Archives May 2023

31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก

เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก(World No Tobacco Day) โดยในปี 2566 ไทยกำหนดคำขวัญ “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย” เตือนภัยบุหรี่ทุกชนิด ทำลายสุขภาพทั้งตัวผู้สูบและคนรอบข้าง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเรื้อรังในหลายระบบของร่างกาย

ด้วยความปรารถนาดีจาก มหาวิทยาลัยนเรศวร

อยากเลิกบุหรี่แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร? ร้านยาคณะเภสัชศาสตร์ ม.นเรศวร มีคำตอบ

31 พฤษภาคม 2566 วันงดสูบบุหรี่โลก “World NO! tobacco day”

สนใจอยากจะเลิกบุหรี่แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ลองสแกน QR code (ในรูป) เพื่อรับบริการ ขอคำปรึกษา”เลิกบุหรี่ทางไกล กับเภสัชกรอาสา” หรือเดินเข้ามาขอรับคำปรึกษา #เภสัชกรร้านยา คณะเภสัชฯ ม.น. ได้นะคะ เภสัชกรจะพาคุณเลิกบุหรี่ พร้อมกับมีสุขภาพที่ดีขึ้นนะคะ

*หมายเหตุ รูปที่ใช้ได้รับการอนุญาตจากบุคคลในภาพแล้วตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 แล้ว #ร้านยาคณะเภสัชฯมน. โทร 055-302093, 063-7151932

ที่มา: ร้านยาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

การฝึกอบรม เรื่อง “การวัดสัญญาณชีพทางการแพทย์และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) ร่วมกับการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED)”

วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 หน่วยบริการวิชาการเพื่อชุมชน ดำเนินการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม เรื่อง “การวัดสัญญาณชีพทางการแพทย์และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) ร่วมกับการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED)”

โดยวิทยากร : ดร.ทักษณี มหาศิริพันธุ์, ดร.ณปภัส กันติ๊บ และคณาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา ณ ห้องปฏิบัติการ MD 423 อาคารเรียนคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

โดยมีหัวข้อดังนี้
บรรยายทฤษฏีและสาธิตการวัดสัญญานชีพทางการแพทย์
– แนะนำการใช้อุปกรณ์ในการวัดสัญญานชีพ
– สาธิตการวัดสัญญานชีพทางการแพทย์ ได้แก่ ความดันเลือด อุณภูมิกาย ชีพจร และอัตราการหายใจ

บรรยายทฤษฏีและสาธิตการช่วยเหลือการฟื้นคืนชีพเบื้องต้น
– แนะนำการใช้อุปกรณ์ หุ่น CPR และเครื่อง AED
– สาธิตการช่วยชีวิตด้วยการทำ CPR
– สาธิตการช่วยชีวิตเบื้องต้นร่วมกับการใช้เครื่อง AED

สามารถติดตามกิจกรรมบริการวิชาการได้ที่เพจ “โมก” https://www.facebook.com/profile.php?id=100075750297633 และ youtube channel “โมก” https://www.youtube.com/@user-hy2be5th2j/featured

ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เดินหน้าพัฒนาระบบขนส่งยั่งยืน ด้วย GPS แจ้งตำแหน่งรถไฟฟ้าอัจฉริยะ

มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบแจ้งตำแหน่ง GPS สำหรับรถไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัย (รถส้ม) โดยมีความร่วมมือระหว่างกองอาคารสถานที่ กองการถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และบริษัทโซลาร์วัตต์ 111 จำกัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านพลังงานสะอาดและระบบขนส่งอัจฉริยะ

สนับสนุน SDG 7: พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ โครงการนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในระบบขนส่ง โดยรถไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยใช้พลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนต่อการเดินทางของนักศึกษาและบุคลากร การติดตั้งระบบ GPS ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบตำแหน่งของรถได้แบบเรียลไทม์ ลดการเสียเวลารอและการเดินรถที่ไม่จำเป็น

สนับสนุน SDG 11: เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนภายในมหาวิทยาลัยผ่านแอปพลิเคชัน CARE KOON ช่วยสร้างประสบการณ์การเดินทางที่สะดวกและปลอดภัยให้กับชุมชนในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ส่งเสริมการลดมลพิษในอากาศ และสนับสนุนการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ด้วยการให้บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

มหาวิทยาลัยนเรศวรไม่เพียงมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ แต่ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างระบบขนส่งที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการใช้พลังงานสะอาดและการพัฒนาชุมชนที่น่าอยู่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำในด้านความยั่งยืนและการพัฒนาเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ถ่ายทอดผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อปรับสูตรธุรกิจรับเทรนด์สุขภาพ

เคซีจี คอร์ปอเรชั่น” หรือที่คนไทยมักรู้จักในฐานะผู้ผลิตอิมพีเรียลบัตเตอร์คุกกี้ คุกกี้กล่องแดงขนมยอดฮิตในช่วง
ปีใหม่ รวมถึงผู้ผลิตเนย-ชีส แบรนด์อลาวรี่เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการเก่าแก่อายุมากกว่า 6 ทศวรรษ ที่ลุกขึ้นมาปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยไม่ว่าจะเป็นเทรนด์สุขภาพ และสภาพเศรษฐกิจ ต้นทุน ค่าพลังงาน – วัตถุดิบที่พุ่งสูง โดยผลิตภัณฑ์แดรี่จะเป็นกลุ่มที่มีความเปลี่ยนแปลงเด่นชัดและเยอะที่สุด

เนื่องจากเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ถึง 60% ของรายได้รวม อีกทั้งมีความคล่องตัวในการปรับสูตรต่างๆ จากการมีโรงงานเป็นของตัวเอง รวมถึงบริษัทยังจับมือพันธมิตร เช่น สถานศึกษามาช่วยพัฒนาสูตร โดยล่าสุดอยู่ระหว่างร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยนเรศวร

ประโยชน์ของ “ตัวเงินตัวทอง”

ตัวเงินตัวทอง หรือ เหี้ย (Varanus salvator) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ประเทศบังกลาเทศ ศรีลังกา และอินเดีย จนถึงอินโดจีน และเกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ ในประเทศไทยจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทหนึ่ง

สัตว์ตระกูลเหี้ยในประเทศไทยมีอยู่ 4 ตระกูลคือ 1. เหี้ย 2. แลนหรือตะกวด 3. เห่าช้าง อยู่ทางภาคใต้ และ 4. ตุ๊ดตู่ ครั้งหนึ่ง เจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพูดกันเป็นวงในว่า จะเปลี่ยนชื่อจากตัวเหี้ยเป็น “วรนัส” หรือ “วรนุส” หรือ “วรนุช” (สกุล Varanus อ่านเป็นภาษาละตินว่า วารานุส ซึ่งคล้ายกับคำว่า วรนุช)

จนเกิดเป็นกระแสข่าวอยู่ช่วงหนึ่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งหลังจากที่มีกระแสข่าวนี้ออกมา คำว่าวรนุชนั้นก็ถูกนำไปใช้ในการสื่อความหมายไปในทางเสื่อมเสียบนอินเทอร์เน็ต และส่งผลกระทบต่อบุคคลที่ชื่อวรนุชไปโดยปริยาย

มหาวิทยาลัยนเรศวร ก็เป็นพื้นที่ที่มี ตัวเงินตัวทอง หรือ เหี้ย จำนวนมาก โดยอาศัยใกล้ตามแหล่งน้ำภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาก็ปล่อยให้ ตัวเงินตัวทอง หรือ เหี้ย อาศัยอยู่อย่างอิสระ ไม่มีใครไปรบกวน ซึ่งสามารถพบเห็นน้องๆ ได้บ่อยๆ ตามอาคารเรียน เพราะน้องๆ จะหาโพรงใกล้อาคารเรียนเหล่านั้นเป็นที่อยู่อาศัย

ประโยชน์ของ “ตัวเงินตัวทอง”
1. ช่วยกำจัดซากสัตว์ มีระบบการย่อยอาหารที่ดีเยี่ยม ในกระเพาะมีน้ำย่อยที่มีความเป็นกรดรุนแรงและแบคทีเรียสำหรับย่อยสลายซากเน่าโดยเฉพาะ
2. ช่วยกินไข่งูพิษ ไม่เฉพาะไข่งูพิษ ตัวเงินตัวทอง กินไข่ของสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งปลา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวเงินตัวทอง มิใช่สัตว์นักล่า แต่เป็นสัตว์กินซากโดยธรรมชาติ บางครั้งอาจกินเหี้ยขนาดเล็กกว่าเป็นอาหารได้
3. ตัวมันเป็นสัตว์เศรษฐกิจอย่างแท้จริง ต่างประเทศนำไปทำกระเป๋า เข็มขัดราคาแพงมาก ส่วนเครื่องใน ดี ตับ เป็นยารักษาโรคหัวใจ มีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงกัน เพื่อนำเนื้อไปใช้ในการบริโภค โดยเฉพาะเนื้อบริเวณส่วนโคนหางที่เรียกว่า “บ้องตัน”ในต่างประเทศนิยมกินกันราคาแพงมาก และหนังไปทำเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า, เข็มขัด เช่นเดียวกับจระเข้ และในทางวิชาการยังมีการเก็บและตรวจสอบดีเอ็นเอของเหี้ย โดยภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อศึกษาถึงความหลากหลายทางพันธุกรรม เพื่อจะพัฒนาให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจต่อไปในอนาคตอีกด้วย

ที่มา: news.trueid.net

ม.นเรศวร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เศรษฐศาสตร์ ว่าด้วยการเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจ”

บัณฑิตวิทยาลัย ขอเชิญนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าผู้สนใจ ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “เศรษฐศาสตร์ ว่าด้วยการเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจ” เพื่อสร้างความรู้และเข้าใจ ในการทำงานของระบบเศรษฐกิจภาคธุรกิจ โดยนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนราคา และปริมาณดุลยภาพ ในตลาด รวมถึงบทบาทของรัฐบาล ที่มีผลต่อผู้ประกอบการธุรกิจ *อบรมฟรี on-site ณ ห้องเรียน ชั้น 1 บัณฑิตวิทยาลัย

โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภัคจิรา นักบรรเลง อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ม.นเรศวร เป็นวิทยากรในวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2566

ที่มา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ประชุมผู้ปกครอง ประจำปีการศึกษา 2566

ขอเชิญผู้ปกครองนิสิต เข้าร่วมโครงการ ประชุมผู้ปกครอง ประจำปีการศึกษา 2566

วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.

————————————————

– แบบ Online ผ่านเพจมหาวิทยาลัยนเรศวร

– แบบ On-site ณ ห้องประชุม Lobby อาคารขวัญเมือง

– หอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร *(จำกัด 200 ที่นั่ง)*

————————————————

สนใจสามารถ Scan QR Code เพื่อเข้าร่วม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติ่มได้ที่ โทร. 0-5596-1210

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขยายเวลารับสมัครอาจารย์ผู้สอนภาษาพม่า

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขยายเวลารับสมัครอาจารย์ผู้สอนภาษาพม่า สังกัดภาควิชาภาษาตะวันออก ครั้งที่ 2/2566 จำนวน 1 อัตรา จำนวน 1 อัตรา

รับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 23 มิถุนายน 2566 รับสมัครทางออนไลน์เท่านั้น
1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
>>> https://shorturl.asia/w5yiO

2. ยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานทางออนไลน์ ได้ที่ Google form
>>> https://forms.gle/vym16zKXgAiupG8W8

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 5596 2041
ที่มา: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Train the Trainer เตรียมความพร้อมสู่การเป็นที่ปรึกษา เสริมทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้และการให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ

IRD Cap Building อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมกิจกรรม Train the Trainer (Consultant) ในวันที่ 18 – 19 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมช้ัน 2 อาคาร D ห้อง D205 อาคารอํานวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)⛰️

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมกิจกรรมอบรม Train the Trainer (Consultant) ที่จัดให้กับที่ปรึกษา 2 ท่าน และเจ้าหน้าที่อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นที่ปรึกษา เสริมทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้และการให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ

โดยมีหัวข้อการบรรยายต่าง ๆ พร้อมกิจกรรม Workshop จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรมต่าง ๆ

  • หัวข้อบรรยาย Transcending Valley of Challenge with Reginal Science Park และ Innovation Thinking in Science-Tech Future โดยผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ ให้เกียรติแนะนำแผนงานการพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการ (IRD Cap Building) และเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ
  • หัวข้อบรรยาย From Professional Consultant to Innovative Entrepreneur โดย ผศ.ดร.สมชาย จอมดวง
  • หัวข้อบรรยาย การวิเคราะห์แนวโน้มของธุรกิจ Business Trend (Analysis Module) โดย รศ.ดร.อภิชาต โสภาแดง ผู้อำนวยการโครงการฯ
  • การบรรยายหัวข้อ Central Platform: Coaching & Consulting โดย รศ.ดร.ศักดิ์เกษม ระมิงค์วงศ์ หัวหน้าโครงการฯ

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin