น้ำสะอาด
มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ความสำคัญต่อการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำภายในมหาวิทยาลัยให้เกิดความยั่งยืน และเกิดความคุ่มค่าในการใช้ทรัพยากรน้ำภายในมหาวิทยาลัยสูง โดยมหาวิทยาลัยจัดสรรพื้นที่กักเก็บน้ำ รวมทั้งสิ้น 1,062,753 ลูกบาทเมตร เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการใช้อุปโภคและบริโภค ซึ่งมีโรงผลิตน้ำประปา ทำหน้าที่ผลิตรวมถึงการควบคุมคุณภาพน้ำประปาในด้านต่างๆ ทั้งน้ำดิบและน้ำประปา เพื่อให้ได้น้ำประปาที่มีคุณภาพสูง เป็นไปตามเกณฑ์ และปลอดภัยต่อสุขภาพ เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการอุปโภคและบริโภค รวมไปถึงจัดทำรายงานการติดตามสถิติการใช้น้ำภายในมหาวิทยาลัย เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภายในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน ข้อมูลด้านการบริหารจัดการน้ำ มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยมีจุดบริการตู้กดน้าดื่มตามจุดต่างๆ ของอาคารเรียนและโรงพยาบาล
มีระบบ REVERSE OSMOSIS SYSTEM (RO) ในกระบวนการล้างเครื่องมือของหน่วยเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อกลาง
น้ำเสีย
มหาวิทยาลัยนเรศวร คำนึงถึงการสร้าผลกระทบด้านลบต่อชุมชน โดยให้ความสำคัญในด้านการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งอาจเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรค หรือเป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรมีสถานีบำบัดน้ำเสีย และมีสถานีสูบน้ำเสียที่ครอบคลุมพื้นที่มหาวิทยาลัย ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพน้ำเสีย ให้อยู่ในสภาพที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น กลิ่น และสีของน้ำเสีย ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ ข้อมูลด้านการบริหารจัดการน้ำ มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยมีการตรวจติดตามคุณภาพน้ำประปาและน้ำทิ้งเป็นประจำทุกเดือน โดยเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจวิเคราะห์กับ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐาน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านทรัพยากรน้ำ
แปรน้ำเสียชุมชน เป็นกลไกเฝ้าระวังเชิงรุกการระบาดเชื้อโควิด-19 ต้นทุนต่ำ
นวัตกรรมจาก “ระบาดวิทยาน้ำเสีย” “น้ำเสียชุมชนสามารถใช้ในการเฝ้าระวังติดเชื้อโควิดได้” ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) เปิดเผยถึงแนวคิดหลักของทีมวิจัย สถานความเป็นเลิศเพื่อความยั่งยืนด้านสุขภาวะ สิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มน. ซึ่งรวมถึงรศ.ดร.อภินันท์
Read Moreม.นเรศวร ยืนยันระบบ 3R น้ำภาคธุรกิจบริการ คุ้มค่า ประหยัดน้ำจริง ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ EEC
เนื่องด้วยแนวโน้มความต้องการใช้น้ำใน 3 จังหวัดพื้นที่โครงการ EEC จ.ชลบุรี, จ.ระยอง, และ จ.ฉะเชิงเทรา ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ตามการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการค้าและบริการ ได้ทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีอยู่จำกัดในพื้นที่ ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วน กลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำคัญของโครงการ EEC
Read Moreม.นเรศวร จัดโครงการบำเพ็ญประโยชน์ สร้างฝายชะลอน้ำแบบกึ่งถาวร
กลุ่มนิสิตจิตอาสามหาวิทยาลัยนเรศวรและชมรมกลุ่มด้านบำเพ็ญประโยชน์และรักษาสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสโมสรโรตารีลุ่มน้ำเข็กได้ร่วมกันทำโครงการบำเพ็ญประโยชน์ สร้างฝายชะลอน้ำแบบกึ่งถาวร ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2563 ในพื้นที่ บ้านตอเรือ หมู่ที่ 13 ตำบล วังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
Read Moreสายน้ำยังติดเชื้อ คพ.อัดฉีดงบเพิ่ม 200 ล้าน ต่อเวลาฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ประลอง ดำรงค์ไทย เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการไตรภาคีเพื่อติดตามการดำเนินโครงการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ จังหวัดกาญจนบุรี จากการปนเปื้อนสารตะกั่วครั้งที่ 29 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2563 ณ สำนักงานโครงการ หมู่บ้านคลิตี้บน พร้อมเปิดเผยว่า
Read Moreนักวิจัย ม.นเรศวร แนะตรวจสารพันธุกรรม COVID-19 ในน้ำเสียของสิ่งปฏิกูล
ผศ. ดร. ธนพล เพ็ญรัตน์ หัวหน้าโครงการวิจัยการใช้โฟมที่ปรับเสถียรด้วยอนุภาคแม่เหล็กนาโนร่วมกับการเหนี่ยวนำความร้อนทางแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารอินทรีย์ระเหยด้วยวิธีสกัดไอดิน จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสถิติการติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ของไทยในแต่ละวันค่อนข้างคงที่ ขณะที่หลายจังหวัดรวมถึงพิษณุโลกไม่พบการติดเชื้อรายใหม่มาหลายวัน คำถามคือเมื่อใดจะเปิดเมืองได้อีกครั้ง
Read Moreม.นเรศวร เปิดสวิตซ์สถานีสูบน้ำเสีย ก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดี ผศ.ดร.ดลเดช ตั้งตระการพงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดี รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ นายรุ่งรัตน์
Read More