ม.นเรศวร ตอกย้ำความเป็นมหาวิทยาลัยด้านความยั่งยืน จัดประกวดสื่อ หัวข้อ “การขับเคลื่อน SDGs ด้วยสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์”

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดการประกวดสื่อประชาสัมพันธ์หัวข้อ “การขับเคลื่อน SDGs ด้วยสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์” ภายใต้โครงการ “ประชาสัมพันธ์กิจกรรม NU-SDGs ประจำปี 2566” เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน ทั้ง 17 เป้าหมายตามหลัก SDGs ณ ห้องประชุมสุพรรณกัลยา 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยผลชนะเลิศการประกวดสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ฯ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ประเภทบุคลากร
รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่
นายสัญญา จันทา บัณฑิตวิทยาลัย

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 3,000 บาท ได้แก่
นายอัษฎายุ ทนโนนแดง อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 2,000 บาท ได้แก่
นางสาวพุธิตา วงนะที คณะเภสัชศาสตร์
นางสาวอรวรรณ ศรีสุวรรณ คณะเภสัชศาสตร์

รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้รับเงินรางวัล รางวัลละ 1,000 บาท ได้แก่
1) นายวัธนกร เหนียมพ่วง กองกิจการนิสิต
2) นายธเนศ ขำคล้าย คณะแพทยศาสตร์
นายวันเฉลิม อยู่ทิพย์ คณะทันตะแพทยศาสตร์

ประเภทนิสิต
รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่
นายไชยภัทร เกียรติรวี คณะนิติศาสตร์

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 3,000 บาท ได้แก่
นางสาวรมิตา จิระวงศ์ตระกูล คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร
นายนนทพัทธ์ วงค์แดง คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร
นางสาวกัลยาณี ตั้งใจ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 2,000 บาท ได้แก่
นางสาวณัฏฐ์ชานันท์ รักธัญญาการ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้รับเงินรางวัล รางวัลละ 1,000 บาท ได้แก่
1) นางสาวรณรัมภา เดินบุรินทร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร
นางสาวศศิลักษณ์ โพธิบัลลังค์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร
นางสาวศุภพิชา มโนรุ่งเรืองกิจ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

2) นายอัยการ วชิรบารมี คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร
นายธนวัฒน์ ครูเกษตร คณะวิทยาศาสตร์

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรรเสริญ เหรียญทอง อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ดร.นพดล จำรูญ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ อาจารย์ธนบัตร ใจอินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดประเภทบุคลากร ในส่วน นางสาวธัญญารัตน์ อินทร์เมือง หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนานิสิต นายศิวดล มาตราช นักวิชาการละครและดนตรี งานกิจกรรมพัฒนานิสิต กองกิจการนิสิต และนางสาวจามรี อ่อนโฉม หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดประเภทนิสิต

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

โครงการประกวดสื่อออนไลน์ NU -SDGs “มหาวิทยาลัยกับการพัฒนาเป้าหมายที่ยั่งยืน”

มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการประกวดสื่อออนไลน์ NU -SDGs “ชิงเงินรางวัลรวม 24,000 บาท” พร้อมกิจกรรมให้ความรู้ในด้านการพัฒนาเป้าหมายที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)

>> เริ่มสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 4 กันยายน 2566
>> สอบถามรายระเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร Tel. 0-5596-2333

NU-SDGs เพราะความยั่งยืนคือความสุขของชีวิต

รางวัลชนะเลิศ การประกวดผลิตสื่อออนไลน์ NU-SDGs ประเภทนิสิต

ชื่อผลงาน NU-SDGs เพราะความยั่งยืนคือความสุขของชีวิต

เรื่องย่อ เรื่องราวของนิสิตคนหนึ่ง ที่ได้ใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้พบเจอสิ่งต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเรื่องราวสุขหรือทุกข์ แต่ทำให้นิสิตคนนี้ สามารถยิ้มออกมาได้ สิ่งเหล่านั้นจะคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ไปติดตามกันเลยกับ NU SDGs

พบกับช่วงให้ความรู้ SDGs หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดยองค์การสหประชาชาติ สามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเป้าหมาย (5P) ดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมายด้านสังคม (People) นำเสนอ NU Pride การยอมรับความหลากหลาย และการแต่งกายตามเพศสภาพ #nusdgs5

2. กลุ่มเป้าหมายด้านเศรษฐกิจ (Prosperity) นำเสนอ โครงการขนส่งมวลชน มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU Transit) #nusdgs7

3. กลุ่มเป้าหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติ (Planet) นำเสนอ โครงการปลูกรัก ปลูกเสลา (Your Home Always) #nusgds15

4. กลุ่มเป้าหมายด้านสันติภาพ (Peace) นำเสนอ ศูนย์ดูแลช่วยเหลือและเคียงข้างเพื่อนนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร #nusdgs16

5. กลุ่มเป้าหมายหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) นำเสนอ เพราะศิษย์เก่าคือทรัพยากรที่มีคุณค่าของมหาวิทยาลัยนเรศวร #nusdgs17

วิดีทัศน์นี้ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเข้าประกวดในโครงการประกวดสื่อประชาสัมพันธ์ หัวข้อ การขับเคลื่อน SDGs ด้วยสื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง มหาวิทยาลัยนเรศวร

Credit
Director : Ohm Chaipat Keatravee Panukon Rakklin
Video Grapher & Editor : Tanatorn Jeenpitak
Actor : อิสรานุวัฒน์ วินทะสมบัติ Cholthicha Thadsri Tanawat Wiriyadilok Raksina Sovannee Fs Chuenkamon Chayanin Onnom Namwhan Natthika Tang May
Speacial Thank : สภานิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร – Student Council of Naresuan University
Props : ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยนเรศวร

นิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR)

วันที่ 3 กันยายน 2566 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยงานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) แก่นิสิตจำนวน 2 รุ่น รวมทั้งสิ้น 105 คนซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากทีมพยาบาลศูนย์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุ โรงพยาบาลพิษณุเวช จังหวัดพิษณุโลก โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดโครงการฯ

โครงการนี้มุ่งเน้นเพื่อให้นิสิตที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน(Basic Life Support) ด้วยวิธีการที่ถูกต้องเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการช่วยเหลือเมื่อประสบเหตุในสถานการณ์จริง อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงานด้านความปลอดภัย และการทำงานด้านสุขภาพของประชาชน และยังเป็นการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของนิสิตในการมีความรู้และทักษะติดตัวเพื่อเป็นบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมต่อไป (Accountability) ณ ห้องปฏิบัติการสาขาวิชาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์

ที่มา: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมอบรมแบบเข้มข้นในกิจกรรม BCG INNOVATIVE BUSINESS INCUBATION : “Network Development Project for Globalization”

วันที่ 6 -11 กันยายน 2566 NU SciPark ม.นเรศวร นำทีม โดย ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมบุคลากร เข้าร่วมอบรมในโครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรม BCG สู่สากล BCG INNOVATIVE BUSINESS INCUBATION : “Network Development Project for Globalization” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมเกษตร ภายใต้แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี ระหว่างเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคของประเทศไทย กับมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเบงเก็ต ประเทศฟิลิปปินส์ ณ ห้องประชุม 311 อาคาร 75ปี แม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

ภายในงานจัดให้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ภาพรวมการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีในประเทศไทย” เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของภารกิจอุทยานวิทยาศาสตร์ในการผลักดันการนำผลงานวิจัยไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ โดย ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช สำนักงานปลัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “BCG Model : From Local to Global” เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่สากลอย่างยั่งยืน โดย ผศ. ดร.เกษมศักดิ์ อุทัยชนะ รองผู้อำนวยการ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กิจกรรม “Icebreaking และ Network Community Sharing (สร้างเครือข่าย ขยายความร่วมมือ)” โดยมี อาจารย์ ดร.พนมพร เฉลิมวรรณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และนายวิรวัฒน์ ญาณวุฒิ อาจารย์พิเศษ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การพัฒนาธุรกิจเกษตรและอาหารจากชุมชนสู่ตลาดโลก” (From Local Farmer to Global Market) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่ระดับสากล รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับเกษตรกรในชุมชนให้เกิดการขับเคลื่อนร่วมกับธุรกิจ โดย คุณณลี อายุ จือปา ผู้ก่อตั้งอาข่าอาม่า (AKHA AMA COFFEE)

บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การวิเคราะห์และวิจัยทางการตลาด (Market Analysis and Market Research Workshop)” เพื่อใช้เครื่องมือในค้นหาความต้องการของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน แล้วนำมาวิเคราะห์สู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สู่ตลาด โดย อาจารย์นนท์ ปิ่นเงิน รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การออกแบบและพัฒนาแผนธุรกิจสำหรับบริการด้านการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม” (Business Model Design for Technology and innovation Business Incubation) โดย คุณภัทราภรณ์ กันยะมี ผู้ก่อตั้งบริษัท เดอะลิตเติ้ล ออนเนี่ยน แฟคทอรี่ จำกัด

อบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การคัดกรองแนวความคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการแก่ลูกค้า” (Ideas Filtration) และหัวข้อ “เครื่องมือปรับปรุงกระบวนการให้บริการด้วย Service Blueprint” โดย ดร.ก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์ ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจใหม่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคัล จำกัด (มหาชน)

ปิดท้ายด้วย กิจกรรมศึกษาดูงาน เรียนรู้การผลิต การบริหารจัดการธุรกิจแปรรูป ณ บริษัท ปริ๊นเซส ฟูดส์ จำกัด

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

โครงการบริการวิชาการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการดูแลด้านสุขภาพประชาชน

วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ความตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อสุขภาวะพลานามัยของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมถึงงานการเฝ้าระวังด้านสุขภาพและการดูแลสุขาภิบาลที่พักอาศัย ทางคณาจารย์และนิสิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดย ดร.กนกทิพย์ จักษุ ผู้รับผิดชอบโครงการจึงได้จัดโครงการบริการวิชาการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยได้รับเกียรติจาก คุณจิรัฐิกา หอสุวรรณ์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านคลอง เป็นประธานในการกล่าววัตถุประสงค์และกล่าวเปิดโครงการฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนกิจกรรมโครงการฯ รวมถึงความร่วมมือจากบุคลากร และเจ้าหน้าที่ จากเทศบาลตำบลบ้านคลอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลอง และค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ จึงเป็นผู้แทนในการกล่าวขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ ซึ่งในการดำเนินโครงการประกอบไปด้วยกิจกรรมบรรยายให้ความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน การร่วมเดินขบวนรณรงค์กำจัดยุงลาย แก่กลุ่มเป้าหมายคือ แกนนำสุขภาพ เฝ้าระวัง ป้องกันและดูแลสุขภาพในชุมชน จำนวน 80 คน ร่วมกับนิสิตสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมชั้นปีที่ 4 เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายด้านการเฝ้าระวังทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และเป็นพื้นที่ให้นิสิตได้บูรณาการความรู้จากการเรียน มาทำการประเมิน วางแผนตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาชุมชน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เสริมศักยภาพสู่ความยั่งยืนจัดอบรมให้ความรู้ SDGs

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ SDGs ภายใต้โครงการ “ประชาสัมพันธ์กิจกรรม NU-SDGs ประจำปี 2566” โดยจัดกิจกรรมให้กับนิสิต และบุคลากร เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้บรรลุผลสำเร็จ

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

กิจกรรมแนะแนวอาชีพเพื่อการศึกษาต่อ

งานแนะแนวฯ โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร มีกำหนดจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพเพื่อการศึกษาต่อ ** สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ** โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้รับข้อมูลการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ทำให้มีแรงจูงใจในการวางเป้าหมายทางด้านการศึกษาในอนาคต ให้สอดคล้องกับอาชีพที่เหมาะสมกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเอง รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับระบบการรับเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา (TCAS)

จึงขอเชิญชวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าร่วมรับฟัง ในวันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2566 เวลา 13.00 – 15.30 น. ณ ห้อง 3100 อาคารเรียน 3 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

กิจกรรมให้ความรู้ “แนะนำอาหารตามวัย”

อีกหัวข้อในโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในเด็ก ที่จัดขึ้น ณ คลินิกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี ผศ.พญ.ทิพยกาญจน์ มะโนประเสริฐกุล, ผศ.พญ.ศรัญญา ศรีจันท์ทองศิริ และพญ.จิตติมา มนต์วิรัตน์กุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาและความรู้ต่างๆ

ที่มา: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ภายใต้โครงการ Samart Skills (Google Career Certificate)

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 รศ.ดร.พนัส นัถฤทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี ผู้แทนมหาวิทยาลัยนเรศวร และ ดร.ศุภธิดา พรหมพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ดิ เอสเคิร์ฟ จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อการพัฒนานิสิตและบุคลากร โดยมีการจัดโครงการ Samart Skills (Google Career Certificate) ระยะที่ 2 จำนวน 9 หลักสูตร ภายใต้พันธกิจ Leave No Thai Behind เปิดโอกาสให้นิสิต อาจารย์ และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ที่มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน สร้างโอกาสในการพัฒนาตนเอง และสร้าง Digital TaIent ซึ่งจะได้รับสิทธิ์การยกเว้นค่าธรรมเนียมการเข้าเรียนระบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Coursera และจะได้รับใบประกาศนียบัตรเมื่อเสร็จสิ้นการเรียน สามารถนำไปใช้ในการสมัครงานกับพันธมิตรภาคเอกชนของโครงการที่ให้การยอมรับคุณวุฒินี้ ณ สำนักงาน Google (ประเทศไทย)

👉ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวร มอบหมายให้ CITCOMS เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ Samart Skills (Google Career Certificate) ระยะที่ 2 โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ ได้ที่ https://training.nu.ac.th/samartskills หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณจินตนา ชัยรัตนศักดิ์ หมายเลขโทรศัพท์ 0-5596-1510 หรือ e-Mail : citcoms_training@nu.ac.th

ที่มา: กองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin