ม.นเรศวร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงด้านวิจัยและวิชาการ กับ สถาบันไทยใส่ใจเพื่อสังคม

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านวิจัยและวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร กับ สถาบันไทยใส่ใจเพื่อสังคม วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ณ The Apartment ชั้น 9 โรงแรม Park Hyatt Bangkok กรุงเทพมหานคร

Mou Signing Ceremony Between Naresuan University and Thai Care Institute for Society , Sunday November 2020

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายธุรกิจสุขภาพ ผลักดันท่องเที่ยวสุขภาพ แห่งแรกของไทย

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมโรงแรมพิษณุโลกยูไนเตส  อ.เมือง จ.พิษณุโลก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร  เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายธุรกิจสุขภาพ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี2563 โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร SDโดยมีผู้ประกอบการ ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างประกอบด้วย จ.พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และจ.ตาก มาร่วมใจการจัดทำแผนพัฒนาคลัสเตอร์ เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ ในการวางแผนพัฒนา สนับสนุนคลัสเตอร์ SME และพัฒนาศักยภาพ Service Provider ผู้นำ และผู้ประสานเครือข่าย (CDA)
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร  กล่าวว่า โครงการนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ ภาครัฐ ภาคเอกชน จัดขึ้นเพื่อเป็นกิจกรรมสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์จังหวัด โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพประชาชน ซึ่ง มหาวิทยาลัยนเรศวร ดูแลประชากร 5 ล้านคน พื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยเราต้องการขับเคลื่อน  เพื่อให้ประชาชน ชุมชน ภาคเหนือตอนล่างมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ทั้งด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจชุมชนมีรายได้ ด้านการเมืองความเป็นหนึ่งเดียวของชุมชน  โดยมีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการสนับสนุนโครงการนี้ 
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม และเป็นพ่อครัวและนักวิชาการชาวไทยที่มีชื่อเสียงจากการจัดรายการทางโทรทัศน์ และเป็นนักแสดง เรื่องที่มีชื่อเสียง มาเป็นที่ปรึกษาโครงการ และเป็นวิทยากรผู้อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพ ให้กับผู้ประกอบการ เป็นโครงการทำจริงจัง โครงการนี้จะทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนเรียนรู้และตื่นตัวในการดูแลสุขภาพ นักท่องเที่ยว ดูแลผู้เจ็บป่วย ผู้ชรา เป็นโครงการโภชนาการดูแลสุขภาพประชาชน
ดร.มาร์ฎา ชยทัตโต อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร  กล่าวว่า พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ม.นเรศวร จึงทำโครงการขึ้นมา เป็นโครงการหนึ่งเพื่อรวบรวม  ผู้ประกอบการที่อยู่ในเครือข่าย ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม สปา ฟิตเน็ต เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อให้มีโอกาสเสนอสินค้าของเขา โดยมีเอเจนซี่ท่องเที่ยว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้ามาทดลองสัมผัสการท่องเที่ยวในพื้นที่จริง โดยเริ่มต้นเมื่อวาน เดินทางไปพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ ทำกิจกรรมร่วมกัน ทำโยคะตอนเช้า และทำอาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ กินอาหารออกแกรนด์นิกส์ นำเสนอสินค้า สาธิตการทำอาหารสุขภาพ ก๋วยเตี๋ยวน้ำพริกลงเรือ  และแยมมะม่วงส้มซ่า
โดย อ.ยิ่งศักดิ์ ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร  จากนั้นจะมีการออกกำลังการฟิตเน็ต  ที่ จ.พิษณุโลก ก่อนเดินทางไป จ.สุโขทัย และ อ.แม่สอด จ.ตาก  โดยเป้าหมายโครงการหลังจากนี้ จะเปิดทริปท่องเที่ยวนี้เป็นทริปครั้งแรก ก่อนจัดทริปท่องเที่ยวสุขภาพจริง ตามเส้นทางที่มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดเตรียมไว้ ด้านอาจารย์ ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์  กล่าวว่า รู้สึกปลื้มใจมากในการมาเป็นที่ปรึกษาโครงการนี้  ได้ทำอะไรให้คนจำนวนมากทางภาคเหนือ การออกมาท่องเที่ยวย่ามนี้ ช่วงการระบาดโควิด 19 สุขภาพใจ สุขภาพกายต้องแข็งแรง 
การทำอาหารในช่วงนี้ ความเป็นของดีของอาหารธรรมชาติทางภาคเหนือ  อาหารการกินในพื้นที่ภาคเหนือมีดีอยู่แล้ว  แต่ควรมีการปรับเปลี่ยน อยากให้ประชาชนภาคเหนือทำอาหารแบบNew Normal  อาหารไทยเดิมของไทย ต้องจัดการสังขยานา อาหารไทยเชิงสุขภาพ ใครๆ ก็ทำขายได้ อย่างพืชผักที่นำมาใช้ ทั้งมะระขี้นก นำมาฟื้นฟูส่งเสริมการปลูกเพื่อเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำอาหาร นอกจากนี้ อยากเสนอให้ ม.นเรศวร ทำภัตตาคารอาหารต้นแบบของไทย มหาวิทยาลัยนเรศวรเราเป็นแหล่งความรู้กับประชาชน เป็นการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่น พร้อมกันนี้ ผมได้นำมะม่วง ผลไม้ของ จ.พิษณุโลก มาทำแยมมะม่วง  โดยนำส้มซ่ามาใส่ในแยม เพราะให้รสและกลิ่นคล้ายส้มยูสุ ของญี่ปุ่น ที่ราคาแสนแพง  แต่เราไม่ใช้ส้มยูสุ เราจะใช้ส้มซ่า มาทำ โดยต่อไปคนชุมชน จ.พิษณุโลก จะได้ปลูกส้มซ่า 1,000-10,000 ไร่ เพื่อนำส้มซ่ามาทำผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารในอนาคตด้วย

ที่มา: phitsanulokhotnews

รมว.พม.ร่วมมือพัฒนาชีวิตคนพิการและคุณแม่คุณพ่อวัยใสกับมหาวิทยาลัยนเรศวร

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 ที่ห้องประชุมวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) และกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) มหาวิทยาลัยนเรศวร และวิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจอาหารไทยและนานาชาติ
โดยมี นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นายธนสุนทร สว่างสาลี รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ศาสตราจารย์พิเศษ  ดร.กาญจนา เงารังสี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร และนางสาวมารีน่า จงเลิศเจษฎาวงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจอาหารไทยและนานาชาติ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการนำองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน รวมถึงความร่วมมือระหว่างกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทั้งนี้เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตคนพิการในด้านต่างๆ การพัฒนาอาชีพและศักยภาพสตรี อีกทั้งเพื่อการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัว และการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว 
นายจุติ กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้ เนื่องจากนโยบายของกระทรวง พม. มุ่งหวังให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อยู่ดีมีสุขด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมคุณภาพ โดยมีพันธกิจในการพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ เต็มตามศักยภาพมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง และสร้างเสริมภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม รวมทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถของคนในการช่วยเหลือตนเองในการดำรงชีวิตอย่างมั่นคง ผ่านการสร้างศักยภาพและพัฒนาอาชีพที่สร้างสรรค์ อาทิ เชฟ บาริสต้า การปลูกผักสวนครัว เกษตรปลอดภัย และการเลี้ยงปลาสวยงาม เป็นต้น
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมั่นคงและยั่งยืน การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและสตรี เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม การส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการ และการส่งเสริมการจัดสวัสดิการด้านต่างๆ  อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม รวมถึงการส่งเสริมความเสมอภาคและเท่าเทียมระหว่างเพศ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยนเรศวร และเจตนารมณ์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจอาหารไทยและนานาชาติ ที่มุ่งกระจายโอกาสและความเสมอภาคให้กับประชาชน ด้วยการใช้องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี  และนวัตกรรม นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน  
นายจุติ กล่าวต่อไปว่า กระทรวง พม. ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) และกรมกิจการสตรีและครอบครัว (สค.) บูรณาการและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในระดับพื้นที่ ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อพัฒนาโครงการหรือกิจกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนพิการและสตรี
โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร จะสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการ อาทิ องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ นิสิต และเครื่องมือ อุปกรณ์  เป็นต้น และวิทยาลัยเทคโนโลยีธุรกิจอาหารไทย และนานาชาติ จะให้ความร่วมมือในการสร้างหลักสูตรในการพัฒนาอาชีพและยกระดับศักยภาพคนพิการ พร้อมทั้งสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการ อาทิ อาจารย์และผู้สอนที่มีประสบการณ์อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน  และการประเมินผลการฝึกทักษะวิชาชีพ เป็นต้น

ที่มา: phitsanulokhotnews

มหาวิทยาลัยนเรศวร พัฒนาระบบการแพทย์ระยะไกล เชื่อมโยง รพ.กับผู้ป่วย เข้าถึงการรักษาเท่าเทียม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรธร บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยนายนิพนธ์ จงวิชิต ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระสายเสียงโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก และคณะผู้บริหาร ได้ร่วมกันนำเสนอโครงการพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท
โดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง (ระยะที่  2) หวังเชื่อมโยงเครือข่ายโรงพยาบาล ศูนย์แพทย์ในจังหวัดพิษณุโลกแบบครบวงจร เพื่อยกระดับการรักษาและลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงทางการแพทย์ในประเทศไทย นายนิพนธ์ จงวิชิต รักษาการผู้จัดการกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ กล่าวว่า จากปัญหาระบบทางการแพทย์ของประเทศไทยมีความขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ชนบทพื้นที่ห่างไกล เนื่องด้วยจำนวนแพทย์ที่ไม่เพียงพอ และส่วนใหญ่อยู่ในโรงพยาบาลส่วนกลาง และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในเขตเมือง ส่งผลให้แพทย์ไม่มีเพียงพอและรับรองกับจำนวนผู้ป่วยในเขตพื้นที่ห่างไกล
ดังนั้น กทปส. เล็งเห็นถึงความสำคัญและปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการมอบทุน เพื่อทำโครงการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบทโดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง เพื่อลดช่องว่างทางการแพทย์ที่เกิดขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัดความเร็วสูง ศักยภาพของเทคโนโลยีไร้สายสร้างจุดแข็ง ในการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบแพทย์ทางไกลและให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้ทุกพื้นที่ทุกเวลาแบบ Real Time สำหรับโครงการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท โดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูงโดย
ทางมหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับทุนสนับสนุน จาก กทปส. มีลักษณะคล้าย Tele Health รูปแบบครบวงจร มีแพทย์เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ป่วยและพยาบาลผ่าน Application เชื่อมต่อสำหรับแพทย์ โครงการดังกล่าวได้รับทุนครั้งแรกเมื่อปี 2557 ทำเป็นโครงการต้นแบบทดลองทั้งสิ้น 4-5 โรงพยาบาลในพื้นที่ ทั้งนี้ในการพัฒนาระบบแพทย์ทางไกลให้สามารถ เชื่อมโยง รับส่งข้อมูลรวมทั้งการเข้าถึงฐานข้อมูลผู้ป่วย ได้อย่างรวดเร็วซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลความเร็วสูงจะเชื่อมต่อภาพ จากการรักษาให้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจรักษาผ่านระบบเชื่อมโยงด้านการโทรคมนาคมเข้าสู่โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลในพื้นที่ หรือทำการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญปลายทาง ทำให้ลดปัญหาการขาดแคลนแพทย์ทุกพื้นที่ในประเทศ และเกิดความเท่าเทียม ในการเข้าถึงรักษาลดปัญหาการเสียชีวิตของประชาชน
โดยการนำเอาเทคโนโลยีด้านการโทรคมนาคมดิจิทัลความเร็วสูงมาพัฒนาร่วมกับระบบทางการแพทย์โดยเกิดการพัฒนาต่อยอดอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อวงการแพทย์ไทยและประชาชนในประเทศอีกด้วย ล่าสุดทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ยื่นขอทุนต่อเนื่องเพื่อขยายโครงการต่อไปในปี 2561 ในโครงการพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยี ที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท โดยผ่านเครือข่ายดิจิทัล ความเร็วสูงระยะที่ 2 เพื่อจะเชื่อมโยงโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัด เป็นสิ่งที่เห็นถึงความสำเร็จของโครงการและการดำเนินการที่เห็นภาพเป็นประโยชน์ ในการเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาล สาธารณสุข ทั้งจังหวัด สถานีอนามัย และบุคลากร อย่างแพทย์ พยาบาลสู่การรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคาดว่าในอีก 2 ปีจะมีการขยายเพิ่ม
ซึ่งหลังจากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข จะมารับช่วงต่อไปขยายผลในจังหวัดอื่นๆต่อไป ในอนาคตปี 2564 การขยายต่อยอดโครงการจะเป็นไปในส่วนของนโยบายของทางกระทรวง หากแผนการพัฒนาโครงการดังกล่าวสำเร็จ กทปส.เชื่อว่าจะช่วยในการรักษาโรคที่ไม่ได้รุนแรง ทำให้เกิดความรวดเร็วขึ้นอย่างมาก ทางด้าน ศ.ดรไพศาล มุณีสว่าง คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า โครงการพัฒนาคุณภาพการบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบท โดยเครือข่ายโดยผ่านเครือข่ายดิจิตัลความเร็วสูง ถือว่าเป็นต้นแบบให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่ชนบท พื้นที่ห่างไกลกับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลใหญ่ ในพื้นที่เขตเมืองหรือกรุงเทพฯ
ปัจจุบันได้ทำการทดลองวางระบบและเชื่อมต่อการทำงานกับเข้ากับโรงพยาบาล ภายใต้การทำงานของมหาวิทยาลัยนเรศวร โรงพยาบาลในจังหวัดพิษณุโลก 8 แห่งโรงพยาบาลศูนย์อีก 2 แห่ง รวมแล้ว 10 โรงพยาบาล โดยได้ทำการศึกษาวิเคราะห์และนำโจทย์ด้านเทคโนโลยีเข้ามาผนวกใช้ ซึ่งจัดการปัญหาที่ได้ทำการศึกษาคือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่ได้อยู่กับที่ มีการเดินทางอยู่ตลอดเวลาผู้ป่วยไม่สามารถที่จะรอได้ต้องการการรักษาอย่างทันที ดังนั้นระบบแพทย์ทางไกลที่ดีตอบโจทย์คือระบบโทรศัพท์ทางไกล หรือเรียกว่า โมบายแอพพลิเคชั่น บนสมาร์ทโฟนที่สามารถให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเชื่อมต่อ สามารถให้คำปรึกษาได้ตลอดเวลา ขณะนี้มีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการและเชื่อมกับระบบประมาณ 289 แห่งจากในระยะแรกมี 13 แห่งแบ่งเป็นโรงพยาบาลในจังหวัดพิษณุโลก 157 แห่งและโรงพยาบาลในจังหวัดสุโขทัย 132 แห่ง  
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของระบบการทำงานของโครงการได้พัฒนาและขยายผลโครงการระยะที่ 1 ถึงโครงการระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการพัฒนา โดยผ่าน Application NUMED ซึ่งมีการพัฒนาฟังก์ชัน การเชื่อมต่อการ service บน Application โดยการจัดตารางเวรเพื่อให้การให้คำปรึกษาให้ฟังชั่นสามารถสนทนา (Chat) ที่ความสามารถส่งข้อมูลภาพและวีดีโอแบบกลุ่มได้ รวมถึงพัฒนาฟังก์ชั่นการค้นหาข้อมูลผู้ป่วยบน Application ด้วยการป้อนรหัส 13 หลักโดยได้พัฒนาระบบการศึกษาแบบแยกตามกลุ่มความเชี่ยวชาญของแพทย์ นอกจากนี้ในส่วนฟังก์ชันการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้คำปรึกษาโดยไม่ต้องเปิดเคส ระบบได้ทำการจัดเก็บ (BackUp Delta) และบริหารการจัดการข้อมูลจากระบบศูนย์ข้อมูลบนคลาวด์มายังเซิร์ฟเวอร์ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ให้สามารถใช้ข้อมูลได้สะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งยังได้พัฒนาโดยการสร้างระบบ web Admin สำหรับผู้ดูแลและจัดการใช้งานให้กับโรงพยาบาลต้นสังกัดเป็นผู้ดูแล เป็นต้น

ที่มา: phitsanulokhotnews

มหาวิทยาลัยนเรศวร ลงนามบันทึกข้อตกลง​ (MOU) ความร่วมมือทางวิชาการ​ ร่วมกับ บริษัทกัลกุล​ เอ็นจิเนียริ่ง​ จำกัด​ (มหาชน)​ บริษัทผู้นำด้านธุรกิจพลังงานทดแทนแบบครบวงจร

ศาตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดี ได้เป็นเกียรติเข้าพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง​ (MOU) ความร่วมมือทางวิชาการ​ ระหว่าง​ มหาวิทยาลัยนเรศวร​ กับบริษัทกัลกุล​ เอ็นจิเนียริ่ง​ จำกัด​ (มหาชน)​ บริษัทผู้นำด้านธุรกิจพลังงานทดแทนแบบครบวงจร​ และธุรกิจผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีชั้นนำ วันที่ 25 กันยายน 2562 ณ SGtech

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin