Archives 2023

ผ้าคลุมไหล่มัดย้อม: สร้างประสบการณ์ศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้เข้าเยี่ยมชมทุกเพศทุกวัย

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566, นางนิพัทธ์ เกษาพร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มอบหมายให้บุคลากรกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดูแลต้อนรับและนำชมกลุ่มลูกค้าและพนักงานจากบริษัท เอ็มวันพิษณุโลก จำกัด จำนวน 50 คน ในการเข้าชม ผลงานศิลปะจากคลังสะสม “Color light” ซึ่งจัดแสดง ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวรและพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมทั้งเข้าร่วมกิจกรรม “ผ้าคลุมไหล่มัดย้อม” เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าเยี่ยมชมทุกเพศทุกวัยได้สัมผัสการสร้างสรรค์ผ้าแบบดั้งเดิม และมีกระบวนการในการเรียนรู้ศิลปะผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น.

กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริม ประสบการณ์ด้านศิลปะ (Learning Experience) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้าน พร้อมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจในคุณค่าของการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในทุกยุคทุกสมัย โดยผ่านการสัมผัสกับกระบวนการและเทคนิคการทำผ้าด้วยมือ รวมถึงการใช้สีจากธรรมชาติในการมัดย้อม ที่สะท้อนถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะ SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ และ SDG 12: การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน.

กิจกรรม “ผ้าคลุมไหล่มัดย้อม” ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณค่า โดยการสัมผัสกระบวนการสร้างสรรค์ผ้าด้วยมือและการใช้สีจากธรรมชาติในการมัดย้อม ทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการทำผ้าแบบดั้งเดิมที่เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมไทยและสามารถสืบทอดความรู้เหล่านี้ได้ในอนาคต การศึกษาเกี่ยวกับการทำผ้าและการใช้วัสดุธรรมชาติยังช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในกระบวนการผลิตที่สามารถทำได้อย่างยั่งยืน และเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกวัยได้เรียนรู้ศิลปะที่มีคุณค่า.

กิจกรรมในครั้งนี้ยังช่วยเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้วัสดุท้องถิ่นในกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน โดยการใช้ สีจากธรรมชาติ ในการมัดย้อมผ้า ซึ่งเป็นเทคนิคที่ไม่เพียงแต่ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังส่งเสริมการใช้วัตถุดิบท้องถิ่นที่มีความยั่งยืนและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม.

การใช้ วัตถุดิบท้องถิ่น และกระบวนการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีในกิจกรรมการมัดย้อมเป็นการส่งเสริมการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้ตระหนักถึงคุณค่าของการใช้วัตถุดิบธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน.

กิจกรรมนี้สะท้อนถึงการสร้างความร่วมมือที่มีความสำคัญระหว่าง มหาวิทยาลัย ภาครัฐและ ชุมชนท้องถิ่น ในการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมไทยที่สามารถสืบสานไปยังอนาคต. การส่งเสริมให้ทุกคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้และสร้างสรรค์ศิลปะไทยไม่เพียงแต่สร้างความสนุกสนาน แต่ยังช่วยให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่มุ่งมั่นในการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมชาติ.

นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมนี้ยังเสริมสร้าง ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย กับ ภาคธุรกิจ เช่นบริษัท เอ็มวันพิษณุโลก จำกัด ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกัน ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความยั่งยืนทั้งในแง่ของการศึกษาศิลปะและการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่น.

ที่มา: กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ รากฟันเทียมรองรับฟันปลอมทั้งปาก ในขากรรไกรล่าง

โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิด “รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ รากฟันเทียมรองรับฟันปลอมทั้งปาก ในขากรรไกรล่าง” โครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา 28 กรกฏาคม 2567

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป
2. มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น (สิทธิบัตรทอง หรือบัตร 30 บาท)
3. ให้การรักษาโดยอาจารย์ทันตแพทย์ไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของรากฟันเทียม

สนใจเข้าร่วมโครงการฯ ลงทะเบียนผ่าน QR code หรือ โทร: 0-5596-7462
ที่มา: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดโครงการสุขาภิบาลศูนย์อาหารและการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ครั้งที่ 1

กิจกรรมเป็นการอบรมผู้ประกอบการร้านค้าภายในกำกับของกองกิจการนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งจาก NU Square และ NU Canteen รวมทั้งสิ้นกว่า 80 ร้านค้า แบ่งเป็น ผู้ประกอบการร้านค้า NU Square จำนวน 48 ร้านค้า และ ผู้ประกอบการร้านค้า NU Canteen จำนวน 32 ร้านค้า

ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต (ดร.จารุวรรณ แดงบุปผา) เป็นประธานเปิดโครงการ พร้อมด้วย ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต หัวหน้างานบริการสวัสดิการนิสิต หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนานิสิต หัวหน้างานอำนวยการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง

โดยโครงการดังกล่าวยังได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร ผศ.ดร.ภญ.ศุภวรรณ พงศ์พัฒนาวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์และ รศ.ดร.อัญชลี ศรีจำเริญ คณะเกษตรศาสตร์ฯ มาบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในหัวข้อ อาหารลดเค็ม/ หวาน และ หัวข้อ อาหารกับการป้องกันโรค เพื่อประโยชน์ที่จะเกิดกับผู้ประกอบการโดยตรงแล้ว สิ่งที่เป็นเป้าหมาย คือผู้รับบริการ ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์ บุคลากร และนิสิต ก็ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาของผู้ประกอบการเช่นกัน จัดเมื่อวันที่ 9 – 10 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องล็อบบี้ อาคารขวัญเมือง ชั้น 2 มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

Healthy baby and Happy mom “เพราะ ลูก คือ ของขวัญพิเศษ ของพ่อแม่ และครอบครัว”

Healthy baby and Happy mom “เพราะ ลูก คือ ของขวัญพิเศษ ของพ่อแม่ และครอบครัว” รพ.มน. ให้บริการฝากครรภ์ คุณภาพ คลอดบุตรและพักฟื้นต่อเนื่องจนถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยทีมสูติแพทย์ กุมารแพทย์ และทีมการพยาบาลที่เชี่ยวชาญ

ติดต่อได้ที่คลินิกสูติ-นรีเวชกรรม ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 1 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร สอบถามเพิ่มเติม 0 5596 5685

ที่มา: คณะแพทยศาสตร์ รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมพิธีปิดการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 46

นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ชัย ชะนูนันท์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้นำทีม นักกีฬา และ บุคลากร เข้าร่วมพิธีปิดการแข่งขัน กีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 46 หรือ ฉัททันต์เกมส์ ที่จัดขึ้น ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีการ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา และการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนผ่านกิจกรรมกีฬา

กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสาธิตสามัคคี ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการส่งเสริม SDG 3: สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และ SDG 17: การเป็นพันธมิตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาในระดับนี้ไม่เพียงแต่จะเสริมสร้างความแข็งแรงทางร่างกาย ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันและการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมระหว่างนักเรียนและบุคลากรจากหลากหลายสถาบันการศึกษา รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนและสถาบันต่าง ๆ

การส่งเสริมการทำงานร่วมกันและความเป็นพันธมิตร การจัดการแข่งขันนี้ไม่เพียงแต่เป็นการเสริมสร้างสุขภาพทางกายของนักกีฬา แต่ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ นักเรียน นักศึกษา บุคลากร และอาจารย์จากหลายสถาบัน ที่ร่วมกันสร้างความสำเร็จในกิจกรรมครั้งนี้ การส่งมอบ ถ้วยประจำการแข่งขัน และ ธงประจำการแข่งขัน โดยเจ้าภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้กับเจ้าภาพครั้งถัดไป โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือในการพัฒนากิจกรรมนี้ให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

การเตรียมพร้อมสำหรับเจ้าภาพครั้งถัดไป กิจกรรมการแข่งขัน กีฬาสาธิตสามัคคี ครั้งที่ 47 หรือ เจ้ารามเกมส์ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 19 – 25 ธันวาคม 2567 ที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษา และการสร้างพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านกีฬาและสุขภาพระหว่างโรงเรียนต่าง ๆ การเป็นเจ้าภาพในกิจกรรมนี้ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสถาบันในด้านการส่งเสริมการกีฬาและการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสังคมที่มีสุขภาพดีและยั่งยืน

ที่มา: โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

ถ่ายทอดความรู้ พัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเป็นการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและฟัน

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 นิสิตทันตแพทย์ชั้นปีที่ 5 จัดกิจกรรมสอนทักษะการแปรงฟันให้กับผู้ดูแล (เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนา นิคมสร้างตนเองบางระกำ) เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้ ร่วมกับช่วยดูแลการแปรงฟันให้กับผู้รับสมาชิกบ้านน้อยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเป็นการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและฟันให้กับผู้ดูแลและผู้รับในนิคมสร้างตนเองบางระกำ เป็นส่วนหนึ่งในการศึกษารายวิชาทันตกรรมชุมชน และปลูกนิสัยการมีจิตสาธารณะให้กับนิสิตทันตแพทย์ ณ นิคมสร้างตนเองบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : R2M) ครั้งที่ 11

NU SciPark คัดแล้ว 3 ทีมสุดต๊าซ ตัวแทนมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกิจกรรม R2M Boot Camp ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่รอบคัดเลือกตัวแทนระดับภูมิภาคต่อไป 🌈

วันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร นำ 3 ทีม ผู้ชนะจากการแข่งขันโครงการ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : R2M) ครั้งที่ 11” ระดับมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย
– รางวัลชนะเลิศ ผลงาน “PAWER UP อาหารสุขภาพจากโปรตีนไข่ขาวสำหรับสุนัข” จากคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ผลงาน “เซ็ตผลิตภัณฑ์แอนติแอคเน่จากสารสกัดไมยราบ” จากคณะเภสัชศาสตร์
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงาน “Hemp Plast” จากคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร

เข้าร่วมกิจกรรม R2M Boot Camp ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) ครั้งที่ 11 เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทีมนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาในเครือข่ายอุทยาวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จำนวน 7 แห่ง รวม 21 ทีม ก่อนเข้าร่วมการแข่งขันในระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) เร็วๆนี้

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

“ปันของให้น้องเล่น” มอบชุดสนามเด็กเล่นในโรงพยาบาล (Indoor Playground)

วันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00 น. ผศ.พญ.พิริยา นฤขัตรพิชัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานรับมอบสนามเด็กเล่น เครื่องรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Auto Pap)  เครื่องคอมพิวเตอร์ Note Book และ อุปกรณ์เครื่องเขียนพร้อมหนังสือนิทานสำหรับเด็ก ของเล่น จากทีมโครงการปันของให้น้องเล่น นำโดยคุณจุฑามาศ ปัทมวิภาต นาลูลา เป็นตัวแทนทีมส่งมอบ

    โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ ที่จะสนับสนุนสนามเด็กเล่นในโรงพยาบาล (Indoor Playground)  2 ส่วน ได้แก่  สถานรักษาแก้ไขภาวะปากเหว่งเพดานโหว่และความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า  และ แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม เพื่อให้เด็กเล็กที่รอตรวจได้เล่น พร้อมของเล่นส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เช่น สมุดระบายสี หนังสือนิทาน ฯลฯ ระหว่างรอตรวจ สร้างความสุขให้แก่เด็กๆ และผู้ปกครองที่มารอรับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากทีมโครงการปันของให้น้องเล่น โดยมีผู้มีจิตศรัทธา

ในการนี้มีกิจกรรมเดี่ยวเปียโน โดย ดช.รินทร์ จิตต์ผิวงาม ในเพลง Joy to the world การขับร้องเพลงด้วยเกียรติแพทย์ไทยโดยคณบดีและคณาจารย์พร้อมด้วยนิสิตแพทย์ รวมทั้งขับร้องเพลงมาร์ชพยาบาล สร้างความสุขด้วยเสียงเพลงและเสียงดนตรีให้เด็ก ๆ ผู้ปกครองที่มารอตรวจได้อย่างมาก

        คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ได้กล่าวแสดงความขอบคุณแทนเด็ก ๆ ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นอย่างยิ่ง ทางคณะฯ จะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้ ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยได้อย่างสูงสุดต่อไป ขอขอบพระคุณทีมโครงการ “ปันของให้น้องเล่น” มา ณ โอกาสนี้

ที่มา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ 2566

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 นายรุ่งรัตน์ พระนาค ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่เป็นประธานเปิดกิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ 2566 โดยภายในกิจกรรมบุคลากรกองอาคารสถานที่ได้ร่วมกัน พรวนดิน ใส่ปุ๋ย รดน้ำ ตัดแต่งกิ่งไม้และกำจัดวัชพืชในพื้นที่ โดยปุ๋ยอินทรีย์ที่นำมาใช้ในกิจกรรมผลิตจากอินทรีย์ต่างๆ ใบไม้ กิ่งไม้ ผสมกับถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) ณ ด้านหลังอาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดยดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้กล่าวต้อนรับและร่วมประชุมกับศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชัย ใจกล้า รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงาน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) โดยสร้างความร่วมมือและเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ประสานงาน การแลกเปลี่ยนวิทยากร การพัฒนาความรู้ รูปแบบการทำงาน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน การหนุนเสริม และสนับสนุนความรู้แก่สมาชิก อพ.สธ.ในการดำเนินงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ณ ห้องประชุมเทาแสด ชั้น 1 อาคารศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน จัดให้มีการประชุมร่วมกับคณะที่ปรึกษาทั้ง 6 ท่านเพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการทำงานร่วมกัน และแผนการดำเนินงานของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.ทั้ง 2 แห่ง รวมถึงการเข้าร่วมงานจัดนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานทรัพยากรท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ครั้งที่ 7 ปี 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม และการสร้างความร่วมมือและกำหนดทิศทางการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามกรอบของ อพ.สธ. ในปีงบประมาณ 2567 ต่อไป

ที่มา: ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin