Archives May 2023

มน. ร่วมลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) แนวทางบูรณาการแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)”

สืบเนื่องจากการที่ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้ร่วมลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) แนวทางบูรณาการแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)” เชิงพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมเชิงพื้นที่ โดยมุ่งเน้นนำองค์ความรู้จากวิทยาศาสตร์ ผลงานวิจัย และผลผลิตที่เป็นนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพลิกโฉมประเทศ ในการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัด อีกทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน อันจะเป็นทางเลือก และทางรอดสำหรับอนาคต

วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก จึงได้ร่วมทำการหารือกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวรพร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ณ อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวร มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อร่วมหาแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ โดยใช้งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรพร้อมเป็นแหล่งข้อมูลองค์ความรู้ วิชาการ วิจัยและนวัตกรรม และสนับสนุนทรัพยากรบุคคลทางด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศที่สามารถตอบโจทย์ แก้ไข ปัญหาในพื้นที่ และจะร่วมพัฒนาความร่วมมือกับจังหวัดพิษณุโลกในลำดับถัดไป

ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวร คว้า 4 รางวัล จาก 2 ผลงาน. เวทีระดับนานาชาติ

มหาวิทยาลัยนเรศวร คว้า 4 รางวัล จาก 2 ผลงาน เวทีระดับนานาชาติ จากผลงานของ รองศาสตราจารย์ ดร. ขนิษฐา รุตรัตนมงคลคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

  • รางวัล Bronze Medal Salon International Des Inventions Genève และ 2023 Prize of the Hong Kong Delegation
  • ผลงานวิจัย “I-Sec Technology: Automated Edible Insect Protein Process”
  • รางวัล Bronze Medal Salon International Des Inventions Genève และ Special Prize from Korean Invention Promotion Association (KIPA)
  • ผลงานวิจัย “Innovative Continuous short wave light in Continuous Flow system to enhance CBD & bioactive compound extraction from”

จากการประกวดประดิษฐกรรมและนวัตกรรมงาน “The 48th International Exhibition of Inventions Geneva”
ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวิทยาลัยนเรศวร

การพัฒนานวัตกรรมที่เกิดจากชุมชนอย่างแท้จริง จึงจะเกิดความยั่งยืนและความเข้มแข็งของชุมชน

การลงชุมชน มิใช่การนำนวัตกรรมไปให้แล้วจบ หรือการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปให้แล้วจบ แต่คือการสร้างจุดร่วม แนวคิด เป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมที่เกิดจากชุมชนอย่างแท้จริง จึงจะเกิดความยั่งยืนและความเข้มแข็งของชุมชน ผู้นำมีส่วนสำคัญในการนำพา ที่ใดผู้นำมีวิสัยทัศน์ มีความคิดสร้างสรรค์ เห็นประโยชน์คนอื่นมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ชุมชนจะเกิดความร่วมมือร่วมแรงเพื่อประโยชน์ของชุมชนเอง คำถามคือ เกิดยากมัย บอกเลย ยากมาก จะเกิดเมื่อไหร่ เมื่อเราลงพื้นที่แล้วเกิดความไว้วางใจ เกิดการทำงานร่วมกันจริงๆ ไม่ใช่ไปเพียง 1-2 ครั้งแล้วบอกว่านั้นคือการลงชุมชน มิใช่เลย… ขอบคุณ สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำพาไปสู่ความร่วมมือกันในอนาคตเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง

*ภาคการศึกษา คือส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนชุมชน การตัดตอนความไม่รู้ ตัดช่วงของความจน (วงจรคนจนข้ามรุ่น) เพื่อก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ในชุมชนแห่งการเรียนรู้

ม.นเรศวร ร่วมสัมมนา ‘Textile Talk’ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขต LIMEC ยกระดับศักยภาพสุโขทัย สร้างรายได้และอาชีพยั่งยืน

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566, มหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้การนำของ ดร.จารุวรรณ แดงบุบผา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต และ นางนิพัทธ์ เกษาพร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับบุคลากรจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เข้าร่วมการสัมมนา “Textile Talk” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมผ้าทอและวัฒนธรรมในพื้นที่ โดยมีการเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวในเครือข่ายระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC (Lower Mekong Subregion Economic Corridor)โรงแรมสุทัยเทรชเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสุโขทัย

1. การส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านวัฒนธรรมและหัตถกรรม: การสัมมนาครั้งนี้มีจุดประสงค์หลักในการส่งเสริมการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจวัฒนธรรม ผ่านการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นการยกระดับ เมืองสุโขทัย ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพด้านงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน สถานที่นี้ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือระหว่างพื้นที่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC ซึ่งประกอบด้วยหลายประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

มหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ, ภาคเอกชน, และ ภาคประชาชน ในการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและพื้นที่โดยรอบ ผ่านการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เน้นการเชื่อมโยงกับ งานหัตถกรรมพื้นบ้าน อันเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการที่มีในพื้นที่ พร้อมทั้งสร้างโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

2. การสร้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8): การพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและงานหัตถกรรมในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น งานทอผ้าและศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน นอกจากจะช่วยยกระดับการท่องเที่ยวแล้วยังมีผลต่อการ สร้างงาน และ สร้างอาชีพ ในท้องถิ่น การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะในการทำงานหัตถกรรมทำให้ชุมชนมีโอกาสในการสร้างรายได้จากกิจกรรมเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่เน้น เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นแนวทางสำคัญในการส่งเสริม SDG 8 (การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการทำงานที่ดี) ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนในพื้นที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ลดการพึ่งพาการท่องเที่ยวที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ยั่งยืน หรือการลงทุนภายนอกที่ไม่เกิดประโยชน์กับชุมชนอย่างแท้จริง

3. การส่งเสริมการพัฒนาเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (SDG 11): การสัมมนาครั้งนี้ยังเชื่อมโยงกับ SDG 11 (เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน) โดยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ผสมผสานกับการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น และการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริม การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน การใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นและงานหัตถกรรมเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน แต่ยังช่วยในการสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน

การส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ยังทำให้เมืองสุโขทัยมีโอกาสในการเติบโตในฐานะ เมืองสร้างสรรค์ ซึ่งมีการใช้ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองให้มีความเป็นเอกลักษณ์และดึงดูดนักท่องเที่ยวในระยะยาว การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และสร้างความเชื่อมโยงกับการพัฒนาระยะยาวของเมืองให้ยั่งยืน ถือเป็นการขับเคลื่อน SDG 11 อย่างมีประสิทธิภาพ

4. บทบาทของมหาวิทยาลัยนเรศวรในการพัฒนาที่ยั่งยืน: มหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านการสนับสนุนและการเชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยวและศิลปะท้องถิ่น ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ มหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสร้าง พันธมิตร ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและขยายผลการพัฒนาไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ภายในเขตระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC

การส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะงานหัตถกรรม เช่น การทอผ้า ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่โดยการสร้าง งาน และ อาชีพ ให้กับชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับทั้ง SDG 1 (การขจัดความยากจน) และ SDG 8 (การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน) รวมถึง SDG 11 ที่เน้นการพัฒนาเมืองและชุมชนให้มีความยั่งยืน

ที่มา: กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ส่งเสริมผู้ประกอบการภูมิภาคสู่ตลาดโลก สร้างรายได้ให้ประเทศ

วันที่ 15-16 พฤษภาคม 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้นำผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจ ระดับภูมิภาค ภายใต้แผนงาน “การส่งเสริมผู้ประกอบการภูมิภาคสู่ตลาดโลก” (Regional to Global Platform : R2G) ประจำปี 2566 ณ NSP Exhibition Hall อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)

โดยมีบริษัทที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 6 บริษัท คือ
1. Jengreensnack Co., Ltd.
2. Areeherb Co.,Ltd.
3. Darin laboratories Co., Ltd.
4. Nara Tamarind Co., Ltd.
5. DIN YEN LIMITED PARTNERSHIP
6. Syama Creator Co., Ltd.

โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภวิกา มงคลกิจทวีผล ผู้จัดการโครงการ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ แก่คณะกรรมการ และผู้ประกอบการจำนวน 40 ทีม โดยภายในงานจะเป็นการแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการภูมิภาคจำนวน 8 ทีม เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมส่งเสริม ยกระดับศักยภาพด้านการตลาดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยเครือข่ายความร่วมมือของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคต่อไป

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมกับ วช. ส่งมอบเสื้อเกราะกันกระสุน นวัตกรรมจากจากขยะพลาสติก

วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ กองทัพภาคที่ 3 และ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก ซึ่งเป็นผลงานภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” ที่ วช. ให้ทุนสนับสนุนแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล แห่งคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ดำเนินโครงการฯ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้ส่งมอบนวัตกรรมดังกล่าว แก่กองทัพภาคที่ 3 โดยมี พลตรี ประสาน แสงศิริรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็นผู้รับมอบ พร้อมนี้ ศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมพิธีส่งมอบนวัตกรรมดังกล่าวด้วย ณ สโมสรบันเทิงทัพ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก

ศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวต้อนรับและกล่าวนโยบายด้านการสนับสนุนและผลักดันงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ ว่ามหาวิทยาลัยนเรศวร มีนโยบายในการผลักดัน ส่งเสริม ให้เกิดการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมให้เกิด Research Eco system ที่จะพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ มุ่งส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ และการต่อยอดผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างยั่งยืน สร้างงานวิจัยชั้นแนวหน้าที่มีความหลากหลายตามศักยภาพของนักวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและประเทศ เพื่อมุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ” ซึ่งจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งผู้ทำวิจัย ผู้สนับสนุนทุนวิจัย และผู้ที่นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดการสร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และสังคมได้อย่างชัดเจน

นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. เป็นองค์กรหลักด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ที่มีบทบาทสำคัญด้านการขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยขนาดใหญ่ ที่มีความท้าทายและมีเป้าหมายชัดเจน รวมถึงการส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ตลอดจนผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม งานวิจัยนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนเป็นผลสำเร็จของการสนับสนุนนักวิจัยที่ได้รับทุนจาก วช. จนได้ผลงานสร้างสรรค์ยกระดับขยะพลาสติกที่มีจำนวนมาก จากกระบวนการมีส่วนร่วมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมความปลอดภัยให้กับทหารของประเทศและจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมรายได้ให้กับคนในชุมชนจากการนำเอาขยะจากท้องทะเลมารวมกับผ้าทอมือ อันเป็นสิ่งแทนใจของความรักและความผูกพันของคนในครอบครัวและชุมชนเป็นเกราะป้องกันทหารของประเทศ ผลผลิตและต้นแบบอันเกิดจากการวิจัยครั้งนี้จะก่อให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกและการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทยได้ต่อไป

พลตรี ประสาน แสงศิริรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวว่า ในนามของกองทัพภาคที่ 3 ต้องขอขอบคุณทาง วช. และ ม.นเรศวร ที่เล็งเห็นความสำคัญของงานวิจัยนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน ซึ่งถือว่าเป็นคุณประโยชน์ให้กับกำลังพลของกองทัพบกเป็นอย่างดีในการนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในพื้นที่เสี่ยงภัย ช่วยให้เกิดความปลอดภัย โดยผลผลิตดังกล่าวจะเป็นต้นแบบในการลดขยะโดยเฉพาะขยะพลาสติกที่จะนำไปสู่การจัดการขยะอย่างยั่งยืน นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนนี้จัดทำขึ้นตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการเสื้อเกราะที่มีน้ำหนักเบา มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยได้ และมีราคาถูก สามารถเข้าถึงได้ง่าย และในอนาคตหวังว่าคณะนักวิจัยจะได้พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมนี้ให้ตอบสนองต่อความต้องการและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล หัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่า ม.นเรศวร ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. ในการดำเนินโครงการ “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” มีความสอดคล้องกับแนวทางที่สหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ให้ประเทศต่าง ๆ ภายใต้ทิศทางการพัฒนาประเทศ พ.ศ. 2558 –2573 ในเป้าหมายที่ 12 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดการและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน การสร้างสรรค์นวัตกรรมจากขยะพลาสติกยังตอบสนองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจหมุนเวียนชีวภาพอีกด้วย โดยคณะนักวิจัยมีแนวคิดในการนำเอาขยะเหลือใช้กลับมาทำให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้ชุมชน จากการกำจัดขยะมูลฝอยในปี 2562 พบว่าจังหวัดพิษณุโลก ติดอันดับ 1 ใน 6 จังหวัดที่มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่มากที่สุด โดยจำนวนขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ในจังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณ 465.7 ตันต่อวัน โดยนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนถือเป็นผลสำเร็จของโครงการฯ จนได้ผลงานสร้างสรรค์ยกระดับขยะพลาสติกที่มีจำนวนมาก จากกระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ และชุมชน จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยให้กับกองทัพ โดยมีทหารเป็นกำลังสำคัญในการรักษาอธิปไตยของชาติ

สำหรับนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก เป็นผลงานภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” ที่ วช. สนับสนุนทุนแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล แห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะ ดำเนินโครงการฯ ซึ่ง วช. กองทัพภาคที่ 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะนักวิจัย มีความมุ่งมั่นในการผลักดันการดำเนินงานวิจัยนี้ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ซึ่งผลผลิตและต้นแบบอันเกิดจากการวิจัยครั้งนี้จะนำไปสู่การขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนชีวภาพ การจัดการขยะพลาสติกและการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทยได้

ทั้งนี้ คณะนักวิจัยได้ทำการทดสอบนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก โดยการใช้ปืนขนาด 9 มม. และ 11 มม. ณ ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จังหวัดพิษณุโลก จากการทดสอบพบว่านวัตกรรมดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันการยิงจากอาวุธปืนขนาด 9 มม. และ 11 มม. ในระยะการยิงที่ 5 เมตร 7 เมตร 10 เมตร และ 15 เมตร ได้เป็นอย่างดี และในอนาคตคณะนักวิจัยจะทำการพัฒนานวัตกรรมฯ ให้สามารถป้องกันอาวุธปืนที่มีประสิทธิภาพสูง อาทิ ปืนเอ็ม 16 หรือปืนอาก้า เพื่อความปลอดภัยของทหารผู้รักษาอธิปไตยของประเทศต่อไป

ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

ลดปริมาณขยะจากท้องทะเล สู่นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest”

มหาวิทยาลัยนเรศวร พัฒนานวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest” ตอบโจทย์ผู้ประกอบการด้านการจัดการขยะ จังหวัดกระบี่ จากขยะพลาสติกเหลือใช้และขยะจากท้องทะเล ภายใต้โครงการวิจัย “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติสนับสนุนทุนวิจัยแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าโครงการ และคณะผู้ร่วมวิจัยได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร นิรัช สุดสังข์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยนันท์ บุญพยัคฆ์ และดร.ศิริกาญจน์ ขันสัมฤทธิ์ ภาควิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ดร.วรชาติ กิจเรณู คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest” จากขยะพลาสติกเหลือใช้

นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest” จากขยะพลาสติกเหลือใช้และขยะจากท้องทะเล ภายใต้โครงการวิจัย “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติสนับสนุนทุนวิจัยแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าโครงการ และคณะผู้ร่วมวิจัยได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร นิรัช สุดสังข์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยนันท์ บุญพยัคฆ์ และดร.ศิริกาญจน์ ขันสัมฤทธิ์ ภาควิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ดร.วรชาติ กิจเรณู คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แนวคิด การออกแบบและประยุกต์ใช้งานระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่

ดร.ยอดธง เม่นสิน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการร่วมเป็นวิทยากรร่วมบรรยายในหัวข้อ “แนวคิด การออกแบบและประยุกต์ใช้งานระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ กับพลังงานทดแทนสำหรับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของประเทศ” ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 ณ ห้อง Arnoma โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ ภายในงานสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “การบูรณาการระบบกักเก็บพลังงานร่วมกับพลังงานทดแทน : นโยบาย การวางแผน ออกแบบ วิธีการแก้ปัญหา การปฏิบัติ และการควบคุม” จัดโดยสมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) [IEEE Power & Energy Society (Thailand)]

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดฝึกอบรมปฏิบัติการงานให้กับท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1 ปีงบประมาณ 2566 หลักสูตร การสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น (9 ใบงาน) ระหว่างวันที่ 9 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้กับสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน บุคลากรทางการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี มาเป็นประธานในพิธีเปิด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิษฐ์ภัณฑ์ แคนลา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการบริการวิชาการ เป็นผู้กล่าวรายงาน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคุณชนันต์ติณณ์ เทียนทอง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ ระดับ 7 มาเป็นวิทยากรร่วมกับคณะที่ปรึกษาศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ฯ มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 17 แห่ง 41 คน

ที่มา: กองส่งเสริมการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin