ม.นเรศวร ลงพื้นที่จัดกิจกรรมยกระดับธุรกิจของสถานประกอบการ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัดเย็บผ้าตําบลสนามคลี

วันที่ 28 – 30 กรกฎาคม 2566 งานบ่มเพาะธุรกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร และวิทยากรโดยนางสาววรรณชลี กุลศรีไชย หัวหน้างานศิลปวัฒนธรรม งานศิลปวัฒนธรรม กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมที่ 2 การสร้างมูลค่า (Value Creation) ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์ลายใบไม้เป็นสุภาพสตรีและเสื้อผ้าเด็ก ภายใต้แผนงานยกระดับธุรกิจภูมิภาค (Regional Entrepreneur Upgrade) ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัดเย็บผ้า ตําบลสนามคลี อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

โครงการยกระดับความพร้อมของเทคโนโลยี และส่งเสริมระบบนิเวศสำหรับสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน ววน. และการให้บริการด้านเทคโนโลยี

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เราพร้อมบริการและสนับสนุนผู้ประกอบการให้ได้รับกับโอกาสทางธุรกิจและพัฒนาเทคโนโลยี

สนใจสอบถามข้อมูลบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรเพิ่มเติมได้ที่ https://linktr.ee/sciparkcontent
โทร: 0 5596 8755

คณะแพทย์ ม.นเรศวร ร่วมจัดแสดงนวัตกรรมสุขภาพสร้างอาชีพ

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 คณะแพทย์ ม.นเรศวร ร่วมจัดแสดงนวัตกรรมสุขภาพสร้างอาชีพ “Fibroe jas” และการจัดแสดงอาชีพเสมือนจริง “สาธิตการกู้ชีพฉุกเฉินด้วย AED และการ CPR” โดยทีมกู้ชีพฉุกเฉิน รพ.มน. ในงานมหกรรมอาชีพ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เมืองแผ่นดิน ถิ่นสองแคว ณ อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ม.นเรศวร ถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์

เมื่อวันที่ 24-25 มิถุนายน 2566 นางนิพัทธ์ เกษาพร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มอบหมายให้ นางสาววรรณชลี กุลศรีไชย หัวหน้างานศิลปวัฒนธรรม เป็นวิทยากรในโครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์/บริการ ภายใต้แผนงานยกระดับธุรกิจภูมิภาค (Regional Entrepreneur Upgrade) เพื่อยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจภูมิภาคทุกกลุ่มที่เป็นฐานสำคัญของเศรษฐกิจภูมิภาค (Regional Economy) และนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และงานวิจัย มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้ประกอบการในภูมิภาค ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ตัดเย็บ ตำบลสนามคลี จังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เศรษฐศาสตร์ ว่าด้วยการเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจ”

บัณฑิตวิทยาลัย ขอเชิญนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าผู้สนใจ ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “เศรษฐศาสตร์ ว่าด้วยการเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจ” เพื่อสร้างความรู้และเข้าใจ ในการทำงานของระบบเศรษฐกิจภาคธุรกิจ โดยนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยนราคา และปริมาณดุลยภาพ ในตลาด รวมถึงบทบาทของรัฐบาล ที่มีผลต่อผู้ประกอบการธุรกิจ *อบรมฟรี on-site ณ ห้องเรียน ชั้น 1 บัณฑิตวิทยาลัย

โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภัคจิรา นักบรรเลง อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ม.นเรศวร เป็นวิทยากรในวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2566

ที่มา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขยายเวลารับสมัครอาจารย์ผู้สอนภาษาพม่า

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขยายเวลารับสมัครอาจารย์ผู้สอนภาษาพม่า สังกัดภาควิชาภาษาตะวันออก ครั้งที่ 2/2566 จำนวน 1 อัตรา จำนวน 1 อัตรา

รับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 23 มิถุนายน 2566 รับสมัครทางออนไลน์เท่านั้น
1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
>>> https://shorturl.asia/w5yiO

2. ยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานทางออนไลน์ ได้ที่ Google form
>>> https://forms.gle/vym16zKXgAiupG8W8

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 5596 2041
ที่มา: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Train the Trainer เตรียมความพร้อมสู่การเป็นที่ปรึกษา เสริมทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้และการให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ

IRD Cap Building อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมกิจกรรม Train the Trainer (Consultant) ในวันที่ 18 – 19 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมช้ัน 2 อาคาร D ห้อง D205 อาคารอํานวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)⛰️

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมกิจกรรมอบรม Train the Trainer (Consultant) ที่จัดให้กับที่ปรึกษา 2 ท่าน และเจ้าหน้าที่อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นที่ปรึกษา เสริมทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้และการให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ

โดยมีหัวข้อการบรรยายต่าง ๆ พร้อมกิจกรรม Workshop จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรมต่าง ๆ

  • หัวข้อบรรยาย Transcending Valley of Challenge with Reginal Science Park และ Innovation Thinking in Science-Tech Future โดยผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ ให้เกียรติแนะนำแผนงานการพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการ (IRD Cap Building) และเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ
  • หัวข้อบรรยาย From Professional Consultant to Innovative Entrepreneur โดย ผศ.ดร.สมชาย จอมดวง
  • หัวข้อบรรยาย การวิเคราะห์แนวโน้มของธุรกิจ Business Trend (Analysis Module) โดย รศ.ดร.อภิชาต โสภาแดง ผู้อำนวยการโครงการฯ
  • การบรรยายหัวข้อ Central Platform: Coaching & Consulting โดย รศ.ดร.ศักดิ์เกษม ระมิงค์วงศ์ หัวหน้าโครงการฯ

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ขยายพันธุ์ทุเรียนด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หนุนเกษตรกรสร้างรายได้

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโครงการวิจัยของ “รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท” และคณะ แห่งคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ได้ดำเนินงานวิจัยซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย วช. ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในการศึกษาการขยายพันธุ์ทุเรียนในสภาพปลอดเชื้อด้วยเทคนิคการเพาะ เลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ทุเรียนที่มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ 100% สามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามต้นแม่พันธุ์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขยายพันธุ์ทุเรียนในอนาคต และได้คุณภาพด้านรสชาติที่ตรงตามความต้องการผู้บริโภค

รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท แห่งคณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับการสนับสนุนทุนจาก วช. ในการศึกษาวิจัยการขยายพันธุ์ทุเรียนในสภาพปลอดเชื้อด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมทุเรียนหลงลับแล หลินลับแล และพื้นเมืองคุณภาพดีในเขตภาคเหนือตอนล่าง เริ่มจากการคัดเลือกสายพันธุ์ทุเรียนที่มีอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ พันธุ์ทุเรียนที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต รวมถึงพันธุ์การค้าที่มีชื่อเสียง โดยทุเรียนที่ทำการทดลองมี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ หลงลับแล หลินลับแล และพันธุ์พื้นเมือง และคุณลักษณะทางการเกษตรที่ดีและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำมาขยายพันธุ์ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณได้อย่างทวีคูณ ซึ่งจะส่งผลให้ทุเรียนมีคุณภาพดีสม่ำเสมอ เกษตรผู้ปลูกและผู้ประกอบการได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอีกด้วย

สำหรับประโยชน์ที่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการจะได้รับในการขยายพันธุ์ทุเรียนด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ได้แก่ 1. ได้ทุเรียนที่มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ 100% ที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามต้นแม่พันธุ์ เช่น ลักษณะของเนื้อ รสชาติ คงอัตลักษณ์ทุเรียนชนิดนั้น ๆ เป็นต้น 2. สามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรที่มีความต้องการเพาะปลูกทุเรียนที่มีปริมาณมากในท้องตลาดได้ 3. ส่งเสริมภาคธุรกิจทุเรียนของที่มีอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นที่ ให้มีการเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม และ 4. สามารถสร้างผลิตผลของทุเรียนได้ตรงตามสายพันธุ์และได้คุณภาพด้านรสชาติที่ตรงตามความต้องการผู้บริโภค

ในโอกาสนี้ คณะนักวิจัยได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่สวนประภาพรรณ ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เพื่อเยี่ยมผลผลิตที่ได้จากโครงการฯ โดยมี คุณเนาวรัตน์ มะลิวรรณ เกษตรกรเจ้าของสวนฯ ให้การต้อนรับและให้ความรู้เกี่ยวกับทุเรียนแก่คณะสื่อมวลชนอีกด้วย

คุณเนาวรัตน์ มะลิวรรณ เจ้าของสวนประภาพรรณ เปิดเผยว่า ในนามของสวนประภาพรรณ ต้องขอขอบคุณทาง วช. และ รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท แห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ได้นำองค์ความรู้จากงานวิจัยมาถ่ายทอดให้กับเกษตรกร ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งงานวิจัยจาก ม.นเรศวร ได้มีส่วนช่วยให้การทำสวนทุเรียนประสบความสำเร็จ มีผลผลิตที่ดีขึ้น และสวนประภาพรรณจะเป็นต้นแบบให้กับสวนทุเรียนบริเวณใกล้เคียงได้มาศึกษาความสำเร็จจากการทำสวนทุเรียนตามแนวทางการวิจัยต่อไป

ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมสัมมนา ‘Textile Talk’ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขต LIMEC ยกระดับศักยภาพสุโขทัย สร้างรายได้และอาชีพยั่งยืน

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566, มหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้การนำของ ดร.จารุวรรณ แดงบุบผา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต และ นางนิพัทธ์ เกษาพร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับบุคลากรจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เข้าร่วมการสัมมนา “Textile Talk” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมผ้าทอและวัฒนธรรมในพื้นที่ โดยมีการเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวในเครือข่ายระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC (Lower Mekong Subregion Economic Corridor)โรงแรมสุทัยเทรชเชอร์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสุโขทัย

1. การส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านวัฒนธรรมและหัตถกรรม: การสัมมนาครั้งนี้มีจุดประสงค์หลักในการส่งเสริมการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจวัฒนธรรม ผ่านการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นการยกระดับ เมืองสุโขทัย ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพด้านงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน สถานที่นี้ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือระหว่างพื้นที่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC ซึ่งประกอบด้วยหลายประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

มหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ, ภาคเอกชน, และ ภาคประชาชน ในการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและพื้นที่โดยรอบ ผ่านการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เน้นการเชื่อมโยงกับ งานหัตถกรรมพื้นบ้าน อันเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการที่มีในพื้นที่ พร้อมทั้งสร้างโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

2. การสร้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8): การพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและงานหัตถกรรมในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น งานทอผ้าและศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน นอกจากจะช่วยยกระดับการท่องเที่ยวแล้วยังมีผลต่อการ สร้างงาน และ สร้างอาชีพ ในท้องถิ่น การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะในการทำงานหัตถกรรมทำให้ชุมชนมีโอกาสในการสร้างรายได้จากกิจกรรมเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่เน้น เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นแนวทางสำคัญในการส่งเสริม SDG 8 (การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการทำงานที่ดี) ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนในพื้นที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ลดการพึ่งพาการท่องเที่ยวที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ยั่งยืน หรือการลงทุนภายนอกที่ไม่เกิดประโยชน์กับชุมชนอย่างแท้จริง

3. การส่งเสริมการพัฒนาเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (SDG 11): การสัมมนาครั้งนี้ยังเชื่อมโยงกับ SDG 11 (เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน) โดยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ผสมผสานกับการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น และการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งเสริม การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน การใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นและงานหัตถกรรมเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน แต่ยังช่วยในการสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน

การส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ยังทำให้เมืองสุโขทัยมีโอกาสในการเติบโตในฐานะ เมืองสร้างสรรค์ ซึ่งมีการใช้ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองให้มีความเป็นเอกลักษณ์และดึงดูดนักท่องเที่ยวในระยะยาว การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และสร้างความเชื่อมโยงกับการพัฒนาระยะยาวของเมืองให้ยั่งยืน ถือเป็นการขับเคลื่อน SDG 11 อย่างมีประสิทธิภาพ

4. บทบาทของมหาวิทยาลัยนเรศวรในการพัฒนาที่ยั่งยืน: มหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านการสนับสนุนและการเชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยวและศิลปะท้องถิ่น ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ มหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสร้าง พันธมิตร ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและขยายผลการพัฒนาไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ภายในเขตระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC

การส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะงานหัตถกรรม เช่น การทอผ้า ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่โดยการสร้าง งาน และ อาชีพ ให้กับชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับทั้ง SDG 1 (การขจัดความยากจน) และ SDG 8 (การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน) รวมถึง SDG 11 ที่เน้นการพัฒนาเมืองและชุมชนให้มีความยั่งยืน

ที่มา: กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ส่งเสริมผู้ประกอบการภูมิภาคสู่ตลาดโลก สร้างรายได้ให้ประเทศ

วันที่ 15-16 พฤษภาคม 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้นำผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจ ระดับภูมิภาค ภายใต้แผนงาน “การส่งเสริมผู้ประกอบการภูมิภาคสู่ตลาดโลก” (Regional to Global Platform : R2G) ประจำปี 2566 ณ NSP Exhibition Hall อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)

โดยมีบริษัทที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 6 บริษัท คือ
1. Jengreensnack Co., Ltd.
2. Areeherb Co.,Ltd.
3. Darin laboratories Co., Ltd.
4. Nara Tamarind Co., Ltd.
5. DIN YEN LIMITED PARTNERSHIP
6. Syama Creator Co., Ltd.

โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภวิกา มงคลกิจทวีผล ผู้จัดการโครงการ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ แก่คณะกรรมการ และผู้ประกอบการจำนวน 40 ทีม โดยภายในงานจะเป็นการแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการภูมิภาคจำนวน 8 ทีม เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมส่งเสริม ยกระดับศักยภาพด้านการตลาดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยเครือข่ายความร่วมมือของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคต่อไป

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมผนึกกำลังพัฒนาแผนเศรษฐกิจภูมิภาค ต่อยอดความร่วมมือภาคเอกชน สู่อนาคตที่ยั่งยืน พ.ศ. 2566-2570

ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU SciPark) นำทีมโดย ดร.สราวุธ สัตยากวี รักษาการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชนจาก 3 สถาบัน (กกร.) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้จัดการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน สถาบัน (กกร.) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 1/2566 เพื่อร่วมกันระดมความคิดเห็นและวางแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2570

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้น ณ โรงแรมแกรนด์วิษณุ จังหวัดนครสวรรค์ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับมอบหมายให้ดำเนินการวิเคราะห์และจัดทำ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนระดับภูมิภาค พ.ศ. 2566 – 2570 ระยะที่ 2” ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์สำคัญในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในภูมิภาค พร้อมทั้งเชื่อมโยงภารกิจของภาคเอกชนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาต่าง ๆ ในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคให้มีความยั่งยืนในระยะยาว

แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างนี้เป็นการเน้นการใช้ศักยภาพของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเอกชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนนี้มีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาค ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสำหรับชุมชนท้องถิ่น การใช้ศักยภาพของภาคเอกชนในการสร้างการเติบโตในระยะยาวจะช่วยลดอัตราความยากจนและเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ในภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับ SDG 1: การขจัดความยากจน โดยการเสริมสร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน

การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคจึงไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่การส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสการจ้างงาน การเสริมสร้างอาชีพ และการพัฒนาทักษะของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนสามารถมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในด้านการศึกษา การพัฒนาอาชีพ และการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียม

การประชุมครั้งนี้มีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสนับสนุนการลงทุนใน เทคโนโลยี และ นวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาค การพัฒนานวัตกรรมในภาคธุรกิจท้องถิ่น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีความต้องการในท้องถิ่น เช่น การเกษตรกรรม การผลิตสินค้า OTOP และการท่องเที่ยว จะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับชุมชน

การสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทำให้การผลิตสินค้าหรือบริการมีความยั่งยืน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ยั่งยืน หรือการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นการสนับสนุน SDG 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน โดยการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมในภูมิภาคจะเป็นการสร้างฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงในระยะยาว

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU SciPark) ได้รับการสนับสนุนจากทีมที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากหลายคณะของมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลและวางแนวทางการพัฒนาแผนเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาทักษะในระดับท้องถิ่น โดยการนำองค์ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยมาสนับสนุนการพัฒนาชุมชน ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจ แต่ยังเสริมสร้าง SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ ด้วยการพัฒนาทักษะของบุคลากรในพื้นที่ให้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงานได้มากขึ้น และช่วยเสริมสร้างโอกาสในการเติบโตในอาชีพต่าง ๆ

การเสริมทักษะการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น การตลาด การใช้เทคโนโลยี และการบริหารจัดการธุรกิจ จะช่วยให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงการพัฒนาและโอกาสทางเศรษฐกิจได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจนี้ยังมุ่งเน้นการสร้าง การทำงานที่ดีและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8) โดยการเสริมสร้างโอกาสในการสร้างงานในพื้นที่ รวมถึงการสนับสนุนธุรกิจในท้องถิ่นให้เติบโตและสามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในภูมิภาค เช่น การท่องเที่ยว การเกษตรกรรม การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง จะช่วยเพิ่มการจ้างงานและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีให้กับประชาชนในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างนี้ จะช่วยให้ประชาชนสามารถมีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน โดยเฉพาะในกลุ่มภาคเกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งจะช่วยลดความยากจนและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในภูมิภาค

การประชุมและการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจนี้ยังเป็นการส่งเสริม SDG 17: การสร้างพันธมิตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการร่วมมือกันระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร, ภาครัฐ, ภาคเอกชน, และ ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีการบูรณาการความรู้และทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค การสร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่งระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจะช่วยให้การพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin