“NU Art & Craft Fun Fair 2023” เทศกาลความบันเทิงพร้อมรักษ์โลกแบบยั่งยืนของชาว ม.นเรศวร

“NU Art & Craft Fun Fair 2023” เทศกาลความบันเทิงพร้อมรักษ์โลกแบบยั่งยืนของชาว ม.นเรศวร ภายใต้แนวคิด “MO(RE)DERN” วันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2566 ณ อาคารอเนกประสงค์ และอาคารวิสุทธิกษัตริย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สัมภาษณ์ : ดร.จารุวรรณ แดงบุบผา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, นางสาวทัตทริยา เรือนคำ รักษาการหัวหน้างานอำนวยการ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม, นางสาวฉัตรรดา ประพันธ์ รองประธานสภานิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

รายการมอนอมอนิเตอร์ ออกอากาศ ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 16.00 -18.00 น. ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร FM 107.25 MHz รับฟังออนไลน์ได้ที่ www.nuradio.nu.ac.th

ดำเนินรายการโดย : นายธรรมนูญ ศิริรัตน์

รับชมคลิปวีดิโอผ่านทาง Youtube คลิกที่นี่ : https://www.youtube.com/watch?v=4DET4MSbSi0

ม.นเรศวร จัดแสดงนิทรรศการ Zero Waste Exhibition

ขอเชิญร่วมพิธีเปิดและรับชมนิทรรศการ Zero Waste Exhibition
พร้อมรับฟังบรรยาย หัวข้อ “Design a sustainable world”
โดย คุณธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ และเวทีเสวนา “Go Zero Waste ขยะเท่ากับศูนย์”

ในวันที่ 7 ก.ค. 66 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร
>> ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 0-5596-1287 ถึง 90

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

“การสร้างมูลค่าจากขยะ (Waste to Value (WoV) Towards Healthy Planet)”

ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมในงานเกษตรนเรศวร เอ็กซ์โป 2023 โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยเป็นกิจกรรม “การสร้างมูลค่าจากขยะ (Waste to Value (WoV) Towards Healthy Planet)”

ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. สถานที่ ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ห้องประชุม 9 รับจำนวน 40 ที่นั่ง วิทยากร : ดร.สุดาวดี ยะสะกะ และอาจารย์ณัฐพงศ์ โปรยสุรินทร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

รายละเอียดกิจกรรม https://www.naiexpo.agi.nu.ac.th/?p=4654
ลงทะเบียนได้ที่ https://docs.google.com/…/1FAIpQLScc0_D…/viewform

ที่มา: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลกและองค์กรภาคีเครือข่าย จัดงาน ‘เกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023’ แสดงนวัตกรรมและความรู้เพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน

ระหว่างวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2566 คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดงาน “เกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023” ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปีการก่อตั้งคณะ โดยในปีนี้ งานได้รับการยกระดับจากการจัดงานเกษตรประจำปีให้เป็นงาน ระดับเอ็กซ์โป ที่มุ่งเน้นการแสดงสินค้า นวัตกรรม และกิจกรรมหลากหลายด้านการเกษตร เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

การจัดงานในปีนี้มุ่งเน้นให้เกษตรกร นักวิชาการ และผู้ประกอบการทางธุรกิจเกษตรได้มีโอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และเกษตรกรตัวอย่างในการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และกระบวนการที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และพัฒนาธุรกิจเกษตรอย่างยั่งยืน พร้อมการสนับสนุนให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเกษตรทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

งาน “เกษตรนเรศวรเอ็กซ์โป 2023” ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายต่างๆ เช่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก และองค์กรต่างๆ ที่มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์และสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ทั้งนี้ การจัดงานครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้าชมได้มีโอกาสสัมผัสกับนวัตกรรมการเกษตรและการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติของอุตสาหกรรมการเกษตร

สิ่งที่น่าสนใจในงาน ได้แก่:

  1. การแสดงสินค้าและนวัตกรรมการเกษตร เช่น เทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ ระบบเกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture) เครื่องจักรกลการเกษตรใหม่ๆ ที่ช่วยลดแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
  2. การสัมมนาและการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการพัฒนาเกษตรกรรมในยุคดิจิทัล การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การใช้พลังงานทดแทนในการเกษตร
  3. กิจกรรมฝึกอบรมและเวิร์กช็อป ในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ การปลูกพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาธุรกิจเกษตรที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดงานครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยนเรศวรในการสนับสนุน SDG 2 (การขจัดความหิวโหยและส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน) และ SDG 12 (การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน) ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถลดผลกระทบจากการผลิตที่ไม่ยั่งยืน

ข้อมูลเพิ่มเติม: ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร โทรศัพท์ 0 5596 2718 หรือที่ https://www.naiexpo.agi.nu.ac.th

4o mini

ให้ความรู้ “การสร้างมูลค่าจากขยะ” Waste to Value (WOV)

วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม 2566 สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดย ดร.สุดาวดี ยะสะกะ และ อาจารย์ณัฐพงศ์ โปรยสุรินทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างมูลค่าจากขยะ” Waste to Value (WOV) Towards Healthy Planet ในงานเกษตรนเรศวร Expo2023 โดยวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมมาจากแนวคิดการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางสุดท้ายและการนำเอาวัสดุเหลือใช้ และของเสียมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้เกิดความคุ้มค่าที่สุดและสร้างมูลค่าเพื่อตอบโจทย์หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) รวมถึงแนวทางการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดปัญหาขยะมูลฝอยสะสมและการปลดปล่อยมลพิษที่เรียกว่า โมโครพลาสติก ที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ดังนั้นแนวคิดนี้ถือว่าเป็นการช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมและโลกของเราสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ต่อไป ณ ห้องอบรม 9 ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ที่มา: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

เปิดใช้ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรฯ และโครงการ GROW NU: ต้นไม้ ความสุข สังคมนเรศวร

วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 19.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานพิธีเปิดใช้ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและโครงการ GROW NU: ต้นไม้ ความสุข สังคมนเรศวร ซึ่งในการปรับปรุงลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีแนวความคิดในการออกแบบโดยเริ่มจากการศึกษาประวัติและคุณงามความดีขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงได้พัฒนาและปรับปรุงให้สอดคล้องกับเกียรติประวัติขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

และโครงการ GROW NU:ต้นไม้ ความสุข สังคมนเรศวร โดยมีการปลูกต้นเสลา ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย และถั่วบราซิล ซึ่งภาชนะในการปักชำ ขยายพันธุ์ถั่วบราซิลได้มาจากการนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ทดแทนถุงเพาะชำต้นไม้และนำน้ำที่ได้จากการบำบัด มาใช้ในการรดน้ำดูแล ถั่วบราซิล และไม้ประดับอื่นๆในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย เพื่อสร้างความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับมหาวิทยาลัย

โดย นายรุ่งรัตน์ พระนาค ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่พร้อมด้วยบุคลากร ผู้บริหาร คณาจารย์ นิสิต และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมพิธีเปิดกันอย่างพร้อมเพรียง ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมจัดนิทรรศการ “วันสิ่งแวดล้อมโลก” ตามแนวทางการพัฒนา BCG Model จังหวัดพิษณุโลก

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุ พุทธวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมเป็นเกียรติในงาน Environmental Day ตามแนวทางการพัฒนา BCG Model จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากเป็นวันสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของโลก คือ ตรงกับวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี โดยภาคีเครือข่ายการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพิษณุโลก จำนวนทั้งสิ้น 17 แห่ง ประกอบด้วย ภาคีเครือข่ายหน่วยงานราชการ จำนวน 5 หน่วยงาน ภาคีเครือข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 6 แห่ง ภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา จำนวน 2 แห่ง ภาคีเครือข่ายภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 4 แห่ง โดยในงานเป็นการนำเสนอรูปแบบ หรือวิธีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง รวมทั้งการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร และการ จัดการสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคนิค วิธีการที่เหมาะสมกับบริบทในแต่ละหน่วยงาน โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดหรือขยายผลรูปแบบ หรือ วิธีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมสู่สาธารณะ เพื่อการขยายผลสู่การปฏิบัติ ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย “พิษณุโลก เมืองใช้ประโยชน์จากขยะ” (Phitsanulok The City of Recycling)

พร้อมนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ร่วมลงนามความร่วมมือ “ภาคีเครือข่ายการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพิษณุโลก” ตามกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้ BCG Model โดยมีนายภูษิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานพิธีลงนามความร่วมมือ และผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร ที่ร่วมลงนามความร่วมมือ ประกอบด้วย ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ 5 หน่วยงาน สถาบันการศึกษา 2 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง และภาคเอกชน/รัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง รวมทั้งสิ้น 17 หน่วยงาน/องค์กร เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัย สร้างความร่วมมือ และสนับสนุนด้านวิชาการ หรือต่อยอด การดำเนินงานการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และ ปลายทาง ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งการปรับใช้ หลักการพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่ (BCG Model) ในสาขา หรือด้านอื่นๆ ต่อไป และจัดกิจกรรม หรือสนับสนุนการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ผลงานด้านวิชาการที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และ ปลายทาง รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่ (BCG Model) ในสาขา หรือด้านอื่นๆ ณ ลานวงเวียนประตู 1-6 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พิษณุโลก

ภายในงานจัดให้มีกิจกรรมเรียนรู้/นิทรรศการ
1. ฐานกิจกรรมการจัดการและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม ตลาด นัด และ Recycle Station ที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและเครือข่ายชุมชน และภาคเอกชน จำนวน 8 บูท โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร นำเสนอความรู้/ต้นแบบการจัดทำระบบข้อมูล GIS ที่ เกี่ยวกับพื้นที่เผาขยะและมลพิษจากการเผาในพื้นที่ และเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่ม มูลค่าขยะ เศษวัสดุทางการเกษตร และพลังงานทดแทน
2. ฐานกิจกรรมการคัดแยกขยะและการนำขยะเป็นเชื้อเพลิงพลังงาน โดย บริษัท วงษ์ พาณิชย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ บริษัท โคลเวอร์พิจิตร (CPX) จำกัด
3. ฐานกิจกรรม Organic Garden โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ เครือข่ายชุมชน/องค์กรเอกชน
4. ฐานกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วม ในการเรียนรู้การจัดการและการใช้ประโยชน์จาก ขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม ของประชาชนทั่วไปที่มาใช้บริการ ณ ศูนย์การค้า เซ็นทรัล พิษณุโลก และผู้มาร่วมงาน โดย ทีมงานของศูนย์การค้าเซ็นทรัล พิษณุโลก บริษัท วงษ์พาณิชย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุม มลพิษที่ 3 และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จากขวดที่ถูกทอดทิ้งและดูไร้ค่า กลับมาเป็นภาชนะปลูกที่คงทนและประหยัด “NU Going Green”

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 บุคลากรกองอาคารสถานที่เริ่มดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยตั้งเป้าหมายที่จะปลูกถั่วบราซิลและไม้ประดับอื่นๆ ให้เต็มพื้นที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว จุดพักผ่อนของประชาคมซึ่งภาชนะในการปักชำ ขยายพันธุ์ถั่วบราซิลได้มาจากการนำขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ทดแทนถุงเพาะชำต้นไม้และยังมีโครงการที่จะนำน้ำที่ได้จากการบำบัด มาใช้ในการรดน้ำดูแล ถั่วบราซิล และไม้ประดับอื่นๆในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย

ถั่วบราซิล ถั่วปินโต/ถั่วเปรู/ถั่วลิสงเถา
ชื่อวิทยาศาสตร์: Arachis pintoi Krapov. & W.C.Gregory
วงศ์: Leguminosae – Papilionoideae
ประเภท:ไม้ล้มลุกอายุหลายปี
ทรงพุ่ม:ลำต้นทอดเลื้อยคลุมดิน รากออกตามข้อ
ใบ: ประกอบแบบขนนกออกตรงข้าม ใบย่อย 4 ใบ รูปไข่ กว้าง 1 – 3 เซนติเมตร ยาว 1 – 7 เซนติเมตร
ดอก: รูปถั่ว สีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2 – 4 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ดินร่วนและดินร่วนปนทราย
ขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมกับ วช. ส่งมอบเสื้อเกราะกันกระสุน นวัตกรรมจากจากขยะพลาสติก

วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ กองทัพภาคที่ 3 และ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก ซึ่งเป็นผลงานภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” ที่ วช. ให้ทุนสนับสนุนแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล แห่งคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ดำเนินโครงการฯ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้ส่งมอบนวัตกรรมดังกล่าว แก่กองทัพภาคที่ 3 โดยมี พลตรี ประสาน แสงศิริรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็นผู้รับมอบ พร้อมนี้ ศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมพิธีส่งมอบนวัตกรรมดังกล่าวด้วย ณ สโมสรบันเทิงทัพ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก

ศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวต้อนรับและกล่าวนโยบายด้านการสนับสนุนและผลักดันงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ ว่ามหาวิทยาลัยนเรศวร มีนโยบายในการผลักดัน ส่งเสริม ให้เกิดการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมให้เกิด Research Eco system ที่จะพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ มุ่งส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ และการต่อยอดผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างยั่งยืน สร้างงานวิจัยชั้นแนวหน้าที่มีความหลากหลายตามศักยภาพของนักวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและประเทศ เพื่อมุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ” ซึ่งจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งผู้ทำวิจัย ผู้สนับสนุนทุนวิจัย และผู้ที่นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดการสร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และสังคมได้อย่างชัดเจน

นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. เป็นองค์กรหลักด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ที่มีบทบาทสำคัญด้านการขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยขนาดใหญ่ ที่มีความท้าทายและมีเป้าหมายชัดเจน รวมถึงการส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ตลอดจนผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม งานวิจัยนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนเป็นผลสำเร็จของการสนับสนุนนักวิจัยที่ได้รับทุนจาก วช. จนได้ผลงานสร้างสรรค์ยกระดับขยะพลาสติกที่มีจำนวนมาก จากกระบวนการมีส่วนร่วมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมความปลอดภัยให้กับทหารของประเทศและจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมรายได้ให้กับคนในชุมชนจากการนำเอาขยะจากท้องทะเลมารวมกับผ้าทอมือ อันเป็นสิ่งแทนใจของความรักและความผูกพันของคนในครอบครัวและชุมชนเป็นเกราะป้องกันทหารของประเทศ ผลผลิตและต้นแบบอันเกิดจากการวิจัยครั้งนี้จะก่อให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกและการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทยได้ต่อไป

พลตรี ประสาน แสงศิริรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวว่า ในนามของกองทัพภาคที่ 3 ต้องขอขอบคุณทาง วช. และ ม.นเรศวร ที่เล็งเห็นความสำคัญของงานวิจัยนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน ซึ่งถือว่าเป็นคุณประโยชน์ให้กับกำลังพลของกองทัพบกเป็นอย่างดีในการนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในพื้นที่เสี่ยงภัย ช่วยให้เกิดความปลอดภัย โดยผลผลิตดังกล่าวจะเป็นต้นแบบในการลดขยะโดยเฉพาะขยะพลาสติกที่จะนำไปสู่การจัดการขยะอย่างยั่งยืน นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนนี้จัดทำขึ้นตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการเสื้อเกราะที่มีน้ำหนักเบา มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยได้ และมีราคาถูก สามารถเข้าถึงได้ง่าย และในอนาคตหวังว่าคณะนักวิจัยจะได้พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมนี้ให้ตอบสนองต่อความต้องการและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล หัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่า ม.นเรศวร ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. ในการดำเนินโครงการ “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” มีความสอดคล้องกับแนวทางที่สหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ให้ประเทศต่าง ๆ ภายใต้ทิศทางการพัฒนาประเทศ พ.ศ. 2558 –2573 ในเป้าหมายที่ 12 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดการและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน การสร้างสรรค์นวัตกรรมจากขยะพลาสติกยังตอบสนองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจหมุนเวียนชีวภาพอีกด้วย โดยคณะนักวิจัยมีแนวคิดในการนำเอาขยะเหลือใช้กลับมาทำให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้ชุมชน จากการกำจัดขยะมูลฝอยในปี 2562 พบว่าจังหวัดพิษณุโลก ติดอันดับ 1 ใน 6 จังหวัดที่มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่มากที่สุด โดยจำนวนขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ในจังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณ 465.7 ตันต่อวัน โดยนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนถือเป็นผลสำเร็จของโครงการฯ จนได้ผลงานสร้างสรรค์ยกระดับขยะพลาสติกที่มีจำนวนมาก จากกระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ และชุมชน จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยให้กับกองทัพ โดยมีทหารเป็นกำลังสำคัญในการรักษาอธิปไตยของชาติ

สำหรับนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก เป็นผลงานภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” ที่ วช. สนับสนุนทุนแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล แห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะ ดำเนินโครงการฯ ซึ่ง วช. กองทัพภาคที่ 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะนักวิจัย มีความมุ่งมั่นในการผลักดันการดำเนินงานวิจัยนี้ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ซึ่งผลผลิตและต้นแบบอันเกิดจากการวิจัยครั้งนี้จะนำไปสู่การขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนชีวภาพ การจัดการขยะพลาสติกและการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทยได้

ทั้งนี้ คณะนักวิจัยได้ทำการทดสอบนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก โดยการใช้ปืนขนาด 9 มม. และ 11 มม. ณ ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จังหวัดพิษณุโลก จากการทดสอบพบว่านวัตกรรมดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันการยิงจากอาวุธปืนขนาด 9 มม. และ 11 มม. ในระยะการยิงที่ 5 เมตร 7 เมตร 10 เมตร และ 15 เมตร ได้เป็นอย่างดี และในอนาคตคณะนักวิจัยจะทำการพัฒนานวัตกรรมฯ ให้สามารถป้องกันอาวุธปืนที่มีประสิทธิภาพสูง อาทิ ปืนเอ็ม 16 หรือปืนอาก้า เพื่อความปลอดภัยของทหารผู้รักษาอธิปไตยของประเทศต่อไป

ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest” จากขยะพลาสติกเหลือใช้

นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest” จากขยะพลาสติกเหลือใช้และขยะจากท้องทะเล ภายใต้โครงการวิจัย “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติสนับสนุนทุนวิจัยแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าโครงการ และคณะผู้ร่วมวิจัยได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร นิรัช สุดสังข์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยนันท์ บุญพยัคฆ์ และดร.ศิริกาญจน์ ขันสัมฤทธิ์ ภาควิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ดร.วรชาติ กิจเรณู คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin