Archives July 2023

ม.นเรศวร ลงพื้นที่จัดกิจกรรมยกระดับธุรกิจของสถานประกอบการ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัดเย็บผ้าตําบลสนามคลี

วันที่ 28 – 30 กรกฎาคม 2566 งานบ่มเพาะธุรกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร และวิทยากรโดยนางสาววรรณชลี กุลศรีไชย หัวหน้างานศิลปวัฒนธรรม งานศิลปวัฒนธรรม กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมที่ 2 การสร้างมูลค่า (Value Creation) ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์ลายใบไม้เป็นสุภาพสตรีและเสื้อผ้าเด็ก ภายใต้แผนงานยกระดับธุรกิจภูมิภาค (Regional Entrepreneur Upgrade) ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัดเย็บผ้า ตําบลสนามคลี อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

โครงการยกระดับความพร้อมของเทคโนโลยี และส่งเสริมระบบนิเวศสำหรับสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน ววน. และการให้บริการด้านเทคโนโลยี

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เราพร้อมบริการและสนับสนุนผู้ประกอบการให้ได้รับกับโอกาสทางธุรกิจและพัฒนาเทคโนโลยี

สนใจสอบถามข้อมูลบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรเพิ่มเติมได้ที่ https://linktr.ee/sciparkcontent
โทร: 0 5596 8755

ม.นเรศวร ร่วมถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี 2566

วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์หริรักษ์ โล่ห์พัฒนานนท์ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ เข้าร่วมในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี 2566 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ โดยให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้แสดงความมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานในพิธี ณ บริเวณโถงอาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ให้ความรู้การจัดการโลจิสติกส์ขยะชุมชน-สร้างรายได้ของครอบครัวจากขยะต้นทาง

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 20 กรกฎาคม 2566 คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนร่วมกับ อบต.ท่าโพธิ์ ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การจัดการโลจิสติกส์ขยะชุมชน-สร้างรายได้ของครอบครัวจากขยะต้นทาง” ภายใต้โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน ณ วัดยางเอน ให้แก่ อสม. อถร. และผู้ที่สนใจในตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

โดยจากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการรับบริการวิชาการ เมื่อวันเสาร์ ที่ 10 มิถุนายน 2566 กลุ่มเป้าหมายได้ตอบแบบสำรวจความต้องการในการรับบริการวิชาการแก่สังคมในเรื่องของการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน (ขยะ อากาศ น้ำเสีย) เป็นอันดับหนึ่ง จึงเป็นที่มาของกิจกรรมดังกล่าว

กิจกรรมแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงเช้าเป็นการบรรยาย “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ด้วยการจัดการขยะต้นทาง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กุลภา โสรัตน์ อาจารย์ประจำคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนและช่วงบ่ายเป็นการฝึกปฏิบัติตามฐานต่างๆ จำนวน 4 สถานที่ ได้แก่ วัดยางเอน โรงเรียนวัดยางเอน ประชานุเคราะห์) บ้านสวน และสถานประกอบการขนาดเล็ก

ที่มา: คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร

อบรมความปลอดภัยการทำงานในอาคารปฏิบัติการ

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ได้จัดโครงการอบรมความปลอดภัยการทำงานในอาคารปฏิบัติการขึ้น ณ บริเวณโถงชั้นล่างอาคารวิศวกรรมโยธา และอาคารปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุ บูรณจารุกร รองคณบดีฝ่ายวิชาการและหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ พร้อมนี้ได้รับเกียรติจาก คุณจิรัท ดีอ่วม จากองค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ เป็นวิทยากรบรรยาย “แผนการดับเพลิงเบื้องต้นและแผนอพยพหนีไฟ” และ “การใช้ถังดับเพลิงและระงับอัคคีภัยเบื้องต้น ฝึกซ้อมอพยพ(โดยการสมมติสถานการณ์) ทั้งนี้เพื่อให้นิสิตและบุคลากรได้รู้จักอพยพ การรวมพล ตลอดจนเป็นการบูรณาการความรู้ ทักษะเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้กับสถานศึกษา เพื่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน และลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

ที่มา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศว

อบรมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม

วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรมโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนกิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ กฎหมายจราจรและความปลอดภัยในการใช้ถนนและ เรียนรู้สัญญาณมือตำรวจจราจร โดยได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยากรฝ่ายงานจราจร สถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก โดยจัดกิจกรรม ณ โดมอเนกประสงค์ โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

ร่วมปลูกต้นไม้ (ต้นรวงผึ้ง) ต้นไม้ประจำประจำพระองค์รัชกาลที่ 10

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ นำทีมโดยท่านคณบดี ผู้บริหาร บุคลากร ร่วมกันปลูกต้นไม้ (ต้นรวงผึ้ง) ต้นไม้ประจำประจำพระองค์รัชกาลที่ 10 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ณ บริเวณหน้าลานเสาเอกคณะฯ

ต้นรวงผึ้ง ถือว่าเป็นพรรณไม้อันทรงคุณค่าและมีเกียรติชนิดหนึ่ง ที่ถูกยกให้เป็นพรรณไม้ประจำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องจากดอกรวงผึ้งจะออกดอกในช่วงเดือนพระบรมราชสมภพพอดี ส่วนสีเหลืองของดอกรวงผึ้งยังเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปลูกต้นรวงผึ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จฯ ไปประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อพระราชทานไว้ให้เป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร

โดยทั่วไปจะเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นรวงผึ้ง” แต่ถ้าหากได้ยินคนเรียก ต้นน้ำผึ้ง ต้นสายน้ำผึ้ง หรือดอกน้ำผึ้ง ก็ไม่ต้องสงสัยไป เพราะชื่อเหล่านี้เป็นชื่อเรียกของคนท้องถิ่นที่มักได้ยินกันบ่อยในแถบกรุงเทพฯ และภาคเหนือ ต้นรวงผึ้ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Yellow star และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm. & Hartono เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบมากในป่าทางภาคเหนือ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-1,100 เมตร

ลักษณะ
ต้นรวงผึ้งจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ความสูงประมาณ 5 เมตร ทนแดด และชอบขึ้นในที่แล้งหรือค่อนข้างแล้ง ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่มมน ออกใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ด้านหน้าใบจะเป็นสีเขียวและหลังใบเป็นสีน้ำตาลนวล ดอกรวงผึ้งส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน และมีสีเหลืองอร่ามดูโดดเด่น ออกดอกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 แฉกคล้ายรูปดาวติดกับโคนกลีบและเป็นฐานรองกระจุกเกสรตัวผู้ ไม่มีกลีบดอก ดอกจะบานได้นาน 7-10 วัน โดยจะผลิดอกในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ส่วนผลของต้นรวงผึ้งมีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร เป็นทรงกลม ผลแห้ง และมีขน

วิธีปลูกและวิธีการดูแล
ต้นรวงผึ้งสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง แต่วิธีปลูกต้นรวงผึ้งที่นิยมมากที่สุดคือ การตอนกิ่ง ด้วยการควั่นกิ่งและลอกเปลือกออก จากนั้นนำดินเหนียวและกาบมะพร้าวชุบน้ำมาหุ้มแผลเอาไว้ ห่อด้วยแผ่นพลาสติกและมัดเชือกปิดมิด ดูแลรดน้ำตามปกติ อาจจะใช้ฮอร์โมนเร่งรากด้วยก็ได้ รอรากงอกออกมาภายใน 2-3 วัน จึงค่อยตัดไปปลูกลงในหลุมดินร่วน เพื่อให้ได้ผลดีแนะนำให้ปลูกในที่กลางแจ้ง เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแดดและทนแล้งได้ดี รดน้ำปานกลาง และปลูกไว้บริเวณแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ต้นก็จะเจริญเติบโตให้ความร่นรื่น ออกดอกสวยงาม แถมใบไม่ร่วงมากด้วย

ที่มา: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร และข้อมูลจาก kapook.com

ม.นเรศวร ร่วมโครงการปลูกต้นไม้ (ต้นรวงผึ้ง) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 10

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 รศ.ดร.นิรัช สุดสังข์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ พร้อมผู้บริหาร เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้ (ต้นรวงผึ้ง) เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร ณ บริเวณพื้นที่แก้มลิงบึงระมาณ อำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก

ต้นรวงผึ้ง ถือว่าเป็นพรรณไม้อันทรงคุณค่าและมีเกียรติชนิดหนึ่ง ที่ถูกยกให้เป็นพรรณไม้ประจำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องจากดอกรวงผึ้งจะออกดอกในช่วงเดือนพระบรมราชสมภพพอดี ส่วนสีเหลืองของดอกรวงผึ้งยังเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปลูกต้นรวงผึ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จฯ ไปประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อพระราชทานไว้ให้เป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร

โดยทั่วไปจะเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นรวงผึ้ง” แต่ถ้าหากได้ยินคนเรียก ต้นน้ำผึ้ง ต้นสายน้ำผึ้ง หรือดอกน้ำผึ้ง ก็ไม่ต้องสงสัยไป เพราะชื่อเหล่านี้เป็นชื่อเรียกของคนท้องถิ่นที่มักได้ยินกันบ่อยในแถบกรุงเทพฯ และภาคเหนือ ต้นรวงผึ้ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Yellow star และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm. & Hartono เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบมากในป่าทางภาคเหนือ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-1,100 เมตร

ลักษณะ
ต้นรวงผึ้งจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ความสูงประมาณ 5 เมตร ทนแดด และชอบขึ้นในที่แล้งหรือค่อนข้างแล้ง ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่มมน ออกใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ด้านหน้าใบจะเป็นสีเขียวและหลังใบเป็นสีน้ำตาลนวล ดอกรวงผึ้งส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน และมีสีเหลืองอร่ามดูโดดเด่น ออกดอกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 แฉกคล้ายรูปดาวติดกับโคนกลีบและเป็นฐานรองกระจุกเกสรตัวผู้ ไม่มีกลีบดอก ดอกจะบานได้นาน 7-10 วัน โดยจะผลิดอกในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ส่วนผลของต้นรวงผึ้งมีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร เป็นทรงกลม ผลแห้ง และมีขน

วิธีปลูกและวิธีการดูแล
ต้นรวงผึ้งสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง แต่วิธีปลูกต้นรวงผึ้งที่นิยมมากที่สุดคือ การตอนกิ่ง ด้วยการควั่นกิ่งและลอกเปลือกออก จากนั้นนำดินเหนียวและกาบมะพร้าวชุบน้ำมาหุ้มแผลเอาไว้ ห่อด้วยแผ่นพลาสติกและมัดเชือกปิดมิด ดูแลรดน้ำตามปกติ อาจจะใช้ฮอร์โมนเร่งรากด้วยก็ได้ รอรากงอกออกมาภายใน 2-3 วัน จึงค่อยตัดไปปลูกลงในหลุมดินร่วน เพื่อให้ได้ผลดีแนะนำให้ปลูกในที่กลางแจ้ง เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแดดและทนแล้งได้ดี รดน้ำปานกลาง และปลูกไว้บริเวณแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ต้นก็จะเจริญเติบโตให้ความร่นรื่น ออกดอกสวยงาม แถมใบไม่ร่วงมากด้วย

ที่มา: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร และข้อมูลจาก kapook.com

ม.นเรศวร ปลูกจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งต่อต้านการทุจริต

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 คณะนิติศาสตร์ ได้จัดการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ปลูกจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งต่อต้านการทุจริต” โดยได้รับเกียรติจาก นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 360 คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชากฎหมายพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต ณ ห้องปราบไตรจักร 43 อาคารปราบไตรจักร 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร และถ่ายทอดสดทางเพจ Facebook Live คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้เพื่อเฉลิมพระเกียรติ

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กำพล ทรัพย์สมบูรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกฎ นุสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้ จำนวน 720 ต้น ณ บริเวณพื้นที่แก้มลิงบึงระมาณ เทศบาลตำบลบึงระมาณ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 71 พรรษา

ที่มา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ส่งเสริมความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้แก่แกนนำนักเรียนสร้างชุมชนยั่งยืน

วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2566 สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ โดย ดร.กนกทิพย์ จักษุ ผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมด้วย คณาจารย์ และนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม จัดโครงการบริการวิชาการ “โครงการสิ่งแวดล้อมปลอดภัย พลานามัยแข็งแรง”

โดยมี นายไพศาล นวลทีม รองนายกเทศมนตรีเทศบาล ตำบลท่าทอง เป็นประธานในการกล่าวเปิดพิธีฯ และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นผู้กล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนโครงการฯ พร้อมทั้งกล่าวถึงความสำคัญของการจัดโครงการบริการวิชาการ

ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นโครงการบริการวิชาการ อีกทั้งยังเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย และหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อจัดกิจกรรมบริการวิชาการสู่ชุมชน โดยมีการจัดกิจกรรม 2 กิจกรรม ดังนี้ 1) กิจกรรมเสริมความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้แก่แกนนำนักเรียนจำนวน 100 คน โดยถ่ายทอดในรูปแบบฐานกิจกรรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ฝึกทักษะ ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปนเปื้อนและความปลอดภัยในอาหาร โดยมีคณาจารย์และนิสิตเป็นวิทยากรให้คำแนะนำ 2) กิจกรรม ตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการสิ่งแวดล้อม และให้ชุมชมได้รับการบริการเกี่ยวกับการจัดการปัญหาทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นชุมชนที่มีความยั่งยืนด้านความปลอดภัย ณ โรงเรียนท่าทองพิทยาคม ตำบลท่าทอง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin