นวัตกรรมใหม่! จาก “กากกาแฟ” สู่พลาสติกชีวภาพ ย่อยสลายเองได้ ช่วยบำรุงดิน
ปัจจุบัน ”ปัญหาขยะพลาสติก” เป็นหนึ่งปัญหาสำคัญแม้ในอุตสาหกรรมการเกษตร “ถุงเพาะปลูก” เป็นถุงพลาสติกสังเคราะห์ที่ไม่นิยมนำกลับมารีไซเคิล เนื่องจากมีการปนเปื้อนสูง ยากต่อการผลิตพลาสติกขึ้นมาใหม่ เมื่อต้นไม้โตขึ้น ถุงเพาะปลูกจึงกลายเป็นขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และทำลายสิ่งแวดล้อม
นักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จึงคิดค้นพลาสติกชีวภาพจาก “กากกาแฟ” มาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ถุงพลาสติกนี้มีความยืดหยุ่น มีต้นทุนการผลิตต่ำ และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก ไม่ก่อสารพิษให้โลก ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมฝีมือคนไทยที่ตอบโจทย์ ใช้ต้นทุนต่ำในการผลิต และสามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจอื่น ๆ ได้ เช่น ถุงบรรจุหมวกคลุมผม ถุงคอตตอนบัดในโรงแรม ถือเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่ช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติได้อีกด้วย
ใช้ถุงพลาสติกชีวภาพจาก “กากกาแฟ” ดียังไง ?
– สะอาดปลอดภัย
– ย่อยสลายเองได้โดยไม่ต้องถอดถุงทิ้ง
– กากกาแฟมีคุณสมบัติเป็นปุ๋ย น้ำมันกากกาแฟช่วยเพิ่มธาตุอาหารที่พืชต้องการในดิน
– ถุงสามารถกันแสงยูวีได้ ช่วยยืดอายุของสิ่งของที่บรรจุในถุง
ที่มา: We Love PTT