สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 ได้เข้าติดตามผลการดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคาหอพักนิสิต และอาคารบริการ (อาคารขวัญเมือง) มหาวิทยาลัยนเรศวร

วันที่ 18 มีนาคม 2565 สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 ได้รับมอบหมายจากองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกองค์การมหาชน) ได้เข้าติดตามผลการดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคาหอพักนิสิต และอาคารบริการ (อาคารขวัญเมือง) มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เข้าร่วมงานประชาสัมพันธ์หลักสูตรและจัดแสดงนวัตกรรมฯ ในงานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 54

วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี เข้าร่วมงานประชาสัมพันธ์หลักสูตรและจัดแสดงนวัตกรรมฯ ในงานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 54 (The 54th National Graduate Research Conference) “Graduate Studies and Personalized Education” ในวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ณ อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวร ต้อนรับอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์และคณะเข้าศึกษาดูงานและจัดทำกรอบความร่วมมือด้าน Smart Village

รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เกียรติร่วมต้อนรับ รศ.ดร.สุภาวิณี สัตยาภรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์และคณะเข้าศึกษาดูงานและจัดทำกรอบความร่วมมือด้าน Smart Village ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 โดยมีผู้อำนวยการ ผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของ SGtech ร่วมให้การต้อนรับ

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

บำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืน

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม 2565 เวลา 17.00 น. นายรุ่งรัตน์ พระนาค ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ได้มอบหมายให้ นายกฤษดา เกิดโภคา หัวหน้างานสาธารณูปโภคและซ่อมบำรุงพร้อมด้วยบุคลากร เริ่มดำเนินการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าตามจุดต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ยั่งยืน ยืดอายุการใช้งานและขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจารย์ ม.นเรศวร ร่วมเป็นวิทยากรในหัวข้อ งานสัมมนา เรื่อง “การบูรณาการพลังงานทดแทนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน

ดร.ยอดธง เม่นสิน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เข้าร่วมเป็นวิทยากรในหัวข้อ งานสัมมนา เรื่อง “การบูรณาการพลังงานทดแทนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน: นโยบาย การวางแผน ออกแบบ วิธีการแก้ปัญหา การปฎิบัติ และการควบคุม” วันที่ 9 – 11 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เปิดงานประชุมระดมสมองในการขยายเครือข่ายความร่วมมือ UMAC Smart City

วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เกียรติกล่าวเปิดงานประชุมระดมสมองในการขยายเครือข่ายความร่วมมือ UMAC Smart City และเพื่อเตรียมจัดงานสัมมนาทางวิชาการ Thailand Smart City ครั้งที่ 2 ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร (SGtech)

โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ เทศบาลนครพิษณุโลก, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ,มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เข้าร่วมงานในครั้งนี้

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดฝึกอบรมการใช้งาน Big Data Platform และจัดสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการดังกล่าวให้กับ บุคลากรจากการไฟฟ้า

วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี (SGtech) มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับมอบหมายจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้ดำเนินงาน “โครงการการจัดทำแผนที่นำทางในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และระบบจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) สำหรับการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง” ซึ่งได้มีการจัดฝึกอบรมการใช้งาน Big Data Platform และจัดสัมมนาเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการดังกล่าวให้กับ บุคลากรจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ระหว่างวันที่ 7 – 8 มี.ค. 2565 ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชั่น Zoom Meeting

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

IEEE PES – SGtech มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมจัดสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด”

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) หรือ IEEE Power & Energy Society – Thaialnd (IEEE PES – Thailand) และวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี (ร่วมจัดสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด: แนวคิด ความทันสมัย การควบรวมเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการดำเนินงาน โครงสร้างพื้นฐาน การวิเคราะห์ การจัดการด้านข้อมูล มาตราฐานและการทำงานร่วมกันได้-บทเรียนที่ได้รับ” โดยการสนับสนุนทางวิชาการจาก สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มหาวิทยาลัย ผู้ผลิตอุปกรณ์ เทคโนโลยี ผู้ประกอบการ และนักวิจัย ระหว่างวันที่ 28 ก.พ. – 2 มี.ค. 2565 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เดินหน้าโครงการ Smart Container for Smart Micro-Grid Technology ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมด้าน Smart City และ นวัตกรรมดิจิทัล

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุมอาคารสัมมนา วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้การต้อนรับ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในโอกาสที่ให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการนำร่อง Smart Container for Smart Microgrid Technology เพื่อพัฒนาโครงการต้นแบบโครงการนำร่อง Smart Container for Smart Microgrid Technology ให้ผู้ประกอบการ โดยเริ่มจากแนวคิดของระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดเล็กระดับชุมชนและระดับ SMEs จะถูกบริหารจัดการในภาพรวมด้วยเทคโนโลยี SMART Microgrid ที่ชาญฉลาดและรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ดี (Flexible Grid) และด้วยเทคโนโลยี Blockchain Network ที่ทำให้ทุกคนสามารถซื้อขายพลังงานกับผู้ผลิตหรือระหว่างกันเอง ณ เวลาที่เหมาะสม จนนำไปสู่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่จะเป็นต้นแบบของการนำเทคโนโลยีดิจิทัล อินเทอร์เน็ตและ AI มาใช้ในการบริหารจัดการเมือง ทั้งทางด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต รวมถึงการแปรรูปขยะให้เป็นพลังงาน ตามแนวนโยบาย BCG Economy ของรัฐบาล อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจรากฐาน โดยโครงการนำร่องสู่การพัฒนาธุรกิจจะขับเคลื่อนโดยใช้ตู้ Container ที่มีขนาดเล็ก กระทัดรัด ราคาไม่แพง ด้วยระบบ Smart Microgrid ที่ใช้เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้าที่สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนไฟฟ้าได้แบบ Peer-to-Peer ในอนาคตที่มีระบบ Smart Home ที่สะดวกทันสมัย เป็นทางเลือกให้กับผู้อยู่อาศัย ผู้ที่เริ่มต้นธุรกิจ สามารถขยายผลและเชื่อมโยงสู่ภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมได้กับธุรกิจชุมชน  เช่น เป็นสำนักงาน ร้านค้า ร้านเสริมสวย ร้านขายอุปกรณ์มือถือ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถเคลื่อนย้ายตามสถานการณ์และความเหมาะสมได้ตลอดเวลา นับว่าเป็นการส่งต่อโอกาสไปให้กับผู้ที่สนใจที่ต้องการจะเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการได้เข้าถึงโอกาสได้อย่างง่ายขึ้น  
ด้าน นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำหรับภาคอุตสาหกรรม ย่อมต้องพัฒนาและปรับตัวให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะจะเป็นปัจจัยต่อการสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรม การผลิตของประเทศ การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีการบริหารจัดการ ด้วยการสร้าง  Ecosystem ในการยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต โดยมีสถาบันศึกษา นักวิชาการ ที่นำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ มาพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีให้มีความชาญฉลาด เหมาะสมกับความต้องการใช้พลังงานสะอาด ร่วมกับการลงทุนธุรกิจใหม่ ๆ เช่น startup FinTech และ Climate Tech พร้อมกับความร่วมมือจากภาคการเงิน เช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เป็นกลไกการขับเคลื่อนของภาคอุตสาหกรรมสู่การเชื่อมโยงโมเดลเศรษฐกิจใหม่ Green Industry และอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0)

ที่มา:  วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี

ม.นเรศวร ร่วมดำเนินโครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และคณะที่ปรึกษา วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินโครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางการส่งเสริม เป้าหมายการพัฒนา และจัดทำแผนปฏิบัติการการส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานประเภทแบตเตอรี่ รวมไปถึงจัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงการวางแผนด้านพลังงานให้มีการนำระบบกักเก็บพลังงานมาใช้ในระบบโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ โดยเล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานเป็นอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Industry) ที่ใช้เป็นส่วนประกอบพื้นฐานในผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมต่างๆ อีกมากมาย เป็นอุตสาหกรรม New S-Curve ที่กำลังเติบโต และจะเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่สร้างฐานรายได้ใหม่ให้กับประเทศตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติได้

สามารถรับชมรายละเอียดได้ตาม link ด้านล่างนี้
ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin