ขอเชิญเข้าร่วมอบรมการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำหรับนักวิจัยและผู้ประกอบการ

วันที่ 26 – 27 มกราคม 2566 รูปแบบ Onsite: ห้องประชุมมหามนตรี อาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมหาวิทยาลัยนเรศวร (KNECC) Online: Facebook Live เพจ DRI Naresuan University

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความ

ม.นเรศวร จัดกิจกรรม Food Maker Space Workshop @NU

ระหว่างวันที่ 14 – 15 มกราคม 2566 Food Innopolis เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis: FI) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดกิจกรรม Food Maker Space Workshop @NU : “The Science Behind Bakery” ณ อาคารนวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมดังกล่าว เเละได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.วรสิทธิ์ โทจำปา คณบดีคณะเกษตรทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อมกล่าวถึงที่มาวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม ทั้งนี้ดร.เจษฎา วิชาพร รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและสื่อสารองค์กร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมเปิดงานให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเเละคุณสุธีรา อาจเจริญ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจเมืองนวัตกรรมอาหาร

ในฐานะหน่วยงานเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหาร (FI@NU) และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเบเกอรี่ระดับประเทศ รศ.ดร.นภัสรพี เหลือสกุล คณบดี คณะอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (FI@KMITL) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเข้มข้นฉลอง Food Maker Space Platform ที่พร้อมให้ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจเข้ามาใช้บริการเครื่องมือ อุปกรณ์ ต่างๆ

กิจกรรม workshop ครั้งนี้เน้นการถ่ายทอดความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เบเกอรี่ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่จ.พิษณุโลก และพื้นที่ใกล้เคียง ได้มีความเข้าใจ และมีความรู้เกี่ยวกับในการเลือกใช้ ingredients ประเภทต่างๆ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน วัตถุเจือปนอาหาร ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ประเภทต่างๆ และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านเบเกอรี่ระหว่างหน่วยงานเครือข่าย Food Innopolis อีกด้วย โดยมีอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการ จากม.นเรศวร เข้าร่วมกิจกรรมกว่าสิบท่าน เพื่อนำองค์ความรู้ และประสบการณ์ไปใช้ในการถ่ายทอด และฝึกอบรมผู้ประกอบการในพื้นที่ต่อไปในอนาคต

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 (Onsite)

NuSciPark จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 (Onsite) ภายใต้โครงการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (Brain Power Skill Up) ในวันที่ 9 – 13 มกราคม 2566

🔰 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมดังกล่าว

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 หลักสูตรระยะยาว ที่มีเนื้อหาอัดแน่นกว่า 40 ชั่วโมง ภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (Brain Power Skill Up) ในวันที่ 9 – 13 มกราคม 2566

🌟 วิทยากรประจำหลักสูตร
▪️ ดร.อนุชิต สุขเจริญพงษ์ – กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
▫️ ผศ.ดร.สุรเดช ตัญตรัยรัตน์ – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
▪️ ดร.ชัยยุทธิ์ เจริญผล – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
▫️ นายชิงชัย หุมห้อง – บริษัท แมพพิเดีย จำกัด
▪️ ผศ.ดร.ดวงเดือน อัศวสุธีรกุล – มหาวิทยาลัยนเรศวร
▫️ ดร.พลปรีชา ชิดบุรี – มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

วิทยาลัยนานาชาติ ม.นเรศวร ร่วมจัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดย ดร.ภิสันติ์ ตินะคัต และ Mr. Andris Adhitra อาจารย์ประจำสาขา Event, Hotel and Tourism Management, อาจารย์ศรัณย์พร เกิดเกาะ อาจารย์ประจำสาขา International Business Management พร้อมด้วยบุคลากรวิทยาลัยนานาชาติ ร่วมจัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อและอาชีพ ประจำปีการศึกษา 2566 ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก โดยมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าร่วมกว่า 500 คน

ที่มา: วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เปิดเวทีประชุมนานาชาติระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง-อินโดจีน-เมาะลำไย ครั้งที่ 5

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566, มหาวิทยาลัยนเรศวรภายใต้การนำของ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา พัดเกตุ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้เปิดการประชุมระดับนานาชาติ ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย ครั้งที่ 5 (The 5th LIMEC Academic International Conference) ซึ่งจัดขึ้นโดย คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย การประชุมครั้งนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากนักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ที่มารวมตัวกันเพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีดิจิทัลด้านโลจิสติกส์สำหรับฐานชีวิตใหม่” (Logistics for New Normal with Digital Technology) ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นหลังการระบาดของโรค COVID-19 โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การปรับตัวอย่างรวดเร็วของภาคธุรกิจในภูมิภาคและในระดับโลกหลังวิกฤตได้ผลักดันให้ เทคโนโลยีดิจิทัล กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่มีบทบาทในการเชื่อมโยงการทำธุรกิจ การค้า และการลงทุน ซึ่งสามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตและยั่งยืน

การประชุมครั้งนี้ได้เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการโลจิสติกส์ข้ามแดน โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าและบริการข้ามประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนา โลจิสติกส์ ได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อ SDG 8 (การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการทำงานที่ดี) โดยสามารถสร้างงานและอาชีพใหม่ ๆ และเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

นอกจากนี้ การประชุมครั้งนี้ยังสอดคล้องกับ SDG 1 (การขจัดความยากจน) โดยการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนที่สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทและเขตพื้นที่เศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน การพัฒนาภาคธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้สามารถช่วยลดความยากจนและเสริมสร้างโอกาสทางการงานสำหรับประชาชนในท้องถิ่น

การประชุม LIMEC ครั้งที่ 5 ยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักวิจัย คณาจารย์ และนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา โดยเฉพาะในด้านโลจิสติกส์ ดิจิทัลซัพพลายเชน และการพัฒนาเศรษฐกิจภาคธุรกิจ การประชุมครั้งนี้สะท้อนถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุน SDG 4 (การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต) เนื่องจากเป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ให้กับบุคลากรในภาคธุรกิจและนักศึกษา

การบรรยายพิเศษและการเสวนาครั้งนี้เน้นการใช้ ดิจิทัลทรานฟอเมชั่น ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการทำงานในโลกหลังการระบาด โดยเฉพาะในการ สร้างความยืดหยุ่นให้กับโซ่อุปทาน ในโลกหลังการระบาดของ COVID-19 ซึ่งสามารถช่วยสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจและธุรกิจ การเสวนาเหล่านี้ทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถใช้ในการปรับตัวในสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและพลิกผัน

การประชุมครั้งนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนของมหาวิทยาลัยนเรศวรเผยแพร่งานวิจัยในระดับสากล โดยการเปิดตัว “1st International Journal & Conference of Logistics and Digital Supply Chain” ซึ่งเป็นวารสารวิชาการนานาชาติที่มุ่งเน้นการเผยแพร่ผลงานวิจัยในด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การเปิดตัววารสารนี้ช่วยเพิ่มมาตรฐานทางวิชาการและสร้างโอกาสในการเผยแพร่งานวิจัยทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ในวงกว้าง ซึ่งเป็นการสนับสนุน SDG 4 โดยตรงในการส่งเสริมการศึกษาระดับสูงและการวิจัยที่มีคุณภาพ

มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางของการศึกษาและการวิจัยที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคและระดับโลก โดยการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจใน ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย การประชุมครั้งนี้เป็นการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างสามประเทศหลักที่อยู่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจนี้ และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่

โครงการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ กิจกรรม I&E Boot Camp

วันเสาร์ ที่ 27 สิงหาคม 2565 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ กิจกรรม I&E Boot Camp โดยมี อ.ดร.นพดล จำรูญ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานิสิตและกิจกรรมเพื่อสังคม เป็นวิทยากรในกิจกรรมครั้งที่ 1 กิจกรรมนี้จัดให้นิสิตทั้งสิ้นจำนวน 4 ครั้ง ซึ่งจะช่วยฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้แก่นิสิต ในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (I: Innovation & Information technology) และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (E: Entrepreneurial skills) เพื่อให้นิสิตนำประสบการณ์จากกิจกรรมนี้ไปต่อยอดใช้กับการเรียน การสร้างผลงานโปรเจค การใช้ชีวิต และการมีงานทำ

ที่มา: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จับมือภาคเอกชนปั้นแรงงานป้อนอุตสาหกรรมโลจิสติกส์

นายพงศ์ศิริ ศิริธร ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) เปิดเผยภายหลังลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวรว่า ได้พัฒนาหลักสูตรและบุคลากรร่วมกัน เพื่อปฏิบัติการดิจิทัลแล็บ ในการติดตั้งซอฟต์แวร์ โปรแกรม Transportation Management System และ Warehouse Management System คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน คาดว่า จะใช้ห้องปฏิบัติการภายในปี 66

นอกจากนี้ความร่วมมือดังกล่าว จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีการฝึกงานและการศึกษาที่เน้นปฏิบัติการในหน่วยงาน หรือสหกิจศึกษา โดยจัดโปรแกรมการฝึกงาน ระหว่างคณะฯ และบริษัทเคอรี่ของนิสิตชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ซึ่งทำให้นิสิตจะได้เรียนและทำงานเสมือนกับการเป็นพนักงานจริง รวมทั้งเพื่อการทำวิจัยร่วมกัน ในเรื่องทางบริษัทเคอรี่มีความสนใจเป็นพิเศษ อย่างเช่นเส้นทางรถไฟลาวจีนที่กำลังเป็นที่น่าสนใจในแวดวงโลจิสติกส์ และเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคล การศึกษาดูงาน การแลกเปลี่ยนบุคลากร มาปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงาน

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ จะจัดการฝึกอบรมระยะสั้นและหลักสูตรการศึกษา รวมทั้งความร่วมมือด้านการจัดส่งนิสิตคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนไปปฏิบัติสหกิจศึกษาที่ บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด และคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร

นายวัชรพล สุขโหตุ คณบดีคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นภาคเอกชนที่มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญ ทั้งในด้านซัพพลายเชนโซลูชั่น โลจิสติกส์ การขนถ่ายสินค้า การจัดการคลังสินค้า และการกระจายสินค้าทั่วประเทศ จะเป็นประโยชน์และเป็นโอกาสของคณะฯ ที่จะดำเนินกิจกรรมด้านการวิชาการ การวิจัย รวมถึงการฝึกอบรมระยะสั้น และการสหกิจศึกษา

นอกจากนั้น บริษัท เคอรี่ โลจิสติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ระบบการจัดการคลังสินค้า (WMS) และระบบการจัดการการขนส่ง (TMS) สำหรับการสร้างห้องปฏิบัติการดิจิทัล ของคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อกันทั้ง 2 ฝ่าย เป็นการทำงานร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย

ที่มา: dailynews

ขับเคลื่อนอาชีพ สำหรับคนพิการในยุคโควิดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

🎯 ขอเชิญคณาจารย์ และบุคคลผู้สนใจ ส่งบทความวิจัย และบทความวิชาการ ในสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2565 การขับเคลื่อนอาชีพ สำหรับคนพิการในยุคโควิดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม “Driving occupation for persons with disabilities in the COVID-19 pandemic with technology and innovation”
📍 วันที่ 26 สิงหาคม 2565 จัดแบบ Online และ Onsite ผ่านโปรแกรม ZOOM ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ อุทยานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร📄ส่งบทความได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 7 มิถุนายน 2565กำหนดการรับส่งบทความ https://archdb.arch.nu.ac.th/ncpd/downloads/schedule2022.pdf
📍รายละเอียดเพิ่มเติมhttps://archdb.arch.nu.ac.th/ncpd/homeติดต่อสอบถามได้ที่📞055-962452 (ผู้ประสานงาน คุณกนกพร เอี่ยมละออ)คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร
📨 ncpdnu2022@gmail.com Fax: 055-962554

ม.นเรศวร มุ่งยกระดับศักยภาพเครือข่ายฯ ให้พร้อมในการสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่

วันที่ 13-14 มีนาคม 2565 อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมกิจกรรมเตรียมความพร้อม และเสริมสร้างศักยภาพให้กับเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (Train the Trainer) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ครั้งที่ 3 ภาคเหนือ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมบรรยายแนะนำบทบาทและภารกิจของ TED Fund โดยการจัดงานในครั้งนี้ มีเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) ในพื้นที่ภาคเหนือ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

กิจกรรม Train the Trainer จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ และความเข้าใจถึงกระบวนการสรรหา คัดกรอง และการบ่มเพาะผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยื่นขอรับการสนับสนุนทุนจากกองทุนฯ และที่สำคัญกิจกรรมดังกล่าว เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกองทุนฯ และ TED Fellow ในการสนับสนุน และผลักดันให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยี และนวัตกรรมในประเทศ

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin