
มหาวิทยาลัยนเรศวร มุ่งขจัดความยากจนทกุรูปแบบในทุกพื้นที่ เน้นการบูรณาการงานวิจัยและการบริการวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน โดยมีนโยบายด้านการลดความยากจน (No Poverty) ดังนี้
1. ให้การสนับสนุนช่วยเหลือสังคมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้หลุดพ้นความยากจนในทุกมิติ
2. ให้บริการวิชาการแก่สังคม สร้างชุมชนที่เข้มแข็งและพัฒนาอาชีพสร้างรายได้ในพื้นที่
3. สร้างความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาและมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน
การขจัดความยากจนในทุกรูปแบบทุกมิติทั่วโลก เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มุ่งเน้นการลดและยุติความยากจนในทุก ๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นความยากจนในระดับรายได้ ความยากจนจากการขาดแคลนโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา สุขภาพ หรือสิ่งแวดล้อมที่ดี สำหรับมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ความสำคัญทั้งในด้านการศึกษาและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของนักศึกษาและชุมชนรอบข้าง ด้วยการสนับสนุนความรู้และโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างทักษะ สร้างอาชีพ และสร้างมูลค่าให้สินค้าเพื่อช่วยขจัดความยากจนในทุกมิติ โดยมีการดำเนินงานดังนี้
- การสร้างโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการยุติความยากจน เพราะมันเปิดโอกาสให้คนสามารถมีอาชีพที่ดีขึ้นและสามารถยกระดับชีวิตตนเองได้ มหาวิทยาลัยนเรศวรให้โอกาสทางการศึกษาแก่กลุ่มนักศึกษาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย โดยการจัดสรรทุนการศึกษาและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ช่วยให้การศึกษาของนักศึกษาไม่ถูกจำกัดด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ทุนการศึกษาและการสนับสนุนด้านวิชาการ
- การพัฒนาทักษะและอาชีพในชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวรมีบทบาทในการเสริมสร้างทักษะและอาชีพให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชน โดยผ่านการจัดหลักสูตรอบรมที่เกี่ยวข้องกับทักษะวิชาชีพต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรมเกี่ยวกับการเกษตร การทำธุรกิจขนาดเล็ก หรือการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งสามารถช่วยให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และลดความยากจนในระดับท้องถิ่น
- การวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน มหาวิทยาลัยนเรศวรสนับสนุนการวิจัยที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคม ผ่านการศึกษาวิจัยและพัฒนาโครงการที่สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนที่มีฐานะยากจน เช่น การวิจัยในด้านการเกษตรยั่งยืน เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับชุมชน หรือการพัฒนานโยบายที่ช่วยให้ผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียม
- การสนับสนุนโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวรมีบทบาทสำคัญในการร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ ในการจัดโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและการขจัดความยากจน ตัวอย่างเช่น การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่สามารถช่วยยกระดับรายได้ของชุมชน หรือการสร้างงานให้กับผู้ด้อยโอกาส
- การสร้างความตระหนักรู้และจิตสำนึกในกลุ่มนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยนเรศวรมีการจัดกิจกรรมและโครงการที่ช่วยสร้างจิตสำนึกให้กับนักศึกษาและบุคลากรเกี่ยวกับปัญหาความยากจนและการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เช่น การจัดกิจกรรมจิตอาสา โครงการฝึกอบรมทักษะในชุมชน หรือการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือ
- การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ มหาวิทยาลัยนเรศวรทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรต่าง ๆ ในการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนในสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มที่ยากจน โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยลดความยากจนและสร้างโอกาสให้กับคนในชุมชน
SDG 1 การลดความยากจน

มอบทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตคณะเกษตรศาสตร์ฯ ทั้งสิ้น จำนวน 39 ทุน
