“PM drop” น้ำยาจับฝุ่น PM 2.5 ที่อยู่ในอากาศ

     วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุม โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดให้มีการแถลงข่าว ผลิตภัณฑ์ “PM drop” ซึ่งเป็นน้ำยาที่มีประสิทธิภาพในการจับฝุ่น PM 2.5 ที่อยู่ในอากาศให้ตกลงมา ซึ่งมีทั้งแบบสูตรเข้มข้นเพื่อผสม และสูตรพร้อมใช้ โดยในองค์ประกอบของน้ำยาเป็นสารที่มาจากธรรมชาติ

     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วธู พรหมพิทยารัตน์ อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า ปัญหาฝุ่น PM (Particulate Matter) เป็นปัญหาสภาพแวดล้อมที่มีความรุนแรงในประเทศไทย เป็นผลมาจากหลายปัจจัย ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงความเป็นอยู่ของมนุษย์ในระยะยาว ปัจจุบันมีการกำหนดค่ามาตรฐาน PM 2.5 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตั้งแต่ปี 2566 พบว่าเกินมาตรฐานทุกปีในหลายพื้นที่ มีสาเหตุมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรม การจราจรและการเผาในที่โล่ง โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่และเขตอุตสาหกรรมที่มีการจราจร หรือการขนส่งหนาแน่นจนประเทศได้ประกาศว่าประเทศไทยมีฤดูฝุ่นเป็นฤดูกาลที่ 4 ซึ่งจากปัญหานี้ทีมวิจัยที่มี ผศ.ดร.ภญ.วธู พรหมพิทยารัตน์ ดร.พญ.อัญพัชญ์ อติพิมลพัชญ์ และทีมผู้ช่วยนักวิจัย ได้ร่วมกันคิดค้นน้ำยา PM drop” ซึ่งมีส่วนผสมที่เป็นสารมาจากธรรมชาติ โดยทดสอบกับชุดอุปกรณ์สำหรับการวัดประสิทธิผลของการลดฝุ่น PM ที่ได้รับการรับรองมาตราฐาน ประกอบด้วย เครื่องก่อฝุ่น สำหรับใช้ที่สร้างฝุ่น เครืองวัดฝุ่นสำหรับใช้ในการวัดประสิทธิผลของน้ำยา แล้วทำการทดสอบภายในอาคาร นอกอาคาร และพื้นที่โล่งกว้าง พบว่าน้ำยา PM drop สามารถลดฝุ่น PM ให้อยู่ได้ในระดับที่ปลอดภัย โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับขนาดและลักษณะของพื้นที่ สำหรับการฉีดพ่นเป็นละอองฝอย ได้แก่ Foggy เครื่องพ่นULC ชุดพ่นหมอก โดรนสำหรับพ่นละลอง โดย Foggy และเครื่องพ่นULCเหมาะสำหรับใช้ลดฝุ่นภายในอาคาร ชุดพ่นหมอกเหมาะสำหรับใช้เป็นม่านกันฝุ่นในอาคาร และโดรน ใช้ในการพ่นละอองสำหรับการสันทนาการหรือกิจกรรมภายนอกซึ่งสามารถใช้ร่วมกับหัวพ่นหมอกได้

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์“PM drop” น้ำยาลดฝุ่น PM ในอากาศ ได้ยื่นขอรับรองสิทธิบัตรพร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.ภญ.วธู พรหมพิทยารัตน์ โทรศัพท์ 08 1671 3839 หรือกองการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา โทรศัพท์ 0 5596 8727

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร แถลงข่าว “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เจลเปลี่ยนสีผมที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบสัก” พร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดงานแถลงข่าวในประเด็น “ม.นเรศวร คิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เจลเปลี่ยนสีผมที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบสักพร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศรี เจริญสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าว ได้รับการจดเป็นอนุสิทธิบัตร 2 ฉบับ ได้แก่ “ผลิตภัณฑ์เจลเปลี่ยนสีผม” และ “ผลิตภัณฑ์ครีมนวดเปลี่ยนสีผม” จึงมีความพร้อมต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ตามวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยนเรศวร “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ” ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุม Mini Conference กองบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ยกระดับธุรกิจของสถานประกอบการ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัดเย็บผ้า

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2566 งานบ่มเพาะธุรกิจอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมที่ 3 ภายใต้โครงการ “การทดสอบตลาด” เพื่อถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การตลาดเชิงสร้างสรรค์” โดยมุ่งเน้นการช่วยพัฒนาความสามารถด้านการตลาดของผู้ประกอบการท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ตัดเย็บผ้า ตำบลสนามคลี อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ภายใต้แผนงาน “ยกระดับธุรกิจภูมิภาค” (Regional Entrepreneur Upgrade) ซึ่งเป็นการสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่นให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างทักษะในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดและการจัดแสดงผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ดร.สุภรวดี ตรงต่อธรรม จากคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร และนางสาววรรณชลี กุลศรีไชย หัวหน้างานศิลปวัฒนธรรม กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งได้ถ่ายทอดแนวทางการตลาดที่สร้างสรรค์และมีนวัตกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตลาดและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การยกระดับธุรกิจท้องถิ่นและการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี
การฝึกอบรมครั้งนี้ไม่ได้มุ่งเน้นแค่การให้ความรู้ในเรื่องการตลาดเท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และทำให้ธุรกิจของตนเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยการนำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในการผลิตและการตลาด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจท้องถิ่นในการแข่งขันกับธุรกิจระดับชาติและระดับสากล

สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 4):

  1. SDG 4: การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    โครงการนี้ได้ให้ความรู้ที่มีคุณภาพและการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้งในด้านการวางแผนกลยุทธ์การตลาดและการใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะช่วยยกระดับความรู้และทักษะของผู้ประกอบการท้องถิ่น รวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในทุกช่วงวัยให้สามารถแข่งขันในเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
  2. SDG 8: การจ้างงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
    การฝึกอบรมนี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและส่งเสริมการสร้างงานที่มีคุณค่า การส่งเสริมธุรกิจในระดับท้องถิ่นจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถขยายฐานลูกค้าและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
  3. SDG 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน
    การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในกระบวนการผลิตและการตลาด เป็นการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศที่ส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถพัฒนาและเติบโตได้ โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์
  4. SDG 12: การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน
    การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของตลาด ในขณะเดียวกันยังคำนึงถึงความยั่งยืนในการผลิตและการใช้ทรัพยากร ซึ่งการฝึกอบรมในครั้งนี้ยังเน้นไปที่การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

เสริมสร้างโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการฝึกอบรมและการสนับสนุนจากอุทยานวิทยาศาสตร์
การจัดกิจกรรมนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการนำหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ในระดับท้องถิ่น โดยการเสริมสร้างทักษะและความรู้ในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการในพื้นที่อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การสนับสนุนด้านการตลาดและการใช้เทคโนโลยี จะช่วยให้ธุรกิจในท้องถิ่นสามารถเติบโตและแข่งขันได้ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นต้องอาศัยการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง การใช้นวัตกรรม และการสร้างธุรกิจที่มีความยั่งยืน!

4o mini

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร กระตุ้นให้นิสิตได้พัฒนาทักษะ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : R2M)

NU SciPark จัด Research to Market : R2M ครั้งที่ 11 เฟ้นหา 3 ทีมสุดต๊าช เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าร่วมแข่งขันต่อในรอบระดับภูมิภาค

วันที่ 23 กันยายน 2566 NU SciPark จัดกิจกรรมการแข่งขันโครงการ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market : R2M) ครั้งที่ 11” ระดับมหาวิทยาลัย เพื่อกระตุ้นให้นิสิตได้มีโอกาสพัฒนาทักษะ และนำเอาความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยสนับสนุนเงินทุน เพื่อเป็นแรงจูงใจและกระตุ้นให้นิสิตทำการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง อันจะเป็นการสร้างเวทีสำหรับนิสิตในการพัฒนาความรู้สู่การเป็นนักวิจัยระดับอาชีพต่อไป อีกทั้งยังสอดคล้องกับนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านวิจัยของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการเป็นเตรียมพร้อมด้านการศึกษาและเศรษฐกิจของไทย โดยมี ดร.พิสุทธิ์ อภิชยกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน และมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ วรรณฤมล กีเยลาโรว่า ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้กล่าวรายงาน

ในกิจกรรมการแข่งขันนี้ มีทีมนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันนำเสนอความเป็นไปได้ทางธุรกิจ จำนวน 14 ทีม โดยได้คัดเลือกเพียง 3 ทีม เพื่อเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยนเรศวรเข้าร่วมการแข่งขันรอบระดับภูมิภาค ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในเดือนพฤศจิกายน 2566

สำหรับผลการแข่งขันทีมที่ผ่านเข้ารอบ ได้แก่
– รางวัลชนะเลิศ ผลงาน “PAWER UP อาหารสุขภาพจากโปรตีนไข่ขาวสำหรับสุนัข” จากคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ผลงาน “เซ็ตผลิตภัณฑ์แอนติแอคเน่จากสารสกัดไมยราบ” จากคณะเภสัชศาสตร์
– รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ผลงาน “Hemp Plast” จากคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร

นอกจากนี้ ยังมีรางวัลชมเชย เพื่อเป็นกำลังใจให้กับน้องๆอีก 2 รางวัล
– รางวัลชมเชย ผลงาน “ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากรูปแบบแกรนูล” จากคณะเภสัชศาสตร์
– รางวัลชมเชย ผลงาน “Love Furniture Application แอปพลิเคชั่นมือถือสำหรับซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม” จากคณะวิทยาศาสตร์

NU SciPark ขอเป็นกำลังใจและร่วมส่งแรงเชียร์น้อง ๆ ในการแข่งขันรอบระดับภูมิภาคต่อไป
ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

NU Scipark จัดอบรมให้ความรู้ด้านแผนธุรกิจฯ ภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M 2023)

ติวเข้ม~เข้ม 15 ทีมที่ผ่านการคัดเลือก ก่อนการประกวดแข่งขันและนำเสนอผลงานโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M 2023) ครั้งที่ 11ระดับมหาวิทยาลัย 23 กันยายนนี้

วันที่ 17 กันยายน 2566 NU Scipark จัดอบรมให้ความรู้ด้านแผนธุรกิจ และการตลาด ภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (R2M 2023) ครั้งที่ 11 เพื่อสร้างความเข้าใจด้าน Business Model Canvas (BMC) ร่วมถึงเทคนิคการนำเสนอผลงาน ณ หอประชุมมหาราช 2 อาคารศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวร

ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนธุรกิจและการตลาด 2 ท่าน ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในครั้งนี้ ได้แก่- – ผศ.ดร.เรืออากาศเอกหญิงวชิรา พันธุ์ไพโรจน์ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจฯ
– ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ และรองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา: ทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ร่วมอบรมแบบเข้มข้นในกิจกรรม BCG INNOVATIVE BUSINESS INCUBATION : “Network Development Project for Globalization”

วันที่ 6 -11 กันยายน 2566 NU SciPark ม.นเรศวร นำทีม โดย ดร.ปัญญวัณ ลำเพาพงศ์ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมบุคลากร เข้าร่วมอบรมในโครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรม BCG สู่สากล BCG INNOVATIVE BUSINESS INCUBATION : “Network Development Project for Globalization” เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมเกษตร ภายใต้แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี ระหว่างเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคของประเทศไทย กับมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเบงเก็ต ประเทศฟิลิปปินส์ ณ ห้องประชุม 311 อาคาร 75ปี แม่โจ้ คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

ภายในงานจัดให้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ภาพรวมการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีในประเทศไทย” เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจถึงความสำคัญของภารกิจอุทยานวิทยาศาสตร์ในการผลักดันการนำผลงานวิจัยไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ โดย ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช สำนักงานปลัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “BCG Model : From Local to Global” เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่สากลอย่างยั่งยืน โดย ผศ. ดร.เกษมศักดิ์ อุทัยชนะ รองผู้อำนวยการ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กิจกรรม “Icebreaking และ Network Community Sharing (สร้างเครือข่าย ขยายความร่วมมือ)” โดยมี อาจารย์ ดร.พนมพร เฉลิมวรรณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และนายวิรวัฒน์ ญาณวุฒิ อาจารย์พิเศษ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การพัฒนาธุรกิจเกษตรและอาหารจากชุมชนสู่ตลาดโลก” (From Local Farmer to Global Market) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสู่ระดับสากล รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับเกษตรกรในชุมชนให้เกิดการขับเคลื่อนร่วมกับธุรกิจ โดย คุณณลี อายุ จือปา ผู้ก่อตั้งอาข่าอาม่า (AKHA AMA COFFEE)

บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การวิเคราะห์และวิจัยทางการตลาด (Market Analysis and Market Research Workshop)” เพื่อใช้เครื่องมือในค้นหาความต้องการของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน แล้วนำมาวิเคราะห์สู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สู่ตลาด โดย อาจารย์นนท์ ปิ่นเงิน รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การออกแบบและพัฒนาแผนธุรกิจสำหรับบริการด้านการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม” (Business Model Design for Technology and innovation Business Incubation) โดย คุณภัทราภรณ์ กันยะมี ผู้ก่อตั้งบริษัท เดอะลิตเติ้ล ออนเนี่ยน แฟคทอรี่ จำกัด

อบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การคัดกรองแนวความคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการแก่ลูกค้า” (Ideas Filtration) และหัวข้อ “เครื่องมือปรับปรุงกระบวนการให้บริการด้วย Service Blueprint” โดย ดร.ก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์ ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจใหม่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคัล จำกัด (มหาชน)

ปิดท้ายด้วย กิจกรรมศึกษาดูงาน เรียนรู้การผลิต การบริหารจัดการธุรกิจแปรรูป ณ บริษัท ปริ๊นเซส ฟูดส์ จำกัด

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ม.นเรศวร ยกระดับธุรกิจของสถานประกอบการ วิสาหกิจชุมชน

NU SciPark นำทีมวิทยากรลงพื้นที่ให้คำปรึกษาในกิจกรรมยกระดับธุรกิจของสถานประกอบการ วิสาหกิจชุมชนไบรท์อัพน้ำแร่เมืองกำแพงเพชร

วันที่ 15 กันยายน 2566 งานบ่มเพาะธุรกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการจัดการธุรกิจ โดยคุณบุณย์สุภางค์ สุวรรณธเนศ ลงพื้นที่ให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนไบรท์อัพน้ำแร่เมืองกำแพงเพชร ในเรื่องกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำแร่ Pesila ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการตลาด ด้านการสื่อสารตลาด ด้านการส่งเสริมตลาด ด้านกระบวนการ ด้านการเข้าถึงและได้มาซึ่งลูกค้า ด้านดารบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้าของแบรนด์ Pesila

โครงการยกระดับความพร้อมของเทคโนโลยี และส่งเสริมระบบนิเวศสำหรับสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ และโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน ววน. และการให้บริการด้านเทคโนโลยี

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

NU SciPark นำวิทยากรลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้จากแป้งกล้วยน้ำว้า ตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

วันที่ 14 กันยายน 2566 งานบ่มเพาะเทคโนโลยีและนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร และวิทยากรโดย ผศ.ดร.ศศิวิมล จิตรากร ดร.สุกีวรรณ เดชโยธิน และนางสาวภิรนิตย์ ลบลม ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร สังกัดคณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้จากแป้งกล้วยน้ำว้า ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 บ้านวงฆ้อง ตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

โครงการภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2566 แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (Technology Consulting Service : TCS) คลินิกเทคโนโลยี

สนใจสอบถามข้อมูลบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรเพิ่มเติมได้ที่ https://linktr.ee/sciparkcontent
ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีศักยภาพแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส

การจัดกิจกรรมในวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 โดยคณะพยาบาลศาสตร์ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ภายใต้โครงการ “ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง” สอดคล้องกับแนวทางของมหาวิทยาลัยนเรศวรในการสนับสนุน SDGs (Sustainable Development Goals) หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะ SDG 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ, SDG 10: การลดความเหลื่อมล้ำ, และ SDG 8: การงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ.

โครงการ “ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง” เป็นการสร้างโอกาสในการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีศักยภาพแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ซึ่งสอดคล้องกับ SDG 4 ที่มุ่งเน้นการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและเท่าเทียม การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เยาวชนจากสถานศึกษาต่างๆ เช่น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก, วิทยาลัยเทคนิคแม่สอด, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก, มหาวิทยาลัยนเรศวร, และสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทำให้ผู้เรียนที่มาจากพื้นฐานที่แตกต่างกันมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นการส่งเสริมความเสมอภาคและการลดช่องว่างทางการศึกษา (SDG 10).

กิจกรรมในโครงการนี้ไม่เพียงแต่เน้นการเรียนรู้ทางวิชาการ แต่ยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการทำงานในอนาคต โดยการจัดกิจกรรมที่เน้นการเตรียมตัวเข้าสู่โลกของการทำงาน นักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงได้รับการแนะนำจากผู้บริหารจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.), รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จในการศึกษาและมีงานทำแล้ว รวมถึงการได้พบปะกับนายจ้างและสถานประกอบการที่ให้คำแนะนำในด้านทักษะการทำงาน ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจ รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ เช่น ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ และสายอาชีพชั้นสูงอื่นๆ ที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน การศึกษาสายอาชีพนี้ช่วยสร้างโอกาสให้กับเยาวชนในการทำงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8).

การจัดตั้งโครงการ ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง โดยคัดเลือกสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ยังมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาให้พร้อมรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในยุค Thailand 4.0 การลงทุนในโครงการศึกษาสายอาชีพที่มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะที่ทันสมัยและตรงกับความต้องการของตลาด จะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับโลก ซึ่งสอดคล้องกับ SDG 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีเป้าหมายในการสร้างโครงสร้างการศึกษาที่พร้อมตอบสนองความต้องการของสังคมและเศรษฐกิจในอนาคต.

การที่คณะพยาบาลศาสตร์จัดกิจกรรมร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษา โดยการเข้าร่วมกิจกรรมปลุกพลังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่ประสบความสำเร็จจากรุ่นพี่และผู้เชี่ยวชาญในสายงาน อาทิ การได้พบกับผู้บริหารจากกองทุนฯ, นายจ้าง และสถานประกอบการที่มอบคำแนะนำในการพัฒนาตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะและสร้างเครือข่ายที่สำคัญในโลกของการทำงาน ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและส่งเสริมการพัฒนาตนเองของเยาวชนที่ด้อยโอกาส (SDG 10).

การจัดกิจกรรมนี้ยังช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาหลายแห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างนักศึกษาและครู/อาจารย์จากสถาบันต่างๆ ที่เข้าร่วม ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับชาติและระดับสากล (SDG 17). การสร้างเครือข่ายและการร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆ จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและสนับสนุนการพัฒนาความรู้ในเชิงลึกในทุกภาคส่วน.

ที่มา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

ม.นเรศวร ลงพื้นที่ Coaching ผู้ประกอบการฯ

Nu SciPark พร้อมที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ ลงพื้นที่ Coaching ผู้ประกอบการของ บริษัท โกโก้ไทย โปรดักส์ จำกัด ณ โรงงานโกโก้ไทย โปรดักส์ ตำบลกุดนกเปล้า อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

วันที่ 14-15 สิงหาคม 2566 งานบ่มเพาะเทคโนโลยีและนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร นำทีมที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญของโครงการ แผนงานพัฒนากระบวนการวิจัยของผู้ประกอบการ (Industrial Research and Development Capability Building – IRD Cap Building) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

กิจกรรมที่ 1 แก้ไขปัญหาที่พบเจอ โดย รศ.ดร.มณฑนา วีระวัฒนากร (ที่ปรึกษาโครงการ) ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร

กิจกรรมที่ 2 Technology Forcasting โดย ผศ.ดร.รัตนา การุญบุญญานันท์ (ผู้เชี่ยวชาญ) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แผนงานนี้ส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยจากมหาวิทยาลัยและอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มาใช้ยกระดับการวิจัยและพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมและความสามารถในการจัดตั้งหรือพัฒนาปรับปรุงหน่วยวิจัยและพัฒนา (R&D Unit) ในสถานประกอบการ ตลอดจนพัฒนาให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นสามารถนำภูมิปัญญามาผสมผสานกับเทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ อันเป็นการกระตุ้นการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในอนาคตต่อไป

ที่มา: อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

Sustainability

NARESUAN UNIVERSITY

Solverwp- WordPress Theme and Plugin