Archives 2023

ม.นเรศวร เข้าร่วมงานประชุมหน่วยงานภาคีเครือข่าย สภาอุตสาหกรรม จังหวัดพิษณุโลก

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.สราวุธ สัตยากวี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และรักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ “หัวข้อวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี2566 และการรับมือของ SMEs” พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมจัดนิทรรศการกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 ณ ห้องอุทัยธานี โรงแรมท็อปแลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เป็นแหล่งข้อมูลและเป็นศูนย์กลางการให้บริการที่ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีนวัตกรรมบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ด้วยการผลักดันให้มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

นวัตกรรมใหม่ “ผงแป้งพอกตัวลูกสุกรแรกคลอด” เพื่อช่วยลดการตายของลูกสุกร

ม.นเรศวรเปิดตัวนวัตกรรมฝีมือคนไทย “ผงแป้งพอกตัวลูกสุกรแรกคลอด” ช่วยลดการตายของลูกสุกร ส่วนผสมทำมาจากสมุนไพรที่หาง่ายในประเทศ สามารถย่อยสลายได้ง่าย ช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตมาได้อีกทางหนึ่ง

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2566 ร.ศ.ดร.วันดี ทาตระกูล อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก พร้อมทีมวิจัยและตัวแทนบริษัทเฟิร์สลี่เทค จำกัด ได้แถลงข่าวเปิดตัวผลงานวิจัย “ผงแป้งพอกตัวลูกสุกรแรกคลอด” จากสมุนไพรไทยลดความเสี่ยงอัตราการตายของลูกสุกร โดยนวัตกรรมนี้ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทเฟิร์สลี่เทค จำกัด รับการถ่ายทอดนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ และพร้อมวางจำหน่ายในไทยช่วงเดือนมีนาคม 2566 นี้

อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร กล่าวต่อว่า เบื้องต้นตั้งกลุ่มเป้าหมายไว้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ที่เคยใช้ผงพอกตัวลูกสุกรแรกคลอดอยู่แล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์นำเข้า หรือผลิตจากวัตถุดิบชนิดอื่น และกลุ่มเกษตรกรผู้ที่ไม่เคยใช้ผงพอกตัวลูกสุกรมาเลย โดยราคาผลิตภัณฑ์จากนวัตกรรมชิ้นนี้จะวางจำหน่ายในไทยเพียง 250 บาท (น้ำหนัก 5 กิโลกรัม) ซึ่งราคาจะถูกกว่าสินค้านำเข้าและสินค้าประเภทอื่นถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งไม่มีอันตรายหากปนเปื้อนในน้ำ เพราะเป็นนวัตกรรมที่ผลิตจากสมุนไพรไทย อาทิ ขมิ้นชัน ไพล และฝาง

รศ.ดร.วันดี กล่าวอีกว่า “ผงแป้งพอกตัวลูกสุกรแรกคลอด” สามารถใช้พอกตัวลูกสุกร ทำให้ลูกสุกรสามารถ เข้าถึงเต้านมได้เร็วขึ้น และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลลินทรีย์ที่ทำให้เกิดท้องเสียในลูกสุกร และทำให้พื้นคอกแห้งอยู่เสมอ โดยมีส่วนผสมจากสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบหาได้ง่ายจากภายในประเทศ อีกทั้งสามารถย่อยสลายได้ง่าย และเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้แก่เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร กล่าวอีกว่า นวัตกรรม “ผงแป้งพอกตัวลูกสุกรแรกคลอด” ประกอบไป ด้วยแร่ธาตุจากธรรมชาติ เมื่อสัมผัสกับน้ำจะไม่ทำให้เกิดความร้อน ไม่มีสารเคมีเจือปน และไม่ออกฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนัง ไม่เพียงแต่จะใช้โรยตัวลูกสุกรเพื่อดูดซับความชื้น แล้วยังสามารถลดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในคอก รวมถึงช่วยรักษาสภาพแวดล้อมภายในคอกให้ปลอดโรคมากยิ่งขึ้น มีจุดเด่นคือลดความชื้น รักษาอุณหภูมิในร่างกายลูกสุกร อุณหภูมิภายนอกสูงกว่าในมดลูกลูกหมูมีพลังงานสะสมน้อยควรมีการดูดนมมากกว่า ควบคุมแบคทีเรียแห้งกว่า เชื้อโรคก็น้อยกว่า สายสะดือแห้งเร็ว ลดการเกิดสะดืออักเสบ

สำหรับแนวโน้มสถานการณ์สินค้าสุกร ปี 2566 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดว่าปี 2566 การผลิตสุกรในประเทศไทยจะมีปริมาณ 17.47 ล้านตัว เพิ่มขึ้น จาก 15.51 ล้านตัว ของปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 12.66 เนื่องจากจำนวนแม่พันธุ์สุกรที่เพิ่มขึ้นจะสามารถขยายการผลิต สุกรได้เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรยังคงมีความกังวลจากความเสี่ยงของโรคระบาดในสุกร และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity).

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

เรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อเร่งการเป็นผู้ประกอบการ

เปิดรับสมัครนิสิต เข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อเร่งการเป็นผู้ประกอบการจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ร่วมกับพันธมิตรระหว่างประเทศ (Experiential Learning Program to Accelerate University Student Entrepreneurs Through Collaboration between Regional Science Parks and Global Partners) : ELP�

สิ่งที่จะได้รับจาก ELP : แนวความคิดในการเป็นผู้นำและผู้ประกอบการระดับโลก, โอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ Partner จากต่างประเทศ และโอกาสในการเป็นตัวแทนไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ หรือ เกาหลี เป็นต้น

คุณสมบัติ
– เป็นนิสิต ม.นเรศวร ระดับปริญญา ตรี/โท/เอก
– รับสมัครเพียง 50 คน เท่านั้น
– มีความสนใจในด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม มี Prototype หรือ Idea ก็ได้
– มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงอออก มีความต้องการเป็นผู้ประกอบการ และมีความสนใจด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
– สามารถนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษได้�

สนใจสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 10 มีนาคม 2566 ที่ https://shorturl.asia/O3TW9 หรือแสกน QR Code
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Facebook: NU SciPark, Tel. 0 5596 8783 หรือ 08 7522 2896 (โม)
ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

รายการ : พบเภสัชกร เรื่อง : ยาคุมฉุกเฉิน

ดำเนินรายการโดย : ผศ.ดร.ภก.ธนศักดิ์ เทียกทอง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สามารถติดตามรับฟังรายการสดทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวรได้ ทาง FM 107.25 MHz และทางออนไลน์ www.nuradio.nu.ac.th ทุกวันศุกร์ เวลา 18.30 – 19.00 น.

ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร NUradio Naresuan

ผนึกกำลัง 8 มหาวิทยาลัยไทย ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) เพื่อสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีผลกระทบสูงสู่การตอบโจทย์สำคัญของประเทศ

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network : RUN) ระหว่าง 8 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยนเรศวร ณ ห้องประชุม The Brick X อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่

เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย หรือ RUN (Research University Network : RUN) เกิดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ในการวิจัย พัฒนาศักยภาพ สร้างขีดความสามารถทางการศึกษา การวิจัยและพัฒนาของประเทศสู่ภูมิภาค ภายใต้แนวคิดด้วยความจริงใจ ความเท่าเทียม และมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Sincerely, Equally, Excellently) โดยสร้างงานวิจัยจากโจทย์วิจัยที่มีความสำคัญต่อประเทศ ภูมิภาคและของโลกเป็นตัวตั้ง ด้วยความมุ่งมั่นว่างานวิจัยดังกล่าวจะตอบสนอง และเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาในอนาคต อีกทั้งจะเป็นศูนย์กลางการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศและภูมิภาคอาเซียน ภายใต้กรอบแนวความคิดการร่วมมือกันคือ การแบ่งปันทรัพยากรในการวิจัย (resource sharing) โดยเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย มุ่งพัฒนางานวิจัย ใน 7 คลัสเตอร์ คือ พลังงาน อาหารและน้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วัสดุศาสตร์ สุขภาพ อาเซียนศึกษา และโลจิสติกส์ มีการแบ่งปันทรัพยากรในการวิจัย อาจารย์และนักวิจัย นิสิตนักศึกษาทุกระดับจนถึงหลังปริญญาเอก (Postdoc) เครื่องมือวิจัย การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวิธีการบริหารงานวิจัย และร่วมกันสร้างโครงการวิจัยและวิเคราะห์ปัญหางานวิจัยร่วมกัน โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรรับผิดชอบคลัสเตอร์โลจิสติกส์ เพื่อรวบรวมนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญมาร่วมกันทำงานวิจัย รวมถึงแลกเปลี่ยนทรัพยากรด้านการวิจัยร่วมกันเพื่อสร้างผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศต่อไป

ที่มา: สำนักงานบริหารงานวิจัย ม.เชียงใหม่

ม.นเรศวร นำทีมนิสิต เข้าร่วมการนำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับนักกีฬา ในเการแข่งขันโครงการ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 10”

วันที่ 18 – 19 กุมภาพันธ์ 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดย ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ ตัวแทนผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วย ดร.สราวุธ สัตยากวี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เเละรักษาการในตำเเหน่งรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร นำทีมไปด้วยกันไปได้ไกล (นิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์) เข้าร่วมการนำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับนักกีฬา ในเการแข่งขันโครงการ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 10” รอบระดับประเทศ ประจำปี 2565 ณ โรงแรมคริสตัลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมการแข่งขันดังกล่าว

สรุปผลการแข่งขัน R2M ครั้งที่ 10 รอบประเทศ ดังนี้
🥇รางวัลชนะเลิศ : ทีม Spark tech จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
🥈รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : ทีม Bee Plus จากมหาวิทยาลัยพะเยา
🥉รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 : ทีม สิริมงคล (Sirimongkol) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
🏅รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่
🎖️ทีม Fyty จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🎖️ทีม Enigma จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Nu scipark มีความมุ่งมั่นในการพัฒนานิสิตสู่การเป็นผู้ประกอบการด้วยการเสริมสร้างศักยภาพให้เข้มแข็งทั้งด้าน Business plan&Technology development of product จากสภาพแวดล้อมทางวิชาการในมหาวิทยาลัย รวมทั้งการนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ โดยนิสิตและบุคลากรพัฒนาสู่กระบวนการเชิงพาณิชย์ สร้างวงจรรายได้ผลประโยชน์กลับสู่มหาวิทยาลัย

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

อบรมพัฒนาองค์ความรู้เพื่อความยั่งยืน SDGs 

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา พัดเกตุ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดกิจกรรมอบรมพัฒนาองค์ความรู้เพื่อความยั่งยืน SDGs ซึ่งจัดโดย กองพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ให้ผู้บริหารในระดับคณะ/วิทยาลัย และระดับสถาบัน มีความเข้าใจ ตระหนักรู้ ในหลักการ และเกณฑ์ตามเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับ SDGs และแนวทางการดำเนินการเพื่อให้บุคลากรตระหนักในการนำ SDGs มาเชื่อมโยงกับการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์นันทินี มาลานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายเครือข่าย ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) และทีมงานเป็นวิทยากรให้ความรู้และนำเข้าสู่กิจกรรมกลุ่ม โดยมีผู้บริหาร ตัวแทนคณะและหน่วยงานเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 185 คน ณ ห้องประชุมเอกาทศรถ 301 อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

     มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัยสหสาขา (Comprehensive University) มีปณิธานมุ่งมั่นที่จะกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรในภูมิภาค โดยการจัดการเรียนการสอน ผลิตบัณฑิตในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดความรู้ พ้นจากอวิชชา (ความไม่รู้) มีความเข้มแข็งทางกายและใจ มีคุณธรรม จริยธรรม มีสำนึกสาธารณะ ภูมิใจในชาติ เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อประเทศและต่อโลก โอบรับความหลากหลายและนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนธุรกิจในภูมิภาคและประเทศ เพื่อความยั่งยืนภายใต้กรอบแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) และร่วมผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ตามแนวทาง Environment Social และ Governance (ESG) ซึ่งครอบคลุมมิติ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยมีการเชื่อมโยงนโยบายและเป้าหมายการบริหารจัดการที่ยั่งยืนขององค์กร

โอกาสสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาหรือต่อยอดธุรกิจ

โครงการบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ปี 2566 โครงการที่สนับสนุนและพัฒนาธุรกิจ สร้างผู้ประกอบการใหม่ฐานธุรกิจเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบและครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างความตระหนักและสร้างวัฒนธรรมการเป็นผู้ประกอบการ สรรหาและคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะฯ ให้สามารถจัดตั้งและมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้อย่างก้าวกระโดด

🌟Highlight
🎯 การอบรมเพิ่มทักษะทางธุรกิจ (Business Skill Training)
🎯 รับการให้คำปรึกษาปัญหาธุรกิจ
🎯 พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์
🎯 แนะนำการวางเป้าหมายทางธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญ
🎯 โอกาสรับทุนสนับสนุนเพื่อการพัฒนาธุรกิจ
🎯 พร้อมรับสิทธิ์การเข้าใช้บริการต่าง ๆ ของ NU SciPark

✅ ฟรี!!
🔎 ธุรกิจที่เรากำลังมองหา
🔺 สุขภาพและการแพทย์
🔺 อาหารและการแปรรูป
🔺 ICT / Software / Digital Content
🔺 หัตถกรรมและของประดับตกแต่ง

📌 ด่วน!! สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการได้แล้วตั้งแต่วันนี้ – 31 มีนาคม 2566 คลิก 👉🏼https://forms.gle/Ttj5ScyDYHrLPsDa9

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย แสดงวิสัยทัศน์ผู้นำนิสิต

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 กองกิจการนิสิตร่วมกับ สภานิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย ประจำปีการศึกษา 2566 ณ บริเวณหน้าหอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับเกียรติจากคุณศิริวรรณ กมลพัฒนะ ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ ภายในงานมีกิจกรรมหลากหลาย อาทิ วงเสวนาเกี่ยวกับการเลือกตั้งในมหาวิทยาลัย

การแสดง Performance art และ การแนะนำตัวการแสดงวิสัยทัศน์ ของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่ง สมาชิกสภานิสิต ประธานสโมสรนิสิตทุกคณะ และ นายกองค์การนิสิต ประจำปีการศึกษา 2566 ซึ่งปีนี้ การชิงตำแหน่งนายกองค์การนิสิตมีผู้สมัคร 2 พรรค ได้แก่ พรรคมวลนิสิต และพรรคไชยานุภาพ นอกจากว่าที่ผู้สมัครจะได้แสดงวิสัยทัศน์ต่างๆ แล้วยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้มีคำถามประเด็นต่างๆ กับว่าที่ลงสมัครตำแหน่งนายกองค์การนิสิตซึ่งการเลือกตั้งผู้นำนิสิตในปีนี้จะเป็นการเลือกตั้งแบบออนไลน์ เปิดระบบเลือกตั้งในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. และจะปิดระบบเลือกตั้งในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16.30 น. เชิญชวนนิสิตทุกคน อย่าลืมใช้สิทธิใช้เสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

บพข. กองทุน ววน. หนุนต่อเนื่อง “ท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิ ต้องเป็นศูนย์”

เมื่อวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2566, แผนงานกลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ร่วมมือ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดงานนิทรรศการและการประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Carbon Neutral Tourism) “พัฒนาพื้นที่ภาคเหนืออย่างยั่งยืน บนฐานคิดการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ณ จ.พิษณุโลก ภายใต้รูปแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเข้าใจและทักษะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนแผนการท่องเที่ยว คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ และพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยในทุกมิติ หลังจากได้มีการดำเนินการในพื้นที่ภาคใต้ จ.สงขลา ไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

นายพชรเสฏฐ์ ศิริสาริศา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยจำเป็นต้องเป็นการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกับการพัฒนาในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโลกที่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ลดผลกระทบที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ด้วยการหาแนวทางขับเคลื่อนการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยที่สุดจนถึงการผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งงานการแสดงนิทรรศการและการประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ จะได้สร้างความเข้าใจและทักษะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนแผนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย และยังเป็นการจัดนิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้อย่างบูรณาการเพื่อการท่องเที่ยวไทยไร้คาร์บอน ในปี 2564 และ ปี 2565 ร่วมกัน และยังเป็นแนวทางในการพัฒนางานและความคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว รวมถึงสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว ชุมชนท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจต่อการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต

ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาวอาวุโส สกสว. และประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (บพข.) กล่าวว่า สกสว. และกองทุน ววน. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) รวมทั้งเสนอของบประมาณจากรัฐบาลเพื่อนำมาจัดสรรให้กับหน่วยงานในระบบ ววน.ราว 190 แห่ง ประกอบด้วย หน่วยบริหารและจัดการทุน 9 แห่ง มหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีระบบ การติดตามประเมินผลและการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร

แผนด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้รับสนับสนุนงบประมาณการวิจัยประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี โดยออกแบบแผนงานวิจัยเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยว 2 กลุ่ม กลุ่มแรก “แผนการท่องเที่ยวมูลค่าสูง” เน้นการทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อสร้างรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนและคนในภาคการท่องเที่ยว คือ 1)การท่องเที่ยวบนฐานมรดกชาติการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ 2)การยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ 3)การยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง และกลุ่มที่ 2 “แผนงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์” มุ่งเน้นการยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์

กลุ่มการท่องเที่ยวบนฐานมรดกธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ เป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง มีภาคีเครือข่ายในการทำงานตามกรอบความร่วมมือ (MOU) 8 องค์กรพันธมิตรจาก 3 กระทรวง บูรณาการ/ขับเคลื่อนการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวที่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ช่วยลดโลกร้อน ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษาฯ พร้อมด้วย 8 ภาคีเครือข่ายที่ร่วมมือกัน ประกอบด้วย สกสว. บพข. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.) หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) ที่มีกลไกการทำงานร่วมกัน โดย อบก. สนับสนุนให้เกิดการคํานวณการปล่อยคาร์บอนของบริการการท่องเที่ยว (Product Category Rules : PCR) ทั้งในการเดินทาง ที่พัก อาหาร การจัดการของเสีย ซึ่งในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะมีการเพิ่มเติม PCR ของกิจกรรม การท่องเที่ยวเชิงกีฬา การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สปา เป็นต้น โดยเน้นการทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว

“จังหวัดพิษณุโลก จัดเป็น MICE City จังหวัดที่ 9 มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานมรดกทางวัฒนธรรมประวัติศาสตร์อันงดงาม การท่องเที่ยวเชิงกีฬา การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ บพข. ได้สนับสนุนงานวิจัยให้ภาคเหนือตอนล่าง เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวคุณภาพ เช่น กลุ่มที่ต้องการพักผ่อน ดูแลรักษาสุขภาพ กลุ่ม MICE นักเดินทางเพื่อเป็นรางวัล กลุ่มเป้าหมาย กลุ่ม Tourism for all กลุ่มท่องเที่ยวที่รักษ์ธรรมชาติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ การท่องเที่ยวในสวนผลไม้ ที่มีการคิด การลด การชดเชยการปล่อยคาร์บอนและขยายผลบอกต่อให้นักท่องเที่ยวและชุมชนที่รองรับนักท่องเที่ยวได้เข้าใจกระบวนการ ที่มุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ผศ.สุภาวดี กล่าวเสริม

ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ในการออกบูธแสดงผลงานจากวิจัยจาก 4 หน่วยงานหลัก คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยพะเยา และบูธจากวิสาหกิจชุมชน ของดีในชุมชนภาคเหนือ จำนวน 13 บูธ คือ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านวังส้มซ่า สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดลำปาง หรือ จำปุยโฮมสเตย์ วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวโดยชุมชนไตลื้อเมืองลวงเหนือ วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์บัวกว๊านพะเยา กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนชมภู วิสาหกิจชุมชนบ้านเนินกระบาก วิสาหกิจชุมชน คนเอาถ่านบ้านเขาปรัง วิสาหกิจชุมชนเมืองหมักพิศโลก วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านบึงเวียน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองกุลา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยลื้อเชียงคำ จ.พะเยาโฮมสเตย์บ้านท่าขันทอง และชมรมส่งเสริมท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไร่กองขิง ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี

ที่มา: mgronline

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin