ม.นเรศวร Colors of Equality สีสันต์แห่งความเท่าเทียม

ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการ “สาระพัฒน์เพื่อสังคมที่ยั่งยืนปีที่ 1″ หัวข้อ “Colors of Equality สีสันต์แห่งความเท่าเทียม” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 5 ที่มุ่งบรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มบทบาทของสตรีและเด็กหญิงทุกคน (Achieve gender equality and empower all women and girls) ภายในงานมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การประกวดคลิปสั้น TikTok การเดินแบบแฟชั่นโชว์ Gender Neutral Style กิจกรรมตอบปัญหาเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ และบูธกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้และทักษะในหลายมิติ

โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับประโยชน์ทั้งในด้านการพัฒนาความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงจะได้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างสังคมที่ให้ความเคารพในความแตกต่างและความหลากหลาย ทั้งในแง่ของเพศสภาพ บทบาททางสังคม และสิทธิของทุกคน ซึ่งกิจกรรมการประกวดคลิปสั้นบนแพลตฟอร์ม TikTok ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมใช้ความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาทักษะการสื่อสารในรูปแบบที่ทันสมัย ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนหรือการทำงานในอนาคต และการเดินแบบแฟชั่นโชว์ Gender Neutral Style ช่วยให้ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ถึงแนวคิดที่ไม่จำกัดเพศสภาพในการแสดงออกและแต่งกาย เป็นการส่งเสริมความหลากหลายและการยอมรับในสิทธิของแต่ละบุคคล รวมถึงกิจกรรมตอบปัญหาและซุ้มกิจกรรมต่างๆ ยังช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และการทำงานร่วมกันในกลุ่ม ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญในการทำงานและการพัฒนาตนเองในอนาคต

ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ไม่เพียงแค่ส่งเสริมความรู้ทางทฤษฎี แต่ยังช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษา การสร้างสรรค์นโยบายหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมความเท่าเทียม และการทำงานในภาคส่วนต่างๆ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุดมพร ธีระวิริยะกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด โดยจัดขึ้นในวันพุธที่ 18 กันยายน 2567 เวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารคณะสังคมศาสตร์และอาคารคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดกิจกรรม NU Pride & Rainbow Crossing

กิจกรรมแรกก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เราได้ชูประเด็นของ NU Pride ไม่ใช่เป็นเพราะกระแส แต่เรามีสิ่งที่อยากจะสื่อสารกับนิสิต คือ “LGBTQIA+ have the freedom to live their truth without fear!” เพราะเราจะทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับนิสิตทุกคน ที่สามารถแสดงออกถึงความเป็นตนเอง และได้รับการยอมรับ ทั้งนี้เป้าหมายหลักก็คือ เพื่อให้นิสิตมีชีวิตอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข

ขอบคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ จินายน อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในการที่ให้นิสิตสามารถแต่งกายตามเพศสภาพได้ มหาวิทยาลัยนเรศวรมีข้อบังคับ ว่าด้วยเครื่องแต่งกายของนิสิตขั้นปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 ที่นิสิตสามารถแต่งกายตามเพศสภาพได้ โดยให้ถูกต้องตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยเครื่องแต่งกายของนิสิตขั้นปริญญาตรี ซึ่งจุดนั้นเองทำให้เราในฐานะผู้บริหารชุดปัจจุบันอยากจะย้ำจุดยืนของมหาวิทยาลัยในเรื่องนี้ เพราะเรามองว่า การแต่งกายชุดนิสิตตามเพศสภาพคือการแสดงออกถึงเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เราควรเคารพ และเห็นคุณค่าของความหลากหลายที่สวยงาม

กิจกรรมที่เราใช้สื่อสารกับนิสิตคือการจัดกิจกรรม NU Pride & Rainbow Crossing หรือทางม้าลายสายรุ้ง บริเวณหน้าหอพักนิสิต ซึ่งปีนี้นับเป็นครั้งที่ 3 แล้ว เป็นผลงานร่วมกันระหว่างนิสิต คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อสะท้อนความเป็นตัวตนของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ให้ก้าวเดินอย่างภาคภูมิใจสถาบันแห่งนี้ ก้าวข้ามความแตกต่าง และการยอมรับซึ่งกันและกัน และที่สำคัญเราอยากให้นิสิตใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในมหาวิทยาลัยแห่งนี้
ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

การแต่งกายชุดนิสิตตามเพศสภาพคือการแสดงออกถึงเสรีภาพขั้นพื้นฐาน

“การแต่งกายชุดนิสิตตามเพศสภาพคือการแสดงออกถึงเสรีภาพ และความเสมอภาคขั้นพื้นฐานที่เราควรเคารพและเห็นคุณค่าของความหลากหลายที่สวยงาม ”

อาจารย์ต๊อก ดร.จรัสดาว คงเมือง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต ศิษย์เก่าและศิลปวัฒนธรรม

ทาสีถนนทางม้าลายสายรุ้ง

เชิญร่วมกิจกรรม Pride month : ทาสีถนนทางม้าลายสายรุ้ง วันที่ 10 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณหน้าอาคารขวัญเมือง (หอใน)

เพื่อส่งเสริมและให้ความสำคัญด้านความเท่าเทียมและความเสมอภาคภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เป็นพื้นที่ในการแสดงออกด้านความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง โดยมีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย อาจารย์ บุคลากร และนิสิตทำกิจกรรมร่วมกัน

ม.นเรศวร จับมือ สมาคมวิศวกรหญิงไทย (TWEA) จัดงานเสวนา TWEA สัญจร “เตรียมพร้อมทำงานในโลกวิศวกรรมยุคใหม่”

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ สมาคมวิศวกรหญิงไทย (TWEA) จัดงาน TWEA สัญจร ในหัวข้อ “เตรียมพร้อมทำงานในโลกวิศวกรรมยุคใหม่” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ดร. ปิยพรรณ หันนาคินทร์ ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยนเรศวร , กรรมการผู้จัดการบริษัท Operational Energy Group และที่ปรึกษาสมาคมวิศวกรหญิงไทย (TWEA) และ นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมวิศวกรหญิงไทย เป็นผู้ร่วมเสวนา เพื่อแนะแนวและถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานจนถึงเตรียมการวิศวกรรุ่นใหม่และนิสิตที่กำลังจะเข้าสู่ชีวิตการทำงาน ซึ่งในงานนี้มีนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าร่วมมากกว่า 300 คน ณ ห้อง 301 อาคารเอกาทศรถ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร บทบาทสตรีที่มีความเท่าเทียม

วันที่ 7 กันยายน 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวยงค์ จันทรวิจิตร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้ามอบแจกันดอกไม้แสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.พีรยา ภูอภิชาติดำรง ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ณ อาคารบริหาร คณะทันตแพทยศาสตร์

ที่มา: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

รายการ รักไม่รู้โรย เรื่องการเก็บรักษานมแม่

ดำเนินรายการโดย : อาจารย์นิตยา ศรีบัวรมย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร NUradio Naresuan

https://youtu.be/iGwzo_0qo3I

บทบาทสตรี ความเท่าเทียมในรั้วมหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง #คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ ตั้งแต่ วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป

ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการให้ความสำคัญต่อบทบาทสตรีในมหาวิทยาลัยนเรศวร ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารหน่วยงานระดับคณะวิชา

ที่มา: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร บริการวิชาการให้ความรู้สู่ชุมชนแก่มารดาหลังคลอด เรื่อง การดูแลมารดาหลังคลอดและการคุมกำเนิด

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มีภารกิจด้านการเรียนการสอนและให้บริการดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ ตั้งแต่ระยะก่อนคลอด ระยะคลอดและหลังคลอด ซึ่งการจัดการเรียนการสอน รายวิชาสุขภาพและโรคของสตรี 1-2 สำหรับนิสิตแพทย์ชั้นปี 4 ได้จัดกิจกรรมบริการวิชาการให้ความรู้สู่ชุมชน โดยให้นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 ให้ความรู้แก่มารดาหลังคลอด เรื่อง การดูแลมารดาหลังคลอดและการคุมกำเนิด เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. – 11.00 น. ณ หอผู้ป่วยสูติและนรีเวชกรรม ชั้น 6 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา 1 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ NU Pride เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศ

วันที่ 13 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ NU Pride 🏳️‍🌈 เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) โดยมีผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นิสิตจากคณะต่าง ๆ องค์การนิสิต สภานิสิต และจิตอาสาเข้าร่วมทำกิจกรรม บริเวณด้านหน้าอาคารขวัญเมือง โครงการหอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นการต้อนรับน้องใหม่มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2566 ด้วยทางม้าลายสีสดใส ณ หอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ( หอใน )

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin