ม.นเรศวร เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้เพื่อเฉลิมพระเกียรติ

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กำพล ทรัพย์สมบูรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกฎ นุสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้ จำนวน 720 ต้น ณ บริเวณพื้นที่แก้มลิงบึงระมาณ เทศบาลตำบลบึงระมาณ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 71 พรรษา

ที่มา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

เกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป ที่ NAI EXPO 2023

เริ่มแล้ว งานเกษตรที่ไม่ใช่มีเพียงต้นไม้ พร้อมต้อนรับทุกคนทั้งครอบครัว เกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป ที่ NAI EXPO 2023 งานเดียวมีครบ ทั้งสายคนรักต้นไม้, สายรักสัตว์, สายเทคโนโลยี, สายโดรน, สายกิน, สายช็อบ, สายเต้น สนุกได้ทุกวันไม่มีพักเบรค เรียนรู้ด้านการเกษตรทันสมัยด้วยการใช้นวัตกรรมเพื่อการผลิตและการบริโภคที่ยั้งยืน ให้ความรู้ในการทำเกษตรแบบยั่งยืนครบวงจร การดูแลดินบำรุงดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก

NAI EXPO 2023 วันที่ 3 – 9 ก.ค. 66 นี้ ที่ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมฯ พิษณุโลก (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวรจ.พิษณุโลก
เดินทางมาง่าย Google Map คลิ๊ก ➡️https://goo.gl/maps/nQ9fub99AFopdUWx7
🌟 ฟินได้อีก กิจกรรมกลางคืนเอาใจสายเต้นและฟังเพลงเพราะๆจากศิลปิน
🛍 ลุ้นรับของแจกฟรี 7 วัน 7,000 ชิ้น ที่คุณต้องว๊าววว
📚 หัวข้อฝึกอบรมที่หลากหลาย เปลี่ยนมุมมอง ได้ความรู้ สร้างอาชีพ
🏆 การประกวดแข่งขันไก่ สุนัข ปลากัด ชิงถ้วยพระราชทาน
⚙️ พบกับนวัตกรรมด้านการเกษตร เทคโนโลยีรอบตัวเรา
🍔 อิ่มอร่อยไปกับเมนูคาวหวาน กับร้านดังกว่า 200 ร้านค้า ที่จัดเต็มให้คุณได้ลิ้มรสแบบไม่มียั้ง

เกษตรนเรศวร 𝗘𝘅𝗽𝗼 𝟮𝟬𝟮𝟯 ติดตามเราได้ที่ www.naiexpo.agi.nu.ac.th
NAI EXPO 2023 www.tiktok.com/@agrinu
ณ 𝐊𝐍𝐄𝐂𝐂 ศูนย์จัดแสดงนิทรรศการและการจัดประชุม มหาวิทยาลัยนเรศวรฯ พิษณุโลก
🚗 Google Map คลิ๊ก ➡️https://goo.gl/maps/nQ9fub99AFopdUWx7
สนใจติดต่อ 📞 𝟎55-962710

ร่วมแลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

เมื่อวันที่ 7-9 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิษฐ์ภัณฑ์ แคนลา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการบริการวิชาการได้รับมอบหมายจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะแม่ข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่างเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายเชิงประเด็น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และผู้บริหาร 8 เครือข่ายมหาวิทยาลัยเข้าร่วม ณ ประสานสุข วิลล่า บีช

รีสอร์ท อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่าย C-อพ.สธ. ให้มีความต่อเนื่องในการสนองงานโครงการพระราชดำริ อพ.สธ.

ให้บรรลุผลตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ร่วมกัน การทำความรู้จักกันระหว่างเครือข่าย สร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทางวิชาการในการขับเคลื่อนประเทศไปในทิศทางเดียวกัน ตามบริบทของแต่ละภูมิภาค

โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นกลไกในการพัฒนาด้านการวิจัยและการบริการวิชาการ ที่จะช่วยตอบโจทย์การสนองพระราชดำริของ สป.อว. เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ต่อไป ทั้งนี้ ยังเป็นเวทีที่จัดให้ประธานเครือข่ายฯ แต่ละภูมิภาคได้นำเสนอผลการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคของตนเองตามแผนยุทธศาสตร์เครือข่าย C-อพ.สธ. อีกด้วย

ที่มา: กองส่งเสริมการบริการวิชาการ ม.นเรศวร

จากขวดที่ถูกทอดทิ้งและดูไร้ค่า กลับมาเป็นภาชนะปลูกที่คงทนและประหยัด “NU Going Green”

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 บุคลากรกองอาคารสถานที่เริ่มดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยตั้งเป้าหมายที่จะปลูกถั่วบราซิลและไม้ประดับอื่นๆ ให้เต็มพื้นที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว จุดพักผ่อนของประชาคมซึ่งภาชนะในการปักชำ ขยายพันธุ์ถั่วบราซิลได้มาจากการนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ทดแทนถุงเพาะชำต้นไม้และยังมีโครงการที่จะนำน้ำที่ได้จากการบำบัด มาใช้ในการรดน้ำดูแล ถั่วบราซิล และไม้ประดับอื่นๆในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย

ถั่วบราซิล ถั่วปินโต/ถั่วเปรู/ถั่วลิสงเถา
ชื่อวิทยาศาสตร์: Arachis pintoi Krapov. & W.C.Gregory
วงศ์: Leguminosae – Papilionoideae
ประเภท:ไม้ล้มลุกอายุหลายปี
ทรงพุ่ม:ลำต้นทอดเลื้อยคลุมดิน รากออกตามข้อ
ใบ: ประกอบแบบขนนกออกตรงข้าม ใบย่อย 4 ใบ รูปไข่ กว้าง 1 – 3 เซนติเมตร ยาว 1 – 7 เซนติเมตร
ดอก: รูปถั่ว สีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2 – 4 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ดินร่วนและดินร่วนปนทราย
ขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ประโยชน์ของ “ตัวเงินตัวทอง”

ตัวเงินตัวทอง หรือ เหี้ย (Varanus salvator) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ประเทศบังกลาเทศ ศรีลังกา และอินเดีย จนถึงอินโดจีน และเกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ ในประเทศไทยจัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทหนึ่ง

สัตว์ตระกูลเหี้ยในประเทศไทยมีอยู่ 4 ตระกูลคือ 1. เหี้ย 2. แลนหรือตะกวด 3. เห่าช้าง อยู่ทางภาคใต้ และ 4. ตุ๊ดตู่ ครั้งหนึ่ง เจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพูดกันเป็นวงในว่า จะเปลี่ยนชื่อจากตัวเหี้ยเป็น “วรนัส” หรือ “วรนุส” หรือ “วรนุช” (สกุล Varanus อ่านเป็นภาษาละตินว่า วารานุส ซึ่งคล้ายกับคำว่า วรนุช)

จนเกิดเป็นกระแสข่าวอยู่ช่วงหนึ่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งหลังจากที่มีกระแสข่าวนี้ออกมา คำว่าวรนุชนั้นก็ถูกนำไปใช้ในการสื่อความหมายไปในทางเสื่อมเสียบนอินเทอร์เน็ต และส่งผลกระทบต่อบุคคลที่ชื่อวรนุชไปโดยปริยาย

มหาวิทยาลัยนเรศวร ก็เป็นพื้นที่ที่มี ตัวเงินตัวทอง หรือ เหี้ย จำนวนมาก โดยอาศัยใกล้ตามแหล่งน้ำภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาก็ปล่อยให้ ตัวเงินตัวทอง หรือ เหี้ย อาศัยอยู่อย่างอิสระ ไม่มีใครไปรบกวน ซึ่งสามารถพบเห็นน้องๆ ได้บ่อยๆ ตามอาคารเรียน เพราะน้องๆ จะหาโพรงใกล้อาคารเรียนเหล่านั้นเป็นที่อยู่อาศัย

ประโยชน์ของ “ตัวเงินตัวทอง”
1. ช่วยกำจัดซากสัตว์ มีระบบการย่อยอาหารที่ดีเยี่ยม ในกระเพาะมีน้ำย่อยที่มีความเป็นกรดรุนแรงและแบคทีเรียสำหรับย่อยสลายซากเน่าโดยเฉพาะ
2. ช่วยกินไข่งูพิษ ไม่เฉพาะไข่งูพิษ ตัวเงินตัวทอง กินไข่ของสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งปลา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวเงินตัวทอง มิใช่สัตว์นักล่า แต่เป็นสัตว์กินซากโดยธรรมชาติ บางครั้งอาจกินเหี้ยขนาดเล็กกว่าเป็นอาหารได้
3. ตัวมันเป็นสัตว์เศรษฐกิจอย่างแท้จริง ต่างประเทศนำไปทำกระเป๋า เข็มขัดราคาแพงมาก ส่วนเครื่องใน ดี ตับ เป็นยารักษาโรคหัวใจ มีการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงกัน เพื่อนำเนื้อไปใช้ในการบริโภค โดยเฉพาะเนื้อบริเวณส่วนโคนหางที่เรียกว่า “บ้องตัน”ในต่างประเทศนิยมกินกันราคาแพงมาก และหนังไปทำเครื่องหนัง เช่น กระเป๋า, เข็มขัด เช่นเดียวกับจระเข้ และในทางวิชาการยังมีการเก็บและตรวจสอบดีเอ็นเอของเหี้ย โดยภาควิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อศึกษาถึงความหลากหลายทางพันธุกรรม เพื่อจะพัฒนาให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจต่อไปในอนาคตอีกด้วย

ที่มา: news.trueid.net

ม.นเรศวร ร่วมประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น

ศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร (อพ.สธ. – มน.) ได้จัดประชุมกลุ่มสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น หลักสูตรการบริหารและการจัดการงานที่ 1 งานที่ 2 และงานที่ 3 ครั้งที่ 1/2566 ระหว่างวันที่ 5-6 เมษายน พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมมหามนตรี ศูนย์แสดงนิทรรศการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้กับสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดยมีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ จำนวน 18 หน่วยงาน 40 คน

ที่มา: กองส่งเสริมการบริการวิชาการ ม.นเรศวร

งานเกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023

เตรียมพบกับ..มหกรรมงานเกษตรภาคเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 18 “งานเกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023” ระหว่างวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

ดอกไม้กำลังจะบาน ณ อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เมื่อเวลา 9.00 น. วันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2566 นายรุ่งรัตน์ พระนาค ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่พร้อมด้วยบุคลากรเข้าร่วมกันปลูกไม้ดอกไม้ประดับบริเวณด้านหน้าอาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อตกแต่งสถานที่และเตรียมความพร้อมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ลอกคลองน้ำทิ้งชุมชน ม.นเรศวร

เมื่อเวลา 13.30 น. วันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2566 นายรุ่งรัตน์ พระนาค ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ลงพื้นที่ดูความคืบหน้าในการลอกคลองน้ำทิ้งจากชุมชนลงคลองหนองเหล็ก ขอขอบคุณ นายธวัช สิงหเดช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ ในการประสานงานเครื่องจักรกลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกและขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มา ณ ที่นี้

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

นวัตกรรมใหม่! จาก “กากกาแฟ” สู่พลาสติกชีวภาพ ย่อยสลายเองได้ ช่วยบำรุงดิน

ปัจจุบัน ”ปัญหาขยะพลาสติก” เป็นหนึ่งปัญหาสำคัญแม้ในอุตสาหกรรมการเกษตร “ถุงเพาะปลูก” เป็นถุงพลาสติกสังเคราะห์ที่ไม่นิยมนำกลับมารีไซเคิล เนื่องจากมีการปนเปื้อนสูง ยากต่อการผลิตพลาสติกขึ้นมาใหม่ เมื่อต้นไม้โตขึ้น ถุงเพาะปลูกจึงกลายเป็นขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และทำลายสิ่งแวดล้อม

นักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จึงคิดค้นพลาสติกชีวภาพจาก “กากกาแฟ” มาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ถุงพลาสติกนี้มีความยืดหยุ่น มีต้นทุนการผลิตต่ำ และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก ไม่ก่อสารพิษให้โลก ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมฝีมือคนไทยที่ตอบโจทย์ ใช้ต้นทุนต่ำในการผลิต และสามารถนำไปต่อยอดในธุรกิจอื่น ๆ ได้ เช่น ถุงบรรจุหมวกคลุมผม ถุงคอตตอนบัดในโรงแรม ถือเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่ช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติได้อีกด้วย

ใช้ถุงพลาสติกชีวภาพจาก “กากกาแฟ” ดียังไง ?
– สะอาดปลอดภัย
– ย่อยสลายเองได้โดยไม่ต้องถอดถุงทิ้ง
– กากกาแฟมีคุณสมบัติเป็นปุ๋ย น้ำมันกากกาแฟช่วยเพิ่มธาตุอาหารที่พืชต้องการในดิน
– ถุงสามารถกันแสงยูวีได้ ช่วยยืดอายุของสิ่งของที่บรรจุในถุง

ที่มา: We Love PTT

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin