เพื่อนพิงใจเวลาท้อ ศูนย์สุขภาวะนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

>>>เปิดเทอมนี้พบกันค่ะ เพื่อนพิงใจเวลาท้อ เวลาเครียดเวลาหาคนคุยด้วยไม่ได้
>>> ทางนี้มีคนคอยรับฟัง และช่วยเหลือน่าาาา
………………………………………………………
พบกับพี่ๆ ใจดี 4 คน >> วันจันทร์ – ศุกร์

– วันจันทร์ พี่เกด >> พี่สาวอารมณ์ดี

ฝีมือทำกับข้าวยืนหนึ่ง พึ่งพิงได้

รอยยิ้มสดใส พร้อมสร้างความสุข

ด้วยบอร์ดเกมส์ อิ่มเอมใจ

เหมือนมีเพื่อนสนิทสุดๆ มานั่งคุยด้วย

– วันอังคาร พี่แหม๋ว>>พี่สาวที่เป็นผู้ให้

ใจเย็น เข้าใจความรู้สึก สุขุมนุ่มลึก

และพร้อมรับฟัง

– วันพุธ/พฤหัส พี่นน>>สบายใจ

เมื่ออยู่ใกล้ อบอุ่น เป็นมิตร ใจดี มีความเป็นแม่สูง

และพร้อมอยู่ข้างๆ ลูกๆ เสมอ

– วันศุกร์ พี่ขวัญ>>กระตือรือร้น รับฟัง

ใส่ใจ ห่วงใย ทุกคน

……………………………………………………..

เวลา 08.30 – 20.00 น. ณ ศูนย์สุขภาวะนิสิต (ห้องขวัญ3)

อาคารขวัญเมือง หอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

…………………………………………………….

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 0-5596-1273 (พี่นน)

ที่มา: ศูนย์สุขภาวะนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดประชุมจัดทำแผนงานและงบประมาณโครงการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด 2566

ดร.จารุวรรณ แดงบุบผา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นประธานการประชุมจัดทำแผนงานและงบประมาณโครงการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เมื่อวันพุธที่ 18 มกราคม 2566 ทั้งนี้ มีสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง เข้าร่วมจำนวน 16 สถาบัน
—————————–
ณ ห้องประชุมเทาแสด อาคารศูนย์แสดงนิทรรศการ และการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมหาวิทยาลัยนเรศวร
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาปลอดผลิตภัณฑ์ยาสูบ

เมื่อวันที่ 19-20 มกราคม 2566 ณ โรงแรมเดอะแกรนด์ริเวอร์ไซด์ จังหวัดพิษณุโลก ดร.จารุวรรณ แดงบุบผาผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเข้าร่วมการประชุมจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาปลอดผลิตภัณฑ์ยาสูบสร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ภาคเหนือตอนล่าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566ทั้งนี้ มีสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง เข้าร่วมจำนวน 23 สถาบัน จัดโดยโครงการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาปลอดผลิตภัณฑ์ยาสูบฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร (แม่ข่าย)

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ตรวจเชื้อโควิดใน ‘น้ำเสีย’ ของเที่ยวบินจีน เฝ้าระวังไวรัสกลายพันธุ์

นวัตกรรมการตรวจเชื้อ ‘โควิด-โอมิครอน-ฝีดาษลิง’ ในน้ำเสีย ที่มาจากเครื่องบิน สนามบิน และชุมชน เครื่องมือเฝ้าระวังโรคระบาดและไวรัสกลายพันธุ์ หลังเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวจีน

รายงานจากหนังสือพิมพ์เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์ ชี้แจงว่า คณะทำงานเฉพาะกิจระหว่างหน่วยงานเพื่อการรับมือโรคโควิด-19 แห่งคณะรัฐมนตรีจีน สั่งให้รัฐบาลท้องถิ่นตรวจน้ำเสียจากบ้านเรือนที่เข้าสู่โรงงานบำบัดน้ำเสีย 

ขณะเดียวกันหลาย ๆ ประเทศ เช่น เบลเยียม แคนาดา ออสเตรีย และออสเตรเลีย ก็มีนโยบายประกาศให้สั่งตรวจ “น้ำเสีย” ของเครื่องบินที่มาจากจีน รวมถึงติดตามการเปลี่ยนแปลงในอัตราการติดเชื้อ ปริมาณไวรัส และทำการถอดลำดับพันธุกรรมไวรัส เพื่อเฝ้าระวังโรคระบาด และเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของไวรัสหลังการเปิดประเทศ

ซึ่งประเทศไทยได้ใช้นวัตกรรมตรวจหาน้ำเสียเพื่อหาเชื้อโควิด-19 และฝีดาษลิงในสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินเชียงใหม่ มาเป็นระยะเวลา 9 เดือน (มกราคม 2565 – กันยายน 2565) และได้มีประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 ว่าจะมีการตรวจเชื้อโควิด-19 ในน้ำเสียจากเที่ยวบินที่มาจากจีนในไตรมาส 2566 นี้ด้วย

โครงการวิจัยดังกล่าวนำร่องจาก “วิจัยว่าการตรวจเศษซากเชื้อ SARS-CoV-2 ในน้ำเสียชุมชน” มีผู้วิจัยคือ ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร งานวิจัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผ่านสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 

ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ ให้สัมภาษณ์กับทางกรุงเทพธุรกิจว่า การตรวจวัดเศษซากเชื้อโควิด-19 โอมิครอน และฝีดาษลิงในน้ำเสียโสโครกจากสนามบินสุวรรณภูมิ ทำได้โดยการตรวจน้ำเสียของสิ่งปฏิกูลจากมนุษย์ 

ได้แก่ อุจจาระหรือปัสสาวะ ที่มาจากผู้โดยสารในเที่ยวบิน ทั้งการใช้ห้องน้ำบนเครื่องบิน และห้องน้ำในสนามบินขาเข้า-ขาออก ซึ่งผลการตรวจอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มกราคม – กันยายน 2565 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะไม่พบเชื้อไวรัส 

ตรวจเชื้อโควิดใน ‘น้ำเสีย’ ของเที่ยวบินจีน เฝ้าระวังไวรัสกลายพันธุ์

นอกจากนี้ ยังใช้การตรวจดังกล่าวกับน้ำเสียในชุมชนต่าง ๆ รวม 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก นครสวรรค์ ตาก และยะลา การตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสในน้ำเสีย สามารถนำไปประยุกต์เพื่อเฝ้าระวังอีกหลาย ๆ ด้าน แบ่งออกเป็นดังนี้

  1. เฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด และแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนเกิดการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน กลุ่มอาคาร (คอนโด) และอาคาร (โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า สถานีขนส่ง ร้านอาหาร สถานที่ราชการ) 
  2. คาดการณ์ (คำนวณอย่างคร่าว ๆ) จำนวนผู้ติดเชื้อทั้งที่แสดงและไม่แสดงอาการในระดับชุมชน หรือกลุ่มอาคาร
  3. ประเมินความจำเป็นที่จะต้องดำเนินมาตรการเข้มงวด เช่น มาตรการล็อกดาวน์บางส่วนของเมือง
  4. ประเมินความสำเร็จของการดำเนินมาตรการ
  5. ประเมินการติดเชื้อในชุมชนที่เพิ่มขึ้นหลังเปิดประเทศ
  6. เฝ้าระวังการติดเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ต่าง ๆ ในชุมชน โดยฉพาะสายพันธุ์อันตรายใหม่ ๆ
  7. ประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนในการลดการติดเชื้อในชุมชน

“ในขณะนี้กำลังพัฒนาเพื่อสามารถตรวจเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ๆ ได้ เช่น ไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ที่ทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบ โดยใช้วิธีการเดียวกันคือ เก็บน้ำเสียมาตรวจไวรัส 4-5 ชนิด” ผศ.ดร.ธนพล กล่าว 

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาวิพากษ์วิจารณ์นิยามของประโยคที่ว่า “การเสียชีวิตจากโควิด-19” ของทางการจีน ซึ่งทาง WHO ระบุว่า สถิติอย่างเป็นทางการของจีนสะท้อนภาพที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวตามโรงพยาบาล หรือตัวเลขผู้เสียชีวิตทั่วประเทศ

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากรายงาน Why monitor wastewater of flights arriving from China for Covid? มองว่า มาตรการตรวจสอบและวิเคราะห์น้ำเสีย จะช่วยเพิ่มข้อมูลที่ขาดหายไปจากจีนได้เป็นอย่างดี “การได้รู้ว่า ผู้โดยสาร 30-50% ที่เดินทางมาจากจีนนั้นติดโควิดอยู่ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในช่วงที่ตัวเลขที่เชื่อถือได้นั้นขาดหายไป”

อย่างไรก็ตาม การเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวเข้ามายังคงต้องใช้เทคนิค RT-PCR และการถอดรหัสสารพันธุกรรมจากตัวอย่างน้ำเสียถือเป็นการป้องกันเชิงรุกที่สำคัญ 

เพราะเมื่อมีการตรวจวินิจฉัยเชื้อได้อย่างรวดเร็วก็จะสามารถแยกผู้ป่วยออกจากสังคมเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทันท่วงที และสามารถลดการแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ และเฝ้าระวังไวรัสที่จะกลายพันธุ์ได้

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

วิจัย ม.นเรศวร พบโรงเรียนจัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่ประจำ ลดนักเรียนทดลองสูบบุหรี่เกือบ 2 เท่า

รศ.ดร.จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยและวิชาการด้านการควบคุมยาสูบ ภาคเหนือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้กล่าวถึงผลงานวิจัยที่ได้ศึกษา ปี 2565 เรื่อง Susceptibility to smoking and determinants among never-smoking high school students: A representative nationwide study in Thailand ว่า ผลการสำรวจนักเรียนทุกภูมิภาคของไทย จำนวน 3,156 คน พบว่า มีนักเรียน 72.4% ระบุว่า เรียนอยู่โรงเรียนที่จัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่แบบเป็นประจำ ในขณะที่เหลืออีก 27.6% ระบุว่า เรียนอยู่ในโรงเรียนที่จัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่แบบนาน ๆ ครั้ง

สำหรับโรงเรียนที่จัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่แบบเป็นประจำมีนักเรียนที่อยากทดลองสูบบุหรี่ 13.6% ในขณะที่โรงเรียนที่จัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่แบบนาน ๆ ครั้ง มีนักเรียนที่อยากทดลองสูบบุหรี่ 23.9% ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า โรงเรียนที่จัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่แบบเป็นประจำมีนักเรียนที่อยากทดลองสูบบุหรี่น้อยกว่าโรงเรียนที่จัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่แบบนาน ๆ ครั้ง เกือบ 2 เท่า เช่นเดียวกับการได้รับข้อความต่อต้านบุหรี่ทางโทรทัศน์หรืออินเตอร์เน็ต ที่พบว่า นักเรียนในกลุ่มที่พบเห็นข้อความต่อต้านบุหรี่แบบเป็นประจำมีสัดส่วนของคนที่อยากทดลองสูบบุหรี่น้อยกว่านักเรียนในกลุ่มที่พบเห็นข้อความต่อต้านบุหรี่แบบนาน ๆ ครั้ง เกือบ 2 เท่า

ดังนั้น อาจจะตอบคำถามที่ว่า กิจกรรมต่อต้านบุหรี่ในโรงเรียนป้องกันนักเรียนไม่ให้สูบบุหรี่ได้จริงหรือไม่ คำตอบก็คือ การจัดกิจกรรมต่อต้านบุหรี่ในโรงเรียนโดยเน้นกิจกรรมที่สร้างการรับรู้ถึงนักเรียนโดยตรงเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง และการรณรรงค์เผยแพร่ข้อความต่อต้านบุหรี่ทางโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ตจึงช่วยป้องกันนักเรียนไม่ให้อยากทดลองสูบบุหรี่ได้จริง

ที่มา : รศ.ดร.จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ และคณะ (2565) อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จากผลงานวิจัยเรื่อง Susceptibility to smoking and determinants among never-smoking high school students: A representative nationwide study in Thailand

สสส. สานพลัง สถาบันยุวทัศน์ฯ ม.นเรศวร จัดกิจกรรมต้อนรับปีใหม่ถึงหน้าหอพัก ชวนนักศึกษามอบของขวัญปีใหม่ให้ตนเอง “สุขภาพแข็งแรง เริ่มต้นด้วยการไม่สูบบุหรี่”

เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565 รศ.แล ดิลกวิทยรัตน์ กรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดเทศกาล “MORNOR OVER HEAT & OVER HEALTH” ประจำปี 2565 กิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ถึงหน้าหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีสุขภาพแข็งแรง รณรงค์ให้นักศึกษาและประชาชนไม่ตกเป็นทาสของบุหรี่ ด้วยการไม่สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อสุขภาพที่ดี และเชิญชวนบอกต่อ สื่อสารพิษภัยของการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าให้กับคนรอบข้าง เพื่อเป็นของขวัญแทนความห่วงใยให้ตนเอง เพื่อนและครอบครัวที่คุณรักในเทศกาลปีใหม่นี้ ทั้งนี้ เป้าหมายและทิศทางการทำงานของสสส. มุ่งเน้นการลดอัตราการบริโภคยาสูบทั้งการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ การลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ของผู้สูบเดิม การดูแลสภาพแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงผลกระทบการสูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า

                     รศ.แล กล่าวว่า ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ 9.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.4 จากจำนวนประชากรทั้งหมด อายุเฉลี่ยที่สูบจนเป็นนิสัยปกติอยู่ที่ 19.7 ปี ส่วนการสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชน อายุ 15-24 ปี อยู่ที่ร้อยละ12.7 ลดลงจากปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 15.4 แม้การสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลง แต่พบว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น พบคนสูบบุหรี่ไฟฟ้า 78,742 คน เป็นเยาวชน 15-24 ปีมากที่สุดคือ ร้อยละ 30.5 กลุ่มเยาวชนควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อประกอบการตัดสินใจต่อการบริโภคยาสูบ เนื่องจากปัจจุบันมีการส่งต่อข่าวปลอม (Fake News) เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าว่าปลอดภัยต่อสุขภาพมากกว่าบุหรี่ชนิดมวน และเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์จำนวนมาก จนเป็นสาเหตุทำให้เด็กและเยาวชนตัดสินใจสูบบุหรี่ไฟฟ้า

                     ด้าน รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า กิจกรรม MORNOR OVER HEAT & OVER HEALTH ประจำปี 2565 จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ของนักศึกษา โดยเฉพาะการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์แสดงออกความสามารถด้านต่าง ๆ เช่น ดนตรี การแสดง หรือความสามารถอื่น ๆ กิจกรรมนี้ถือเป็นพื้นที่เรียนรู้เรื่องสุขภาวะทางกายและสติปัญญา เช่น การเรียนรู้ถึงผลกระทบจากการสูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยนเรศวรคือ การสร้างระบบนิเวศการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยในทุกมิติ (Sustainable Campus Life)

                     ที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามแนวนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่พัฒนาและผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาปลอดบุหรี่ โดยจัดให้มีการรณรงค์ ป้องกัน จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ตลอดจนโครงการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่นิสิตและบุคลากร ซึ่งดำเนินการร่วมกับ สสส. มาอย่างเข็มข้น ทั้งนี้ ยังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาปลอดบุหรี่อย่างต่อเนื่อง

ที่มา: www.thaihealth.or.th , Cable Channel 37HD

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมคอนเสิร์ตหน้าหอ MORNOR Over Heat And Over Health

พื้นที่สร้างสุขสำหรับทุกคน สุขภาพดี = ของขวัญที่ดีที่สุด โดยมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ(สสส.) และ AIS เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565ณ ลานหน้าอาคารขวัญเมือง หอพักนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมให้กำลังใจนักปั่นจักรยานทางไกลระดับโลก เลอแทป พิษณุโลก บาย ตูร์ เดอ ฟร็องส์ 2022

ม.นเรศวร นำนิสิตและอาจารย์ร่วมปฏิบัติหน้าที่เลอแทป พิษณุโลก บาย ตูร์ เดอ ฟร็องส์ 2022 (L’Etape Phitsanulok by Tour de France 2022) ให้บริการวิชาการด้านส่งเสริมการดูแลสุขภาพ โดยร่วมมือกับจังหวัดพิษณุโลก
– Liasion อำนวยความสะดวกนักปั่น โดยอาจารย์และนิสิตวิทยาลัยนานาชาติ พร้อมจิตอาสามหาวิทยาลัยนเรศวร
– บูธดูแลกายภาพบำบัดให้นักปั่นและฟื้นฟูร่างกาย โดยอาจารย์และนิสิตคณะสหเวชศาสตร์
– กองเชียร์สุดมันส์ โดยนิสิตชมรมนันทนาการ และชมรมวงดนตรีลูกทุ่ง NU band มหาวิทยาลัยนเรศวร

เพื่อให้กำลังใจ และสร้างความบันเทิง แก่นักปั่นจักรยานบริเวณจุด START และ FINISH ในงานเทศกาลปั่นจักรยานทางไกลระดับโลก เลอแทป พิษณุโลก บาย ตูร์ เดอ ฟร็องส์ 2022 (L’Etape Phitsanulok by Tour de France 2022) ซึ่งจังหวัดพิษณุโลกเป็นเจ้าภาพในการแข่งขัน ในวันนี้ (4 ธันวาคม 2565) บริเวณหน้าพระราชวังจันทน์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ศูนย์สุขภาวะนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

พร้อมเปิดให้บริการแล้วจร้า >>>พบกันเดือนธันวาคม 2565
เพื่อนพิงใจเวลาท้อ เวลาเครียด เวลาหาคนคุยด้วยไม่ได้>>> ทางนี้มีคนคอยรับฟังและช่วยเหลือน่าาาา…..

………………………………………………….

พบกับพี่ๆ ใจดี 4 คน >> วันจันทร์ – ศุกร์
วันจันทร์ พี่เกด >> พี่สาวอารมณ์ดี ฝีมือทำกับข้าวยืนหนึ่ง พึ่งพิงได้ รอยยิ้มสดใส พร้อมสร้างความสุขด้วยบอร์ดเกมส์ อิ่มเอมใจเหมือนมีเพื่อนสนิทสุดๆ มานั่งคุยด้วย

วันอังคาร พี่แหม๋ว>>พี่สาวที่เป็นผู้ให้ ใจเย็น เข้าใจความรู้สึก สุขุมนุ่มลึก และพร้อมรับฟัง

วันพุธ/พฤหัส พี่นน>>สบายใจเมื่ออยู่ใกล้ อบอุ่น เป็นมิตร ใจดี มีความเป็นแม่สูง และพร้อมอยู่ข้างๆ ลูกๆ เสมอ

วันศุกร์ พี่ขวัญ>>กระตือรือร้น รับฟัง ใส่ใจ ห่วงใย ทุกคน

……………………………………………………..

เวลา 08.30 – 20.00 น. ณ ศูนย์สุขภาวะนิสิต อาคารขวัญเมือง หอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

…………………………………………………….

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 0-5596-1273 (พี่นน)
ที่มา: ศูนย์สุขภาวะนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

การให้บริการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ ตั้งแต่ระยะก่อนคลอด ระยะคลอดและหลังคลอด

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มีภารกิจในด้านการเรียนการสอนและให้บริการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ ตั้งแต่ระยะก่อนคลอด ระยะคลอดและหลังคลอด โดยเห็นว่าคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ “อาศรมเสลา” คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีบริการรักษาโรคฟื้นฟูสุขภาพด้วยทีมแพทย์แผนไทย นวดแผนไทย (แบบราชสำนัก) อบไอน้ำ ประคบสมุนไพร โดยเฉพาะการนวดและประคบหม้อเกลือในสตรีหลังคลอดบุตร ซึ่งมีความสอดคล้องด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับ การจัดการเรียนการสอน รายวิชาสุขภาพและโรคของสตรี 1-2 สำหรับนิสิตแพทย์ชั้นปี 4 จึงได้จัดกิจกรรมให้นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 เข้าศึกษาดูงาน ณ คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ “อาศรมเสลา” คณะสาธารณสุขศาสตร์ เมื่อวันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565

ที่มา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin