ม.นเรศวร จัดโครงการบูรณาการ ร่วมมือท้องถิ่นพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน

มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 17) ด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชนท้องถิ่น ผ่านกิจกรรมโครงการบูรณาการการมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ปีที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-22 มกราคม 2566 ณ โรงเรียนวัดโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

ในปีนี้ สภานิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรร่วมกับองค์กรกิจกรรมนิสิตส่วนกลางทั้ง 5 ด้าน ได้จัดกิจกรรมหลากหลายประเภทที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาทั้งในด้านวิชาการ กีฬา ศิลปะ คุณธรรม และการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน โดยได้รับเกียรติจากคุณศิริวรรณ กมลพัฒนะ ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต เป็นประธานเปิดโครงการ และท่านนายกสิทธิศักดิ์ ศรีสง่า นายกเทศมนตรีตำบลโพทะเล รวมถึงท่านผู้อำนวยการธเนศ โกวิทย์ ที่ได้ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

กิจกรรมภายในโครงการประกอบด้วยการบำเพ็ญประโยชน์ เช่น การปรับปรุงทาสีอุปกรณ์เครื่องเล่นเด็ก, การปรับปรุงสนามวอลเลย์บอล, การจัดทำสนามเปตอง, และการสอนเสริมทักษะกีฬาฟุตบอล นอกจากนี้ยังมีการเสริมทักษะด้านวิชาการ โดยการสอนเสริมวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาไทย รวมถึงการจัดทำบอร์ดสื่อการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน

ในด้านศิลปะ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมเรียนรู้การร้อง รำ เต้น ในขณะที่กิจกรรมด้านคุณธรรม ได้จัดทำป้ายความรู้สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเสริมสร้างค่านิยมที่ดีในหมู่นักเรียนและชุมชน

โดยในปีนี้ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1 ถึง ม.3 ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับพี่ๆ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการร่วมมือกับชุมชนและการสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

โครงการนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ มหาวิทยาลัย และชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น โดยเฉพาะในด้านการศึกษาที่มีคุณภาพและการส่งเสริมทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชน

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมจัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์” บนหลังคา (Solar Rooftop)

วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) [IEEE Power & Energy Society (Thailand)] จัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการ“ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop): นโยบาย ข้อกำหนด การใช้โปรแกรมออกแบบ ติดตั้ง ควบคุมและบำรุงรักษา”

โดยมี รศ.ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย ผู้อำนวยการวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี และทีมงาน SGtech ร่วมบรรยายในหัวข้อ“การออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยใช้โปรแกรม PVsys” และหัวข้อ dg “การอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้โปรแกรม PVsys สำหรับออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์”ในวันที่ 23 มกราคม 2566 ณ ห้อง Arnoma โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ

ที่มา: วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการส่งเสริมการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับภาคอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3 หลักสูตรระยะยาว ที่มีเนื้อหาอัดแน่นกว่า 40 ชั่วโมง ภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของบุคลากรภาคอุตสาหกรรม (Brain Power Skill Up) ในวันที่ 9 – 13 มกราคม 2566

🌟 วิทยากรประจำหลักสูตร
▪️ ดร.อนุชิต สุขเจริญพงษ์ – กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
▫️ ผศ.ดร.สุรเดช ตัญตรัยรัตน์ – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
▪️ ดร.ชัยยุทธิ์ เจริญผล – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
▫️ นายชิงชัย หุมห้อง – บริษัท แมพพิเดีย จำกัด
▪️ ผศ.ดร.ดวงเดือน อัศวสุธีรกุล – มหาวิทยาลัยนเรศวร
▫️ ดร.พลปรีชา ชิดบุรี – มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดการแข่งขันการนำเสนอผลงานโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 10 ระดับภูมิภาค (Research to Market : R2M2022

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 อุทยานวิทยาศาตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดการแข่งขันการนำเสนอผลงานโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 10 ระดับภูมิภาค (Research to Market : R2M2022) ณ โรงละคร อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ มหาวิทยาลัยนเรศวร

🔹โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 9 มหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งหมด 23 ผลงาน
🔸ซึ่งได้รับเกียรติในการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมแข่งขันและนำเสนอผลงานโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M 2022) ครั้งที่ 10

โดย ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวเปิดแข่งขันและนำเสนอผลงาน โดย ดร.ทินกร รสรื่น หัวหน้าโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M)

🔹โดยมีคณะกรรมการตัดสินผลงานในครั้งนี้จำนวน 5 ท่าน ดังนี้
1. ดร.ทินกร รสรื่น หัวหน้าโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M)
2. นายตรีชิต เมธารัตนโชติ CEO & Co-founder Veget Deli
3. นายพัชกร ไทยนิยม ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายส่งเสริมความรู้และความร่วมมือด้าน นวัตกรรมภายนอกองค์กร ศูนย์นวัตกรรม กลุ่ม ซีพี ออลล์
4. นางสาวคณิศรา กาญจนวงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน
5. นางสาวธันยธร จรรยาวรลักษณ์ ผู้จัดการสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน

📍ตัวเเทนทีมนิสิตจากมหาวิทยาลัยนเรศวรมีสมาชิกดังนี้
1. ทีม 5EVER ชื่อผลงาน : ลูกชิ้นไข่ขาว ทีมนิสิตจากคณะเกษตรศาสตร์ฯ สมาชิก นางสาวนฤมล โตสุข นางสาวภูชินากร ปะระวันนา นางสาวเนตรนภา สุ่มประดิษฐ นางสาวสุธีรา อําไพวงษ์ นางสาวปรียาภัทร แก้วมูล
2. ทีม ไปด้วยกันไปได้ไกล ชื่อผลงาน : ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับนักกีฬา สมาชิก นางสาวพิชญ์สินี ฤกษนันทน์ นิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ นางสาวสนัฐญา เมืองแดง นิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ นางสาวสุทธิวรรักษ์ แก้วชมภู นิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ นางสาวบุญญาภา นาคน้อย นิสิตจากคณะบริหารธุรกิจฯ
3. ทีม Perfecttwin DT ชื่อผลงาน : PaperMFresh Underarms Pads ผลิตภัณฑ์แผ่นระงับกลิ่นกายใต้วงแขน ทีมนิสิตจากคณะเภสัชศาสตร์ สมาชิก นางสาวอัชฉรีย์ ผกากรอง นางสาวพัชราภรณ์ อ่ําพรม นางสาวรุ่งรวีวรรณ์ ด้วงเฟื่อง

🎉 ขอแสดงความยินดี กับ ทีมไปด้วยกันไปได้ไกล ชื่อผลงาน : ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับนักกีฬา ได้รับรางวัลชมเชย จำนวนเงิน 5,000 บาท และเป็นตัวแทนระดับภูมิภาค จาก 23 ทีม เข้าร่วมการแข่งขันต่อในระดับประเทศ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา ในวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร มอบทุนการศึกษา กองทุนการศึกษาเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2565

พิธีมอบทุนการศึกษา กองทุนการศึกษาเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2565 วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม 2565 เวลา 15.00 – 16.30 น. ณ ห้อง Lobby อาคารขวัญเมือง สำนักงานหอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี พ.ศ.2564 มอบทุนการศึกษา สมทบกองทุนการศึกษาเพื่อนิสิต มน.

อขอบพระคุณคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี พ.ศ.2564 ที่ได้มอบทุนการศึกษา สมทบกองทุนการศึกษาเพื่อนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นจำนวนเงิน 21,062 บาท ทั้งนี้ ท่านผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี นายประจินต์ เมฆสุธีพิทักษ์ เป็นผู้แทนในการส่งมอบ ขอขอบพระคุณทุกท่าน ไว้ ณ โอกาสนี้

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร เปิดเวทีประชุมนานาชาติระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง-อินโดจีน-เมาะลำไย ครั้งที่ 5

เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566, มหาวิทยาลัยนเรศวรภายใต้การนำของ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา พัดเกตุ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้เปิดการประชุมระดับนานาชาติ ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย ครั้งที่ 5 (The 5th LIMEC Academic International Conference) ซึ่งจัดขึ้นโดย คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย การประชุมครั้งนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากนักวิจัย คณาจารย์ นักศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ที่มารวมตัวกันเพื่อผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีดิจิทัลด้านโลจิสติกส์สำหรับฐานชีวิตใหม่” (Logistics for New Normal with Digital Technology) ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นหลังการระบาดของโรค COVID-19 โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การปรับตัวอย่างรวดเร็วของภาคธุรกิจในภูมิภาคและในระดับโลกหลังวิกฤตได้ผลักดันให้ เทคโนโลยีดิจิทัล กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่มีบทบาทในการเชื่อมโยงการทำธุรกิจ การค้า และการลงทุน ซึ่งสามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตและยั่งยืน

การประชุมครั้งนี้ได้เน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการโลจิสติกส์ข้ามแดน โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าและบริการข้ามประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนา โลจิสติกส์ ได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลดีต่อ SDG 8 (การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการทำงานที่ดี) โดยสามารถสร้างงานและอาชีพใหม่ ๆ และเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

นอกจากนี้ การประชุมครั้งนี้ยังสอดคล้องกับ SDG 1 (การขจัดความยากจน) โดยการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนที่สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทและเขตพื้นที่เศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน การพัฒนาภาคธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้สามารถช่วยลดความยากจนและเสริมสร้างโอกาสทางการงานสำหรับประชาชนในท้องถิ่น

การประชุม LIMEC ครั้งที่ 5 ยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักวิจัย คณาจารย์ และนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา โดยเฉพาะในด้านโลจิสติกส์ ดิจิทัลซัพพลายเชน และการพัฒนาเศรษฐกิจภาคธุรกิจ การประชุมครั้งนี้สะท้อนถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุน SDG 4 (การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต) เนื่องจากเป็นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ให้กับบุคลากรในภาคธุรกิจและนักศึกษา

การบรรยายพิเศษและการเสวนาครั้งนี้เน้นการใช้ ดิจิทัลทรานฟอเมชั่น ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการทำงานในโลกหลังการระบาด โดยเฉพาะในการ สร้างความยืดหยุ่นให้กับโซ่อุปทาน ในโลกหลังการระบาดของ COVID-19 ซึ่งสามารถช่วยสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจและธุรกิจ การเสวนาเหล่านี้ทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถใช้ในการปรับตัวในสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและพลิกผัน

การประชุมครั้งนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนของมหาวิทยาลัยนเรศวรเผยแพร่งานวิจัยในระดับสากล โดยการเปิดตัว “1st International Journal & Conference of Logistics and Digital Supply Chain” ซึ่งเป็นวารสารวิชาการนานาชาติที่มุ่งเน้นการเผยแพร่ผลงานวิจัยในด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การเปิดตัววารสารนี้ช่วยเพิ่มมาตรฐานทางวิชาการและสร้างโอกาสในการเผยแพร่งานวิจัยทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ในวงกว้าง ซึ่งเป็นการสนับสนุน SDG 4 โดยตรงในการส่งเสริมการศึกษาระดับสูงและการวิจัยที่มีคุณภาพ

มหาวิทยาลัยนเรศวรยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางของการศึกษาและการวิจัยที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคและระดับโลก โดยการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจใน ระเบียงเศรษฐกิจหลวงพระบาง อินโดจีน และเมาะลำไย การประชุมครั้งนี้เป็นการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างสามประเทศหลักที่อยู่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจนี้ และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่

เด็กๆ แห่แข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ในงานสัปดาห์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร

วันที่ 18 สิงหาคม 2565 ที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ได้จัดงานสัปดาห์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติในส่วนภูมิภาค ภาคเหนือตอนล่างขึ้น ซึ่งบรรยากาศมีน้องๆ นักเรียนจากหลากหลายโรงเรียนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างเดินทางมาร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก
สำหรับการจัดงานครั้งนี้ ทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ ได้ให้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นศูนย์กลางในการจัดงานสัปดาห์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติในส่วนภูมิภาค ภาคเหนือตอนล่าง โดยได้ดำเนินการกิจกรรมระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2565 ภายใต้โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 33 ประจำปี 2565 ในรูปแบบ Onsite และรูปแบบ Online (บางส่วน) โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักมีนักเรียนจาก 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างเดินทางมาร่วมกิจกรรมจำนวนมาก
ในขณะที่ทางร้านค้าที่มาเปิดร้านภายในงาน ระบุว่าปีนี้มีนักเรียนเดินทางมาร่วมกิจกรรมลดน้อยลงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากยังกังวลเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 นอกจากนี้ที่บริเวณตึกฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาควิชาฟิสิกส์ได้จัดการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ไม่จำกัดระดับชั้น ทำให้มีนักเรียนในสังกัดโรงเรียนเขตภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย จ.อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, ตาก, กำแพงเพชร, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, พิจิตร, นครสวรรค์ และอุทัยธานี เข้าร่วมแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ทั้งประเภทร่อนนาน และประเภทแม่นยำ จำนวน 168 คน
สำหรับผู้ที่ชนะการแข่งขัน ประเภทร่อนนาน รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 800 บาท รองชนะเลิศลำดับที่ 1 เงินรางวัล 500 บาท และรองชนะเลิศลำดับที่ 2 เงินรางวัล 300 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร ซึ่งจะมอบให้ผู้เข้าแข่งขันที่ทำสถิติที่ดีที่สุด 20 อันดับด้วยเช่นกัน ส่วนประเภทแม่นยำ รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 800 บาท รองชนะเลิศลำดับที่ 1 เงินรางวัล 500 บาท และรองชนะเลิศลำดับที่ 2 เงินรางวัล 300 บาท ส่วนใบประกาศนียบัตรจะมอบให้ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศเท่านั้น ซึ่งการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับจะเป็นการฝึกให้เด็กๆได้มีสมาธิ มีทักษะในเรื่องรูปทรง ว่าลักษณะไหนเมื่อพับออกมาจะร่อนได้นานที่สุดและร่อนนานที่สุดอีกด้วย

ที่มา: phitsanulokhotnews

ม.นเรศวร เปิดบ้านจัดสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 33

รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 33 ประจำปี 2565 พัฒนาเยาวชนภูมิภาคให้ก้าวไกล ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในหัวข้อ “เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BIO-Circular Green Economy)” โดยจัดระหว่างวันที่ 17 – 19 สิงหาคม 2565 ณ บริเวณคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภายในงานจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การแข่งขันเพื่อคัดเลือกตัวแทน ไปแข่งขันระดับประเทศ การบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิ การจัดนิทรรศการทางวิชาการของทางคณะวิทยาศาสตร์ และจากหน่วยงานและคณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร กิจกรรมให้ความรู้อีกมากมาย รวมไปถึงการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ตลอดจนสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต เพื่อผลิตบัณฑิตคุณภาพ

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่าและศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต เพื่อผลิตบัณฑิตคุณภาพ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.วรพรต ยอดเพชร ที่ปรึกษาโครงการรุ่นเยาว์ ด้านการศึกษาเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่องค์การยูเนสโก(ศิษย์เก่าคณะศึกษาศาสตร์ รหัส 55)กรุงเทพมหานคร เป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อ ทักษะอนาคต: การเรียนรู้และพัฒนาการที่ยั่งยืน (SDGs) มีนิสิตเข้าร่วมรับฟังการบรรยายในครั้งนี้ จำนวน 400 คน ณ ห้องมหาราช อาคารอาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: กองกิจการนิสิต มหาวิยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin