มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร จัดการประกวดภาพถ่ายตามแนวคิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ “Anurak in your mind“ โดยผู้ชนะการประกวดทุกท่านจะได้ขึ้นรับรางวัลในงาน “สืบสานงานสืบ ครั้งที่ 23” ณ ลาน Playground (หน้าหอใน)
โดยกิจกรรมมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากร นิสิต มาร่วมกันปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และร่วมกันดูแลให้สภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยเกิดความยั่งยืน และสะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ สัตว์และต้นไม้ และเกิดความหวงแหนและช่วยกันดูแลให้มหาวิทยาลัยคงความเป็นธรรมชาติที่มีสมบูรณ์สวยงามต่อไป
รางวัลชนะเลิศ ผลงานโดย… นางสาวกรกนก คำแก้ว ( ปอป้าย )
คำบรรยายผลงาน : ทุกคนต่างมีความทรงจำ บางทีต้นไม้เล็กๆอาจเป็นความทรงจำที่ยิ่งใหญ่ของใครหลายๆคน ดังนั้นเราควรอนุรักษ์ความทรงจำควบคู่ไปกับธรรมชาติ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานโดย… นายชานนท์ กิจจารักษ์ ( อ้น )
คำบรรยายผลงาน : ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ที่ต่างแสดงบทบาทและความสำคัญภายในระบบนิเวศแตกต่างกัน
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานโดย… นายสิทธา สายบุญตั้ง ( ธาม )
คำบรรยายผลงาน : มีป่าที่สมบูรณ์ ย่อมมีสัตว์ที่สวยงาม ความสมบูรณ์และความสวยงามจะคงอยู่ต่อไป เมื่อเราอนุรักษ์มันด้วยใจ และรักษาไว้ด้วยการกระทำ
รางวัลชมเชย ผลงานโดย… นายอธิราช นันต๊ะเสน ( เต็นท์ )
คำบรรยายผลงาน : เราทุกคนต่างมองเห็นความงดงามของธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระบบนิเวศน์ระหว่างธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่อยู่ร่วมกันภายใต้มหาวิทยาลัย ภาพนี้จึงเป็นภาพถ่ายเพื่อนำเสนอถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมและการให้ความเคารพแก่ธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นการเน้นถึงความสำคัญของระบบนิเวศที่สมดุลและการรักษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
ที่มา: ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร
วันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2566 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการอบรมจริยธรรมการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา บรรยายเรื่อง “การตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการ” และ “การเขียนผลงานวิทยานิพนธ์ โดยไม่มีการคัดลอก” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.รัตติมา จีนาพงษา อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม Microsoft Teams
ที่มา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร
วันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2566 คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ออกหน่วยบริการวิชาการเพื่อชุมชน โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการช่วยชีวิตเบื้องต้น (CPR) และการใช้เครื่องไฟฟ้ากระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED) ให้แก่ประชาชนตำบลป่าแฝก ณ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแฝก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ซึ่งมีการบรรยายให้ความรู้และการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยวิทยากร ดังนี้
>>วิทยากรหลัก : ดร.ณปภัส กันติ๊บ
>>วิทยากรร่วม : ผศ.ดร.จันทร์จิรา วสุนธราวัฒน์, ผศ.ดร.วันทณี หาญช้าง, ผศ.ดร.ทิพย์ภาพร บัวเลิง, ผศ.สุทัศน์ ดวงจิตร, ดร.จรินธร ธีระพรพันธกิจ, ดร.หทัยชนก อิ่มเพ็ง และอาจารย์กิติณัฐ รอดทองดี
ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
กิจกรรมอบรมและพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชนและเครือข่ายเยาวชนเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางประชาธิปไตย ครั้งที่ 4 (กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ)
ด้วยสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) ภายใต้โครงการเสียงของเราทางเลือกของเรา : พลังสตรีและเยาวชนสำหรับพื้นที่พลเมืองประชาธิปไตย ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และสหภาพยุโรป (EU) กำหนดจัดกิจกรรมอบรมและพัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชนและเครือข่ายเยาวชนเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางประชาธิปไตย ครั้งที่ 4 (กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ) เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพให้กับเครือข่ายแกนนำเด็กและเยาวชนในพื้นที่ต่อประเด็นสิทธิพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย สิทธิเด็ก สิทธิในเด็กผู้หญิง และสิทธิพลเมืองที่พึงจะได้รับ
ทั้งนี้สำหรับเครือข่ายเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จะมีสิทธิ์ได้พัฒนาข้อเสนอโครงการ เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่ของตนเอง ภายใต้กรอบงบประมาณรวมทั้งหมดไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาท) ซึ่งกำหนดจัดกิจกรรมดังกล่าว ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 2 กันยายน 2566 ณ โรงแรมพลิ โล่บูติด ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ที่มา: อาสายุวกาชาด ม.นเรศวร
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นพวรรณ บุญชู รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตจาก คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมดำเนินโครงการบริการวิชาการเพื่อชุมชนในกิจกรรม “มหกรรมสุขภาพ” ซึ่งจัดขึ้น ณ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแฝก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความรู้และเสริมสร้างสุขภาพที่ดีแก่ประชาชนในชุมชน พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
กิจกรรมใน มหกรรมสุขภาพ มีการจัดการให้ความรู้หลายหัวข้อ โดยแบ่งเป็น 6 กิจกรรมสำคัญที่มุ่งเน้นทั้งด้านสุขภาพกายและจิตใจ รวมถึงการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อการดูแลสุขภาพ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้:
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนตาม SDGs 3: สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และ SDGs 17: การสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย SDGs 3 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการใช้สมุนไพรท้องถิ่น เป็นการช่วยให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืน และ SDGs 17 เน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชนในการพัฒนาและส่งเสริมการเข้าถึงความรู้ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาโครงการต่างๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน
นอกจากนี้กิจกรรมนี้ยังสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยนเรศวรในการทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนในพื้นที่โดยการใช้วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและส่งเสริมการพัฒนาอาชีพในชุมชน.
ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2566 เวลา 9.00 น. นายรุ่งรัตน์ พระนาค ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ลงพื้นที่ดูความคืบหน้าการใช้งานเตาอบชีวมวล เพื่อนำถ่านที่ได้จากการอบมาผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกและนำไปบำรุงรักษาไม้ดอก ไม้ประดับ ภายในมหาวิทยาลัยต่อไป ภายใต้โครงการตามยุทธศาสตร์ที่ 5 (SO 12 SDGs) ซึ่งกระบวนการผลิตถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) คือวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากชีวมวล หรือสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้จากธรรมชาติ หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ นำมาผ่านกระบวนการเผาไหม้ที่มีการควบคุม อุณหภูมิและอากาศหรือจำกัดอากาศให้เข้าไปเผาไหม้น้อยที่สุดซึ่งกระบวนการเผาไหม้นี้เรียกว่า “การแยกสลายด้วยความร้อนหรือกระบวนการไพโรไลซิส” ถ่านชีวภาพมีลักษณะเป็นรูโพรง เมื่อนำถ่านมาผสมกับปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก
รูโพรงนี้เมื่ออยู่ในดินจะช่วยเก็บธาตุอาหารจากปุ๋ย และเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้นาน อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าทำให้ลดระยะเวลาในการหมักและลดการปลดปล่อยไนโตรเจน ทำให้ปุ๋ยหมักที่ผสมถ่านชีวภาพจะมีปริมาณไนโตรเจนมากกว่า ช่วยให้ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงได้ และยังได้น้ำส้มควันไม้เพื่อใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ทดแทนการใช้สารเคมีอีกด้วย
ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร
นิสิตสาขาวิทยาศาสตร์การประมง มหาวิทยาลัยนเรศวร เล่าประสบการณ์ที่ สถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิต เกาะสีชัง
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 รศ.ดร.พนัส นัถฤทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี ผู้แทนมหาวิทยาลัยนเรศวร และ ดร.ศุภธิดา พรหมพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ดิ เอสเคิร์ฟ จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อการพัฒนานิสิตและบุคลากร โดยมีการจัดโครงการ Samart Skills (Google Career Certificate) ระยะที่ 2 จำนวน 9 หลักสูตร ภายใต้พันธกิจ Leave No Thai Behind เปิดโอกาสให้นิสิต อาจารย์ และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ที่มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน สร้างโอกาสในการพัฒนาตนเอง และสร้าง Digital TaIent ซึ่งจะได้รับสิทธิ์การยกเว้นค่าธรรมเนียมการเข้าเรียนระบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Coursera และจะได้รับใบประกาศนียบัตรเมื่อเสร็จสิ้นการเรียน สามารถนำไปใช้ในการสมัครงานกับพันธมิตรภาคเอกชนของโครงการที่ให้การยอมรับคุณวุฒินี้ ณ สำนักงาน Google (ประเทศไทย)
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวร มอบหมายให้ CITCOMS เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ Samart Skills (Google Career Certificate) ระยะที่ 2 โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ ได้ที่ https://training.nu.ac.th/samartskills หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณจินตนา ชัยรัตนศักดิ์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-5596-1510 หรือ e-Mail : citcoms_training@nu.ac.th
ที่มา: กองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวรในฐานะที่เป็นคณะทำงานขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) จังหวัดพิษณุโลก ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจกรอบแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG 4) ซึ่งจัดโดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพิษณุโลก โดยมี ผศ.ดร.จรูญ สารินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี และนายธนวุฒิ พูลเขตนคร จากงานพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศ กองพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมนเรศวร โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน SDGs 4 ซึ่งมุ่งเน้นการให้การศึกษาที่มีคุณภาพและการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลกเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืนในพื้นที่ การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ได้จัดขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางและกรอบการดำเนินงานในการบรรลุเป้าหมาย SDGs 4 ในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะการส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับทุกคนในจังหวัดพิษณุโลก
มหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีส่วนร่วมในการสร้างแนวทางและกลยุทธ์การขับเคลื่อน SDGs 4 ที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของพื้นที่ ด้วยการมุ่งเน้นการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุกระดับ โดยการใช้ทรัพยากรทางวิชาการที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ เพื่อช่วยยกระดับการศึกษาของนักเรียนและครูในจังหวัดพิษณุโลกผ่านการพัฒนาหลักสูตร การอบรม และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
นอกจากนี้ การประชุมนี้ยังสอดคล้องกับ SDGs 17: การสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการรวมตัวของหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และสนับสนุนการพัฒนาระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและเป็นธรรม
การเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยนเรศวรในครั้งนี้จึงไม่เพียงแต่เป็นการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG 4) แต่ยังเป็นการส่งเสริมการสร้างความร่วมมือในระดับจังหวัดเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการร่วมมือและดำเนินการตามเป้าหมาย SDGs อย่างมีประสิทธิภาพ.
ภาพกิจกรรมโดย: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพิษณุโลก
Sustainability