วันที่ 8 มีนาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย ชูสำโรง รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศและกิจการนิสิต เป็นประธานพิธีมอบทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตคณะเกษตรศาสตร์ฯ ทั้งสิ้น จำนวน 39
Read More
NU SciPark ต้อนรับคณะกรรมการติดตามการดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.สราวุธ สัตยากวี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เเละรักษาการในตำเเหน่งรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ ให้การต้อนรับคณะกรรมการติดตามการดำเนินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ ระหว่างกิจการขนาดใหญ่และมหาวิทยาลัย (Business Brotherhood)
Read More
NU SciPark ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน Tech Transfer to Community ส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้าน
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เจ้าหน้าที่อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ "การผลิตภัณฑ์ขิงเพื่อการค้า เส้นทางนวัตกรรมเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจและการตลาดสร้างสรรค์" โดยมี ผศ.ดร.ภคพร วัฒนดำรงค์ สังกัดคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนรศวร เป็นหัวหน้าโครงการ
Read More
ม.นเรศวร มอบทุนการศึกษา กองทุนการศึกษาเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2565
พิธีมอบทุนการศึกษา กองทุนการศึกษาเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2565 วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม 2565 เวลา 15.00 – 16.30 น. ณ ห้อง
Read More
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี พ.ศ.2564 มอบทุนการศึกษา สมทบกองทุนการศึกษาเพื่อนิสิต มน.
อขอบพระคุณคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี พ.ศ.2564 ที่ได้มอบทุนการศึกษา สมทบกองทุนการศึกษาเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นจำนวนเงิน 21,062 บาท ทั้งนี้ ท่านผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี นายประจินต์ เมฆสุธีพิทักษ์ เป็นผู้แทนในการส่งมอบ ขอขอบพระคุณทุกท่าน ไว้
Read More
มน. นำร่อง บางระกำ และเนินมะปราง วิจัยแก้ไขปัญหายากจน ต่อยอดอาชีพของชาวบ้านแบบยั่งยืน
วันที่ 13 กันยายน 2565 ที่ห้องประชุมสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์(บ้านสองแคว) จังหวัดพิษณุโลก นายรณรงค์ นครจินดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก พร้อมด้วย ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ หัวหน้าโครงการวิจัยพร้อมคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดตัวโครงการ “การศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำภาคเหนือตอนล่าง
Read More
ม.นเรศวร เปิดเวทีประชุมนานาชาติระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง-อินโดจีน-เมาะลำไย ครั้งที่ 5
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566, มหาวิทยาลัยนเรศวรภายใต้การนำของ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา พัดเกตุ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้เปิดการประชุมระดับนานาชาติ ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย ครั้งที่ 5
Read More
วช. สนับสนุนทีมวิจัย ม.นเรศวร ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตองุ่นไชน์มัสแคทเพื่อการพาณิชย์
วช. สนับสนุนทีมวิจัย ม.นเรศวร ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตองุ่นไชน์มัสแคทเพื่อการพาณิชย์ เผยจุดเด่นทำให้เป็นองุ่นไร้เมล็ด เพิ่มมูลค่า และเก็บเกี่ยวได้ 2 รอบต่อปี ซึ่งนอกจากจะเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกองุ่นแล้ว ยังทำให้คนไทยเข้าถึงการบริโภคองุ่นพันธุ์นี้ได้ง่ายขึ้นและลดการนำเข้าจากต่างประเทศเก็บตก… จากงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 กับอีกหนึ่งบูธที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานเป็นอย่างมากจากการนำเสนอผลงานที่มุ่งยกระดับผลผลิตทางเกษตรเพื่อการพาณิชย์และการส่งออกในอนาคตของทีมวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Read More
ผู้ว่าฯ พิษณุโลกและนายกเหล่ากาชาดจังหวัดพิษณุโลกเยี่ยมนักเรียนทุนพระราชทานฯ ในสังกัด ม.นเรศวร
วันที่ 18 กรกฎาคม 2565 รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่า และศิลปวัฒนธรรม (ดร.จรัสดาว คงเมือง) และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก (นายรณชัย จิตรวิเศษ) และ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดพิษณุโลก
Read More
คูปองแจกนิสิต ลดค่าใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นส่วนลดในการซื้ออาหารและเครื่องดื่มราคาถูก
มหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีการดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน SDG 1: การขจัดความยากจน และ SDG 2: การขจัดความหิวโหย ผ่านการส่งเสริมโอกาสทางการอาหารและการสนับสนุนค่าครองชีพของนิสิต โดยกิจกรรมที่จัดขึ้นในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา
Read More
มอบทุนการศึกษา นิสิตที่มีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
เมื่อวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดพิธีมอบทุนการศึกษา “มูลนิธินายประจักษ์ และนางสาลี่ คนตรง” ประจำปีการศึกษา 2564 ณ ห้องประชุมสุพรรณกัลยา 1 สำนักงานอธิการบดี
Read More
มหาวิทยาลัยนเรศวรลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ภาคเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ศาสตารจารย์ ดร.จิรวัฒน์ พิระสันต์ ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมผู้บริหาร ร่วมให้การต้อนรับภาคีเครือข่าย จำนวน 12 หน่วยงาน ในพิธีลงนามบันทึกบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ภาคเหนือตอนล่าง :
Read More
มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ผ้า เรื่อง “ลาย” ฟื้นฟูหลังโควิค
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ผ้า เรื่อง “ลาย” (Pattern Exhibition 2021) โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี
Read More
ม.นเรศวร มุ่งพัฒนาทักษะอาชีพด้านการตัดเย็บ เพื่อกระตุ้นการจ้างงานในชุมชน ผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ตัดเย็บจากผ้า ตำบลสนามคลี อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
การทอผ้า เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้านในตำบลสนามคลี อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก อย่างไรก็ดี พวกเขาไม่ได้ใช้การทอผ้าในการหารายได้อย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ในชุมชนเป็นที่ราบลุ่ม ชาวบ้านจึงประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ การปลูกเมล่อน บางกลุ่มที่ตั้งครัวเรือนริมแม่น้ำ ก็มีอาชีพเสริมเป็นการเลี้ยงปลากดคัง โดยมีทั้งเป็นเจ้าของกระชังปลาเอง และเป็นลูกจ้างดูแลกระชังปลา กองส่งเสริมการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก จึงเล็งเห็นโอกาส
Read More
วช.หนุนนักวิจัย ม.นเรศวร ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตมะยงชิดเชิงพาณิชย์
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หนุนถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตมะยงชิดเชิงพาณิชย์ นำชมสวนมะยงชิดตัวอย่างในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดการองค์ความรู้ตั้งแต่การเตรียมปลูก การกำจัดแมลงและศัตรูพืช จัดการระบบหลังเก็บเกี่ยว แปรรูปสร้างเอกลักษณ์ให้ดึงดูดใจ พร้อมจัดการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อการตลาดและส่งออก แก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ
Read More
ม.นเรศวร มอบทุนจิตอาสารีไซเคิล ปันรัก ประจำปีการศึกษา 2563
ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต พร้อมด้วยหัวหน้างานบริการสวัสดิการนิสิตและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้นำนิสิตกลุ่มนิสิตจิตอาสาคัดแยกขยะ ชมรมจิตอาสา ที่ผ่านการคัดเลือกการรับทุนการศึกษา เข้ารับมอบทุนจากท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร (ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี) ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา
Read More
ม.นเรศวร จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเครื่องกลั่นน้ำส้มควันไม้เพื่อยกระดับสินค้าชุมชน
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเครื่องกลั่นน้ำส้มควันไม้เพื่อยกระดับสินค้าชุมชน จัดขึ้นที่วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี ม.นเรศวร ร่วมกับ วช. และ กอรมน. จัดฝึกอบรมให้กับเครือข่ายปราชญ์ชุมชน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร
Read More- 1
- 2
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านอื่นๆ
- 1
- 2