Archives August 2023

มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีศักยภาพแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส

การจัดกิจกรรมในวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 โดยคณะพยาบาลศาสตร์ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ภายใต้โครงการ “ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง” สอดคล้องกับแนวทางของมหาวิทยาลัยนเรศวรในการสนับสนุน SDGs (Sustainable Development Goals) หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะ SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ, SDG 10: การลดความเหลื่อมล้ำ, และ SDG 8: การงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ.

โครงการ “ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง” เป็นการสร้างโอกาสในการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีศักยภาพแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งสอดคล้องกับ SDG 4 ที่มุ่งเน้นการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและเท่าเทียม การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เยาวชนจากสถานศึกษาต่างๆ เช่น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก, วิทยาลัยเทคนิคแม่สอด, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก, มหาวิทยาลัยนเรศวร, และสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทำให้ผู้เรียนที่มาจากพื้นฐานที่แตกต่างกันมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นการส่งเสริมความเสมอภาคและการลดช่องว่างทางการศึกษา (SDG 10).

กิจกรรมในโครงการนี้ไม่เพียงแต่เน้นการเรียนรู้ทางวิชาการ แต่ยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการทำงานในอนาคต โดยการจัดกิจกรรมที่เน้นการเตรียมตัวเข้าสู่โลกของการทำงาน นักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงได้รับการแนะนำจากผู้บริหารจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.), รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จในการศึกษาและมีงานทำแล้ว รวมถึงการได้พบปะกับนายจ้างและสถานประกอบการที่ให้คำแนะนำในด้านทักษะการทำงาน ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจ รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ เช่น ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ และสายอาชีพชั้นสูงอื่นๆ ที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน การศึกษาสายอาชีพนี้ช่วยสร้างโอกาสให้กับเยาวชนในการทำงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8).

การจัดตั้งโครงการ ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง โดยคัดเลือกสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ยังมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาให้พร้อมรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในยุค Thailand 4.0 การลงทุนในโครงการศึกษาสายอาชีพที่มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะที่ทันสมัยและตรงกับความต้องการของตลาด จะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับโลก ซึ่งสอดคล้องกับ SDG 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีเป้าหมายในการสร้างโครงสร้างการศึกษาที่พร้อมตอบสนองความต้องการของสังคมและเศรษฐกิจในอนาคต.

การที่คณะพยาบาลศาสตร์จัดกิจกรรมร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษา โดยการเข้าร่วมกิจกรรมปลุกพลังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่ประสบความสำเร็จจากรุ่นพี่และผู้เชี่ยวชาญในสายงาน อาทิ การได้พบกับผู้บริหารจากกองทุนฯ, นายจ้าง และสถานประกอบการที่มอบคำแนะนำในการพัฒนาตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะและสร้างเครือข่ายที่สำคัญในโลกของการทำงาน ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและส่งเสริมการพัฒนาตนเองของเยาวชนที่ด้อยโอกาส (SDG 10).

การจัดกิจกรรมนี้ยังช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาหลายแห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างนักศึกษาและครู/อาจารย์จากสถาบันต่างๆ ที่เข้าร่วม ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับชาติและระดับสากล (SDG 17). การสร้างเครือข่ายและการร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและสนับสนุนการพัฒนาความรู้ในเชิงลึกในทุกภาคส่วน.

ที่มา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการช่วยชีวิตเบื้องต้น (CPR) และการใช้เครื่องไฟฟ้ากระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED)

วันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2566 คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ออกหน่วยบริการวิชาการเพื่อชุมชน โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการช่วยชีวิตเบื้องต้น (CPR) และการใช้เครื่องไฟฟ้ากระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED) ให้แก่ประชาชนตำบลป่าแฝก ณ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแฝก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ซึ่งมีการบรรยายให้ความรู้และการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยวิทยากร ดังนี้

>>วิทยากรหลัก : ดร.ณปภัส กันติ๊บ
>>วิทยากรร่วม : ผศ.ดร.จันทร์จิรา วสุนธราวัฒน์, ผศ.ดร.วันทณี หาญช้าง, ผศ.ดร.ทิพย์ภาพร บัวเลิง, ผศ.สุทัศน์ ดวงจิตร, ดร.จรินธร ธีระพรพันธกิจ, ดร.หทัยชนก อิ่มเพ็ง และอาจารย์กิติณัฐ รอดทองดี

ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร รับรางวัล “ส่วนงานต้นแบบด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” 

29 สิงหาคม 2566 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร รับรางวัล “ส่วนงานต้นแบบที่มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” โดยคณะกรรมการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภูมิปัญญาการทำขนมไทยจากวรรณคดี

วันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 เป็นต้นไป ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร กิจกรรมรายวิชา 001234 อารยธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการอบรมเชิงปฏิบัติในหัวข้อ “ภูมิปัญญาการทำขนมไทยจากวรรณคดี”

ที่มา: กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

สาธิต ม.นเรศวร จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและสารเสพติด

วันที่ 28 สิงหาคม – 1 กันยายน 2566 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและสารเสพติด เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด มีส่วนร่วมในการรณรงค์และเฝ้าระวังป้องกันมิให้มีการใช้สารเสพติดภายในโรงเรียน ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์และข้อบังคับ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเลือกใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร เพื่อใช้รถใช้ถนนตามกฎจราจรได้อย่างปลอดภัย และเป็นไปตามข้อบังคับทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากร จากสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองพิษณุโลก มาให้ความรู้กับนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ณ โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นมุ่งพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดอบรมพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ครั้งที่ 2 ในโครงการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น และพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อมและขนาดกลางจากทรัพยากรเชิงวัฒนธรรมสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชโรธรณ์ ทิพย์อุปถัมภ์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิทยากรในการฝึกอบรมพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อสร้างบรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร และสร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคโดยใช้ความรู้แขนงศิลปะเข้ามาสร้างคุณลักษณะ เช่น มีเอกลักษณ์ลักษณะพิเศษที่ดึงดูดและสร้างการจดจำ ตลอดจนเข้าถึงความหมายและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร จัดประชุมวิชาการการดูแลผู้ป่วยด้านโภชนาการ

     เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 ผศ.นพ.พีระพงศ์ เธียราวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายบริหารและประกันคุณภาพ เป็นประธานในการประชุมวิชาการการดูแลผู้ป่วยด้านโภชนาการ โดยมี นพ.เกริกฤทธิ์ กิจพงศ์พันธ์ ประธานกรรมการ Naresuan Nutrition Support Team กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน  ซึ่งการจัดประชุมมีทั้ง 2 รูปแบบ คือรูปแบบ online และ onsite ณ ห้องประชุมเอกาทศรถ9 ชั้น 3  อาคารสิรินธร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

     การจัดโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลตนเองและผู้ป่วยด้านโภชนาการ รวมถึงแนวทางการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร สามารถทำการคัดกรอง และการประเมินภาวะทุพโภชนาการเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งทราบถึงแนวทางในการดูแลผู้ป่วย เพื่อช่วยให้ผลการรักษาของผู้ป่วยดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล

ที่มา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

โรงพยาบาล ม.นเรศวร ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลให้แก่บุคลากร กว่า 1,200 คน

     วันที่ 18 สิงหาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพิริยา นฤขัตรพิชัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์มอบหมายให้ คณะกรรมการวัคซีนโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ดำเนินโครงการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลให้แก่บุคลากรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ จำนวนกว่า 1,200 คนที่แจ้งความประสงค์ฉีดวัคซีน

   ในการนี้โรงพยาบาลได้รับการสนับสนุนวัคซีนจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจำนวน 900 โดส ส่วนที่เพิ่มเติมทางคณะแพทยศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดซื้อมาเพิ่มให้เพียงพอต่อความประสงค์ของบุคลากรที่ลงทะเบียนไว้ เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลให้กับบุคลากร  รวมจำนวนกว่า 1,200 คน โดยมีคณะกรรมการวัคซีนร่วมกันดำเนินงานได้แก่ งานเภสัชกรรม หน่วยคลังยา งานทรัพยากรบุคคล ฝ่ายการพยาบาล งานบริการปฐมภูมิ งานระบาดวิทยา หน่วยอาชีวอนามัยและส่งเสริมสุขภาพนิสิต เป็นต้น โดยจัดบริการฉีดวัคซีน 2 วันได้แก่ วันที่ 18 และวันที่ 22 สิงหาคม 2566 เพื่อให้บุคลากรมีสุขภาพที่ดีมีภูมิคุ้มกันการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในฤดูนี้

ที่มา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

NU SciPark จัดโครงการซ้อมหนีไฟ ประจำปี 2566

วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30 น. NU SciPark ได้รับเกียรติจาก ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี มาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการซ้อมหนีไฟ ประจำปี 2566 โดยมี ผศ.ดร.สมลักษณ์ วรรณฤมล กีเยลาโรว่า รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้กล่าวถึงภารกิจหลักของอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร มีหน้าที่ในการดูแลอาคารมหาธรรมราชาและได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันอัคคีภัยและการเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดอัคคีภัยรวมถึงการเอาตัวรอดของผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ภายในตัวอาคาร

ในการจัดโครงการดังกล่าวได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านป้องกันและระงับอัคคีภัย โดยคุณธวัชชัย โตสุข นักป้องกันและบรรเทาสาธาณภัยปฏิบัติการ รวมถึงทีมงานงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต.ท่าโพธิ์ มาเป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และผู้ใช้บริการอาคารมหาธรรมราชา อาจารย์ บุคลากร นิสิต รวมทั้งบุคคลทั่วไป

ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมได้เสริมสร้างทักษะและความรู้เรื่องการป้องกันอัคคีภัยจากการซ้อมปฏิบัติการจริง โดยการใช้เครื่องดับเพลิงในการดับไฟจากก๊าซหุงต้ม และจากน้ำมันเบนซิน ควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยทีมสาธารณภัย อบต.ท่าโพธิ์ ณ อาคารมหาธรรมราชา โซน C มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

รายการ รักไม่รู้โรย เรื่องการเก็บรักษานมแม่

ดำเนินรายการโดย : อาจารย์นิตยา ศรีบัวรมย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร NUradio Naresuan

https://youtu.be/iGwzo_0qo3I

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin