การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Procurement)

มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ความสำคัญกับขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใสตรวจสอบได้ โดยนำปัจจัยทางสังคม (Social) เศรษฐกิจ (Economics) และสิ่งแวดล้อม (Environment) มาพิจารณาควบคู่ไปกับราคา คุณภาพ การส่งมอบสินค้าและบริการเพื่อสร้างประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ตามแนวทาง Environment Social และ Governance (ESG) ซึ่งครอบคลุมมิติ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ด้านสังคม (Social): การจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก เช่น การต่อต้านการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย เช่น แรงงานทาส แรงงานเด็ก และการจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงแนวปฏิบัติที่ดีต่อผู้ใช้แรงงาน โดยมีการคำนึงถึงคุณภาพชีวิตแรงงาน โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมการทำงาน สุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน
  • ด้านเศรษฐกิจ (Economics): การรักษาเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน การจัดซื้อจัดจ้างงานท้องถิ่น (Local Partnership) ที่ชุมชนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์ รวมไปถึงการมีธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชั่น เช่น การต่อต้านการติดสินบนและการต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกกรณี (Business Ethics & Anti-Corruption)
  • ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental): การปกป้องและใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า เช่น การสนับสนุนคู่ค้าที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Icon

นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน: ด้านเศรษฐกิจ (Economics)

SDG7, SDG8, SDG9, SDG10, SDG11