ม.นเรศวร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 หลักสูตรระยะยาว ที่มีเนื้อหาอัดแน่นกว่า 40 ชั่วโมง ภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (Brain Power Skill Up) ในวันที่ 9 – 13 มกราคม 2566

🌟 วิทยากรประจำหลักสูตร
▪️ ดร.อนุชิต สุขเจริญพงษ์ – กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
▫️ ผศ.ดร.สุรเดช ตัญตรัยรัตน์ – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
▪️ ดร.ชัยยุทธิ์ เจริญผล – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
▫️ นายชิงชัย หุมห้อง – บริษัท แมพพิเดีย จำกัด
▪️ ผศ.ดร.ดวงเดือน อัศวสุธีรกุล – มหาวิทยาลัยนเรศวร
▫️ ดร.พลปรีชา ชิดบุรี – มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดการแข่งขันการนำเสนอผลงานโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 10 ระดับภูมิภาค (Research to Market : R2M2022

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 อุทยานวิทยาศาตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดการแข่งขันการนำเสนอผลงานโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 10 ระดับภูมิภาค (Research to Market : R2M2022) ณ โรงละคร อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร

🔹โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 9 มหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งหมด 23 ผลงาน
🔸ซึ่งได้รับเกียรติในการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมแข่งขันและนำเสนอผลงานโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M 2022) ครั้งที่ 10

โดย ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวเปิดแข่งขันและนำเสนอผลงาน โดย ดร.ทินกร รสรื่น หัวหน้าโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M)

🔹โดยมีคณะกรรมการตัดสินผลงานในครั้งนี้จำนวน 5 ท่าน ดังนี้
1. ดร.ทินกร รสรื่น หัวหน้าโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M)
2. นายตรีชิต เมธารัตนโชติ CEO & Co-founder Veget Deli
3. นายพัชกร ไทยนิยม ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายส่งเสริมความรู้และความร่วมมือด้าน นวัตกรรมภายนอกองค์กร ศูนย์นวัตกรรม กลุ่ม ซีพี ออลล์
4. นางสาวคณิศรา กาญจนวงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน
5. นางสาวธันยธร จรรยาวรลักษณ์ ผู้จัดการสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน

📍ตัวเเทนทีมนิสิตจากมหาวิทยาลัยนเรศวรมีสมาชิกดังนี้
1. ทีม 5EVER ชื่อผลงาน : ลูกชิ้นไข่ขาว ทีมนิสิตจากคณะเกษตรศาสตร์ฯ สมาชิก นางสาวนฤมล โตสุข นางสาวภูชินากร ปะระวันนา นางสาวเนตรนภา สุ่มประดิษฐ นางสาวสุธีรา อําไพวงษ์ นางสาวปรียาภัทร แก้วมูล
2. ทีม ไปด้วยกันไปได้ไกล ชื่อผลงาน : ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับนักกีฬา สมาชิก นางสาวพิชญ์สินี ฤกษนันทน์ นิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ นางสาวสนัฐญา เมืองแดง นิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ นางสาวสุทธิวรรักษ์ แก้วชมภู นิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ นางสาวบุญญาภา นาคน้อย นิสิตจากคณะบริหารธุรกิจฯ
3. ทีม Perfecttwin DT ชื่อผลงาน : PaperMFresh Underarms Pads ผลิตภัณฑ์แผ่นระงับกลิ่นกายใต้วงแขน ทีมนิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ สมาชิก นางสาวอัชฉรีย์ ผกากรอง นางสาวพัชราภรณ์ อ่ําพรม นางสาวรุ่งรวีวรรณ์ ด้วงเฟื่อง

🎉 ขอแสดงความยินดี กับ ทีมไปด้วยกันไปได้ไกล ชื่อผลงาน : ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับนักกีฬา ได้รับรางวัลชมเชย จำนวนเงิน 5,000 บาท และเป็นตัวแทนระดับภูมิภาค จาก 23 ทีม เข้าร่วมการแข่งขันต่อในระดับประเทศ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร มอบทุนการศึกษา กองทุนการศึกษาเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2565

พิธีมอบทุนการศึกษา กองทุนการศึกษาเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2565 วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม 2565 เวลา 15.00 – 16.30 น. ณ ห้อง Lobby อาคารขวัญเมือง สำนักงานหอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี พ.ศ.2564 มอบทุนการศึกษา สมทบกองทุนการศึกษาเพื่อนิสิต มน.

อขอบพระคุณคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี พ.ศ.2564 ที่ได้มอบทุนการศึกษา สมทบกองทุนการศึกษาเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นจำนวนเงิน 21,062 บาท ทั้งนี้ ท่านผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี นายประจินต์ เมฆสุธีพิทักษ์ เป็นผู้แทนในการส่งมอบ ขอขอบพระคุณทุกท่าน ไว้ ณ โอกาสนี้

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เปิดเวทีประชุมนานาชาติระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง-อินโดจีน-เมาะลำไย ครั้งที่ 5

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566, มหาวิทยาลัยนเรศวรภายใต้การนำของ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา พัดเกตุ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้เปิดการประชุมระดับนานาชาติ ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย ครั้งที่ 5 (The 5th LIMEC Academic International Conference) ซึ่งจัดขึ้นโดย คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย การประชุมครั้งนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากนักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ที่มารวมตัวกันเพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีดิจิทัลด้านโลจิสติกส์สำหรับฐานชีวิตใหม่” (Logistics for New Normal with Digital Technology) ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นหลังการระบาดของโรค COVID-19 โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การปรับตัวอย่างรวดเร็วของภาคธุรกิจในภูมิภาคและในระดับโลกหลังวิกฤตได้ผลักดันให้ เทคโนโลยีดิจิทัล กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่มีบทบาทในการเชื่อมโยงการทำธุรกิจ การค้า และการลงทุน ซึ่งสามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตและยั่งยืน

การประชุมครั้งนี้ได้เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการโลจิสติกส์ข้ามแดน โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าและบริการข้ามประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนา โลจิสติกส์ ได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อ SDG 8 (การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการทำงานที่ดี) โดยสามารถสร้างงานและอาชีพใหม่ ๆ และเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

นอกจากนี้ การประชุมครั้งนี้ยังสอดคล้องกับ SDG 1 (การขจัดความยากจน) โดยการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนที่สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทและเขตพื้นที่เศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน การพัฒนาภาคธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้สามารถช่วยลดความยากจนและเสริมสร้างโอกาสทางการงานสำหรับประชาชนในท้องถิ่น

การประชุม LIMEC ครั้งที่ 5 ยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักวิจัย คณาจารย์ และนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา โดยเฉพาะในด้านโลจิสติกส์ ดิจิทัลซัพพลายเชน และการพัฒนาเศรษฐกิจภาคธุรกิจ การประชุมครั้งนี้สะท้อนถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุน SDG 4 (การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต) เนื่องจากเป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ให้กับบุคลากรในภาคธุรกิจและนักศึกษา

การบรรยายพิเศษและการเสวนาครั้งนี้เน้นการใช้ ดิจิทัลทรานฟอเมชั่น ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการทำงานในโลกหลังการระบาด โดยเฉพาะในการ สร้างความยืดหยุ่นให้กับโซ่อุปทาน ในโลกหลังการระบาดของ COVID-19 ซึ่งสามารถช่วยสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจและธุรกิจ การเสวนาเหล่านี้ทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถใช้ในการปรับตัวในสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและพลิกผัน

การประชุมครั้งนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนของมหาวิทยาลัยนเรศวรเผยแพร่งานวิจัยในระดับสากล โดยการเปิดตัว “1st International Journal & Conference of Logistics and Digital Supply Chain” ซึ่งเป็นวารสารวิชาการนานาชาติที่มุ่งเน้นการเผยแพร่ผลงานวิจัยในด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การเปิดตัววารสารนี้ช่วยเพิ่มมาตรฐานทางวิชาการและสร้างโอกาสในการเผยแพร่งานวิจัยทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ในวงกว้าง ซึ่งเป็นการสนับสนุน SDG 4 โดยตรงในการส่งเสริมการศึกษาระดับสูงและการวิจัยที่มีคุณภาพ

มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางของการศึกษาและการวิจัยที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคและระดับโลก โดยการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจใน ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย การประชุมครั้งนี้เป็นการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างสามประเทศหลักที่อยู่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจนี้ และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่

เด็กๆ แห่แข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ในงานสัปดาห์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร

วันที่ 18 สิงหาคม 2565 ที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ได้จัดงานสัปดาห์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติในส่วนภูมิภาค ภาคเหนือตอนล่างขึ้น ซึ่งบรรยากาศมีน้องๆ นักเรียนจากหลากหลายโรงเรียนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างเดินทางมาร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก
สำหรับการจัดงานครั้งนี้ ทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ ได้ให้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นศูนย์กลางในการจัดงานสัปดาห์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติในส่วนภูมิภาค ภาคเหนือตอนล่าง โดยได้ดำเนินการกิจกรรมระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2565 ภายใต้โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 33 ประจำปี 2565 ในรูปแบบ Onsite และรูปแบบ Online (บางส่วน) โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักมีนักเรียนจาก 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างเดินทางมาร่วมกิจกรรมจำนวนมาก
ในขณะที่ทางร้านค้าที่มาเปิดร้านภายในงาน ระบุว่าปีนี้มีนักเรียนเดินทางมาร่วมกิจกรรมลดน้อยลงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากยังกังวลเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 นอกจากนี้ที่บริเวณตึกฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาควิชาฟิสิกส์ได้จัดการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ไม่จำกัดระดับชั้น ทำให้มีนักเรียนในสังกัดโรงเรียนเขตภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย จ.อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, ตาก, กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, พิจิตร, นครสวรรค์ และอุทัยธานี เข้าร่วมแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ทั้งประเภทร่อนนาน และประเภทแม่นยำ จำนวน 168 คน
สำหรับผู้ที่ชนะการแข่งขัน ประเภทร่อนนาน รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 800 บาท รองชนะเลิศลำดับที่ 1 เงินรางวัล 500 บาท และรองชนะเลิศลำดับที่ 2 เงินรางวัล 300 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร ซึ่งจะมอบให้ผู้เข้าแข่งขันที่ทำสถิติที่ดีที่สุด 20 อันดับด้วยเช่นกัน ส่วนประเภทแม่นยำ รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 800 บาท รองชนะเลิศลำดับที่ 1 เงินรางวัล 500 บาท และรองชนะเลิศลำดับที่ 2 เงินรางวัล 300 บาท ส่วนใบประกาศนียบัตรจะมอบให้ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศเท่านั้น ซึ่งการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับจะเป็นการฝึกให้เด็กๆได้มีสมาธิ มีทักษะในเรื่องรูปทรง ว่าลักษณะไหนเมื่อพับออกมาจะร่อนได้นานที่สุดและร่อนนานที่สุดอีกด้วย

ที่มา: phitsanulokhotnews

ม.นเรศวร เปิดบ้านจัดสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 33

รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 33 ประจำปี 2565 พัฒนาเยาวชนภูมิภาคให้ก้าวไกล ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในหัวข้อ “เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BIO-Circular Green Economy)” โดยจัดระหว่างวันที่ 17 – 19 สิงหาคม 2565 ณ บริเวณคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภายในงานจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การแข่งขันเพื่อคัดเลือกตัวแทน ไปแข่งขันระดับประเทศ การบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิ การจัดนิทรรศการทางวิชาการของทางคณะวิทยาศาสตร์ และจากหน่วยงานและคณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร กิจกรรมให้ความรู้อีกมากมาย รวมไปถึงการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ตลอดจนสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต เพื่อผลิตบัณฑิตคุณภาพ

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่าและศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต เพื่อผลิตบัณฑิตคุณภาพ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วรพรต ยอดเพชร ที่ปรึกษาโครงการรุ่นเยาว์ ด้านการศึกษาเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่องค์การยูเนสโก(ศิษย์เก่าคณะศึกษาศาสตร์ รหัส 55)กรุงเทพมหานคร เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ ทักษะอนาคต: การเรียนรู้และพัฒนาการที่ยั่งยืน (SDGs) มีนิสิตเข้าร่วมรับฟังการบรรยายในครั้งนี้ จำนวน 400 คน ณ ห้องมหาราช อาคารอาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร

โอเคเบตง ถอดประสบการณ์ตรงครูจากผู้ใช้ Q-Info

“…ให้ลองคิดภาพว่าแต่ก่อนครูคนหนึ่งต้องจัดการข้อมูลนักเรียนมากมายแค่ไหน เด็กคนเดียวมีใบ ปพ.1 ถึง ปพ.9 ชั้นหนึ่งมีเด็กกี่คนก็คูณเข้าไป จะหยิบมาใช้แต่ละที เอกสารจิปาถะเหล่านี้ก็กองกระจัดกระจายเต็มโต๊ะ แต่พอข้อมูลเหล่านี้เปลี่ยนเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์ม จากกระดาษย้ายไปอยู่บนหน้าจอ เราเข้าถึงข้อมูลได้เร็วมาก ดูผ่านสมาร์ทโฟนบนฝ่ามือได้เลย ทีนี้จะหาข้อมูลก็ง่าย ประหยัดทรัพยากร หรือวางแผนจัดการทุกอย่างในโรงเรียนก็ทำได้สะดวกขึ้น ที่สำคัญเลยคือลดภาระงานครู ครูก็มีเวลาติดตามแก้ปัญหาให้เด็กใกล้ชิดเป็นรายคนจริง ๆ โอกาสเสี่ยงหลุดมันก็ลดลง จากประสบการณ์ของโรงเรียนเราที่นำมาใช้ ต้องบอกว่ากลไกทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น”

เสียงยืนยันจาก ผู้อำนวยการนิษฐเนตร เทพเกื้อ โรงเรียนบ้านตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา 1 ในโรงเรียนต้นแบบจากโรงเรียนกว่า 1,500 แห่ง ทุกสังกัดทั่วประเทศ ที่นำระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ‘Q-Info’ (Quality Learning Information System) ซึ่งวิจัยและพัฒนาโดย กสศ. และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มาใช้จัดการโรงเรียน และเห็นผลความเปลี่ยนแปลงในเวลาอันสั้น

Q-Info เป็นเครื่องมือติดตามดูแลนักเรียนรายบุคคลในมิติแวดล้อมทุกด้าน(Student Profile) ซึ่งจะบันทึกและแสดงผลการเรียน การเข้าเรียน สุขภาพกาย สุขภาพจิต สถานะเศรษฐกิจ และสถานภาพครอบครัว ออกแบบให้สอดคล้องกับการดำเนินงานภายในโรงเรียน ช่วยครูจัดงานสอนหรืองานทะเบียนวัดผล และเป็นตัวช่วยผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

เมื่อเปลี่ยนเอกสารกองมหึมาเป็นฐานข้อมูลบนฝ่ามือได้ เวลาของครูก็คืนกลับมา

ครูรีซูวัน ดอเลาะ โรงเรียนบ้านตาเนาะแมเราะ เล่าถึงช่วงเวลาเริ่มต้นใช้งาน Q-Info ที่โรงเรียนว่า “เป็นธรรมดาที่พอมีสิ่งใหม่เข้ามา การรับรู้ของบุคลากรก็แตกเป็นสองฝ่าย มีทั้งคนที่ยังไม่เปิดใจ กังวลว่าจะใช้เป็นไหม หรือเครียดว่าต้องทำยังไง กับอีกฝ่ายหนึ่งที่ชำนาญเรื่องเทคโนโลยีมากกว่า พวกนี้จะมองเห็นระบบ เข้าใจขั้นตอน ไปจนถึงตระหนักว่าการนำนวัตกรรมมาใช้ จะส่งผลดีในวันข้างหน้าอย่างไร

“ถ้าจะทำให้ทุกคนเห็นภาพไปทางเดียวกัน มันต้องทำงานเป็นทีม วิธีของโรงเรียนเราคือให้ครูทุกคนได้ทดลองล็อกอิน กรอกข้อมูล จัดลำดับขั้นตอนใช้งาน จากนั้นเราจะแยกคนที่ทำได้กับยังไม่เข้าใจออกจากกัน แล้วให้จับคู่ทำไปพร้อมกัน โดยมีครูแกนนำอีกคนหนึ่งพาทำบนจอใหญ่ ค่อยทำความรู้จักไปทีละเมนู ทีละคุณลักษณะ(Feature) ทีละคุณสมบัติ(Function) พอเริ่มเข้าใจมากขึ้นก็ลองทำซ้ำ ๆ ทีละคน ไม่นานทุกคนก็สามารถทำได้

“แน่นอนว่าช่วงแรกคือตอนเปิดภาคเรียนที่หนึ่ง เราจะเจอความทุลักทุเลอยู่บ้าง มีคนท้อ มีคนไปช้ากว่าคนอื่น แต่เพราะเรามีบัดดี้ที่คอยดูแลไม่ทิ้งกันอยู่ สักพักอุปสรรคก็ค่อย ๆ หมดไป จนเข้าเทอมสอง ผลดีมันค่อย ๆ ปรากฏ ครูเริ่มสบาย คราวนี้เขาเริ่มเห็นแล้วว่าไม่ต้องกรอกข้อมูลซ้ำ ๆ เหมือนเดิม จบปีเก่าผ่านไปถึงปีการศึกษาใหม่ ข้อมูลก็ยังอยู่ จะดึงเอามาใช้ก็ก็อปปี้วางได้เลย สะดวกรวดเร็วมาก ๆ แล้วที่ทุกคนชอบใจคือไม่ต้องหอบแฟ้มเอกสารเล่มหนา ๆ ติดตัวอีกแล้ว แค่พกสมาร์ทโฟนเครื่องเดียวเปิดทำตรงไหนก็ได้ มีข้อมูลอัพเดทเรียลไทม์ เรียกดูและติดตามผลได้ตลอด คือแค่เราเสียเวลายุ่งยากเทอมเดียว แต่จากนั้นโรงเรียนจะมีฐานข้อมูลที่ไม่สูญหาย ไม่ว่าจะผ่านไปอีกสิบหรือยี่สิบปีก็ยังอยู่ตรงนั้น”                   

ครูรีซูวันกล่าวว่า สำหรับครูแล้ว งานเอกสารที่ลดลงเท่ากับการได้ ‘เวลา’ เพิ่มขึ้น ใน 1 วันที่มี 24 ชั่วโมงเท่าเดิม ซึ่งอีกด้านหนึ่งหมายถึงครูมีชั่วโมงสำหรับการจัดเตรียมการสอนมากขึ้น การติดตามเอาใจใส่นักเรียนทีละคนก็ทำได้เต็มที่

“พองานเอกสารลดลง เวลาที่เพิ่มขึ้นมาเราสามารถเอาไปใช้พัฒนาทั้งคุณภาพการเรียนการสอน และปรับปรุงระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ดีขึ้น พอสองสิ่งนี้มีประสิทธิภาพ จำนวนนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหลุดจากระบบก็น้อยลง”

ระบบตรวจจับความเสี่ยง เตือนทันทีก่อนสายเกินแก้

นอกจากลดภาระงานครู Q-Info ยังมีระบบแจ้งเตือนที่ทำให้มองเห็นความผิดปกติของเด็กได้อย่างรวดเร็ว จากการประเมินผ่านตัวชี้วัดต่าง ๆ โดยเมื่อทำการกรอกข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนแล้ว ระบบจะแจ้งเตือนผลตัวชี้วัดของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งครูสามารถนำมาออกแบบแผนการดูแลเด็กเป็นรายคน หรือเป็นรายวิชา

ส่วนเรื่องการติดตามนักเรียน ครูประจำชั้นจะได้รับการประมวลผลข้อมูลจากบันทึกการเข้าเรียนของเด็กในแต่ละวัน ผลที่แสดงจะเป็นข้อมูลเรียลไทม์ซึ่งทั้งครูและผู้บริหารเรียกดูได้ทันที ว่าวันนั้น ๆ นักเรียนขาดกี่คน ใครลาป่วย ลากิจ ใครหยุดเรียนหายไปเฉย ๆ หรือคนไหนที่ขาดเรียนบ่อย ๆ หยุดเกิน 2-3 วันติดต่อกัน ระบบจะแจ้งเตือนทันที เพื่อให้มีการติดตามหรือลงพื้นที่เยี่ยมบ้านรับทราบปัญหา ก่อนจะสายเกินไป

ครูรีซูวันระบุว่า Q-Info คือนวัตกรรมที่ช่วยพัฒนาการเรียนการสอนของครู และเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบในระยะยาวได้โดยตรง ด้วยการบันทึกข้อมูลเชิงลึกที่ละเอียด ครบรอบด้าน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการทำรายงานในแต่ละภาคการศึกษา ก่อนการประชุมทบทวนข้อบกพร่อง และหาแนวทางพัฒนาหลักสูตรที่โรงเรียนใช้ในแต่ละเทอม

“ระบบแสดงให้เราเห็นได้หมด ว่าแต่ละภาคแต่ละเทอม เด็กชั้นหนึ่งห้องหนึ่งมีเกรดเฉลี่ยสูงต่ำอย่างไร ค่าตัวเลขพวกนี้เองที่จะสะท้อนให้เห็นว่าเราต้องปรับปรุงหลักสูตรหรือการเรียนการสอนตรงไหน เพิ่มหรือลดอะไร อะไรคือจุดแข็งจุดอ่อน แล้วบทสรุปที่ได้จากข้อมูลนี้ จะนำมาใช้แก้ปัญหาของโรงเรียนหรือของนักเรียนได้ในทันที รวมถึงยังเป็นข้อมูลอ้างอิงในการจัดสรรงบประมาณของโรงเรียนในภาคเรียนถัดไปได้อีกด้วย”

ผู้อำนวยการนิษฐเนตร กล่าวสรุปว่าการใช้ระบบ Q-Info ในระยะยาว จะกลายเป็นกลไกที่เชื่อมต่อสถานศึกษาทั้งประเทศไว้ด้วยกัน ทำให้การส่งรับข้อมูลหรือส่งต่อเด็กนักเรียนง่ายขึ้น นอกจากนี้ผลดีที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนและนักเรียน ยังทำให้ครูได้เห็นประโยชน์ เห็นคุณค่าที่แท้จริงของข้อมูล และช่วยตอบคำถามไปในตัวว่า ‘เราเก็บข้อมูลของเด็ก ๆ กันไปทำไม’ เพราะสิ่งที่ครูทุกท่านลงใจลงแรงไปนั้น ท้ายที่สุดแล้ว ข้อมูลเหล่านี้เองที่จะกลับมาพัฒนาตัวนักเรียนได้จริง ๆ”

ที่มา: กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ม.นเรศวร ร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาและลอยน้ำ และพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) หรือ IEEE Power & Energy Society (Thailand) ร่วมกับ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร (SGtech) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาและลอยน้ำ และพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนวิชาการจาก พพ., บีโอไอ, กฟผ., กฟภ., กฟน., ผู้ออกแบบและผู้ผลิต, บริษัทผู้ประกอบการ และ สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง โดยมีผู้บริหาร SGtech เข้าร่วมบรรยาย

1. รองศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศสมาร์ตกริดเทคโนโลยีแห่งเอเชียแปซิฟิก SGtech บรรยายในหัวข้อ “ความรู้พื้นฐานการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาและลอยน้ำ”
2. ดร.ยอดธง เม่นสิน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ บรรยายหัวข้อ “ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาร่วมกับแบตเตอรี่และการรับซื้อ – ขายไฟฟ้าแบบ Peer-to-Peer ของ Prosumer ด้วยเทคโนโลยี Blockchain”

โดยงานสัมมนาจัดขึ้น ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 18 – 20 กรกฎาคม 2565
ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin