ม.นเรศวร ร่วมกับ วช. ส่งมอบเสื้อเกราะกันกระสุน นวัตกรรมจากจากขยะพลาสติก

วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ กองทัพภาคที่ 3 และ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก ซึ่งเป็นผลงานภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” ที่ วช. ให้ทุนสนับสนุนแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล แห่งคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ดำเนินโครงการฯ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้ส่งมอบนวัตกรรมดังกล่าว แก่กองทัพภาคที่ 3 โดยมี พลตรี ประสาน แสงศิริรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็นผู้รับมอบ พร้อมนี้ ศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมพิธีส่งมอบนวัตกรรมดังกล่าวด้วย ณ สโมสรบันเทิงทัพ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก

ศาสตราจารย์ ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวต้อนรับและกล่าวนโยบายด้านการสนับสนุนและผลักดันงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ ว่ามหาวิทยาลัยนเรศวร มีนโยบายในการผลักดัน ส่งเสริม ให้เกิดการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมให้เกิด Research Eco system ที่จะพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ มุ่งส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ และการต่อยอดผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างยั่งยืน สร้างงานวิจัยชั้นแนวหน้าที่มีความหลากหลายตามศักยภาพของนักวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและประเทศ เพื่อมุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ” ซึ่งจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งผู้ทำวิจัย ผู้สนับสนุนทุนวิจัย และผู้ที่นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดการสร้างผลกระทบด้านเศรษฐกิจ และสังคมได้อย่างชัดเจน

นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. เป็นองค์กรหลักด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ที่มีบทบาทสำคัญด้านการขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยขนาดใหญ่ ที่มีความท้าทายและมีเป้าหมายชัดเจน รวมถึงการส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ตลอดจนผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม งานวิจัยนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนเป็นผลสำเร็จของการสนับสนุนนักวิจัยที่ได้รับทุนจาก วช. จนได้ผลงานสร้างสรรค์ยกระดับขยะพลาสติกที่มีจำนวนมาก จากกระบวนการมีส่วนร่วมให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมความปลอดภัยให้กับทหารของประเทศและจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมรายได้ให้กับคนในชุมชนจากการนำเอาขยะจากท้องทะเลมารวมกับผ้าทอมือ อันเป็นสิ่งแทนใจของความรักและความผูกพันของคนในครอบครัวและชุมชนเป็นเกราะป้องกันทหารของประเทศ ผลผลิตและต้นแบบอันเกิดจากการวิจัยครั้งนี้จะก่อให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกและการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทยได้ต่อไป

พลตรี ประสาน แสงศิริรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวว่า ในนามของกองทัพภาคที่ 3 ต้องขอขอบคุณทาง วช. และ ม.นเรศวร ที่เล็งเห็นความสำคัญของงานวิจัยนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน ซึ่งถือว่าเป็นคุณประโยชน์ให้กับกำลังพลของกองทัพบกเป็นอย่างดีในการนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในพื้นที่เสี่ยงภัย ช่วยให้เกิดความปลอดภัย โดยผลผลิตดังกล่าวจะเป็นต้นแบบในการลดขยะโดยเฉพาะขยะพลาสติกที่จะนำไปสู่การจัดการขยะอย่างยั่งยืน นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนนี้จัดทำขึ้นตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการเสื้อเกราะที่มีน้ำหนักเบา มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยได้ และมีราคาถูก สามารถเข้าถึงได้ง่าย และในอนาคตหวังว่าคณะนักวิจัยจะได้พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมนี้ให้ตอบสนองต่อความต้องการและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล หัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่า ม.นเรศวร ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. ในการดำเนินโครงการ “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” มีความสอดคล้องกับแนวทางที่สหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ให้ประเทศต่าง ๆ ภายใต้ทิศทางการพัฒนาประเทศ พ.ศ. 2558 –2573 ในเป้าหมายที่ 12 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดการและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน การสร้างสรรค์นวัตกรรมจากขยะพลาสติกยังตอบสนองยุทธศาสตร์เศรษฐกิจหมุนเวียนชีวภาพอีกด้วย โดยคณะนักวิจัยมีแนวคิดในการนำเอาขยะเหลือใช้กลับมาทำให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้ชุมชน จากการกำจัดขยะมูลฝอยในปี 2562 พบว่าจังหวัดพิษณุโลก ติดอันดับ 1 ใน 6 จังหวัดที่มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่มากที่สุด โดยจำนวนขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ในจังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณ 465.7 ตันต่อวัน โดยนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนถือเป็นผลสำเร็จของโครงการฯ จนได้ผลงานสร้างสรรค์ยกระดับขยะพลาสติกที่มีจำนวนมาก จากกระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ และชุมชน จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยให้กับกองทัพ โดยมีทหารเป็นกำลังสำคัญในการรักษาอธิปไตยของชาติ

สำหรับนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก เป็นผลงานภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” ที่ วช. สนับสนุนทุนแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล แห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะ ดำเนินโครงการฯ ซึ่ง วช. กองทัพภาคที่ 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะนักวิจัย มีความมุ่งมั่นในการผลักดันการดำเนินงานวิจัยนี้ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ซึ่งผลผลิตและต้นแบบอันเกิดจากการวิจัยครั้งนี้จะนำไปสู่การขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนชีวภาพ การจัดการขยะพลาสติกและการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทยได้

ทั้งนี้ คณะนักวิจัยได้ทำการทดสอบนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก โดยการใช้ปืนขนาด 9 มม. และ 11 มม. ณ ค่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จังหวัดพิษณุโลก จากการทดสอบพบว่านวัตกรรมดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันการยิงจากอาวุธปืนขนาด 9 มม. และ 11 มม. ในระยะการยิงที่ 5 เมตร 7 เมตร 10 เมตร และ 15 เมตร ได้เป็นอย่างดี และในอนาคตคณะนักวิจัยจะทำการพัฒนานวัตกรรมฯ ให้สามารถป้องกันอาวุธปืนที่มีประสิทธิภาพสูง อาทิ ปืนเอ็ม 16 หรือปืนอาก้า เพื่อความปลอดภัยของทหารผู้รักษาอธิปไตยของประเทศต่อไป

ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

ลดปริมาณขยะจากท้องทะเล สู่นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest”

มหาวิทยาลัยนเรศวร พัฒนานวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest” ตอบโจทย์ผู้ประกอบการด้านการจัดการขยะ จังหวัดกระบี่ จากขยะพลาสติกเหลือใช้และขยะจากท้องทะเล ภายใต้โครงการวิจัย “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติสนับสนุนทุนวิจัยแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าโครงการ และคณะผู้ร่วมวิจัยได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร นิรัช สุดสังข์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยนันท์ บุญพยัคฆ์ และดร.ศิริกาญจน์ ขันสัมฤทธิ์ ภาควิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ดร.วรชาติ กิจเรณู คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest” จากขยะพลาสติกเหลือใช้

นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน “Upcycle Army Vest” จากขยะพลาสติกเหลือใช้และขยะจากท้องทะเล ภายใต้โครงการวิจัย “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติสนับสนุนทุนวิจัยแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าโครงการ และคณะผู้ร่วมวิจัยได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร นิรัช สุดสังข์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยนันท์ บุญพยัคฆ์ และดร.ศิริกาญจน์ ขันสัมฤทธิ์ ภาควิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ดร.วรชาติ กิจเรณู คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แนวคิด การออกแบบและประยุกต์ใช้งานระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่

ดร.ยอดธง เม่นสิน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการร่วมเป็นวิทยากรร่วมบรรยายในหัวข้อ “แนวคิด การออกแบบและประยุกต์ใช้งานระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ กับพลังงานทดแทนสำหรับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของประเทศ” ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 ณ ห้อง Arnoma โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ ภายในงานสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “การบูรณาการระบบกักเก็บพลังงานร่วมกับพลังงานทดแทน : นโยบาย การวางแผน ออกแบบ วิธีการแก้ปัญหา การปฏิบัติ และการควบคุม” จัดโดยสมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) [IEEE Power & Energy Society (Thailand)]

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดฝึกอบรมปฏิบัติการงานให้กับท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 1 ปีงบประมาณ 2566 หลักสูตร การสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น (9 ใบงาน) ระหว่างวันที่ 9 – 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้กับสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน บุคลากรทางการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี มาเป็นประธานในพิธีเปิด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิษฐ์ภัณฑ์ แคนลา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการบริการวิชาการ เป็นผู้กล่าวรายงาน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคุณชนันต์ติณณ์ เทียนทอง เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ ระดับ 7 มาเป็นวิทยากรร่วมกับคณะที่ปรึกษาศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ฯ มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 17 แห่ง 41 คน

ที่มา: กองส่งเสริมการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดสรรทุนการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งจากแหล่งทุนภายในและภายนอก

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.กรองกาญจน์ ชูทิพย์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานจัดการประชุม คณะทำงานเพื่อพัฒนางานบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร (กลุ่มพัฒนานิสิตและทุนในระดับบัณฑิตศึกษา) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมพิจารณาการพัฒนานิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และการประชาสัมพันธ์การจัดสรรทุนการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งจากแหล่งทุนภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอน ในระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อให้มีความถูกต้อง รวดเร็ว ถูกใจและมีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ก้าวไปสู่ระดับต้นๆ ของกลุ่ม 1

ในการนี้ คณะผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัย และคณะทำงานฯ จากคณะ / วิทยาลัยต่าง ๆ ได้ให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็น และให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม ร้าน MUIWA Home Café and Eatery จังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร

ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL)

วันที่ 2 พฤษภาคม 2566 คณะกรรมการด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ หัวหน้าผู้ตรวจประเมินฯ พร้อมด้วยคณะผู้ตรวจประเมินฯ เข้าตรวจประเมินด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ESPReL Checklist) ตามนโยบายและการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี (พ.ศ.2566 – 2570) ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) “เพื่อเตรียมความพร้อมเชื่อมโยงเรื่องการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการกับการจัดสรรทุนวิจัย วช. สร้างความตระหนักและมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืน มีการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง”

ผศ.วิไลลักษณ์ สวนมะลิ รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ร่วมรับฟังการนำเสนอรายงานการดำเนินงาน ตรวจประเมินโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL) ณ ห้องประชุมเล็ก ชั้น 1 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ซึ่งการตรวจประเมินในครั้งนี้ มีห้องปฏิบัติการ เข้าร่วมการตรวจประเมิน จำนวน 3 ห้อง ได้แก่
1. ห้องปฏิบัติการวิจัยเคมีพื้นฐาน 1
2. ห้องปฏิบัติการชีวอนามัยระดับ 2
3. ห้องปฏิบัติการทางเคมี

โดย….งานจัดการมาตรฐานและเครือข่าย กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับคณะกรรมการด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี มหาวิทยาลัยนเรศวร https://www.mis.research.nu.ac.th/clsc/index.php

ฐานข้อมูลความปลอดภัยห้องปฎิบัติการ ESPReL Knowledge Platform สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม https://labsafety.nrct.go.th/site/index

ที่มา: กองการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำนักงานสีเขียว Green Office

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย ตันรัตนวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสำนักงานสีเขียว Green Office โดยนายรุ่งรัตน์ พระนาค ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ พร้อมด้วยบุคลากรกองอาคารสถานที่เข้าร่วมโครงการกันอย่างพร้อมเพรียง เนื่องจากกองอาคารสถานที่ เป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจสำคัญในการบริหารจัดการด้านกายภาพ และยังเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านที่ 5 ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยยั่งยืน และเป็นการเตรียมความพร้อมในการประเมินสำนักงานสีเขียวในปีงบประมาณ 2567 ของกองอาคารสถานที่

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

หน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ออกให้บริการทางทันตกรรมให้กับประชาชนทั่วไป จำนวน 237 ราย

วันที่ 19 เมษายน 2566 หน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ออกให้บริการทางทันตกรรมให้กับประชาชนทั่วไป จำนวน 237 ราย

โดยแบ่งเป็น อุดฟัน 44 ราย ขูดหินปูน 102 ราย และ ถอนฟัน 91 ราย

ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คลินิกวางแผนครอบครัว มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดบริการคำปรึกษาคุมกำเนิดและวางแผนครอบครัวทุกวันศุกร์ เพื่อสุขภาพครอบครัวที่ดีและยั่งยืน

ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดบริการ วางแผนครอบครัวและคุมกำเนิด เพื่อสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน โดยมีเป้าหมายหลักในการลดอัตราการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม รวมถึงการดูแลสุขภาพของมารดาและเด็กในระยะตั้งครรภ์ ซึ่งสอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 3) ด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้คำปรึกษาและการดูแลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนครอบครัวอย่างปลอดภัยและมีความรู้

บริการวางแผนครอบครัวและคุมกำเนิด โครงการบริการวางแผนครอบครัวและคุมกำเนิดที่จัดขึ้นที่ คลินิกวางแผนครอบครัว แผนกผู้ป่วยนอกสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปและผู้ที่มีความสนใจสามารถเข้ารับคำปรึกษาเกี่ยวกับการคุมกำเนิดและการวางแผนครอบครัว เพื่อให้ทุกคนสามารถเลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับสุขภาพและความต้องการของตนเอง

บริการที่มีให้

  1. การให้คำปรึกษาด้านการคุมกำเนิด
    ผู้ที่เข้ามารับบริการจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านการเลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด, การใช้ถุงยางอนามัย, การฝังยาคุมกำเนิด, การทำหมัน, และวิธีการคุมกำเนิดอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามแต่ละบุคคล ซึ่งจะช่วยให้การคุมกำเนิดเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
  2. การตรวจสุขภาพพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการใช้วิธีการคุมกำเนิด
    ก่อนที่จะเลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม การตรวจสุขภาพพื้นฐานจะช่วยให้แพทย์ทราบถึงสุขภาพของผู้รับบริการและสามารถให้คำแนะนำที่ดีที่สุดได้
  3. การให้คำแนะนำในการวางแผนครอบครัว
    บริการนี้ไม่ได้มุ่งเน้นแค่การคุมกำเนิด แต่ยังมีการให้คำแนะนำในการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม ทั้งในเรื่องของการเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร การดูแลสุขภาพของมารดาในระยะตั้งครรภ์ และการดูแลเด็กทารกในช่วงต้น

เวลาทำการและสถานที่

  • เวลาทำการ: วันศุกร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
  • สถานที่: คลินิกวางแผนครอบครัว แผนกผู้ป่วยนอกสูติ-นรีเวช ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 1 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
  • โทรศัพท์ติดต่อ: 0 5596 5665

การส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิดถือเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพของครอบครัว โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและเด็ก รวมถึงส่งเสริมให้ผู้หญิงสามารถวางแผนชีวิตได้ตามต้องการ การให้บริการนี้ไม่เพียงแค่ช่วยในเรื่องของการคุมกำเนิด แต่ยังมีส่วนในการเพิ่มความรู้และการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ

โครงการบริการนี้สนับสนุน SDG 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี โดยเน้นการให้บริการทางการแพทย์และคำแนะนำที่ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมและมีคุณภาพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการลดอัตราการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม รวมถึงการดูแลสุขภาพมารดาและเด็กในระยะตั้งครรภ์

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวางแผนครอบครัว

  1. การลดความเสี่ยงต่อสุขภาพมารดาและทารก
    การวางแผนครอบครัวช่วยให้มารดาสามารถมีสุขภาพที่ดีขึ้นในการตั้งครรภ์ โดยการเว้นระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายของมารดาฟื้นตัวเต็มที่และลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด
  2. การส่งเสริมความเสมอภาคในการดูแลสุขภาพ
    การให้บริการที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและครอบคลุมช่วยส่งเสริมความเสมอภาคในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มที่อาจมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการคุมกำเนิดและการวางแผนครอบครัวเป็นการส่งเสริมให้ทุกคนสามารถรับทราบข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง
  3. การเพิ่มคุณภาพชีวิตของครอบครัว
    การวางแผนครอบครัวไม่เพียงแต่ช่วยลดการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม แต่ยังช่วยให้ครอบครัวมีความมั่นคงและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและบุตรได้ดีขึ้น เพิ่มโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว

บริการวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิดที่มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดทำขึ้นนี้ ถือเป็นการส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีในทุกกลุ่มประชากร ซึ่งตรงกับ SDG 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี โดยบริการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม แต่ยังส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ ช่วยให้ประชาชนมีชีวิตที่มีคุณภาพและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม

ที่มา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin