มหาวิทยาลัยนเรศวร มุ่งปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยมี นโยบายด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) ดังนี้
1. มีระบบการวัดปริมาณคาร์บอน และการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานที่ผลิตคาร์บอนต่ำ
2. ให้บริการวิชาการแก่สังคม เพื่อรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
3. สร้างความร่วมมือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและทุกภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเป้าหมายที่สำคัญต่อ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพราะมหาวิทยาลัยไม่เพียงแค่เป็นแหล่งการศึกษาที่สร้างองค์ความรู้ แต่ยังสามารถเป็นผู้นำในการริเริ่มโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสนับสนุนการศึกษาและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยร่วมมือกับภาครัฐ ชุมชน และภาคธุรกิจเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการดำเนินงานดังนี้
- การส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยนเรศวรสามารถเป็นศูนย์กลางของการศึกษาและการวิจัยในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการวิจัยในด้านการปรับตัวและการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การศึกษาวิธีการใช้พลังงานทดแทน การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่แห้งแล้ง หรือการศึกษาผลกระทบจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น
- การส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มหาวิทยาลัยนเรศวรสามารถดำเนินการภายในมหาวิทยาลัยเพื่อ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการปรับใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panels) การส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือการลดการใช้พลังงานในอาคารเรียน นอกจากนี้ ยังสามารถส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเข้าใจถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การใช้พลังงานอย่างประหยัดและการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- การสร้างความตระหนักรู้และการฝึกอบรมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยสามารถจัดกิจกรรมให้ความรู้ เช่น การสัมมนา การอบรม และการทำเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจให้กับนักศึกษาและบุคลากร รวมถึงการทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้จักรยาน การลดการใช้พลาสติก หรือการประหยัดพลังงานในอาคารเรียน
- การพัฒนาและสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยนเรศวรสามารถริเริ่มโครงการต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น โครงการฟื้นฟูพื้นที่สีเขียว การปลูกต้นไม้ หรือโครงการจัดการน้ำฝนเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตร รวมถึงการพัฒนาโครงการที่ช่วยลดผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน โดยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น การสร้างระบบการเก็บน้ำฝนหรือการใช้ระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
- การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยนเรศวรสามารถเป็นแหล่งสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยลดการใช้พลังงานหรือช่วยในกระบวนการเกษตรที่มีความยั่งยืน รวมถึงการสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาในด้านพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม หรือพลังงานชีวมวล ที่สามารถช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยนเรศวรสามารถร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นและภาครัฐในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวและการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการร่วมมือในการพัฒนาโครงการที่ช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่นในชุมชน เช่น โครงการการเกษตรที่ยั่งยืนหรือการฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวในชุมชน
SDG 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จักรยาน ยืมปั่นฟรีลดโลกร้อน
จักรยาน ยืมปั่นฟรี บริการดีๆ ให้นิสิตหอพักได้ออกกำลังกายและผ่อนคลายความเครียด อีกทั้งยังเป็นการช่วยประหยัดพลังงานลดการปล่อยคาร์บอน หันมาใช้พาหนะประหยัดพลังงานแถมยังช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย โดยยืมได้ที่ป้อมยาม B2 ใกล้หอ 9
Read Moreขับเคลื่อนการดำเนินงานสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University)
วันที่ 23 – 25 สิงหาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ประพิธาริ์ ธนารักษ์ คณะทำงานโครงการฯ พร้อมด้วย นิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่าของวิทยาลัยฯ เข้าร่วมกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อช่วย “ลด” และ
Read Moreการประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ “ความยืดหยุ่นรับภัยพิบัติเพื่อสังคมที่ดีขึ้น
การประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ:The 2nd TNDR Conference (National & International) “ความยืดหยุ่นรับภัยพิบัติเพื่อสังคมที่ดีขึ้น (Be Better: Disaster Resilience for Better Society)”
Read Moreม.นเรศวร ผนึกกำลังนิคมสร้างตนเองบางระกำฯ จัดประชุมสร้างความเข้าใจในการดำเนินโครงการฯ พร้อมลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมมือกับ นิคมสร้างตนเองบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ในการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการพัฒนาทุนมนุษย์และส่งเสริมอัตลักษณ์ในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะ SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมต่อการสร้างโอกาสในการทำงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจของชุมชนในระยะยาว การประชุมที่จัดขึ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ
Read Moreวันที่ 20 มีนาคม 2567 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือศึกษาและพัฒนางานวิจัยด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ในภาคพลังงานของประเทศ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Read More“PM drop” น้ำยาจับฝุ่น PM 2.5 ที่อยู่ในอากาศ
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุม โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดให้มีการแถลงข่าว ผลิตภัณฑ์ “PM drop” ซึ่งเป็นน้ำยาที่มีประสิทธิภาพในการจับฝุ่น PM 2.5
Read Moreม.นเรศวร ส่งเสริมใช้งานระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กแบบมีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์
วันที่ 10 ตุลาคม 2566 วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี (SGtech) ได้จัดงาน ”ประชุมหน่วยงานส่วนราชการที่มีศักยภาพในการส่งเสริมใช้งานระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กแบบมีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์” ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กแบบมีการใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ในพื้นที่ส่วนราชการ โดยมี รศ.ดร.ธวัช สุริวงษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและกิจการนิสิต และ ดร.วิสุทธิ์
Read Moreกรมอุตุฯ จับมือ ม. นเรศวร ลงนาม MOU สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัย เพื่อการพยากรณ์สภาพอากาศ
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 เวลา 10.00 น. ดร. ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี
Read Moreม.นเรศวร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมและการแพร่กระจายมลพิษทางอากาศฯ
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมและการแพร่กระจายมลพิษทางอากาศด้านฝุ่นควันเพื่อการบริหารจัดการชุมชน ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคารกองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมนี้ได้รับเกียรติจาก
Read Moreม.นเรศวร ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
วันที่ 26-29 มิถุนายน 2566 รศ.ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร อาจารย์ เดินทางไปศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมาร์ทกริดและแนวทางการสนับสนุนการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ดังนี้ -
Read Moreม.นเรศวร ร่วมเวทีหาความร่วมมือเฝ้าระวังผลกระทบมลพิษข้ามแดน จ.น่าน จัดโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
ทุก ๆ ปี ประเทศไทยเผชิญมลพิษทางอากาศจากหลายปัจจัย อาทิ ฝุ่นการก่อสร้างและโรงงานอุตสาหกรรม ควันท่อไอเสียรถยนต์ ไฟป่า หรือการเผาเศษวัสดุทางการเกษตร ซึ่งหน่วยงานภาครัฐพยายามออกมาตราการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา แต่สำหรับมลพิษข้ามพรมแดน จากการเผาหรืออุตสาหกรรมอย่างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ยังไม่มีกฎหมายรองรับระหว่างประเทศ ฉะนั้น
Read Moreรายการ “เท่าทันภัยพิบัติ” ทาง ททบ.5 ช่วงข่าวเด่นทันสถานการณ์
รายการ “เท่าทันภัยพิบัติ” ทาง ททบ.5 ช่วงข่าวเด่นทันสถานการณ์ วันที่ 12 มิถุนายน2566 ประเด็น/หัวข้อ : เครื่องมือติดตามจุดความร้อนและความเข้มฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วยเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อลดปัญหามลพิษอากาศในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
Read Moreให้ความรู้ ภาวะโลกร้อนและปรากฏการณ์เอลนีโญ
รายการ : สาธารณสุข สร้างสุข เรื่อง : ภาวะโลกร้อนและปรากฏการณ์เอลนีโญ ผู้ดำเนินรายการ : ผศ.ดร. พันธ์ทิพย์ หินหุ้มเพ็ชร รองคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา และอาจารย์ประจำสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Read Moreม.นเรศวร ลงนามสัญญาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตราฐานของประเทศไทย (TVER)
พิธีลงนามสัญญาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตราฐานของประเทศไทย (TVER) ระหว่างบริษัทอินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วินด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ลงนามโดย ดร.สุเมธ สุทธภักติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี ลงนามโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนพงศ์
Read Moreบพข. กองทุน ววน. หนุนต่อเนื่อง “ท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิ ต้องเป็นศูนย์”
เมื่อวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2566, แผนงานกลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ร่วมมือ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Read More4 ฉากทัศน์ แก้ปัญหาฝุ่น ‘PM2.5’ อย่างยั่งยืนใน 15 ปี
ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาค่าความเข้มข้นของ 'PM2.5' ในบรรยากาศเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพประชาชน ทั้งในกรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และเป็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ในปี 2565 จากการรวบรวมข้อมูล DustBoy พบว่า จำนวนวันที่ PM2.5 เกินมาตรฐาน WHO ในหลายเขตของ
Read Moreนักวิจัย ม.นเรศวร เผย 4 ฉากทัศน์สำคัญลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ผ่านการปฏิบัติจริงนำมาปรับใช้ใน กทม.
ข่าว 3 มิติ ยังติดตามปัญหาค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2566) ค่าฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพมหานครลดลงมาอยู่ในเกณฑ์เกือบปกติเเล้ว ด้านนักวิชาการจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์
Read Moreม.นเรศวร ร่วมลงนามเพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัดตาก
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สัมฤทธิ์ โม้พวง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และนายสาธิต มณฑาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตาก ร่วมกันลงนามสัญญาในการดำเนินงาน “โครงการการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัดตาก”
Read MoreNU Transit : ตัวช่วยในการวางแผนการเดินทาง ที่จะทำให้คุณถึงจุดหมายได้ทันเวลา
มหาวิทยาลัยนเรศวร พัฒนา Web Application แสดงการเดินรถไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยนเรศวร ถูกจัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาคมมหาวิทยาลัยนเรศวรและประชาชนที่ใช้บริการรถไฟฟ้า ให้สามารถตรวจสอบการเดินรถไฟฟ้าในขณะที่ต้องการใช้งานว่าอยู่จุดไหน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถวางแผนการเดินทางได้อย่างแม่นยำ เป็นการอำนวยความสะดวกและส่งเสริงการใช้รถไฟฟ้า และลดการใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ส่วนบุคคลส่วนบุคคลลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการแสดงข้อมูลการเดินรถไฟฟ้าแบบ Real Time โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานได้ที่ https://transit.nu.ac.th/ และยังสามารถตรวจสอบเส้นทางการเดินรถไฟฟ้า
Read Moreวิกฤตฝุ่นตอนนี้เป็นอย่างไร? และ ความเป็นไปได้ในการจัดการฝุ่นและมลพิษทางอากาศ
ผศ. ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร กล่าวว่า ในฐานะนักวิจัยที่ทำงานด้านวิศวะกรรมสิ่งแวดล้อม และในฐานะที่อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เรามีโครงการที่ทำด้านฝุ่นเยอะ ผมก็เลยอยากจะเล่าให้ฟังถึงทิศทางที่จะเป็นไปได้ 4 ฉากทัศน์ของการจัดการฝุ่นและมลพิษทางอากาศ เอาที่สถานการณ์ปัจจุบันก่อน ข้อมูลที่เรานำมาจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศของ
Read Moreม.นเรศวร ร่วมขับเคลื่อนนโยบาย Net Zero Emission ประกาศใช้มาตรฐานลด “ก๊าซเรือนกระจก” 7 มาตรฐานต่อเนื่อง
วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหนึ่งในหน่วยงานกว่า 200 รายทั่วประเทศ ที่สามารถนำมาตรฐาน Net Zero Emission ไปใช้เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์กว่า 50 ล้านตันต่อปี และเคยได้รับโล่เกียรติยศ จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ทส. & องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
Read Moreจัดระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้า ให้นิสิตได้ใช้เดินทางฟรี!! ลดการพึ่งพาน้ำมัน
มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าให้นิสิตได้ใช้เดินทางฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย และลดการใช้รถจักรยานยนต์ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และช่วยลด PM 2.5 แถมยังช่วยประหยัดการใช้น้ำมันทุกวันตลอดทั้งปี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้เป็นเปิดภาคเรียนปีการศึกษาใหม่ของ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก บรรยากาศวันเปิดเทอมเป็นไปอย่างคึกคัก
Read Moreม.นเรศวร กับบริบทความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคอาเซียน
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 นางสาวนารีรัตน์ พันธุ์มณี ผู้อำนวยการกองประสาน การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมเผยแพร่ข้อเสนอแนะบทบาทและแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทยในบริบทความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคอาเซียน โดยมีคณะที่ปรึกษาโครงการ ประกอบด้วย รศ.ดร. ประพิธาริ์ ธนารักษ์ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี
Read Moreสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 ได้เข้าติดตามผลการดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคาหอพักนิสิต และอาคารบริการ (อาคารขวัญเมือง) มหาวิทยาลัยนเรศวร
วันที่ 18 มีนาคม 2565 สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 ได้รับมอบหมายจากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกองค์การมหาชน) ได้เข้าติดตามผลการดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคาหอพักนิสิต และอาคารบริการ (อาคารขวัญเมือง) มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) เมื่อวันที่ 10
Read Moreนวัตกรรมเพื่อสังคมแอปพลิเคชั่น แคร์คุณ…ทุกเส้นทาง
แอปพลิเคชันแคร์คุณ Carekoon Mobility Platform เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ร่วมกับหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, เทศบาลนครพิษณุโลก และ
Read Moreขอเชิญเข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง) ข้อเสนอแนะบทบาทและแนวทางการดำเนินงานของไทยในบริบทความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคอาเซียน
ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง) ข้อเสนอแนะบทบาทและแนวทางการดำเนินงานของไทยในบริบทความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคอาเซียน ในวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 11 โรงแรมอีสติน
Read Moreม.นเรศวร ร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ข้อเสนอแนะบทบาทฯ บริบทความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคอาเซียน
SGtech ขอขอบคุณสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุกภาคส่วนที่กรุณามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ ในงานประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ข้อเสนอแนะบทบาทและแนวทางการดำเนินงานของประเทศไทย ในบริบทความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคอาเซียน เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร
Read Moreหน่วยรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจก SGtech เข้าร่วมรับมอบประกาศนียบัตรการรับรองระบบงานและการขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอก
วันที่ 20 เมษายน 2565 หน่วยรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจก SGtech เข้าร่วมรับมอบประกาศนียบัตรการรับรองระบบงานและการขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอก ในงานแถลงความสำเร็จการรับรองระบบงาน (Accreditation) หน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก และการขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอก จากเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
Read Moreม.นเรศวร ต้นแบบการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 มหาวิทยาลัยนเรศวร มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 6,867 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งมาจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program:
Read More