นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร คว้ารางวัลที่ 3 ในโครงการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับประเทศ

นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร คว้ารางวัลที่ 3 ในโครงการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับประเทศ จากมูลนิธิรากแก้ว ในงาน National Exposition 2024 University Sustainability Showcase ในระหว่างวันที่ 24-25 สิงหาคม พ.ศ.2567 ณ สามย่านมิตรทาวน์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์และคณะวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศลำดับที่ 3 ทีมหน้าใหม่ประจำปี 2567 ในการแข่งขันโครงการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจัดขึ้นโดยมูลนิธิรากแก้ว ซึ่งมีบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท KPMG, Junior Achievement Thailand และมูลนิธิ SCG เป็นผู้ร่วมสนับสนุน

นิสิตที่ได้รับรางวัลประกอบด้วย นายสกาย คิดลูน จอมพงษ์ นางสาววาสิตา รอดอินทร์ นิสิตชั้นปีที่ 4 จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนายกษิดิศ เห็มกัณฑ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ โดยได้นำเสนอผลงาน “Paopae” นวัตกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ผลงาน “Paopae” มุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดพิษณุโลกโดยใช้ระบบพาสปอร์ตสะสมแต้ม ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถสะสมแต้มเพื่อแลกรับน้ำหอมกลิ่นดอกไม้ประจำจังหวัด ทั้งนี้ ยังได้มีการนำเสนอแนวความคิดในการนำผ้าทอลายประจำจังหวัดมาใช้ในการออกแบบชุดร่วมสมัย เพื่อดึงดูดความสนใจและเสริมสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น

ผลงานนี้ได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการและได้รับรางวัลระดับ Silver พร้อมโล่ห์รางวัล อันเป็นการยืนยันถึงศักยภาพและความสามารถของนิสิตในการนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ ดร.ชไมพร ศรีสุราช และ อาจารย์ศรัณย์พร เกิดเกาะ จากวิทยาลัยนานาชาติ ได้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนและแนะนำให้นิสิตได้พัฒนาผลงานจนประสบความสำเร็จ

มหาวิทยาลัยนเรศวรขอแสดงความยินดีและภูมิใจในความสำเร็จของนิสิตที่ได้นำชื่อเสียงและเกียรติยศมาสู่มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งย้ำถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ม.นเรศวร ประชุมวางแผนการรวบรวมข้อมูลการบริการวิชาการเชิงสาธารณะ

เมื่อวันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา งานพัฒนาเครือข่ายและจัดหาทุน กองส่งเสริมการบริการวิชาการ ได้จัดประชุมวางแผนการรวบรวมข้อมูลการบริการวิชาการเชิงสาธารณะของมหาวิทยาลัยนเรศวร ณ ห้องประชุมสำนักงานกองส่งเสริมการบริการวิชาการ อาคารเอกาทศรถ เพื่อกำหนดแนวทางการรวบรวมข้อมูลการบริการวิชาการเชิงสาธารณะของมหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อไป โดยเบื้องต้นกองส่งเสริมการบริการวิชาการจะรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานของกองฯ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิษฐ์ภัณฑ์ แคนลา รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกองส่งเสริมการบริการวิชาการ เป็นประธาน หัวหน้างานพัฒนาเครือข่ายและจัดหาทุน และบุคลากรของกองฯ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

ที่มา: กองส่งเสริมการบริการวิชาการ

สู่การเป็นนวัตกร ผู้ประกอบการในอนาคต กับ 4 ขั้นตอนง่าย ๆ และน่าสนใจ

ประชาสัมพันธ์เชิญชวนสำหรับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ สู่การเป็นนวัตกร ผู้ประกอบการในอนาคต กับ 4 ขั้นตอนง่าย ๆ และน่าสนใจ นิสิตลงทะเบียนเรียน รายวิชา 251200 “นวัตกรทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี” ที่ www.reg.nu.ac.th ในเทอม 2/2566

เมื่อนิสิตลงทะเบียนเรียน ก็จะ Enjoy ไปกับเนื้อหาที่น่าสนใจ และแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานที่สนใจด้านต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน นิสิตเข้าร่วมอบรมเพิ่มความรู้ทักษะ สำหรับการเตรียมความพร้อมในการเป็นนวัตกร กับกิจกรรม “ Summer Research Camp” ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ย.

เมื่อมีแนวคิดสร้างสรรค์ผลงาน จาก “Summer Research Camp” นิสิตสามารถสมัครขอรับทุนส่งเสริมโครงการนวัตกรรม นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งเป็น ทุนบุ่มเพาะนวัตกรรมรุ่นเยาว์ 5,000 บาท หรือทุนสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์ 10,000 บาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : หน่วยอำนวยการและสนับสนุนการเรียนรู้ งานบริการการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โทร.055-963140 (ในวันและเวลาราชการ) หรือ อีเมล์ ACSC@nu.ac.th #nusdg4#nusdg8

ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ประกวดผลงานการพัฒนานวัตกรรม “ขยะทำเงิน”

โครงการ ประกวดผลงานการพัฒนานวัตกรรม “ขยะทำเงิน” รายวิชา 001279 วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ภาคเรียนต้น ปีการศึกษา 2566 วันอังคารที่ 10 ต.ค. 2566 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ โถง ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ

ที่มา: กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร กระตุ้นให้นิสิตได้พัฒนาทักษะ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : R2M)

NU SciPark จัด Research to Market : R2M ครั้งที่ 11 เฟ้นหา 3 ทีมสุดต๊าช เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมแข่งขันต่อในรอบระดับภูมิภาค

วันที่ 23 กันยายน 2566 NU SciPark จัดกิจกรรมการแข่งขันโครงการ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : R2M) ครั้งที่ 11” ระดับมหาวิทยาลัย เพื่อกระตุ้นให้นิสิตได้มีโอกาสพัฒนาทักษะ และนำเอาความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยสนับสนุนเงินทุน เพื่อเป็นแรงจูงใจและกระตุ้นให้นิสิตทำการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง อันจะเป็นการสร้างเวทีสำหรับนิสิตในการพัฒนาความรู้สู่การเป็นนักวิจัยระดับอาชีพต่อไป อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านวิจัยของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการเป็นเตรียมพร้อมด้านการศึกษาและเศรษฐกิจของไทย โดยมี ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน และมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ วรรณฤมล กีเยลาโรว่า ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้กล่าวรายงาน

ในกิจกรรมการแข่งขันนี้ มีทีมนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันนำเสนอความเป็นไปได้ทางธุรกิจ จำนวน 14 ทีม โดยได้คัดเลือกเพียง 3 ทีม เพื่อเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยนเรศวรเข้าร่วมการแข่งขันรอบระดับภูมิภาค ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในเดือนพฤศจิกายน 2566

สำหรับผลการแข่งขันทีมที่ผ่านเข้ารอบ ได้แก่
– รางวัลชนะเลิศ ผลงาน “PAWER UP อาหารสุขภาพจากโปรตีนไข่ขาวสำหรับสุนัข” จากคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ผลงาน “เซ็ตผลิตภัณฑ์แอนติแอคเน่จากสารสกัดไมยราบ” จากคณะเภสัชศาสตร์
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงาน “Hemp Plast” จากคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร

นอกจากนี้ ยังมีรางวัลชมเชย เพื่อเป็นกำลังใจให้กับน้องๆอีก 2 รางวัล
– รางวัลชมเชย ผลงาน “ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากรูปแบบแกรนูล” จากคณะเภสัชศาสตร์
– รางวัลชมเชย ผลงาน “Love Furniture Application แอปพลิเคชั่นมือถือสำหรับซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม” จากคณะวิทยาศาสตร์

NU SciPark ขอเป็นกำลังใจและร่วมส่งแรงเชียร์น้อง ๆ ในการแข่งขันรอบระดับภูมิภาคต่อไป
ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

พัฒนานิสิตด้านทักษะการเรียนรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2566 ดร.นิภารัตน์ อิ่มศิลป์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการพัฒนานิสิตด้านทักษะการเรียนรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “ไอเดียสร้างรายได้จากวิดีโอ” ณ ห้อง QS 44101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวรวิทยากรโดย คุณเสกสรร เทิดสิริภัทร หรือ เสกสรร ปั้น YouTube Video Content Creator รุ่นใหม่ เจ้าของไอเดียเด็ดที่สร้างช่องทางการสื่อสารและตัวตนผ่านทางยูทูป เพื่อให้นิสิตชั้นปีที่ 4 ได้รับแนวคิด รูปแบบวิธีการการทำงานในลักษณะออนไลน์และสามารถที่จะนำทักษะความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการออกฝึกปฏิบัติงานในภาคการศึกษาต่อไป

ที่มา: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เปิดโอกาสในการพัฒนาตนเอง และสร้าง Digital TaIent มาถึงแล้ว

CITCOMS ขอเชิญนิสิต อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยนเรศวร มาร่วมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ภายใต้โครงการ Samart Skills (Google Career Certificate) จำนวนทั้งสิ้น 9 หลักสูตร ฟรี!!!!

เปิดรับสมัครเพิ่มเติม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน 2566 เริ่มเรียนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://training.nu.ac.th/samartskills
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ คุณจินตนา ชัยรัตนศักดิ์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-5596-1510 หรือ e-Mail : citcoms_training@nu.ac.th

ที่มา: กองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (CITCOMS)

NU SDGs No.7 เราทำได้ ทุกคนทำได้

มหาวิทยาลัยนเรศวร เรามุ่งมั่นขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs เป้าหมายที่ 7 การสร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา ทั้งในด้านการปฏิบัติ และการวิจัยค้นคว้า ช่วยให้บรรลุวาระการพัฒนา ปี 2030 และช่วยให้โลกใบนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

ที่มา: www.facebook.com/AusudayuHD

มาทำความรู้จัก NU SDGs “ป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” กันเถอะ

มาทำความรู้จัก NU SDGs 🧡🌍 “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” กันเถอะ
ที่มา: งานบริการวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

รางวัลชนะเลิศ การประกวดผลิตสื่อออนไลน์ NU-SDGs ประเภทบุคลากร “5 พิกัดสถานที่ ม.นเรศวรที่ชวนให้คิดถึง”

รางวัลชนะเลิศ การประกวดผลิตสื่อออนไลน์ NU-SDGs ประเภทบุคลากร

ชื่อผลงาน: 5 พิกัดสถานที่ ม.นเรศวรที่ชวนให้คิดถึง
1. ลานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
2. หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร
3. หอในมหาวิทยาลัยนเรศวร
4. อ่างเก็บน้ำมหาวิทยาลัยนเรศวร
5. วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี

นอกจาก 5 สถานที่ ในความทรงจำแล้วยังเป็น 5 เป้าหมายจาก 17 เป้าหมาย SDGS สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อทำให้โลกดีขึ้น ภายในปี 2030 อีกด้วย

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin