Archives 2023

ม.นเรศวร จัดกิจกรรม Food Maker Space Workshop @NU

ระหว่างวันที่ 14 – 15 มกราคม 2566 Food Innopolis เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis: FI) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดกิจกรรม Food Maker Space Workshop @NU : “The Science Behind Bakery” ณ อาคารนวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมดังกล่าว เเละได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.วรสิทธิ์ โทจำปา คณบดีคณะเกษตรทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อมกล่าวถึงที่มาวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม ทั้งนี้ดร.เจษฎา วิชาพร รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและสื่อสารองค์กร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมเปิดงานให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเเละคุณสุธีรา อาจเจริญ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจเมืองนวัตกรรมอาหาร

ในฐานะหน่วยงานเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหาร (FI@NU) และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเบเกอรี่ระดับประเทศ รศ.ดร.นภัสรพี เหลือสกุล คณบดี คณะอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (FI@KMITL) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเข้มข้นฉลอง Food Maker Space Platform ที่พร้อมให้ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจเข้ามาใช้บริการเครื่องมือ อุปกรณ์ ต่างๆ

กิจกรรม workshop ครั้งนี้เน้นการถ่ายทอดความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เบเกอรี่ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่จ.พิษณุโลก และพื้นที่ใกล้เคียง ได้มีความเข้าใจ และมีความรู้เกี่ยวกับในการเลือกใช้ ingredients ประเภทต่างๆ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน วัตถุเจือปนอาหาร ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ประเภทต่างๆ และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านเบเกอรี่ระหว่างหน่วยงานเครือข่าย Food Innopolis อีกด้วย โดยมีอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการ จากม.นเรศวร เข้าร่วมกิจกรรมกว่าสิบท่าน เพื่อนำองค์ความรู้ และประสบการณ์ไปใช้ในการถ่ายทอด และฝึกอบรมผู้ประกอบการในพื้นที่ต่อไปในอนาคต

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 (Onsite)

NuSciPark จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 (Onsite) ภายใต้โครงการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (Brain Power Skill Up) ในวันที่ 9 – 13 มกราคม 2566

🔰 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมดังกล่าว

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 หลักสูตรระยะยาว ที่มีเนื้อหาอัดแน่นกว่า 40 ชั่วโมง ภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (Brain Power Skill Up) ในวันที่ 9 – 13 มกราคม 2566

🌟 วิทยากรประจำหลักสูตร
▪️ ดร.อนุชิต สุขเจริญพงษ์ – กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
▫️ ผศ.ดร.สุรเดช ตัญตรัยรัตน์ – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
▪️ ดร.ชัยยุทธิ์ เจริญผล – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
▫️ นายชิงชัย หุมห้อง – บริษัท แมพพิเดีย จำกัด
▪️ ผศ.ดร.ดวงเดือน อัศวสุธีรกุล – มหาวิทยาลัยนเรศวร
▫️ ดร.พลปรีชา ชิดบุรี – มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

แจกข้าวต้มหมูสับให้กับน้องๆ นิสิตที่มาอ่านหนังสือ

ภาพบรรยากาศวันที่ 8 มกราคม 2566 กับการแจกข้าวต้มหมูสับให้กับน้องๆ นิสิตที่มาอ่านหนังสือที่สำนักหอสมุด

อ่านหนังสือ ไม่ต้องกลัวหิว

เวลา 19.00 น. จนกว่าของจะหมดดด

สถานที่ : หน้าอาคารเรียนรู้ (โซนทางเข้าพื้นที่ IRA ชั้น 1)
ที่มา: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร

อ่านหนังสือแล้วอิ่มท้อง

วันนี้ไม่ต้องกลัว อ่านไปหิวไปอีกแล้วว หอสมุดใจดีแจกฟรี!

ปาท่องโก๋ + น้ำเต้าหู้ 100 ชุดสำหรับน้อง ๆ ที่มาอ่านหนังสือสอบที่หอสมุด

เวลา 19.00 น. จนกว่าของจะหมดดด

สถานที่ : หน้าอาคารเรียนรู้ (โซนทางเข้าพื้นที่ IRA ชั้น 1)

สำนักหอสมุด เริ่มต้นด้วยปาท่องโก๋กับน้ำเต้าหู้ 100 ชุดและส้มสายน้ำผึ้งสดๆ มาแจกน้องนิสิตที่มาอ่านหนังสือ
ที่มา: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ยกทีมเข้าร่วมประชุมคณะทำงานดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ครั้งที่ 1/2566

วันที่ 4 มกราคม 2565 ดร.สราวุธ สัตยากวี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เเละรักษาการใน ตำเเหน่งรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ เข้าร่วมประชุมคณะทำงานดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ครั้งที่ 1/2566 พร้อมกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ณ NSP Conference Hall อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)

ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ เป็นประธานการประชุมดังกล่าว เพื่อติดตามการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีประสิทธิภาพเเละเกิดประโยชน์สูงสุด ในการประชุมยังได้ระดมความคิดเพื่อร่วมกันพัฒนาเครือข่ายมหาวิทยาลัยภาคเหนือ เเละหารือแนวทางการดำเนินงานในอนาคตร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับภาครัฐและเอกชน โดยใช้กลไกอุทยานวิทยาศาสตร์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในภาคเหนือของประเทศไทย สอดรับกับนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

วิจัย ม.นเรศวร พบโรงเรียนจัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่ประจำ ลดนักเรียนทดลองสูบบุหรี่เกือบ 2 เท่า

รศ.ดร.จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยและวิชาการด้านการควบคุมยาสูบ ภาคเหนือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้กล่าวถึงผลงานวิจัยที่ได้ศึกษา ปี 2565 เรื่อง Susceptibility to smoking and determinants among never-smoking high school students: A representative nationwide study in Thailand ว่า ผลการสำรวจนักเรียนทุกภูมิภาคของไทย จำนวน 3,156 คน พบว่า มีนักเรียน 72.4% ระบุว่า เรียนอยู่โรงเรียนที่จัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่แบบเป็นประจำ ในขณะที่เหลืออีก 27.6% ระบุว่า เรียนอยู่ในโรงเรียนที่จัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่แบบนาน ๆ ครั้ง

สำหรับโรงเรียนที่จัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่แบบเป็นประจำมีนักเรียนที่อยากทดลองสูบบุหรี่ 13.6% ในขณะที่โรงเรียนที่จัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่แบบนาน ๆ ครั้ง มีนักเรียนที่อยากทดลองสูบบุหรี่ 23.9% ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า โรงเรียนที่จัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่แบบเป็นประจำมีนักเรียนที่อยากทดลองสูบบุหรี่น้อยกว่าโรงเรียนที่จัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่แบบนาน ๆ ครั้ง เกือบ 2 เท่า เช่นเดียวกับการได้รับข้อความต่อต้านบุหรี่ทางโทรทัศน์หรืออินเตอร์เน็ต ที่พบว่า นักเรียนในกลุ่มที่พบเห็นข้อความต่อต้านบุหรี่แบบเป็นประจำมีสัดส่วนของคนที่อยากทดลองสูบบุหรี่น้อยกว่านักเรียนในกลุ่มที่พบเห็นข้อความต่อต้านบุหรี่แบบนาน ๆ ครั้ง เกือบ 2 เท่า

ดังนั้น อาจจะตอบคำถามที่ว่า กิจกรรมต่อต้านบุหรี่ในโรงเรียนป้องกันนักเรียนไม่ให้สูบบุหรี่ได้จริงหรือไม่ คำตอบก็คือ การจัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่ในโรงเรียนโดยเน้นกิจกรรมที่สร้างการรับรู้ถึงนักเรียนโดยตรงเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง และการรณรรงค์เผยแพร่ข้อความต่อต้านบุหรี่ทางโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ตจึงช่วยป้องกันนักเรียนไม่ให้อยากทดลองสูบบุหรี่ได้จริง

ที่มา : รศ.ดร.จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ และคณะ (2565) อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จากผลงานวิจัยเรื่อง Susceptibility to smoking and determinants among never-smoking high school students: A representative nationwide study in Thailand

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin