ขับเคลื่อนการดำเนินงานสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University)

วันที่ 23 – 25 สิงหาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ประพิธาริ์ ธนารักษ์ คณะทำงานโครงการฯ พร้อมด้วย นิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่าของวิทยาลัยฯ เข้าร่วมกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อช่วย “ลด” และ “ชดเชย” (lower & offset) การปล่อยคาร์บอนจนเป็นกลางของเครือข่าย C-อพ.สธ. สำหรับสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University) โดยนิสิตและเครือข่ายฯ ได้เรียนรู้ที่มาและความสำคัญของแนวคิดความเป็นกลางทางคาร์บอน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร กิจกรรมชดเชยคาร์บอน แนวทางการประเมินการลด ดูดซับและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และภาคการเกษตร การฝึกปฏิบัติการในการวัดต้นไม้แต่ละประเภท การเก็บข้อมูลต้นไม้ในแปลงตัวอย่าง การคำนวณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ข้อมูลอากาศยานไร้คนขับและเทคโนโลยีอวกาศสำหรับการหามวลชีวภาพ โครงการนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง SGtech คณะเกษตรศาสตร์ฯ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคเหนือตอนล่าง กองส่งเสริมการบริการวิชาการ กองพัฒนาคุณภาพการศึกษา กองอาคารสถานที่ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

ม.นเรศวร เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการ “ฟื้นฟูดินเพื่อเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม”

คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพร่วมจัดการประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ร่วมกับสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ “ฟื้นฟูดินเพื่อเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมสมเด็จพระนเรศวร มหาวิทยาลัยนเรศวร

การประชุมครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ความรู้และนวัตกรรมให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของดินและปุ๋ย โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่งเสริมการปรับตัว สร้างความยืดหยุ่นภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลก และบรรลุการจัดการทรัพยากรดินที่สมดุลและยั่งยืน นอกจากนี้ การประชุมยังมุ่งหวังที่จะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและเพิ่มรายได้ทางการเกษตรผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ

รองศาสตราจารย์ ดร.สรินทิพย์ ตันตาณี รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวในพิธีเปิดว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษาและความเท่าเทียมกันให้กับประชาชนโดยเฉพาะใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย โดยมุ่งผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองความต้องการของสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทรัพยากรดินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีพทางการเกษตรของประชาชนในภูมิภาคนี้ งานนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูทรัพยากรดินร่วมกับภาคีเครือข่าย มุ่งส่งเสริมการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในระบบการผลิตที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าเพิ่ม และลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ยังเน้นการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียและของเสียจากการเกษตร ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูล ทำให้สามารถบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มรายได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรสิทธิ์ โตจำปา คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ภายในงานมีการบรรยายพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญด้านดินที่มีชื่อเสียง นิทรรศการจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การนำเสนอและการฝึกอบรมแก่เกษตรกรในหัวข้อที่กำลังเป็นกระแสต่างๆ

ม.นเรศวร ผนึกกำลังนิคมสร้างตนเองบางระกำฯ จัดประชุมสร้างความเข้าใจในการดำเนินโครงการฯ พร้อมลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมาย

มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมมือกับ นิคมสร้างตนเองบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ในการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการพัฒนาทุนมนุษย์และส่งเสริมอัตลักษณ์ในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะ SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมต่อการสร้างโอกาสในการทำงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจของชุมชนในระยะยาว

การประชุมที่จัดขึ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “ออกหน่วยบริการวิชาการมหาวิทยาลัยนเรศวร” ซึ่งมุ่งเน้นการบูรณาการองค์ความรู้จากคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยในการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชน โดยโครงการนี้เน้นการสร้างมูลค่าในด้านเศรษฐกิจและสังคมในระดับบุคคลและชุมชนที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบนิคมสร้างตนเองบางระกำ โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการเกษตร

1. การพัฒนาทุนมนุษย์และเศรษฐกิจชุมชน (SDG 1, SDG 8) การพัฒนาทุนมนุษย์และเศรษฐกิจชุมชนเป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายสำคัญของการดำเนินโครงการร่วมกับนิคมสร้างตนเองบางระกำ ซึ่งมุ่งเน้นการเสริมสร้างทักษะและความรู้ให้กับสมาชิกในชุมชน เช่น กลุ่มผู้เลี้ยงไก่, กลุ่มผู้ปลูกอ้อย, กลุ่มผู้เลี้ยงปลา, และกลุ่มผู้เลี้ยงสุกร โดยการถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การเกษตรยั่งยืนและการเลี้ยงสัตว์ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับชุมชน ลดความยากจนในพื้นที่ ซึ่งเป็นการสนับสนุน SDG 1: การขจัดความยากจน โดยการให้โอกาสทางการศึกษาที่เสริมสร้างอาชีพและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงาน นอกจากนี้ การพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืนยังช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวและช่วยให้ชุมชนมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ดียิ่งขึ้น

2. การส่งเสริมการเกษตรและการผลิตที่ยั่งยืน (SDG 2, SDG 12) : SDG 2: การขจัดความหิวโหยและความมั่นคงทางอาหาร เป็นเป้าหมายที่ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากโครงการนี้ โดยการส่งเสริมการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารและลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนอาหารในชุมชน การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ยั่งยืนและการใช้วิธีการเลี้ยงสัตว์ที่ลดการใช้สารเคมี จะช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรมีความปลอดภัยและมีคุณภาพสูง

โครงการนี้ยังส่งเสริม SDG 12: การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน โดยการสอนให้เกษตรกรและผู้ประกอบการท้องถิ่นสามารถผลิตสินค้าในแบบที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การใช้วิธีการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ปุ๋ยธรรมชาติ การจัดการน้ำอย่างประหยัด และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ จะช่วยให้การผลิตมีความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3. การพัฒนาแรงงานและการสร้างอาชีพ (SDG 8) โครงการนี้ยังมุ่งเน้นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของบุคลากรในชุมชน โดยการเสริมทักษะทางการเกษตรและการผลิตที่ยั่งยืน เพื่อให้ผู้ประกอบการในชุมชนสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน โครงการนี้ไม่เพียงแต่ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพในระดับบุคคล แต่ยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนโดยรวม

การเสริมสร้างความรู้ด้านการทำธุรกิจและการพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืนมีส่วนช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการสร้างโอกาสในการสร้างอาชีพใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นไปในทิศทางที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการท้องถิ่นให้สามารถพัฒนาอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับ SDG 8: การทำงานที่ดีและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

4. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (SDG 13, SDG 15) โครงการนี้ยังมีเป้าหมายในการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุน SDG 13: การดำเนินการเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ SDG 15: ชีวิตบนบก การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเกษตรยั่งยืนและวิธีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานทดแทน การจัดการขยะในฟาร์ม และการเกษตรที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

5. การสร้างพันธมิตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 17) โครงการนี้ยังเป็นการสร้างความร่วมมือที่สำคัญระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร, หน่วยงานภาครัฐ, และ ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการสนับสนุน SDG 17: การสร้างพันธมิตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการร่วมมือกันนี้ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง การสร้างพันธมิตรระหว่างภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคประชาสังคมเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาและสร้างโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืน

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ 2566

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 นายรุ่งรัตน์ พระนาค ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่เป็นประธานเปิดกิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ 2566 โดยภายในกิจกรรมบุคลากรกองอาคารสถานที่ได้ร่วมกัน พรวนดิน ใส่ปุ๋ย รดน้ำ ตัดแต่งกิ่งไม้และกำจัดวัชพืชในพื้นที่ โดยปุ๋ยอินทรีย์ที่นำมาใช้ในกิจกรรมผลิตจากอินทรีย์ต่างๆ ใบไม้ กิ่งไม้ ผสมกับถ่านชีวภาพ หรือ ไบโอชาร์ (Biochar) ณ ด้านหลังอาคารอุทยานองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ที่มา: กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดยดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้กล่าวต้อนรับและร่วมประชุมกับศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชัย ใจกล้า รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงาน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) โดยสร้างความร่วมมือและเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ประสานงาน การแลกเปลี่ยนวิทยากร การพัฒนาความรู้ รูปแบบการทำงาน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน การหนุนเสริม และสนับสนุนความรู้แก่สมาชิก อพ.สธ.ในการดำเนินงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ณ ห้องประชุมเทาแสด ชั้น 1 อาคารศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน จัดให้มีการประชุมร่วมกับคณะที่ปรึกษาทั้ง 6 ท่านเพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการทำงานร่วมกัน และแผนการดำเนินงานของศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.ทั้ง 2 แห่ง รวมถึงการเข้าร่วมงานจัดนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานทรัพยากรท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ครั้งที่ 7 ปี 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม และการสร้างความร่วมมือและกำหนดทิศทางการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามกรอบของ อพ.สธ. ในปีงบประมาณ 2567 ต่อไป

ที่มา: ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยนเรศวร

ฐานจำลองสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติและความรู้เบื้องต้น วัฏจักรชีวิตการเจริญเติบโตของพืช

รศ.ดร.สิทธิชัย ชูสำโรง รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศและกิจการนิสิต และดร.อนุพงศ์ วงค์ตามี รองคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศ พร้อมทีมคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตคณะเกษตรศาสตร์ฯ ให้การต้อนรับคณะครู บุคลากร และนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1-3 โรงเรียนอนุบาลและประถมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 164 คน ในโอกาสเข้าศึกษาแหล่งเรียนรู้เพิ่มประสบการณ์ของคณะเกษตรศาสตร์ฯ

ในด้านกิจกรรมเรื่อง “ฐานจำลองสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติและความรู้เบื้องต้น วัฏจักรชีวิตการเจริญเติบโตของพืช” พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติการปลูกต้นไม้ ณ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีคณาจารย์จากสาขาวิชาต่างๆ เป็นผู้ให้ความรู้และเปิดประสบการณ์นอกห้องเรียนให้กับเด็ก ๆ อาทิ กิจกรรมให้ความรู้ด้านสิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต เทคโนโลยีทางการเกษตรกับนักเรียน การจำลองการรีดนมวัว การจำลองการปลูกพืชในโรงเรือน การรู้จักผลิตภัณฑ์ที่มาจากสิ่งของตามธรรมชาติ และการได้ลงมือปลูกพืชด้วยตนเอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทักษะรอบด้าน และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีให้กับนักเรียน เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่จะนำไปปรับใช้กับการเรียนในห้องเรียนและรู้จักการสังเกตสิ่งรอบตัวได้ดียิ่งขึ้น

โดยมีคณาจารย์ร่วมให้การต้อนรับและเป็นวิทยากรฐานความรู้ต่างๆ ดังนี้
1. ดร.อนุพงศ์ วงค์ตามี รองคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศ
2. รศ.ดร.สิทธิชัย ชูสำโรง รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศและกิจการนิสิต
3. ผศ.ดร.เทพสุดา รุ่งรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
4. ดร.กัลย์กนิต พิสมยรมย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
5. ผศ.ดร.ภัทรียา พลซา อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
6. ผศ.ดร.สุพรรณิกา อินต๊ะนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
7. ผศ.ดร.วิภา หอมหวล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
8. ผศ.ดร.ปาณิสรา เทพกุศล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร
9. ดร.นุชนาฎ ภักดี อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร

ที่มา: คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร

ม.นเรศวร จัดประกวดภาพถ่ายตามแนวคิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ “Anurak in your mind”

มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร จัดการประกวดภาพถ่ายตามแนวคิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ “Anurak in your mind“ โดยผู้ชนะการประกวดทุกท่านจะได้ขึ้นรับรางวัลในงาน “สืบสานงานสืบ ครั้งที่ 23” ณ ลาน Playground (หน้าหอใน)


โดยกิจกรรมมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากร นิสิต มาร่วมกันปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และร่วมกันดูแลให้สภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยเกิดความยั่งยืน และสะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ สัตว์และต้นไม้ และเกิดความหวงแหนและช่วยกันดูแลให้มหาวิทยาลัยคงความเป็นธรรมชาติที่มีสมบูรณ์สวยงามต่อไป

รางวัลชนะเลิศ ผลงานโดย… นางสาวกรกนก คำแก้ว ( ปอป้าย )
คำบรรยายผลงาน : ทุกคนต่างมีความทรงจำ บางทีต้นไม้เล็กๆอาจเป็นความทรงจำที่ยิ่งใหญ่ของใครหลายๆคน ดังนั้นเราควรอนุรักษ์ความทรงจำควบคู่ไปกับธรรมชาติ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานโดย… นายชานนท์ กิจจารักษ์ ( อ้น )
คำบรรยายผลงาน : ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ที่ต่างแสดงบทบาทและความสำคัญภายในระบบนิเวศแตกต่างกัน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานโดย… นายสิทธา สายบุญตั้ง ( ธาม )
คำบรรยายผลงาน : มีป่าที่สมบูรณ์ ย่อมมีสัตว์ที่สวยงาม ความสมบูรณ์และความสวยงามจะคงอยู่ต่อไป เมื่อเราอนุรักษ์มันด้วยใจ และรักษาไว้ด้วยการกระทำ

รางวัลชมเชย ผลงานโดย… นายอธิราช นันต๊ะเสน ( เต็นท์ )
คำบรรยายผลงาน : เราทุกคนต่างมองเห็นความงดงามของธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระบบนิเวศน์ระหว่างธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ที่อยู่ร่วมกันภายใต้มหาวิทยาลัย ภาพนี้จึงเป็นภาพถ่ายเพื่อนำเสนอถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อมและการให้ความเคารพแก่ธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นการเน้นถึงความสำคัญของระบบนิเวศที่สมดุลและการรักษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

ที่มา: ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร

ร่วมปลูกต้นไม้ (ต้นรวงผึ้ง) ต้นไม้ประจำประจำพระองค์รัชกาลที่ 10

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ นำทีมโดยท่านคณบดี ผู้บริหาร บุคลากร ร่วมกันปลูกต้นไม้ (ต้นรวงผึ้ง) ต้นไม้ประจำประจำพระองค์รัชกาลที่ 10 เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ณ บริเวณหน้าลานเสาเอกคณะฯ

ต้นรวงผึ้ง ถือว่าเป็นพรรณไม้อันทรงคุณค่าและมีเกียรติชนิดหนึ่ง ที่ถูกยกให้เป็นพรรณไม้ประจำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องจากดอกรวงผึ้งจะออกดอกในช่วงเดือนพระบรมราชสมภพพอดี ส่วนสีเหลืองของดอกรวงผึ้งยังเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปลูกต้นรวงผึ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จฯ ไปประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อพระราชทานไว้ให้เป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร

โดยทั่วไปจะเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นรวงผึ้ง” แต่ถ้าหากได้ยินคนเรียก ต้นน้ำผึ้ง ต้นสายน้ำผึ้ง หรือดอกน้ำผึ้ง ก็ไม่ต้องสงสัยไป เพราะชื่อเหล่านี้เป็นชื่อเรียกของคนท้องถิ่นที่มักได้ยินกันบ่อยในแถบกรุงเทพฯ และภาคเหนือ ต้นรวงผึ้ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Yellow star และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm. & Hartono เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบมากในป่าทางภาคเหนือ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-1,100 เมตร

ลักษณะ
ต้นรวงผึ้งจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ความสูงประมาณ 5 เมตร ทนแดด และชอบขึ้นในที่แล้งหรือค่อนข้างแล้ง ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่มมน ออกใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ด้านหน้าใบจะเป็นสีเขียวและหลังใบเป็นสีน้ำตาลนวล ดอกรวงผึ้งส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน และมีสีเหลืองอร่ามดูโดดเด่น ออกดอกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 แฉกคล้ายรูปดาวติดกับโคนกลีบและเป็นฐานรองกระจุกเกสรตัวผู้ ไม่มีกลีบดอก ดอกจะบานได้นาน 7-10 วัน โดยจะผลิดอกในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ส่วนผลของต้นรวงผึ้งมีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร เป็นทรงกลม ผลแห้ง และมีขน

วิธีปลูกและวิธีการดูแล
ต้นรวงผึ้งสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง แต่วิธีปลูกต้นรวงผึ้งที่นิยมมากที่สุดคือ การตอนกิ่ง ด้วยการควั่นกิ่งและลอกเปลือกออก จากนั้นนำดินเหนียวและกาบมะพร้าวชุบน้ำมาหุ้มแผลเอาไว้ ห่อด้วยแผ่นพลาสติกและมัดเชือกปิดมิด ดูแลรดน้ำตามปกติ อาจจะใช้ฮอร์โมนเร่งรากด้วยก็ได้ รอรากงอกออกมาภายใน 2-3 วัน จึงค่อยตัดไปปลูกลงในหลุมดินร่วน เพื่อให้ได้ผลดีแนะนำให้ปลูกในที่กลางแจ้ง เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแดดและทนแล้งได้ดี รดน้ำปานกลาง และปลูกไว้บริเวณแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ต้นก็จะเจริญเติบโตให้ความร่นรื่น ออกดอกสวยงาม แถมใบไม่ร่วงมากด้วย

ที่มา: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร และข้อมูลจาก kapook.com

ม.นเรศวร ร่วมโครงการปลูกต้นไม้ (ต้นรวงผึ้ง) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 10

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 รศ.ดร.นิรัช สุดสังข์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ พร้อมผู้บริหาร เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้ (ต้นรวงผึ้ง) เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร ณ บริเวณพื้นที่แก้มลิงบึงระมาณ อำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก

ต้นรวงผึ้ง ถือว่าเป็นพรรณไม้อันทรงคุณค่าและมีเกียรติชนิดหนึ่ง ที่ถูกยกให้เป็นพรรณไม้ประจำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องจากดอกรวงผึ้งจะออกดอกในช่วงเดือนพระบรมราชสมภพพอดี ส่วนสีเหลืองของดอกรวงผึ้งยังเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปลูกต้นรวงผึ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จฯ ไปประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อพระราชทานไว้ให้เป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร

โดยทั่วไปจะเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นรวงผึ้ง” แต่ถ้าหากได้ยินคนเรียก ต้นน้ำผึ้ง ต้นสายน้ำผึ้ง หรือดอกน้ำผึ้ง ก็ไม่ต้องสงสัยไป เพราะชื่อเหล่านี้เป็นชื่อเรียกของคนท้องถิ่นที่มักได้ยินกันบ่อยในแถบกรุงเทพฯ และภาคเหนือ ต้นรวงผึ้ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Yellow star และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm. & Hartono เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบมากในป่าทางภาคเหนือ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-1,100 เมตร

ลักษณะ
ต้นรวงผึ้งจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ ความสูงประมาณ 5 เมตร ทนแดด และชอบขึ้นในที่แล้งหรือค่อนข้างแล้ง ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่มมน ออกใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ด้านหน้าใบจะเป็นสีเขียวและหลังใบเป็นสีน้ำตาลนวล ดอกรวงผึ้งส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน และมีสีเหลืองอร่ามดูโดดเด่น ออกดอกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 แฉกคล้ายรูปดาวติดกับโคนกลีบและเป็นฐานรองกระจุกเกสรตัวผู้ ไม่มีกลีบดอก ดอกจะบานได้นาน 7-10 วัน โดยจะผลิดอกในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ส่วนผลของต้นรวงผึ้งมีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร เป็นทรงกลม ผลแห้ง และมีขน

วิธีปลูกและวิธีการดูแล
ต้นรวงผึ้งสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง แต่วิธีปลูกต้นรวงผึ้งที่นิยมมากที่สุดคือ การตอนกิ่ง ด้วยการควั่นกิ่งและลอกเปลือกออก จากนั้นนำดินเหนียวและกาบมะพร้าวชุบน้ำมาหุ้มแผลเอาไว้ ห่อด้วยแผ่นพลาสติกและมัดเชือกปิดมิด ดูแลรดน้ำตามปกติ อาจจะใช้ฮอร์โมนเร่งรากด้วยก็ได้ รอรากงอกออกมาภายใน 2-3 วัน จึงค่อยตัดไปปลูกลงในหลุมดินร่วน เพื่อให้ได้ผลดีแนะนำให้ปลูกในที่กลางแจ้ง เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแดดและทนแล้งได้ดี รดน้ำปานกลาง และปลูกไว้บริเวณแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ต้นก็จะเจริญเติบโตให้ความร่นรื่น ออกดอกสวยงาม แถมใบไม่ร่วงมากด้วย

ที่มา: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร และข้อมูลจาก kapook.com

ม.นเรศวร ปลูกจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งต่อต้านการทุจริต

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 คณะนิติศาสตร์ ได้จัดการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ปลูกจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งต่อต้านการทุจริต” โดยได้รับเกียรติจาก นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 360 คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในรายวิชากฎหมายพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต ณ ห้องปราบไตรจักร 43 อาคารปราบไตรจักร 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร และถ่ายทอดสดทางเพจ Facebook Live คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin