ร่วมเรียนรู้กิจกรรมธนาคารขยะเพื่อสังคม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภิสา ไวฑูรเกียรติ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมคณะ ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรไท โสภารัตน์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานิสิตและส่งเสริมพหุวัฒนธรรม, นางนพมาศ อ่ำอำไพ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานวิจัยและบริการวิชาการ และ นายสิรภัทร เรืองวิริยะพงศ์ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ เยี่ยมชมบริษัทผลิตกระจก Mulia Industrindo Glass Company เพื่อเรียนรู้กิจกรรมธนาคารขยะเพื่อสังคม (CSR program on waste-bank empowerment) และ เยี่ยมชมกระบวนการรีไซเคิลขวดแก้ว ในวันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566 ณ Bintang Raharja Glass- Waste Bank ประเทศอินโอนีเซีย

ที่มา: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

กิจกรรมทันตะอาสาสานฝัน: ถุงยาพา smile

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอชื่นชมสโมสรนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ ที่ได้จัดกิจกรรมทันตะอาสาสานฝัน: ถุงยาพา smile ในวันที่ 18-22 กันยายน 2566 โดยที่นิสิตทันตแพทย์ ทุกชั้นปี ตั้งใจใช้ทักษะฝีมือในการวาดและระบายสีถุงผ้า เพื่อมอบให้ผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งถุงผ้าที่ผู้รับจะได้นั้นมีหนึ่งเดียวในโลกจากฝีมือและจินตนาการความสร้างสรรค์ของนิสิตทันตแพทย์ ถือเป็นการทำงานจิตอาสา และช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดมลพิษจากขยะถุงพลาสติกด้วยการใช้กระเป๋าผ้ารักษ์โลก

ม.นเรศวร ขนย้ายและส่งกำจัดของเสียอันตราย

เมื่อวันที่ 4 – 5 กันยายน 2566 บุคลากรกองอาคารสถานที่และผู้เชี่ยวชาญได้ทำการขนย้ายและส่งกำจัดของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีหน่วยงานทั้งสิ้น 24 หน่วยงาน ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ส่งของเสียอันตรายมากำจัดในปีงบประมาณนี้

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Art Therapy for Upcycling and Relaxing Exhibition

กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเชิญชมนิทรรศการผลงานศิลปะเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเพิ่มมูลค่าให้วัสดุรีไซเคิล “Art Therapy for Upcycling and Relaxing” โดยชมรม NU Zero Waste และคณาจารย์ นิสิตคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

เพื่อสนับสนุนการนำวัสดุเหลือใช้ในสังคมที่จะก่อเกิดปัญหาเรื่องขยะนำมาเพิ่มมูลค่าด้วยการสร้างสรรค์งานศิลปะ หมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เพื่อความยั่งยืนและตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ณ ชั้น 1 ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดแสดงระหว่างวันที่ 11 กันยายน – 31 ตุลาคม 2566

ที่มา: กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

จิตอาสาแยกขยะในหอพัก เปลี่ยนมาเป็นกาแฟฟรี!!

จากกิจกรรมจิตอาสาแยกขยะในหอพัก เปลี่ยนมาเป็นกาแฟฟรีสำหรับพวกเราทุกคนค่ะ คืนนี้มีกาแฟกับชามะนาวค่ะ เจอกัน 2 ทุ่มเหมือนเดิม ที่ป้อมยามหอใน อย่าลืมนำแก้วมาใส่ด้วยนะคะ

ที่มา: หอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร NU Dorm

ม.นเรศวร ต่อยอดสร้างเตาอบชีวมวล เพื่อนำมาผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกและนำไปบำรุงรักษาไม้ดอก

วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2566 เวลา 9.00 น. นายรุ่งรัตน์ พระนาค ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ลงพื้นที่ดูความคืบหน้าการใช้งานเตาอบชีวมวล เพื่อนำถ่านที่ได้จากการอบมาผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกและนำไปบำรุงรักษาไม้ดอก ไม้ประดับ ภายในมหาวิทยาลัยต่อไป ภายใต้โครงการตามยุทธศาสตร์ที่ 5 (SO 12 SDGs) ซึ่งกระบวนการผลิตถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) คือวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากชีวมวล หรือสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้จากธรรมชาติ หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ใบไม้ กิ่งไม้ นำมาผ่านกระบวนการเผาไหม้ที่มีการควบคุม อุณหภูมิและอากาศหรือจำกัดอากาศให้เข้าไปเผาไหม้น้อยที่สุดซึ่งกระบวนการเผาไหม้นี้เรียกว่า “การแยกสลายด้วยความร้อนหรือกระบวนการไพโรไลซิส” ถ่านชีวภาพมีลักษณะเป็นรูโพรง เมื่อนำถ่านมาผสมกับปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก
รูโพรงนี้เมื่ออยู่ในดินจะช่วยเก็บธาตุอาหารจากปุ๋ย และเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ ช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้นาน อีกทั้งยังมีงานวิจัยที่สนับสนุนว่าทำให้ลดระยะเวลาในการหมักและลดการปลดปล่อยไนโตรเจน ทำให้ปุ๋ยหมักที่ผสมถ่านชีวภาพจะมีปริมาณไนโตรเจนมากกว่า ช่วยให้ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงได้ และยังได้น้ำส้มควันไม้เพื่อใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ทดแทนการใช้สารเคมีอีกด้วย

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ให้ความรู้การจัดการโลจิสติกส์ขยะชุมชน-สร้างรายได้ของครอบครัวจากขยะต้นทาง

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 20 กรกฎาคม 2566 คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนร่วมกับ อบต.ท่าโพธิ์ ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การจัดการโลจิสติกส์ขยะชุมชน-สร้างรายได้ของครอบครัวจากขยะต้นทาง” ภายใต้โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน ณ วัดยางเอน ให้แก่ อสม. อถร. และผู้ที่สนใจในตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

โดยจากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการรับบริการวิชาการ เมื่อวันเสาร์ ที่ 10 มิถุนายน 2566 กลุ่มเป้าหมายได้ตอบแบบสำรวจความต้องการในการรับบริการวิชาการแก่สังคมในเรื่องของการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน (ขยะ อากาศ น้ำเสีย) เป็นอันดับหนึ่ง จึงเป็นที่มาของกิจกรรมดังกล่าว

กิจกรรมแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงเช้าเป็นการบรรยาย “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ด้วยการจัดการขยะต้นทาง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กุลภา โสรัตน์ อาจารย์ประจำคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนและช่วงบ่ายเป็นการฝึกปฏิบัติตามฐานต่างๆ จำนวน 4 สถานที่ ได้แก่ วัดยางเอน โรงเรียนวัดยางเอน ประชานุเคราะห์) บ้านสวน และสถานประกอบการขนาดเล็ก

ที่มา: คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดการประกวด Green Innovation ภายใต้โครงการ Zero Waste

งานบริการสวัสดิการนิสิต กองกิจการนิสิต ได้จัดกิจกรรมการประกวด Green Innovation ภายใต้โครงการ Zero Waste ขึ้น ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2566 และได้จัดให้มีการตัดสินการประกวดฯ ดังกล่าว เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการจัดการขยะที่ต้นทาง ลดปริมาณการเกิด การคัดแยกขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย การสร้างจิตสํานึกและวินัยให้กับนิสิต และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการลดและคัดแยกและนํากลับมาใช้ประโยชน์ ส่งเสริมตามหลัก 3 Rs คือ Reduce Reuse และ Recycle

ม.นเรศวร เปิดนิทรรศการ Zero Waste Exhibition และการเสวนา Go Zero Waste ขยะเท่ากับศูนย์

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดพิธีเปิดนิทรรศการ Zero Waste Exhibition และการเสวนา Go Zero Waste ขยะเท่ากับศูนย์ โดยคุณธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ นักออกแบบและผู้ก่อตั้งแบรนด์ควอลี่ (Qualy) บริษัท นิว อาไรวา จำกัด โดยได้รับเกียรติจาก ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่า และศิลปวัฒนธรรม เป็นประธานในการเปิดงาน ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร

โดย ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่า และศิลปวัฒนธรรม ซึ่งกล่าวว่า นโยบายของมหาวิทยาลัยนเรศวรคือการสร้างนิสิตให้เป็นผู้มีศักยภาพในการที่จะสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและโลก สามารถทำงานในที่ใด ๆ ในโลกนี้ได้ มีความเป็นพลโลก

ให้นิสิตมีประสบการณ์ในวัฒนธรรมที่หลากหลาย และมีความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย และมีวิจารณญาณในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ อย่างถูกต้อง ก็ได้พยายามผลักดันผ่านกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร มหาวิทยาลัยนเรศวรเน้นในเรื่อง University Social Responsibility (USR) ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยที่มีต่อสังคม แบบที่เริ่มจากต้นเหตุซึ่งหมายถึง ตัวนิสิต คณาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัย รวมทั้งระบบของมหาวิทยาลัยด้วย

ในการเสวนา Go Zero Waste ขยะเท่ากับศูนย์ ได้กล่าวถึงแนวคิดและการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ต้องคำถึงการใช้งานและการสื่อสารผลิตภัณฑ์สู่ผู้บริโภค เช่น กล่องใส่ถุงพลาสติกรูปปลาวาฬ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สื่อถึงความสวยงามแห่งท้องทะเลอันอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดปัตตานี และได้เชิญชวนให้ผู้คนให้ความสำคัญกับการลงมือทำคนละเล็กคนละน้อยเพื่อกำจัดขยะให้เท่ากับศูนย์ ต่อไป นิทรรศการเปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่วันที่ 7- 31 กรกฎาคม 2566 (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

ที่มา: กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

NU Art & Craft Fun Fair 2023

มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดงาน NU Art & Craft Fun Fair 2023 ในวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2566 ภายใต้แนวคิด “MO(RE)DERN” ที่สะท้อนการผสมผสานระหว่างความบันเทิงในรูปแบบที่ทันสมัยและการรักษ์โลกแบบยั่งยืน ซึ่งได้รับความสนใจจากนิสิตและผู้เข้าร่วมงานทุกวัย ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยสีสันของขบวนพาเหรดและกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่สนุกสนานและสร้างสรรค์ ในเวลาเดียวกันยังได้เรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม

งานในปีนี้ถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 16.00 – 23.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ และอาคารวิสุทธิกษัตริย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีกิจกรรมหลากหลายที่ผสมผสานทั้งศิลปะ การแสดงทางวัฒนธรรม และการแสดงความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมจากทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินขบวนพาเหรดที่สะท้อนถึงการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน

สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs):

  1. SDG 4: การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    งานนี้ไม่เพียงแต่สร้างความบันเทิงให้กับผู้เข้าร่วม แต่ยังเสริมสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านกิจกรรมที่สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุรีไซเคิลในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะต่างๆ การให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการลดขยะและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นบวกในชีวิตประจำวัน
  2. SDG 12: การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน
    แนวคิด “MO(RE)DERN” ของงานนี้ถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการใช้วัสดุที่ยั่งยืนและการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการใช้วัสดุรีไซเคิลในการสร้างสรรค์งานศิลปะและการจัดแสดงต่างๆ โดยแสดงให้เห็นว่าการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และสนุกสนานนั้นสามารถทำได้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ยังมีการรณรงค์ให้ผู้เข้าร่วมงานรับรู้ถึงความสำคัญของการลดการใช้พลาสติกและการเลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืนมากขึ้น
  3. SDG 13: การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ
    งานนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการกระตุ้นให้ทุกคนร่วมมือกันรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้วัสดุรีไซเคิลในการทำงานศิลปะและการสร้างสรรค์อื่นๆ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ยั่งยืน
  4. SDG 11: เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
    งานนี้ยังเป็นการสร้างพื้นที่ที่สนับสนุนการเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนผ่านกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งไม่เพียงแต่สร้างความบันเทิง แต่ยังส่งเสริมให้ผู้คนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อให้ชุมชนมีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

กิจกรรมพิเศษและไฮไลต์ในงาน:

  • ขบวนพาเหรด: การเดินขบวนที่สะท้อนถึงการรวมพลังของศิลปะและสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการสวมใส่ผลงานศิลปะที่ออกแบบจากวัสดุรีไซเคิล
  • การแสดงและกิจกรรมเวิร์คช็อป: นิทรรศการศิลปะที่ใช้วัสดุรีไซเคิล พร้อมทั้งกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่
  • เวทีการบรรยายและการอภิปราย: เสวนาเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนในวงการศิลปะ

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin