เรียนรู้วิถีเกษตรกร ในกิจกรรมสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

วันอังคารที่ 25 กรกฏาคม 2566 รองศาสตราจารย์ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ณ แปลงทดลองวิชชาลัยข้าวและชาวนา มหาวิทยาลัยนเรศวร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิษฐ์ภัณฑ์ แคนลา ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการบริการวิชาการ และนายรุ่งรัตน์ พระนาค ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ พร้อมด้วยบุคลากร ผู้บริหาร นักเรียนโรงเรียนอนุบาลและนักเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเรียนรู้วิถีเกษตรกรและวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต และเห็นถึงความสำคัญของการผลิตอาหาร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้การบริโภคอย่ารู้คุณค่า โดยเข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างอบอุ่น

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลกและองค์กรภาคีเครือข่าย จัดงาน ‘เกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023’ แสดงนวัตกรรมและความรู้เพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน

ระหว่างวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2566 คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดงาน “เกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023” ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปีการก่อตั้งคณะ โดยในปีนี้ งานได้รับการยกระดับจากการจัดงานเกษตรประจำปีให้เป็นงาน ระดับเอ็กซ์โป ที่มุ่งเน้นการแสดงสินค้า นวัตกรรม และกิจกรรมหลากหลายด้านการเกษตร เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

การจัดงานในปีนี้มุ่งเน้นให้เกษตรกร นักวิชาการ และผู้ประกอบการทางธุรกิจเกษตรได้มีโอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และเกษตรกรตัวอย่างในการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และกระบวนการที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และพัฒนาธุรกิจเกษตรอย่างยั่งยืน พร้อมการสนับสนุนให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเกษตรทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

งาน “เกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023” ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายต่างๆ เช่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก และองค์กรต่างๆ ที่มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์และสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ทั้งนี้ การจัดงานครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้าชมได้มีโอกาสสัมผัสกับนวัตกรรมการเกษตรและการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติของอุตสาหกรรมการเกษตร

สิ่งที่น่าสนใจในงาน ได้แก่:

  1. การแสดงสินค้าและนวัตกรรมการเกษตร เช่น เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ ระบบเกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture) เครื่องจักรกลการเกษตรใหม่ๆ ที่ช่วยลดแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
  2. การสัมมนาและการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการพัฒนาเกษตรกรรมในยุคดิจิทัล การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การใช้พลังงานทดแทนในการเกษตร
  3. กิจกรรมฝึกอบรมและเวิร์กช็อป ในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ การปลูกพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาธุรกิจเกษตรที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดงานครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยนเรศวรในการสนับสนุน SDG 2 (การขจัดความหิวโหยและส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน) และ SDG 12 (การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน) ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถลดผลกระทบจากการผลิตที่ไม่ยั่งยืน

ข้อมูลเพิ่มเติม: ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร โทรศัพท์ 0 5596 2718 หรือที่ https://www.naiexpo.agi.nu.ac.th

4o mini

เกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป ที่ NAI EXPO 2023

เริ่มแล้ว งานเกษตรที่ไม่ใช่มีเพียงต้นไม้ พร้อมต้อนรับทุกคนทั้งครอบครัว เกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป ที่ NAI EXPO 2023 งานเดียวมีครบ ทั้งสายคนรักต้นไม้, สายรักสัตว์, สายเทคโนโลยี, สายโดรน, สายกิน, สายช็อบ, สายเต้น สนุกได้ทุกวันไม่มีพักเบรค เรียนรู้ด้านการเกษตรทันสมัยด้วยการใช้นวัตกรรมเพื่อการผลิตและการบริโภคที่ยั้งยืน ให้ความรู้ในการทำเกษตรแบบยั่งยืนครบวงจร การดูแลดินบำรุงดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก

NAI EXPO 2023 วันที่ 3 – 9 ก.ค. 66 นี้ ที่ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมฯ พิษณุโลก (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวรจ.พิษณุโลก
เดินทางมาง่าย Google Map คลิ๊ก ➡️https://goo.gl/maps/nQ9fub99AFopdUWx7
🌟 ฟินได้อีก กิจกรรมกลางคืนเอาใจสายเต้นและฟังเพลงเพราะๆจากศิลปิน
🛍 ลุ้นรับของแจกฟรี 7 วัน 7,000 ชิ้น ที่คุณต้องว๊าววว
📚 หัวข้อฝึกอบรมที่หลากหลาย เปลี่ยนมุมมอง ได้ความรู้ สร้างอาชีพ
🏆 การประกวดแข่งขันไก่ สุนัข ปลากัด ชิงถ้วยพระราชทาน
⚙️ พบกับนวัตกรรมด้านการเกษตร เทคโนโลยีรอบตัวเรา
🍔 อิ่มอร่อยไปกับเมนูคาวหวาน กับร้านดังกว่า 200 ร้านค้า ที่จัดเต็มให้คุณได้ลิ้มรสแบบไม่มียั้ง

เกษตรนเรศวร 𝗘𝘅𝗽𝗼 𝟮𝟬𝟮𝟯 ติดตามเราได้ที่ www.naiexpo.agi.nu.ac.th
NAI EXPO 2023 www.tiktok.com/@agrinu
ณ 𝐊𝐍𝐄𝐂𝐂 ศูนย์จัดแสดงนิทรรศการและการจัดประชุม มหาวิทยาลัยนเรศวรฯ พิษณุโลก
🚗 Google Map คลิ๊ก ➡️https://goo.gl/maps/nQ9fub99AFopdUWx7
สนใจติดต่อ 📞 𝟎55-962710

ม.นเรศวร ให้ความรู้และประโยชน์ของต้นไม้ในชุมชนสู่การบริโภคอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.มัทนี สงวนเสริมศรี และ นายเกดิษฐ กว้างตระกูล สังกัดภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับตะขบ ที่โรงเรียนบ้านดงยาง อ. บางระกำ จ. พิษณุโลก โดยคณะครู และนักเรียนระดับชั้น ป. 1 ถึง ป. 6 เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 50 คน ซึ่งกิจกรรมประกอบด้วยการแบ่งทีม แข่งขันถาม-ตอบปัญหาการใช้ความคิดสร้างสรรค์และฝึกการทำงานเป็นทีม เพื่อปลูกฝังให้เด็กๆ เห็นคุณค่าของตะขบซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีคุณประโยชน์และมีจำนวนมากในชุมชน แต่มักถูกมองข้าม นอกจากนี้นักเรียนยังได้ร่วมกันปลูกต้นตะขบ ต้นแค และมะละกอในบริเวณโรงเรียนเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตต่อไป

กิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมนำร่องของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากลูกตะขบและพัฒนายุวนวัตกรสำหรับอุตสาหกรรมอาหารเชิงหน้าที่ (Functional Food) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม

ที่มา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศว

ม.นเรศวร เปิดวิชชาลัยข้าวและชาวนา เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตและแปรรูปข้าวอย่างยั่งยืน

วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา นายกสภามหาวิทยาลัย ประธานในพิธีเปิดวิชชาลัยข้าวและชาวนา มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดี และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวรให้การต้อนรับ

วิชชาลัยข้าวและชาวนา มหาวิทยาลัยนเรศวร ก่อตั้งขึ้นในรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทางด้านข้าว โดยมีจุดกำเนิดในรูปแบบกิจกรรม “วิชชาลัยชาวนา” ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 โดย ดร.ภาวัช วิจารัตน์ ดำเนินการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าว การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวพื้นเมือง การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการและโภชนเภสัชสารในข้าว การฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวปลอดภัย และการจัดการการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทานให้แก่ชาวนา การจัดทำแปลงสาธิตการผลิตข้าวสำหรับสอนนิสิตและเกษตรกร รวมทั้งการจัดกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทางด้านข้าว

อีกทั้ง วิชชาลัยข้าวและชาวนามหาวิทยาลัยนเรศวรสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือจาก นายธวัช สิงห์เดช นายกองค์การบริหาส่วนตำบลท่าโพธิ์ ประชาชนโดยรอบมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลันเรศวร อาทิ สำนักงานอธิการบดี กองบริการวิชาการ กองอาคารสถานที่ และกองกลาง ที่จับมือทำงานร่วมกันในการขับเคลื่อนการจัดตั้งวิชชาลัยข้าวและชาวนาแห่งนี้จนสำเร็จลุล่วงได้ดี

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ขยายพันธุ์ทุเรียนด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หนุนเกษตรกรสร้างรายได้

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโครงการวิจัยของ “รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท” และคณะ แห่งคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ได้ดำเนินงานวิจัยซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย วช. ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในการศึกษาการขยายพันธุ์ทุเรียนในสภาพปลอดเชื้อด้วยเทคนิคการเพาะ เลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ทุเรียนที่มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ 100% สามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามต้นแม่พันธุ์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขยายพันธุ์ทุเรียนในอนาคต และได้คุณภาพด้านรสชาติที่ตรงตามความต้องการผู้บริโภค

รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท แห่งคณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับการสนับสนุนทุนจาก วช. ในการศึกษาวิจัยการขยายพันธุ์ทุเรียนในสภาพปลอดเชื้อด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมทุเรียนหลงลับแล หลินลับแล และพื้นเมืองคุณภาพดีในเขตภาคเหนือตอนล่าง เริ่มจากการคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนที่มีอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ พันธุ์ทุเรียนที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต รวมถึงพันธุ์การค้าที่มีชื่อเสียง โดยทุเรียนที่ทำการทดลองมี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ หลงลับแล หลินลับแล และพันธุ์พื้นเมือง และคุณลักษณะทางการเกษตรที่ดีและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำมาขยายพันธุ์ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณได้อย่างทวีคูณ ซึ่งจะส่งผลให้ทุเรียนมีคุณภาพดีสม่ำเสมอ เกษตรผู้ปลูกและผู้ประกอบการได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอีกด้วย

สำหรับประโยชน์ที่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการจะได้รับในการขยายพันธุ์ทุเรียนด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ 1. ได้ทุเรียนที่มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ 100% ที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามต้นแม่พันธุ์ เช่น ลักษณะของเนื้อ รสชาติ คงอัตลักษณ์ทุเรียนชนิดนั้น ๆ เป็นต้น 2. สามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรที่มีความต้องการเพาะปลูกทุเรียนที่มีปริมาณมากในท้องตลาดได้ 3. ส่งเสริมภาคธุรกิจทุเรียนของที่มีอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ ให้มีการเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม และ 4. สามารถสร้างผลิตผลของทุเรียนได้ตรงตามสายพันธุ์และได้คุณภาพด้านรสชาติที่ตรงตามความต้องการผู้บริโภค

ในโอกาสนี้ คณะนักวิจัยได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่สวนประภาพรรณ ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเยี่ยมผลผลิตที่ได้จากโครงการฯ โดยมี คุณเนาวรัตน์ มะลิวรรณ เกษตรกรเจ้าของสวนฯ ให้การต้อนรับและให้ความรู้เกี่ยวกับทุเรียนแก่คณะสื่อมวลชนอีกด้วย

คุณเนาวรัตน์ มะลิวรรณ เจ้าของสวนประภาพรรณ เปิดเผยว่า ในนามของสวนประภาพรรณ ต้องขอขอบคุณทาง วช. และ รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท แห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ได้นำองค์ความรู้จากงานวิจัยมาถ่ายทอดให้กับเกษตรกร ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งงานวิจัยจาก ม.นเรศวร ได้มีส่วนช่วยให้การทำสวนทุเรียนประสบความสำเร็จ มีผลผลิตที่ดีขึ้น และสวนประภาพรรณจะเป็นต้นแบบให้กับสวนทุเรียนบริเวณใกล้เคียงได้มาศึกษาความสำเร็จจากการทำสวนทุเรียนตามแนวทางการวิจัยต่อไป

ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

มน. ร่วมลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) แนวทางบูรณาการแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)”

สืบเนื่องจากการที่ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้ร่วมลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) แนวทางบูรณาการแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)” เชิงพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมเชิงพื้นที่ โดยมุ่งเน้นนำองค์ความรู้จากวิทยาศาสตร์ ผลงานวิจัย และผลผลิตที่เป็นนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพลิกโฉมประเทศ ในการพัฒนาพื้นที่ พัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัด อีกทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน อันจะเป็นทางเลือก และทางรอดสำหรับอนาคต

วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก จึงได้ร่วมทำการหารือกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวรพร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ณ อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวร มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อร่วมหาแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ โดยใช้งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรพร้อมเป็นแหล่งข้อมูลองค์ความรู้ วิชาการ วิจัยและนวัตกรรม และสนับสนุนทรัพยากรบุคคลทางด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศที่สามารถตอบโจทย์ แก้ไข ปัญหาในพื้นที่ และจะร่วมพัฒนาความร่วมมือกับจังหวัดพิษณุโลกในลำดับถัดไป

ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวิทยาลัยนเรศวร

ตลาดสีเขียวคณะเกษตรศาสตร์ฯ มาแล้วจ้าา

วันที่ 26 เมษายน 2566 แม้ฝนตก!!..ตลาดสีเขียวคณะเกษตรศาสตร์ฯ ยังเปิดจำหน่ายเหมือนเดิมนะคะ มาช้อป ชิม ใช้กันเหมือนเดิมค่ะ

ตลาดสีเขียว “Green and Clean Market” ซึ่งภายในงานมีการจัดจำหน่ายสินค้า ผักปลอดสารพิษ ผักอินทรีย์ ผักไฮโดรโปรนิกส์ อาหาร ปลาแดดเดียว ไขไก่ราคาถูก ปลาสวยงาม จากกลุ่มเกษตรกรพันเสา เกษตรกรบึงพระ เกษตรกรบางระกำ ผลิตภัณฑ์ของนิสิต ทั้งนี้ตลาดสีเขียวจะเปิดทุกวันศุกร์ เวลา 12.00 – 16.30 น. ณ ลานจอดรถด้านหน้าคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ที่มา: คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เตรียมความพร้อมการจัด “งานเกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023” มหกรรมงานเกษตรภาคเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 18

วันที่ 7 เมษายน 2566 นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานการประชุมหารือเตรียมความพร้อมการจัด “งานเกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023” มหกรรมงานเกษตรภาคเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 18 ซึ่งกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและจัดการประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

ในการนี้ โดยมี ผศ.ดร.วรสิทธิ์ โทจำปา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ฯ รศ.ดร.ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ ดร.เจษฎา วิชาพร รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและสื่อสารองค์กร ดร.อนุพงศ์ วงค์ตามี รองคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศ คุณอ้อย ประยูรคำ หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ของจังหวัดพิษณุโลก เข้าร่วมประชุมหารือดังกล่าว ณ ห้องประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร

NU. Marketplace : U2T for BCG จัดขึ้น ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก

วันที่ 23 มีนาคม 2566 คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มอบหมาย รองศาสตราจารย์ ดร.นพวรรณ บุญชู รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ เป็นตัวแทนร่วมงาน NU. Marketplace : U2T for BCG จัดขึ้น ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาพิษณุโลก และร่วมต้อนรับ ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าการเยี่ยมชมบูธแสดงสินค้าจากวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมไทยไกรป่าแฝก (U2T ตำบลป่าแฝก) ดำเนินโครงการขับเคลื่อนเศรษกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG พื้นที่ตำบลป่าแฝก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดย คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งภายในงานได้รวมสินค้าเด่นจากฝีมือชุมชนต้นแบบ ที่พัฒนาแนวคิดผลิตภัณฑ์ ต่อยอดองค์ความรู้ส่งเสริมและผลักดันสินค้าและบริการออกสู่ตลาดผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้จากการแสดงผลงานและจำหน่ายผลิตภัณฑ์

ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin