ม.นเรศวร จัดกิจกรรมความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เดินขบวนพาเหรด LGBTQIA+

วันที่ 20 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีการจัดกิจกรรมการสร้างความเป็นพลโลก/ พลเมืองโลก หรือ Global Citizenship ถือเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ เพราะปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกเรานี้มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และส่งผลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ การเป็นพลโลกไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นคนชาติใด อาศัยอยู่ที่ไหน ประเทศไหน แต่คือการสร้างเครือข่ายและความเชื่อมโยง สร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ทุกการกระทำของเราย่อมส่งผลกระทบต่อคนอื่น ๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ปัญหาสำคัญคือทุกคนไม่ได้เกิดมาอย่างเท่าเทียมกัน (ทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม)
โดยทางมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์  แทนธานี  รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดเวทีความเท่าเทียมเสมอภาคขึ้น สอดแทรกเข้าไปกับการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยนเรศวรแห่งนี้ ก็มีหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น การเคารพและเห็นคุณค่าของความหลากหลายและความแตกต่าง ซึ่งความหลากหลายนี้เรามองในหลายๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural Diversity) ขจัดความเหลื่อมล้ำของผู้ด้อยโอกาส เรามองไปถึงความเท่าเทียม/ความเสมอภาคของคนพิการซึ่งถือเป็นกลุ่มเปราะบางด้วย พัฒนานิสิตให้มีความสามารถในการสื่อสารและปรับตัวข้ามวัฒนธรรมโดยใช้ภาษาเป็นสื่อกลางในการสื่อสารพัฒนานิสิตให้มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับคนต่างภาษาและวัฒนธรรมได้
ซึ่งในกิจกรรมมีการเดินขบวนพาเหรด ของการเท่าเทียมกันหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ซึ่งให้นิสิต ได้แต่งกายมาร่วมขบวน แสดงออกทางด้านความคิดได้อย่างเต็มที ทั้งการแต่งกาย การแสดงต่างๆ  การผลักดันให้มีการจดทะเบียนสมรส เป็นต้น ซึ่งแต่ละชุดการแสดงความสวยงามและสื่อความหมายแตกต่างกัน เรียกความสนใจแก่ผู้ร่วมงานกันจำนวน นอกจทากนี้ ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ยังได้ร่วมจัดงาน NU Art & Craft FunFair 2022 (19-20 สิงหาคม 2565)  เพื่อสร้างกิจกรรมให้เกิดการกระตุ้นให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative space) ทั้งในเชิงกายภาพและเชิงของกิจกรรม และการสร้างคุณค่าของทุกคนให้มีความเท่าเทียม ความเสมอภาค และเข้าใจความหลากหลายในทุกมิติต่าง ๆ โดยเป็นการจัดงานร่วมกันของกองกิจการนิสิตและกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม  รวมทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอีกด้วย

ที่มา: phitsanulokhotnews

ม.นเรศวร จัดกิจกรรม “NU Art & Craft Fun Fair 2022”  สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space) เพื่อพัฒนานิสิตให้มีความเป็นพลโลก (Global Citizenship)

       มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดกิจกรรม “NU Art & Craft Fun Fair 2022” ระหว่างวันที่ 19  – 20  สิงหาคม 2565  ณ ลานกิจกรรม กองกิจการนิสิต พิพิธภัณฑ์ผ้า และหอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อสร้างกิจกรรมให้เกิดการกระตุ้นให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space) ทั้งในเชิงกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ย้ำจุดยืนของความเท่าเทียม ความเสมอภาค และความหลากหลายในทุกมิติ โดยเป็นการจัดงานร่วมกันของกองกิจการนิสิตและกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

       รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์  แทนธานี  รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรมีนโยบาย “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ (University for Entrepreneurial Society)”  ซึ่งจากโยบายดังกล่าวต้องอาศัยทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยตลอดจนองค์ความรู้และนวัตกรรมในการสร้างความร่วมมือกันทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดการสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยมีกลไกในการขับเคลื่อนที่สำคัญคือ การสร้าง “The Entrepreneur Mindset” ให้แก่บุคลากรและนิสิต เพราะแนวคิดนี้จะทำให้เราพัฒนาตัวเองให้กล้าเผชิญกับความท้าทาย พร้อมรับมือกับปัญหาที่จะเข้ามา รู้จักเป็นผู้บุกเบิกในการเริ่มต้น หรือนำความคิดสร้างสรรค์มาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดเป็นนวัตกรรมหรือ Innovation จากการคิดแบบนี้จะทำให้สามารถนำไปปรับใช้หรือต่อยอดการทำงานและธุรกิจ เพื่อให้เกิดรายได้มากขึ้นอีก   ดังนั้นเพื่อให้เกิดการกระตุ้นนิสิตจึงได้จัดกิจกรรมดังกล่าวนี้ขึ้นให้เพื่อเกิดพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space) ทั้งในเชิงกายภาพเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เป็นพื้นที่ในการฝึกปฏิบัติจริง

       ด้าน ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่า และศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า  กิจกรรม “NU Art & Craft Fun Fair 2022” เป็นการทำงานแบบ Cross-Functional ระหว่างกองกิจการนิสิต และกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ หน่วยงานในมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน เพื่อเป็นกิจกรรมในการพัฒนานิสิตให้สามารถมีมุมมองสอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัยและมีความเป็นพลโลก (Global Citizenship) ซึ่งมหาวิทยาลัยจะสร้างนิสิตให้เป็นผู้มีศักยภาพในการที่จะสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและโลกที่สามารถทำงานที่ใด ๆ ในโลกนี้ได้  โดยให้นิสิตมีประสบการณ์ในวัฒนธรรมที่หลากหลาย นอกจากนั้น เรายังให้ความสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติด้วย

       หัวใจสำคัญในการจัดงานในครั้งนี้ คือ

       – การเคารพและเห็นคุณค่าของความหลากหลายและความแตกต่าง ซึ่งความหลากหลายนี้เรามองในหลายๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural Diversity) รวมไปถึงความเท่าเทียม/ความเสมอภาค ของกลุ่มเปราะบางด้วย

       – การแต่งกายชุดนิสิตตามเพศสภาพคือการแสดงออกถึงเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เราควรเคารพ

       – พัฒนานิสิตให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับคนต่างภาษาและวัฒนธรรมได้

       – นิสิตมองเห็นคุณค่า ในการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม ในหลากหลายมิติ

       กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกคือ Art & Craft ซึ่งประกอบไปด้วย Art Exhibition (นิทรรศการผ้าแห่งขุนเขา, Art Therapy, Doll House และ Art Collections), Art & Craft Workshop, Art & Craft Market (มีสินค้าจากโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลหรือที่เรียกว่า U2T และร้านค้าอื่น ๆ) , Art Innovation (ผลงานของนิสิตและคณาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ) และ Art Talk (การสร้างสรรค์งานศิลปะ Speed Art โดยศิลปินพื้นบ้านเมืองบางขลัง คุณอุเทน ลำไย และการสร้างสรรค์งานศิลปะ Speed Painter โดย คุณบัลลังค์ เชยบาล) และ ส่วนที่สองจะเป็น Fun Fair ซึ่งจะมีกิจกรรมหลักคือ NU Pride, Equity and Diversity Parade นอกจากนั้นยังมีการประกวดชุดประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้/ ใช้ซ้ำ (ชุด Recycle) ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้นิสิตมีความคิดสร้างสรรค์แบบรักษ์โลกและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังมี Performing Arts, มีการแสดงดนตรีและ Talent Show ในพื้นที่งานจะมีการฉายหนังกลางแปลง Food Truck, Food Kiosk และ Outdoor Café’  ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นนี้น่าจะทำให้นิสิตมีความสนุกสนาน และได้การเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน

       มหาวิทยาลัยวิทยาลัยนเรศวร ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม ความเสมอภาคและความหลากหลาย พัฒนานิสิตให้เป็น Global Citizen เพื่อตอกย้ำวิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ (University for Entrepreneurial Society)”

ที่มา: ภาพ>กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร, ข่าว> งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

สิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ LGBTI Rights

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเชิญนิสิตและผู้สนใจเข้าร่วมฟังบรรยายให้ความรู้ด้านกฎหมาย ในโครงการวันรพี ประจำปีการศึกษา 2565 หัวข้อ “สิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ LGBTI Rights” ในวันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565 เวลา 9.30 – 12.00 น. ณ ห้องศาลจำลอง ชั้น 4 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (จำนวน 50 ที่นั่ง) ออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM Meeting (จำนวน 300 ที่นั่ง) ที่ https://nu-ac-th.zoom.us/j/97926718794… Meeting ID: 979 2671 8794 Passcode: 551111
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : งานกิจการและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะนิติศาสตร์ โทร. 0-5596-1733, 0-5596-1734

ที่มา: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

รายการ รักไม่รู้โรย เรื่อง ปัญหาเต้านมคัดตึงในคุณแม่

วิทยากร : อาจารย์กนกอร มังกรประดิษฐ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพยาบาลมารดาและทารก
ผู้ดำเนินรายการ : ผศ.ดร.วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์ อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

วันเวลาออกอากาศ : ทุกวันเสาร์ เวลา 18.30 – 19.00 น.
ผ่านคลื่น : F.M. 107.25 MHz สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร

ผ่านเว็บไซต์ : https://nuradio.nu.ac.th/?p=5168
ผ่าน Youtube : https://youtu.be/FNgf0CzEsc8

ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร NUradio Naresuan

สภานิสิต ม.นเรศวร ประกาศและแสดงจุดยืน “ไม่สนับสนุนกิจกรรม ระบบโซตัส”

สภานิสิตขอประกาศและแสดงจุดยืน “ไม่สนับสนุนกิจกรรม ระบบโซตัส” ยกเลิกกิจกรรมห้องเชียร์มติตั้งแต่ปีการศึกษา2564 เป็นต้นไป และไม่สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบโซตัส(SOTUS) ทั้งกิจกรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของมวลนิสิตในรูปแบบต่างๆ

อ้างตาม : มติจากการประชุมร่วมกันระหว่างสภานิสิต องค์การนิสิต และสโมสรนิสิตคณะ/วิทยาลัย และเสนอเข้าเพื่อทราบในที่ประชุมคณะกรรมการกิจการนิสิต ครั้งที่ 1/2564

โดยก่อนหน้านี้มีหน่วยงาน/องค์กรทางการศึกษาทยอยประกาศ ยกเลิกโซตัส รวมทั้งกิจกรรมที่เข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้าที่มีองค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน (อบ.ก.), องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) ที่ประกาศออกมาแล้ว

และล่าสุด เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา สภานิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) เป็นหน่วยงานล่าสุดที่ออกมาระบุว่า สภานิสิตขอประกาศและแสดงจุดยืน ยกเลิกกิจกรรมห้องเชียร์ มติตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป และไม่สนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบโซตัส (SOTUS) ทั้งกิจกรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของมวลนิสิตในรูปแบบต่างๆ

ที่มา: Matichon Online

การแต่งกายชุดนิสิตตามเพศสภาพคือการแสดงออกถึงเสรีภาพและความเสมอภาคขั้นพื้นฐาน

“การแต่งกายชุดนิสิตตามเพศสภาพคือการแสดงออกถึงเสรีภาพ
และความเสมอภาคขั้นพื้นฐานที่เราควรเคารพและเห็นคุณค่า
ของความหลากหลายที่สวยงาม ”

อาจารย์ต๊อก

ดร.จรัสดาว คงเมือง
รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่าและศิลปวัฒนธรรม

ม.นเรศวร หนุนความหลากหลายทาง “ทางม้าลายสายรุ้ง”

วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เดือนที่ถูกเลือกให้เป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองเพื่อความเท่าเทียมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถูกเรียกกันว่า “Pride Month” ทำให้ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) ที่ จ.พิษณุโลก จัดกิจกรรมทาสีทางม้าลายสายรุ้ง (Rainbow Crossing) จะอยู่บริเวณหน้าอาคารขวัญเมือง ซึ่งเป็นหอพักนิสิต

รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวรรศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร

รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เผยว่า ปัจจุบันนี้โลกยอมรับความแตกต่างและให้ความเท่าเทียม ไม่ว่าเราจะเป็นคนในกลุ่มไหน ถ้ามาอยู่ใน มน. เราเท่าเทียมกันทุกอย่างไม่ว่า คณาจารย์ หรือนิสิต จะเป็นคนในกลุ่มไหนก็ตาม จะไม่ได้มีความแตกต่างกันแต่อย่างใดในรั้วของมหาวิทยาลัยนเรศวร

ทางม้าลายสายรุ้ง มหาวิทยาลัยนเรศวรทางม้าลายสายรุ้ง มหาวิทยาลัยนเรศวร

สำหรับมุมมองที่มีต่อ LGBTQ ไม่ได้คิดว่ามันต่าง ทุกคนเหมือนกัน ไม่ได้เห็นว่าเป็นเรื่องผิดปกติ หรือเป็นเรื่องแตกต่าง หรือถูกกีดกัน จะให้ความเคารพในสิทธิของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มหาวิทยาลัยนเรศวรเรายอมรับความแตกต่างของคนในทุกเพศ ยอมรับความต้องการของบุคคลทุกคน ถือว่าเท่าเทียมกันหมด

ในส่วนของการทำทางม้าลายสายรุ้งนี้จะเป็นเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า มน. มีจุดยืนชัดเจนในเรื่องของการยอมรับความเท่าเทียม โดยหลังจากนี้จะจัดกิจกรรมเปิดโอกาสให้นิสิต LGBTQ ได้มีเวทีในการแสดงออกต่อไปในช่วงเปิดเทอม การสร้างความเป็นพลโลก หรือ Global Citizenship ถือเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ

ทางม้าลายสายรุ้ง กิจกรรม Pride Month สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศทางม้าลายสายรุ้ง กิจกรรม Pride Month สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ

เพราะปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกเรานี้มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และส่งผลต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ ในฐานะรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่า และศิลปวัฒนธรรม ก็พยายามผลักดันผ่านกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร ซึ่งเราให้ความสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDG)

โดยพยายามผลักดันหรือสอดแทรกเข้าไปกับการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ให้การเคารพและเห็นคุณค่าของความหลากหลายและความแตกต่าง ซึ่งความหลากหลายนี้เรามองในหลาย ๆ มิติ ความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ก็เป็นหนึ่งในมิติที่ทางมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญ

ทางม้าลายสายรุ้ง มน. หน้าหอพักนิสิตอาคารขวัญเมือง

ที่มา: springnews

ม.นเรศวร ไฟเขียวให้นิสิตแต่งเครื่องแบบตามเพศสภาพ นักวิชาการชี้ เป็นความก้าวหน้า

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยเครื่องแต่งกายของนิสิตขั้นปริญญาตรี โดยกำหนดเครื่องแต่งกายของนิสิตขั้นปริญญาตรีให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สามารถแต่งกายตาม ‘เพศสภาพ’ ได้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั่นคือตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป ลงนามโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ นายกสภามหาวิทยาลัย

ขณะที่ เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นต่อกรณีนี้ว่า จากประกาศนี้นับได้ว่าเป็นความก้าวหน้าในการทำความเข้าใจเรื่องเพศสภาพของนิสิตที่มีการแสดงออกตัวตนทางเพศภาวะมากขึ้น และสิ่งนี้จะช่วยทำให้ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.บ. ความเท่าเทียมทางเพศ และหลักสากลในเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ และเพศวิถีที่ทั่วโลกขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม

ที่มา: หนังสือพิมพ์ THE STANDARD

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin