ม.นเรศวร ยกระดับธุรกิจของสถานประกอบการ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัดเย็บผ้า

กิจกรรมยกระดับธุรกิจของสถานประกอบการ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัดเย็บผ้า ตําบลสนามคลี

วันที่ 16 กันยายน 2566 งานบ่มเพาะธุรกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร นำทีมวิทยากรลงพื้นที่จัดกิจกรรมที่ 3 การทดสอบตลาด ถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การตลาดเชิงสร้างสรรค์” ในหัวข้อ วางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด และการจัดแสดงผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบตลาด ภายใต้แผนงานยกระดับธุรกิจภูมิภาค (Regional Entrepreneur Upgrade) ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัดเย็บผ้า ตําบลสนามคลี อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

วิทยากรโดย (1) ดร.สุภรวดี ตรงต่อธรรม คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ม.นเรศวร (2) นางสาววรรณชลี กุลศรีไชยหัวหน้างานศิลปวัฒนธรรม งานศิลปวัฒนธรรม กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

โครงการยกระดับความพร้อมของเทคโนโลยี และส่งเสริมระบบนิเวศสำหรับสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน ววน. และการให้บริการด้านเทคโนโลยี

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สัมมนานักวิชาการระดับนานาชาติ SOFT POWER: THE CULTURAL DIPOMACY

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับภาคีเครือข่ายทางวิชาการ ดำเนินการจัดสัมมนานักวิชาการระดับนานาชาติด้าน อารยธรรมศึกษา ภายใต้หัวข้อ SOFT POWER: THE CULTURAL DIPOMACY ในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์

โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุ พุทธวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานในการเปิดงาน การสัมมนาทางวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 หัวข้อ ได้แก่
> หัวข้อ “Process of Korean Wave Development as a Key Driver for Economic Growth” โดย คุณโจ แจอิล (ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย) และคุณซน จูยอง (ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย)

> หัวข้อ “Music for Healing Society” โดย รองศาสตราจารย์ นพ.ดร.ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์ (อาจารย์ประจำภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

> หัวข้อ “The Transformative Potential of Small-Scale Community Events: an LGBTQIA+ Perspective” โดย Dr.Williem Coetzee (Tourism, Research and Events, Western Sydney University, Australia

และหัวข้อ “Local Food on Global Stages” โดยอาจารย์อนุวัต เชื้อเย็น (ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาด้านการท่องเที่ยวเชิงศิลปวิทยาการอาหารนานาชาติ คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

ดำเนินรายการโดย ดร.จารุวรรณ แดงบุบผา (ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยนเรศวร) และรองศาสตราจารย์ ดร.อุษา พัดเกตุ (Soft Skill Unit บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร)

โดยมีนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร นักวิชาการ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ณ ห้องสุวรรณภิงคาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมีสถาบันการศึกษา ร นิสิต ทั้งนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างนักวิชาการระดับนานาชาติด้านอารยธรรมศึกษา และเพื่อยกระดับวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เข้าสู่ฐานข้อมูลนานาชาติต่อไป

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดสัมมนาในหัวข้อที่น่าสนใจอื่น ๆ ในโอกาสต่อไป สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้ารับฟังการสัมมนาในครั้งนี้ ทางผู้จัดจะทยอยนำคลิปวิดีโอมาให้ท่านได้รับชมเร็ว ๆ นี้ และ ขอเชิญชวนผู้สนใจส่งบทความเข้ารับการตีพิมพ์ได้ที่วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน โดยสามารถส่งบทความมาได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jnuks/index หรือทางเฟสบุ๊ควารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน https://www.facebook.com/profile.php?id=100063778124414 โทร.055-961205 คุณจรินทร พรมสุวรรณ

ที่มา: กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

SCI MARKET ส่งเสริมทักษะด้านวิชาชีพและการเป็นผู้ประกอบการให้กับนิสิต

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมตลาดนัดคณะวิทยาศาสตร์(SCI MARKET) เพื่อส่งเสริมทักษะด้านวิชาชีพและการเป็นผู้ประกอบการให้กับนิสิต และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ โดยภายในงานมีการแสดง และกิจกรรมของนิสิต มีการเปิดตลาดนัดขายสินค้าต่าง ๆ ของนิสิต ศิษย์เก่า และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์มากมาย ณ บริเวณโถงอาคารเรียนรวม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยี สำหรับธุรกิจ BCG

NU SciPark จับมือ NSRU ระดมสมองทำ Roadmap พัฒนาธุรกิจ BCG ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 🌾🎋

วันที่ 14 กันยายน 2566 ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ม.นเรศวร พร้อมด้วยอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร นำทีมโดย ผศ.ดร.สมลักษณ์ วรรณฤมล กีเยลาโรว่า ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร และรศ.ดร.รังสรรค์ เจริญสุข รองผู้อำนวยการฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.ธนัชสัณห์ พูนไพบูลย์พิพัฒน์ ผู้ประสานงานเครือข่ายนักวิชาการรัฐกับเอกชนภาคเหนือล่าง ร่วมจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยี สำหรับธุรกิจ BCG ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร และ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ เพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มหาวิทยาลัยเครือข่ายก่อตั้งและมหาวิทยาลัยเครือข่ายใหม่ ภายใต้โครงการบริหารจัดการและพัฒนาเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ ในรูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายก่อตั้ง (บัดเดอร์) อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร และเครือข่ายใหม่ (บัดดี้) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ให้ดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้มหาวิทยาลัยบัดดี้

โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ด้านเศรษฐกิจ สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และ ผศ.ดร.สมบูรณ์ นิยม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก ดร.สราวุธ สัตยากวี รองผู้อำนวยการสำนักกลยุทธ์และพัฒนากองทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นวิทยากรร่างแผนที่นำทางเทคโนโลยี สำหรับธุรกิจ BCG ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีผู้แทนจากทางภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมระดมความคิดเห็นแผนที่นำทางฯ ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

NU SciPark นำวิทยากรลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้จากแป้งกล้วยน้ำว้า ตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

วันที่ 14 กันยายน 2566 งานบ่มเพาะเทคโนโลยีและนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร และวิทยากรโดย ผศ.ดร.ศศิวิมล จิตรากร ดร.สุกีวรรณ เดชโยธิน และนางสาวภิรนิตย์ ลบลม ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร สังกัดคณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้จากแป้งกล้วยน้ำว้า ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 บ้านวงฆ้อง ตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

โครงการภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2566 แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Service : TCS) คลินิกเทคโนโลยี

สนใจสอบถามข้อมูลบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรเพิ่มเติมได้ที่ https://linktr.ee/sciparkcontent
ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมอบรมแบบเข้มข้นในกิจกรรม BCG INNOVATIVE BUSINESS INCUBATION : “Network Development Project for Globalization”

วันที่ 6 -11 กันยายน 2566 NU SciPark ม.นเรศวร นำทีม โดย ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมบุคลากร เข้าร่วมอบรมในโครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรม BCG สู่สากล BCG INNOVATIVE BUSINESS INCUBATION : “Network Development Project for Globalization” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมเกษตร ภายใต้แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี ระหว่างเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคของประเทศไทย กับมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเบงเก็ต ประเทศฟิลิปปินส์ ณ ห้องประชุม 311 อาคาร 75ปี แม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

ภายในงานจัดให้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ภาพรวมการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีในประเทศไทย” เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของภารกิจอุทยานวิทยาศาสตร์ในการผลักดันการนำผลงานวิจัยไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ โดย ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช สำนักงานปลัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “BCG Model : From Local to Global” เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่สากลอย่างยั่งยืน โดย ผศ. ดร.เกษมศักดิ์ อุทัยชนะ รองผู้อำนวยการ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กิจกรรม “Icebreaking และ Network Community Sharing (สร้างเครือข่าย ขยายความร่วมมือ)” โดยมี อาจารย์ ดร.พนมพร เฉลิมวรรณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และนายวิรวัฒน์ ญาณวุฒิ อาจารย์พิเศษ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การพัฒนาธุรกิจเกษตรและอาหารจากชุมชนสู่ตลาดโลก” (From Local Farmer to Global Market) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่ระดับสากล รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับเกษตรกรในชุมชนให้เกิดการขับเคลื่อนร่วมกับธุรกิจ โดย คุณณลี อายุ จือปา ผู้ก่อตั้งอาข่าอาม่า (AKHA AMA COFFEE)

บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การวิเคราะห์และวิจัยทางการตลาด (Market Analysis and Market Research Workshop)” เพื่อใช้เครื่องมือในค้นหาความต้องการของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน แล้วนำมาวิเคราะห์สู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สู่ตลาด โดย อาจารย์นนท์ ปิ่นเงิน รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การออกแบบและพัฒนาแผนธุรกิจสำหรับบริการด้านการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม” (Business Model Design for Technology and innovation Business Incubation) โดย คุณภัทราภรณ์ กันยะมี ผู้ก่อตั้งบริษัท เดอะลิตเติ้ล ออนเนี่ยน แฟคทอรี่ จำกัด

อบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การคัดกรองแนวความคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการแก่ลูกค้า” (Ideas Filtration) และหัวข้อ “เครื่องมือปรับปรุงกระบวนการให้บริการด้วย Service Blueprint” โดย ดร.ก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์ ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจใหม่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคัล จำกัด (มหาชน)

ปิดท้ายด้วย กิจกรรมศึกษาดูงาน เรียนรู้การผลิต การบริหารจัดการธุรกิจแปรรูป ณ บริษัท ปริ๊นเซส ฟูดส์ จำกัด

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้ก้าวสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น

NU Scipark ขอปรบมือดังๆให้กับนิสิตที่ได้รับรางวัลออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ทีมชนะเลิศเตรียมลุยแข่งระดับประเทศต่อไป

วันที่ 12 กันยายน 2566 ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดกิจกรรมพิธีนำเสนอผลสัมฤทธิ์โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้ก้าวสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน รวมถึงการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่นิสิต ผ่านการนำเสนอโครงการต่ออาจารย์ที่ปรึกษา และธนาคารออมสิน

ภายในกิจกรรมมีนิสิตเข้าร่วมนำเสนอผลงานที่ได้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้กับชุมชนต่างๆ จำนวน 5 ทีม : 5 ชุมชน โดยมีคณะกรรมการตัดสินผลงาน จำนวน 3 ท่าน ได้แก่
* คุณชวลิต ยอดเมือง ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตพิษณุโลก 1
* คุณนงนุช อยู่วัง ผู้จัดการออมสิน สาขาพิษณุโลก
* ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร

ผลปรากฎ ทีม SD ยุวพัฒน์@NU นิสิตจากคณะสังคมศาสตร์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับวิสาหกิจชุมชนซากุระญี่ปุ่น คว้ารางวัลชนะเลิศ ด้วยผลงาน “กิมจิ@ร่องกล้า” รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเป็นตัวแทนธนาคารออมสิน ภาค 7 ไปแข่งขันโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 ระดับประเทศต่อไป
– ทีม PolSci Connect / กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวบ่อเกลือพันปี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 รับเงินรางวัล 5,000 บาท
– ทีม พายใจไปล่องแก่งจินดา / กลุ่มท่องเที่ยวแก่งจินดา เกาะมาแก้ว ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 รับเงินรางวัล 3,000 บาท

สำหรับรางวัลชมเชย 2 ทีม รับเงินรางวัลทีมละ 1,000 บาท ประกอบด้วย
– ทีม กำปั้นยายเชียง / กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกและแปรรูปสมุนไพรทับยายเชียง
– ทีม NU SWEETHEARTS / กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านท่าชัย

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร 

ม.นเรศวร ต่อยอดสร้างอาชีพในชุมชน สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติ

เมื่อวันที่ 11-12 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยกองส่งเสริมการบริการวิชาการ ได้จัดโครงการออกหน่วยบริการวิชาการเคลื่อนที่มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU Mobile Unit) ประจำปี 2566 กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Eco print การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติ” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบึงพระ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โดยมี นางสาววรรณชลี กุลศรีไชย ตำแหน่ง หัวหน้างานศิลปวัฒนธรรม กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะ เป็นวิทยากร เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ในเรียนรู้เทคนิค วิธีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าที่ใช้วัสดุจากธรรมชาติ ทำให้เกิดสีและลวดลาย เป็นการพิมพ์ผ้า ด้วยใบไม้ ดอกไม้จากธรรมชาติ ถ่ายโอนสีและโครงสร้างจากใบไม้สู่ผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ Eco print

ที่มา: กองส่งเสริมการบริการวิชาการ ม.นเรศวร

ม.นเรศวร พัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่นให้เป็นมืออาชีพ

มื่อวันที่ 9-10 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยกองส่งเสริมการบริการวิชาการ ได้จัดโครงการออกหน่วยบริการวิชาการเคลื่อนที่มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU Mobile Unit) ประจำปี 2566 กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่นให้เป็นมืออาชีพ” ณ โรงเรียนนาบัววิทยา อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลกโดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ตำแหน่ง อาจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะ เป็นวิทยากร เพื่อสร้างความรู้ความสามารถในการนำเที่ยวอย่างแท้จริง มีการปฏิบัติงานที่มีเป็นมาตราฐานในทุก ๆ ด้าน มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ซื่อสัตย์ สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์จะช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสม

ที่มา: กองส่งเสริมการบริการวิชาการ ม.นเรศวร

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมนิทรรศการแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ

วันที่ 7 กันยายน 2566 ดร.นิภารัตน์ อิ่มศิลป์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ พร้อมด้วยบุคลากรงานบริการการศึกษา และงานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเข้าร่วมกิจกรรมนิทรรศการแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ ประจำปีการศึกษา 2566 ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 6 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จำนวน 550 คน เพื่อให้ข้อมูลและตอบประเด็นข้อซักถามเกี่ยวกับการศึกษาต่อและทุนการศึกษาต่างๆในหลักสูตรที่คณะมนุษยศาสตร์เปิดการเรียนการสอน ณ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin