ม.นเรศวร ยกทีมผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเตรียมความพร้อม (Bootcamp) ระดับภูมิภาค

วันที่ 2-3 มีนาคม 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร นำทีมผู้ประกอบการเข้ากิจกรรมอบรมเตรียมความพร้อม (Bootcamp) ระดับภูมิภาค ภายใต้แผนงาน “การส่งเสริมผู้ประกอบการภูมิภาคสู่ตลาดโลก” (Regional to Global Platform: R2G) ได้รับการสนับสนุนจากกองส่งเสริมและประสานงานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อส่งเสริมและยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการในภูมิภาคด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านการดำเนินงานร่วมกันของเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค พร้อมเสริมองค์ความรู้และเตรียมพร้อมผู้ประกอบการเพื่อเป็นตัวแทนภาคเหนือเข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับและเปิดกิจกรรมดังกล่าว ณ ห้องประชุม Convention Hall โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่

กิจกรรมอบรมเตรียมความพร้อม (Bootcamp) ระดับภูมิภาค กำหนดจัดขึ้นให้แก่ผู้ประกอบการจาก 41 บริษัท และเจ้าหน้าที่จาก 7 มหาวิทยาลัย (ก่อตั้ง) เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
1. บรรยายในหัวข้อ “Developing Mindset & Business Strategy for Expansion”และหัวข้อ “Financial Support for Export ” โดย คุณสายัณห์ ไวรางกูร ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนกลยุทธ์

2. บรรยายใน หัวข้อ “International Branding & Marketing” โดย คุณจุลเกียรติ สินชัยชูเกียรติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บารามิซี่ จำกัด

3. บรรยายใน หัวข้อ “International Pitching” โดย คุณพชร ยงจิระนนท์ ผู้ก่อตั้งบริษัท สปีคโปร จำกัด

ร่วมเสริมองค์ความรู้อัดแน่นด้วยทักษะทั้งภาคทฤษฎีและการให้ลงมือปฏิบัติ (workshop) เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ต่อยอดสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์พร้อมเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศต่อไป

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

กกพ. ลงพื้นที่เยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 รศ.ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย ผู้อำนวยการฯ และ ดร.ยอดธง เม่นสิน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ต้อนรับคณะกรรมการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในการลงพื้นที่เยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย มณีวรรณ์ โดยศูนย์การเรียนรู้และนิทรรศการออนไลน์ สามารถเข้าชมได้ที่ https://solarnucenter.com/

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

เปิดประสบการณ์ ศึกษาดูงานการจัดการขยะและของเสียอันตราย

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดย ผศ.ดร.วรวิทย์ อินทร์ชม ผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมด้วยคณาจารย์ในสาขาฯ จัดโครงการศึกษาดูงานการจัดการขยะและของเสียอันตราย ณ ศูนย์กำจัดขยะถูกหลักสุขาภิบาล เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ตำบลตาลเตี้ย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย โดยมีนิสิตสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 3 จำนวน 46 คน เข้าร่วมโครงการ การศึกษาดูงานดังกล่าวนี้ได้การต้อนรับเป็นอย่างดี จากท่านรองนายกเทศมนตรีเมืองสุโขทัยธานี คุณสมศักดิ์ เวชสุวรรณ ทั้งนี้ การศึกษาดูงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตได้รับประสบการณ์จากการได้เห็นการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่จริง รวมทั้ง รับรู้รับทราบสภาพปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะมูลฝอย และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการมูลฝอยและประสบการณ์กับผู้ปฏิบัติงานจริง ประสบการณ์ดังกล่าวนี้สามารถช่วยให้นิสิตมีทักษะในการใช้หลักวิชาในการปฏิบัติงานจริงในอนาคต และเกิดประโยชน์กับประชาชน ต่อไป

ที่มา: สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มน.

NU SciPark ต้อนรับคณะกรรมการติดตามการดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.สราวุธ สัตยากวี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เเละรักษาการในตำเเหน่งรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ ให้การต้อนรับคณะกรรมการติดตามการดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ ระหว่างกิจการขนาดใหญ่และมหาวิทยาลัย (Business Brotherhood) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ยังเข้าเยี่ยมชมสถานวิจัยเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ (Cosnat) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร อาคารมหาธรรมราชา ชั้น 2 โซน B มหาวิทยาลัยนเรศวร

โดยมีคณะกรรมการ ดังนี้
– ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
– คุณเกียรติรัตน์ ทองผาย ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
– คุณนัยนา เปลี่ยนผัน นักพัฒนานโยบาย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
– คุณนายสนามชัย แพนดี นักส่งเสริมนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin